พยาธิตัวจี๊ด (Ganathostoma Spinigerum) : อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคพยาธิตัวจี๊ด (Ganathostoma spinigerum) คือพยาธิตัวกลมประเภทหนึ่งที่คนเราสามารถติดเชื้อหรือรับพยาธิตัวนี้เข้าสู่ร่างกายได้โดยการที่มีไข่พยาธิปนเปื้อนมากับอาหาร หรือการถูกไชชอนเข้าผิวหนังโดยตรง เมื่อพยาธิชนิดนี้เข้าสู่ร่างกายแล้ว พยาธิจะเข้าไปอาศัยภายในอวัยวะต่าง ๆ และอาจจะก่อให้อันตรายถึงแก่ชีวิตได้ โดยปกติพยาธิตัวจี๊ดจะอาศัยอยู่ในสัตว์ และไข่ของพยาธิจะถูกถ่ายออกมากับมูลสัตว์ และกระจายไปยังแหล่งน้ำหรือพื้นดิน หรืออยู่ในสัปอดบวมตว์ที่เรารับประทานเป็นอาหาร ดังนั้นการรับประทานอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ มีความเสี่ยงสูงที่ผู้ป่วยจะติดเชื้อพยาธิได้  พยาธิตัวจี๊ด (Ganathostoma Spinigerum)

สาเหตุของการติดเชื้อพยาธิตัวจี๊ด

ผู้ป่วยสามารถได้รับไข่พยาธิตัวจี๊ดจากการรับประทานอาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ เข้าไป อาทิเช่น หมู ไก่ กุ้ง  หรือจากการถูกไชชอนทางผิวหนังในการเดินเท้าเปล่าตามแหล่งน้ำ หรือโคลนตม  หลังจากนั้นพยาธิจะไชชอนไปตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เนื่องจากพยาธิตัวจี๊ดไม่สามารถที่จะวางไข่หรือเจริญเติบโตอยู่ในร่างกายมนุษย์ได้ ตัวพยาธิจึงไชชอนเพื่อหาบริเวณที่คิดว่าเหมาะสมไปทั่วร่างกาย แต่ทั้งนี้พยาธิตัวจี๊ดสามารถอาศัยอยู่ในร่างกายของคนเราได้นานถึง 12 ปีเลยทีเดียว 

อาการของผู้ป่วยที่เป็นพยาธิตัวจี๊ด

หากผู้ป่วยได้รับเชื้อพยาธิเข้าสู่ร่างกายแล้ว ร่างกายจะแสดงอาการภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมง โดยปกติอาการจะแสดงต่างกันไปตามตำแหน่งที่พยาธิชอนไชสู่ร่างกาย แต่จะมีอาการเบื้องต้นแสดงให้เห็นคือ แต่ในบางกรณีที่พยาธิตัวจี๊ดไปในยังที่ไม่สำคัญผู้ป่วยอาจะไม่แสดงอาการใด ๆ เลย  แต่หากไปยังบริเวณสำคัญอาจจะเกิดผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อร่างกายได้ เช่น : 

พยาธิตัวจี๊ดขึ้นตา

หากพยาธิตัวจี๊ดไชชอนไปยังบริเวณเปลือกตา อาจจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการตาบวมจนไม่สามารถเปิดตาได้ กรณีที่ร้ายแรงโดยพยาธิเข้าไปในลูกตา อาจจะทำให้ตาบอดได้

พยาธิขึ้นสมอง

อาการพยาธิขึ้นสมอง กรณีที่พยาธิตัวจี๊ดชอนไชเข้าสู่ สมอง หรือน้ำไขสันหลัง ผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะเป็นอย่างมาก ปวดเสียวตามเส้นประสาท มีอาการเซื่องซึม และหมดสติ

พยาธิตัวจี๊ดในช่องท้อง

หากพยาธิเข้าไปอาศัยอยู่ในช่องท้อง จะก่อให้เกิดการอักเสบของช่องท้อง และมีอาการคล้ายไส้ติ่งอักเสบ

พยาธิตัวจี๊ดชอนไชตามผิวหนัง

ผิวหนังจะบวม และอาการบวมสามารถเปลี่ยนที่ไปได้เรื่อย ๆ  เช่นบวมที่มือแล้วไปที่แขน ไหล่ หน้า ศีรษะ อาการบวมแดงนี้จะปรากฏประมาณ 3-10 วัน

การรักษาพยาธิตัวจี๊ด

ปัจจุบันนี้ยังไม่มีวิธีรักษาโดยตรงสำหรับโรคพยาธิตัวจี๊ดที่ได้รับการที่ยอมรับทางการแพทย์ แต่แพทย์จะสั่งยาถ่ายพยาธิ รักษาอาการหรือทุเลาอาการได้ โดยยาถ่ายพยาธิตัวจี๊ดที่แพทย์อาจพิจารณาเลือกใช้คือ 
  • ยาไอเวอร์เมคติน 
  • ยาอัลเบนดาโซล 400 มก.วันละ 2 ครั้งให้ 21 วัน
  • ไทเบนดาโซน  50 มก/กก/วัน แบ่งให้วันละ 2 ครั้งเป็นเวลา 5 วัน
และให้ยารักษาอาการข้างเคียงอื่นๆ เช่น อาการบวม หรือผื่นคัน ทั้งนี้เมื่อมีอาการผู้ป่วยควรเร่งมาพบแพทย์ทันทีเพื่อการรักษาที่ทันถ้วงที กรณีที่พยาธิชอนไชตามผิวหนัง แพทย์อาจจะพิจารณาผ่าตัวเพื่อนำตัวพยาธิออกมา นอกจากนี้ผู้ป่วยมีทางเลือกสมุนไพรรักษาพยาธิตัวจี๊ดเพื่อนำมาใช้เสริมจากการรักษาทางการแพทย์ โดยการ รับประทานกระเจี๊ยบเขียวที่มีความเชื่อว่าสามารถช่วยขับพยาธิตัวจี๊ดและลดอาการคันตามผิวหนังได้ 

การป้องกันพยาธิตัวจี๊ด

ผู้ป่วยสามารถป้องกันพยาธิตัวจี๊ดไม่ให้เข้าสู่ร่างกายได้ ดังนี้ : 
  • รับประทานอาหารที่ปรุงสุก
  • ไม่เดินเท้าเปล่าในแหล่งน้ำขังสกปรก โคลนตม
  • รักษาความสะอาดของบาดแผลบริเวณมือ เท้า ปิดแผลและไม่สัมผัสต่อสิ่งปนเปื้อนที่คาดว่าจะมีความเสี่ยงเช่น เนื้อสัตว์ มูลสัตว์ 

ภาวะแทรกซ้อนของพยาธิตัวจี๊ด 

พยาธิตัวจี๊ดสามารถก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายได้  เช่น  ดังนั้นเมื่อผู้ป่วยสงสัยว่าตัวเองได้รับเชื้อพยาธิ ควรพบแพทย์ทันทีเพื่อการรักษาที่ถูกต้อง และควรหลีกเลี่ยงปัจจัยต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงในการรับเชื้อพยาธิ โดยเฉพาะมารดาที่ตั้งครรภ์บุตร พึงระวังว่าหากมารดาได้รับเชื้อพยาธิแล้ว พยาธิสามารถไชชอนเข้าไปทางรก และส่งต่อพยาธิให้แก่ทารกในครรภ์ได้ 

ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจของพยาธิตัวจี๊ด

  • การกระจายทางภูมิศาสตร์ พบพยาธิตัวจี๊ด ในส่วนต่างๆ ของโลก ส่วนใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ไทย ลาว เวียดนาม และกัมพูชา นอกจากนี้ยังมีรายงานในภูมิภาคอื่นๆ เช่น ญี่ปุ่น จีน และเม็กซิโก
  • วงจรชีวิต: วงจรชีวิตของพยาธิตัวจี๊ด เกี่ยวข้องกับหลายขั้นตอนและโฮสต์ พยาธิตัวเต็มวัยอาศัยอยู่ในกระเพาะอาหารหรือลำไส้ของโฮสต์ที่แน่นอน ซึ่งมักเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่กินเนื้อเป็นอาหาร เช่น สุนัข แมว หรือสัตว์ป่า ไข่จะผ่านออกมาในอุจจาระ ซึ่งฟักตัวในน้ำและปล่อยตัวอ่อนออกมา ตัวอ่อนเหล่านี้ถูกกินโดยโฮสต์ระดับกลางเช่นกุ้งและปลาซึ่งติดเชื้อ เมื่อมนุษย์หรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่น ๆ กินโฮสต์ระดับกลางที่ติดเชื้อ ตัวอ่อนสามารถเจาะเนื้อเยื่อของพวกมันและทำให้เกิดพยาธิตัวจี๊ด
  • การติดเชื้อในมนุษย์: พยาธิตัวจี๊ดสามารถทำให้เกิด พยาธิตัวจี๊ดในคนที่กินปลาดิบหรือยังไม่สุก หรือกุ้งที่มีตัวอ่อนติดเชื้อ ตัวอ่อนจะเคลื่อนผ่านเนื้อเยื่อต่างๆ ในร่างกาย ซึ่งนำไปสู่อาการต่างๆ ตั้งแต่ผิวหนังอักเสบเล็กน้อยไปจนถึงภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงและอาจถึงแก่ชีวิตเมื่อส่งผลกระทบต่ออวัยวะต่างๆ เช่น สมองหรือดวงตา
  • อาการแปรปรวน: อาการของ พยาธิตัวจี๊ด อาจมีความหลากหลายและขึ้นอยู่กับตำแหน่งของการอพยพของตัวอ่อน สัญญาณทั่วไป ได้แก่ การบวมใต้ผิวหนังแบบย้ายถิ่น ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน มีไข้ และเหนื่อยล้า ในบางกรณี ตัวอ่อนอาจไปถึงระบบประสาทส่วนกลางหรือดวงตา ทำให้อาการรุนแรงขึ้น เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบหรือการมองเห็นบกพร่อง
  • การวินิจฉัย: พยาธิตัวจี๊ด วินิจฉัยได้ยากเพราะอาการอาจคล้ายกับโรคอื่นๆ และพยาธิอาจตรวจหาได้ยากในตัวอย่างอุจจาระ อาจจำเป็นต้องมีการทดสอบทางเซรุ่มวิทยาและเทคนิคการถ่ายภาพเฉพาะทาง เช่น MRI เพื่อการวินิจฉัยที่แม่นยำ
  • การป้องกัน: การป้องกันโรคพยาธิตัวจี๊ดเกี่ยวข้องกับการปรุงปลาและกุ้งกุลาดำอย่างเหมาะสมเพื่อฆ่าตัวอ่อนที่ติดเชื้อ นอกจากนี้ยังจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหลีกเลี่ยงการบริโภคผลิตภัณฑ์จากสัตว์ดิบหรือยังไม่สุกจากภูมิภาคเฉพาะถิ่น
  • การรักษา: การรักษาโรคพยาธิตัวจี๊ด มักเกี่ยวข้องกับยาต้านปรสิต เช่น albendazole หรือ ivermectin เพื่อฆ่าตัวอ่อน ขึ้นอยู่กับความรุนแรงและตำแหน่งของการติดเชื้อ อาจจำเป็นต้องมีการรักษาเพิ่มเติมเพื่อจัดการกับภาวะแทรกซ้อน
  • โรคจากสัตว์สู่คน: พยาธิตัวจี๊ดถือเป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน ซึ่งหมายความว่าสามารถติดต่อจากสัตว์สู่คนได้ การสุขาภิบาลที่เหมาะสม มาตรการด้านความปลอดภัยของอาหาร และความตระหนักเกี่ยวกับความเสี่ยงของการบริโภคอาหารดิบหรืออาหารไม่สุก สามารถช่วยลดอุบัติการณ์ของการติดเชื้อปรสิตนี้ได้
เช่นเดียวกับโรคปรสิต สิ่งสำคัญคือต้องไปพบแพทย์ทันทีหากคุณสงสัยว่าเป็นโรค พยาธิตัวจี๊ดหรือปัญหาสุขภาพอื่นๆ หากคุณวางแผนที่จะเดินทางไปหรืออาศัยอยู่ในภูมิภาคที่มีพยาธิชุกชุม ให้ปฏิบัติตามแนวทางความปลอดภัยด้านอาหารในท้องถิ่นเพื่อลดความเสี่ยงของการติดเชื้อ

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

  • https://www.cdc.gov/parasites/gnathostoma/index.html
  • https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3712109/
  • https://animaldiversity.org/accounts/Gnathostoma_spinigerum/

เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด