ข่า (Galangal) เป็นเครื่องเทศที่มีถิ่นกำเนิดในเอเชียใต้ มีความเกี่ยงข้องอย่างใกล้ชิดกับขิงและขมิ้น ถูกนำมาใช้ในการแพทย์อายุเวชและการแพทย์แผนจีนมานานหลายศตวรรษ
คำว่าข่าหมายถึงรากของพืชหลายชนิดในตระกูล Zingiberaceae ส่วนใหญ่มักใช่ Alpinia officinarum
เช่นเดียวกันกับขิงและขมิ้น ข่าสามารถรับประทานสด หรือปรุกสุกและเป็นอาหารยอดนิยมในอาหารจีน, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย และอาหารไทย
เครื่องเทศชนิดนี้ยังใช้เพื่อบรรเทาอาการเจ็บป่วยบางอย่าง เนื่องจากเชื่อกันว่าจะช่วยรักษาการติดเชื้อ ลดการอักเสบ เพิ่มความสมบูรณ์ของในเพศชาย แม้กระทั้งต่อสู้กับมะเร็งชนิดต่างๆ
ในบทความนี้เราจะมาทบทวนประโยชน์และความปลอดภัยของข่าและเปรียบเทียบกับขิงและขมิ้น
ประโยชน์ที่เกิดขึ้น
ข่าถูกนำมาใช้ในการแพทย์แผนโบราณ เพื่อเป็นยาในการรักษาอาการเจ็บป่วยต่างๆและมีการศึกษาทางวิทยาศาสตร์จำนวนมากเพื่อสนับสนุนการนำข่ามาใช้งาน
อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ
ข่าเป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นสารที่ประกอบจากพืชที่มีประโยชน์ช่วยต่อต้านโรคและป้องกันเซลล์ของคุณจากการถูกอนุมูลอิสระทำลาย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุดมไปด้วยสารโพลีฟีนอล(Polyphenols) ซึ่งเป็นกลุ่มของสารต้านอนุมูลอิสระที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น มีความจำที่ดีขึ้น, ลดระดับน้ำตาลในเลือดและระดับคอเลสเตอรอลที่ไม่ดี (LDL)
นอกจากนี้โพลีฟีนอลยังช่วยป้องกันการเสื่อมทางด้านจิตใจ, โรคเบาหวานชนิดที่ 2 และโรคหัวใจ ทั้งขิงและขมิ้น ซึ่งเป็นพืชสายพันธ์ใกล้กับข่า ก็อุดมไปด้วยสารโพลีฟีนอลและมีส่วนของประโยชน์เหล่านี้ด้วย
อย่างไรก็ตามยังไม่มีการศึกษาใดที่เชื่อมโยงข่ากับผลลัพธ์เหล่านี้โดยตรง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมก่อนที่จะได้ข้อสรุปที่ชัดเจน
ช่วยต่อต้านโรคมะเร็ง
ข่าอาจช่วยปกป้องร่างกายคุณจากมะเร็งบางชนิด
จากการศึกษาในหลอดทดลองชี้ให้เห็นว่า สารออกฤทธิ์ในข่า หรือที่เรียกว่าข่าอาจช่วยฆ่าเซลล์มะเร็ง หรือป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่กระจาย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีการศึกษาชิ้นหนึ่งที่ชี้ให้เห็นถึงความสามารถของเครื่องเทศในการฆ่าเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ของมนุษย์สองสายพันธ์ ส่วนการศึกษาอื่นๆก็ชี้ให้เห็นว่าอาจต่อต้านเซลล์มะเร็งที่เต้านม, ท่อน้ำดี, ผิวหนัง และตับ
หมายความว่า การค้นพบในหลอดทดลองไม่จำเป็นต้องใช้กับมนุษย์ แม้ว่าผลการศึกษาจะมีแนวโน้มที่ดี แต่ก็จำเป็นต้องมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมในมนุษย์ต่อไป
เพิ่มความสมบูรณ์ในเพศชาย
มีหลักฐานใหม่ชี้ให้เห็นว่าข่าอาจช่วยเพ่ิมความสมบูรณ์ในเพศชาย
ในการศึกษาในสัตว์ทดลอง พบว่าจำนวนและการเคลื่อนไหวของอสุจิมากขึ้นในหนูทดลองเมื่อได้รับสารสกัดจากรากข่า
นอกจากนี้ ในการศึกษาเวลากว่า 3 เดือนในชายจำนวน 66คนที่มีคุณภาพของอสุจิต่ำ ให้รับประทานอาหารเสริมที่มีรากข่าและสารสกัดจากผลทับทิมเป็นส่วนประกอบ พบการเคลื่อนไหวของอสุจิเพิ่มขึ้นร้อยละ 62 เมื่อเทียบกับกลุ่มยาหลอกที่เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 20
แม้ว่าการค้นพบนี่จะน่าสนใจ แต่ก็ยังไม่ชัดเจนว่าผลดังกล่าวเกิดจากร่ากข่าหรือสารสกัดจากผลทับทิม
จำเป็นต้องทำการวิจัยเพิ่มเติมในมนุษย์ เพื่อตรวจสอบผลของข่าต่อความสมบูรณ์ของเพศชาย
ต้านการอักเสบและความปวด
ข่าอาจช่วยลดการอักเสบที่ก่อให้เกิดโรคได้ เนื่องจากมี HMP ซึ่งเป็นสารพฤกษเคมีที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ซึ่งจากการศึกษาในหลอดทดลองและสัตว์ทดลองได้แนะนำว่ามีคุณสมบัติต้านการอักเสบได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ในความเป็นจริง พืชในตระกูล Zingiberaceae รวมทั้งข่าช่วยลดอาการปวดได้เล็กน้อย ซึ่งเป็นอาการทั่วไปของการอักเสบ
ตัวอย่างเช่น การศึกษาในคนที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมจำนวน 261 คนเป็นเวลา 6 สัปดาห์ พบว่าร้อยละ 63 ของผู้ที่ได้รับประทานขิงและข่าสกัดทุกวันรายงานว่าอาการปวดเข่าลดลงเมื่อยืนเทียบกับร้อยละ 50 ของผู้ที่ได้รับยาหลอก
อย่างไรก็ตามจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับฤทธิ์ในการลดความเจ็บปวดของรากข่า โดยเฉพาะก่อนที่จะได้ข้อสรุปที่ชัดเจน
ต่อต้านการติดเชื้อ
น้ำมันหอมระเหยที่สกัดจากรากข่าอาจต่อต้านกับเชื้อจุลินทรีย์ได้หลายชนิด
ดังนั้น รากข่าจึงอาจยืดอายุการเก็บรักษาอาหารบางชนิดได้ นอกจากนี้การเพิ่มรากข่าสดลงไปในสูตรอาหารของคุณอาจช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรควิบริโอซิส (Vibriosis) ซึ่งเป็นการติดเชื้อที่เกิดจากการรับประทานหอยที่ไม่สุก
นอกจากนี้ การศึกษาในหลอดทดลองยังชี้ให้เห็นว่ารากของข่าอาจฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เป็นอันตราย ได้แก่ E. coli, Staphyloccocus aureus และ Salmonella Typhi แม้ว่าประสิทธิภาพของมันจะแตกต่างกันไประหว่างการศึกษา
ข้อควรระวังในการรับประทานข่ามากเกินไป
แม้ว่าโดยทั่วไปข่าจะปลอดภัยในการบริโภคในปริมาณปานกลางเพื่อใช้เป็นเครื่องปรุงหรือปรุงรสในการปรุงอาหารหรือการเตรียมสมุนไพร แต่การกินข่าในปริมาณที่มากเกินไปอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงและปัญหาด้านสุขภาพได้:- ความทุกข์ทรมานจากระบบทางเดินอาหาร:การบริโภคข่ามากเกินไปอาจทำให้ระบบทางเดินอาหารระคายเคืองและทำให้ระบบย่อยอาหารไม่สบาย ซึ่งอาจรวมถึงอาการต่างๆ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย หรือปวดท้อง
- แสบอกและกรดไหลย้อน:รสเผ็ดและฉุนของข่าอาจทำให้อาการแสบอกและกรดไหลย้อนรุนแรงขึ้นในบุคคลที่มีแนวโน้มที่จะเกิดอาการเหล่านี้
- ปฏิกิริยาการแพ้:ในบางกรณีที่พบไม่บ่อย บางคนอาจแพ้ข่า ทำให้เกิดอาการแพ้ เช่น คัน ลมพิษ หรือบวม หากสงสัยว่าจะแพ้ข่า ให้หยุดใช้และไปพบแพทย์หากมีอาการรุนแรง
- ความดันโลหิต:ข่ามีสารประกอบที่อาจส่งผลต่อความดันโลหิต หากบริโภคในปริมาณที่มากเกินไปอาจทำให้ระดับความดันโลหิตผันผวนได้ ผู้ที่มีปัญหาเรื่องความดันโลหิตควรใช้ความระมัดระวังและพอประมาณเมื่อรับประทานข่า
- การตั้งครรภ์และให้นมบุตร:ผู้ที่ตั้งครรภ์และให้นมบุตรควรระมัดระวังการบริโภคข่าในปริมาณมาก มีข้อมูลที่จำกัดเกี่ยวกับความปลอดภัยในการตั้งครรภ์และให้นมบุตร ดังนั้นจึงควรปรึกษากับผู้ให้บริการด้านการแพทย์เพื่อขอคำแนะนำ
- ปฏิกิริยาระหว่างยา:ข่าอาจมีปฏิกิริยากับยาบางชนิด โดยเฉพาะยาต้านการแข็งตัวของเลือด และยาต้านเกล็ดเลือด เนื่องจากอาจส่งผลต่อการแข็งตัวของเลือด ปรึกษากับผู้ให้บริการด้านสุขภาพหากคุณกำลังใช้ยาดังกล่าวและกำลังพิจารณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารข่า
สรุป
ข่าอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระและอาจเพิ่มความสมบูรณ์ของเพศชายและลดการอักเสบและความเจ็บปวด อาจป้องกันการติดเชื้อและมะเร็งบางชนิด แต่จำเป็นต้องมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติม
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
-
https://www.thekitchn.com/whats-the-difference-between-galangal-and-ginger-236291
-
https://www.foodrepublic.com/2014/01/22/what-is-galangal-and-how-do-i-use-it/
-
https://www.finecooking.com/ingredient/galangal