Furosemide คืออะไร
ฟูโรซีไมด์ Furosemide คือ ยาขับปัสสาวะกลุ่มลูปไดยูเรติก (ยาขับปัสสาวะ) ที่ช่วยปกป้องไม่ให้ร่างกายจากการดูดซึมเกลือมากเกินไป โดยยอมให้เกลือสามารถถูดส่งผ่านทางปัสสาวะ ยาฟูโรซีไมด์ใช้ในการรักษาอาการคั่งของเหลว (อาการบวมน้ำ) ในคนที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว โรคตับหรือไตผิดปกติเช่น กลุ่มอาการโปรตีนรั่วในปัสสาวะ และยาฟูโรซีไมด์ยังช่วยรักษาความดันโลหิตสูงคำเตือนในการใช้ยา Furosemide
ไม่ควรใช้ยาฟูโรซีไมด์หากคุณไม่สามารถถ่ายปัสสาวะได้ ไม่ควรใช้มากกว่าปริมาณยาที่แนะนำ การใช้ยาฟูโรซีไมด์ในปริมาณสูงอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดการสูญเสียการได้ยินที่ไม่สามารถกลับคืนสู่สภาพปกติได้ ก่อนการใช้ยาฟูโรซีไมด์ แจ้งให้แพทย์ทราบหากมีโรคเกี่ยวกับไต โรคต่อมลูกหมากโต มีปัญหาเกี่ยวกับการขับถ่ายปัสสาวะ ตับแข็งหรือโรคตับอื่นๆ ภาวะเกลือแร่ในร่างกายไม่สมดุล คอเลสเตอรอลสูง โรคเกาต์ โรคลูปัส เบาหวานหรือแพ้ยากลุ่มซัลฟา แจ้งให้แพทย์ทราบหากเพิ่งมีการทำเอ็มอาร์ไอ (เครื่องตรวจแม่เหล็กไฟฟ้า) หรือการตรวจสแกนทุกชนิดที่มีการใช้ยาย้อมรังสีที่มีการฉีดเข้าสู่เส้นเลือด ห้ามใช้ยามากกว่าที่แนะนำ หากใช้ยานี้เพื่อรักษาความดันโลหิตสูง ให้ใช้ยาต่อเนื่องแม้จะรู้สึกสบายดีแล้วก็ตาม ภาวะความดันโลหิตสูงจะไม่มีอาการปรากฏให้เห็น อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจ เอ็มอาร์ไอ MRI ช่วยอะไรได้บ้างก่อนการเริ่มรับประทานยา Furosemide
ไม่ควรใช้ยาฟูโรซิไมด์หากมีอาการแพ้ยา หรือหากไม่สามารถขับถ่ายปัสสาวะได้ แจ้งให้แพทย์ทราบหากมีสิ่งต่อไปนี้:
- โรคไต
- ต่อมลูกหมากโต มีการอุดกั้นของกระเพาะปัสสาวะ มีปัญหาการขับถ่ายปัสสาวะ
- ตับแข็งหรือโรคตับอื่นๆ
- ภาวะเกลือแร่ในร่างกายไม่สมดุล (เช่น ระดับโพแตสเซียมหรือแมกนีเซียมในเลือดต่ำ)
- โรคเกาต์
- โรคลูปัส
- โรคเบาหวาน
- แพ้ยากลุ่มซัลฟา
ยา Furosemide ควรรับประทานอย่างไร
รับประทานยาฟูโรซีไมด์ตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด ปฏิบัติตามคำแนะนำตามฉลากยาและอ่านคู่มือการใช้ยาอย่างละเอียด แพทย์อาจมีการปรับเปลี่ยนปริมาณขนาดยาในบางครั้ง ยาฟูโรซีไมด์มีแบบชนิดรับประทาน ชนิดฉีดเข้าสู่กล้ามเนื้อหรือให้ทางหลอดเลือดดำ ผู้ให้บริการทางการแพทย์จะเป็นผู้ฉีดให้หากคุณไม่สามารถใช้ยาด้วยการรับประทานได้ คุณอาจได้รับยาครั้งแรกในโรงพยาบาลหรือคลีนิคหากมีโรคตับรุนแรง ห้ามใช้ยามากเกินกว่าปริมาณยาที่แนะนำ การได้รับยาฟูโรซีไมด์นปริมาณสูงอาจก่อให้เกิดการสูญเสียการได้ยินถาวร วัดตวงปริมาณยาชนิดเหลวอย่างระมัดระวัง ควรใช้หลอดฉีดยาหรืออุปกรณ์วัดตวงทางการแพทย์ (ไม่ใช้ช้อนในห้องครัว) ปริมาณยาฟูโรซีไมด์จะขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัวของเด็ก ปริมาณยาที่ใช้ในเด็กอาจจำเป็นต้องได้รับการปรับเปลี่ยนหากเด็กมีน้ำหนักตัวที่เพิ่มมากขึ้นหรือลดลง ยาฟูโรซีไมด์จะทำให้มีการขับถ่ายปัสสาวะบ่อยมากขึ้น และอาจทำให้เกิดภาวะขาดน้ำได้ง่าย ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์เกี่ยวกับการใช้อาหารเสริมโปแตสเซียมหรือการได้รับปริมาณเกลือและโปแตสเซียมในอาหารที่เพียงพอ จำเป็นต้องได้รับการตรวจเช็คความดันเลือดบ่อยๆและอาจจำเป็นต้องได้รับการตรวจทางการแพทย์อื่นๆ หากคุณมีภาวะความดันโลหิตสูง ให้รับประทานยาต่อเนื่องแม้จะรู้สึกดีขึ้นแล้วก็ตาม ภาวะความดันโลหิตสูงมักไม่แสดงอาการ คุณอาจจำเป็นต้องใช้ยาความดันเลือดสำหรับช่วงชีวิตที่เหลือของชีวิต หากคุณจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัด แจ้งให้แพทย์ผ่าตัดทราบล่วงหน้าว่าคุณมีการใช้ยานี้ เก็บยาไว้ในอุณหภูมิห้อง ห่างไกลจากความชื้น ความร้อนและแสงแดด ทิ้งยารูปแบบของเหลวที่ไม่ได้ใช้เกินกว่า 90 วันจะเกิดอะไรขึ้นหากลืมรับประทานยา
ยาฟูโรซีไมด์บางครั้งอาจใีการใช้เพียงแค่ครั้งเดียวเท่านั้น ดังนั้นจึงไม่ได้มีการใช้ยาตามเวลา หากคุณมีการใช้ยานี้เป็นประจำ ให้รับประทานยาให้เร็วที่สุดที่คุณสามารถทำได้ แต่ให้ข้ามมื้อยาไปหากใกล้ช่วงเวลาในการทานยาในมื้อถัดไป ห้ามใช้ยาเพิ่มเป็นสองเท่าในครั้งเดียวจะเกิดอะไรขึ้นหากมีการใช้ยาเกินขนาด
อาการของการใช้ยาเกินขนาดอาจรวมไปถึงความรู้สึกกระหายอย่างมากหรือร้อน เหงื่อออก ร้อนและผิวหนังแห้ง อ่อนล้ามากหรือจะหมดสติสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงคืออะไร
หลีกเลี่ยงการลุกขึ้นจากการนั่งหรือตำแหน่งท่านอนรวดเร็วเกินไป หรืออาจรู้สึกมึนงงวิงเวียนศีรษะ หลีกเลี่ยงการเกิดภาวะขาดน้ำ ปฏิบัติตามคำแนะนำจากแพทย์เกี่ยวกับชนิดและปริมาณของของเหลวที่ควรดื่มในขณะรับประทานยาฟูโรเซไมด์ การดื่มแอลกอฮอล์พร้อมกับยาฟูโรเซไมด์สามารถก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้ หากมีภาวะความดันโลหิตสูง ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนรับประทานยาทุกชนิดที่สามารถส่งผลให้ความดันเลือดสูงขึ้น เช่นยาลดน้ำหนักหรือยาแก้ไอแก้หวัดผลข้างเคียงของยา Furosemide
พบแพทย์ฉุกเฉินเพื่อขอความช่วยเหลือหากมีสัญญานการเกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ต่อยาฟูโรเซไมด์ (มีผื่นขึ้น หายใจลำบาก มีอาการบวมที่บริเวณใบหน้าหรือคอ) หรือเกิดปฏิกิริยสแพ้ผิวหนังรุนแรง (มีไข้ เจ็บคอ ดวงตาร้อนผ่าว เจ็บปวดที่ผิวหนัง ขึ้นผื่นสีม่วงหรือแดงที่ผิวหนังและมีการแพร่กระจายและเป็นสาเหตุทำให้เกิดตุ่มพองและผิวหนังลอกขุย) เพื่อความแน่ใจว่ายานี้มีความปลอดภัยสำหรับคุณ แจ้งให้แพทย์ทราบหากมีอาการดังต่อไปนี้:- รู้สึกวิงเวียนศีรษะ คล้ายจะหมดสติ
- มีเสียงก้องในหู สูญเสียการได้ยิน
- กล้ามเนื้อกระตุก หรือหดเกร็ง
- ผิวหนังซีด มีรอยฟกช้ำง่าย มีเลือดออกผิดปกติ
- น้ำตาลในเลือดสูง – กระหายน้ำเพิ่มขึ้น ขับถ่ายปัสสาวะเพิ่มขึ้น ปากแห้ง กลิ่นลมหายใจเป็นกลิ่นผลไม้
- มีปัญหาเกี่ยวกับไต – ปัสสาวะน้อยหรือไม่เลย มีอาการบวมที่เท้าหรือข้อเท้า รู้สึกเหนื่อยหรือลมหายใจสั้น
- มีสัญญานของตับหรือตับอ่อนมีปัญหา – ไม่อยากอาหาร ปวดท้องส่วนบน (อาจแผ่กระจายไปที่แผ่นหลัง) คลื่นไส้หรืออาเจียน ปัสสาวะสีเข้ม ดีซ่าน (ตาและผิวหนังเป็นสีเหลือง)
- มีสัญญานของภาวะเกลือแร่ในร่างกายไม่สมดุล – ปากแห้ง กระหาย อ่อนแรง ง่วงซึม รู้สึกกระสับกระส่ายหรือไม่มั่นคง อาเจียน การเต้นของหัวใจผิดปกติ รู้สึกมีการกระพือในทรวงอก เหน็บชาหรือเสียวซ่า กล้ามเนื้อกระตุก กล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือรู้สึกแขนขาอ่อนแรง
- ท้องเสีย ท้องผูก ไม่อยากอาหาร
- เหน็บชาหรือเสียวซ่า
- ปวดศีรษะ มึนงง
- การมองเห็นไม่ชัด
ยาชนิดอื่นๆที่ส่งผลต่อยาฟูโรเซไมด์คืออะไรบ้าง
บางครั้งอาจเป็นการไม่ปลอดภัยในการใช้ยาบางชนิดพร้อมๆกัน ยาบางชนิดสามารถส่งผลต่อระดับของเลือดจากยาอื่นที่รับประทาน ซึ่งอาจเป็นการทำให้เกิดผลข้างเคียงมากขึ้นหรือทำให้ยามีประสิทธิภาพน้อยลง หากคุณรับประทานยาซูคราลเฟต ให้ทานยาฟูโรวิไมด์ก่อน 2 ชั่วโมงหรือหลังจากรับประทานยาซูคราลเฟต 2 ชั่วโมง แจ้งให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับยาอื่นๆทุกชนิดที่คุณกำลังรับประทาน โดยเฉพาะ:- ยาขับปัสสาวะตัวอื่น โดยเฉพาะกรดเอธาครีนิก
- ยาคลอราลไฮเดรต
- ลิเธียม
- เฟนิโทอิน
- ยาปฏิชีวนะชนิดฉีด
- ยารักษาโรคมะเร็งเช่น ยาซิสพลาติน
- ยาความดันโลหิตหรือหัวใจ
ใครที่ควรหลีกเลี่ยงยาฟูโรเซไมด์
บุคคลที่มีภาวะต่อไปนี้ควรระมัดระวังหรือหลีกเลี่ยงการใช้งาน:- โรคภูมิแพ้:
-
-
- บุคคลที่แพ้ furosemide หรือส่วนประกอบใดๆ ไม่ควรใช้
-
- Anuria (ขาดปัสสาวะ):
-
-
- Furosemide เป็นยาขับปัสสาวะที่ส่งเสริมการผลิตปัสสาวะ อย่างไรก็ตาม หากบุคคลมีภาวะเนื้องอกในปัสสาวะ (ไม่สามารถผลิตปัสสาวะได้) การใช้ furosemide อาจไม่เหมาะสม
-
- ความไม่สมดุลของอิเล็กโทรไลต์อย่างรุนแรง:
-
-
- ฟูโรเซไมด์สามารถนำไปสู่ความไม่สมดุลของอิเล็กโทรไลต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโพแทสเซียม โซเดียม และแมกนีเซียมในระดับต่ำ บุคคลที่มีความไม่สมดุลของอิเล็กโทรไลต์อย่างรุนแรงอาจจำเป็นต้องใช้ furosemide ด้วยความระมัดระวังหรือหลีกเลี่ยง เนื่องจากความไม่สมดุลเพิ่มเติมอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้
-
- ความผิดปกติของไตอย่างรุนแรง:
-
-
- Furosemide ถูกขับออกทางไตเป็นหลัก บุคคลที่มีความผิดปกติของไตอย่างรุนแรงอาจจำเป็นต้องปรับขนาดยาหรืออาจจำเป็นต้องหลีกเลี่ยง furosemide โดยสิ้นเชิง
-
- ภาวะขาดน้ำ:
-
-
- Furosemide เพิ่มการผลิตปัสสาวะซึ่งอาจนำไปสู่การขาดน้ำ บุคคลที่ขาดน้ำอยู่แล้วควรใช้ furosemide ด้วยความระมัดระวัง และอาจจำเป็นต้องมีมาตรการแก้ไขภาวะขาดน้ำ
-
- ความดันเลือดต่ำ (ความดันโลหิตต่ำ):
-
-
- Furosemide อาจทำให้ความดันโลหิตลดลง บุคคลที่มีความดันเลือดต่ำควรใช้ furosemide ด้วยความระมัดระวัง และแนะนำให้ติดตามความดันโลหิตอย่างใกล้ชิด
-
- โรคตับอย่างรุนแรง:
-
-
- บุคคลที่เป็นโรคตับอย่างรุนแรงอาจทำให้การเผาผลาญของ furosemide บกพร่อง อาจพิจารณาปรับขนาดยาหรือใช้ยาอื่น และแนะนำให้ปรึกษากับผู้ให้บริการด้านการแพทย์
-
- โรคเกาต์:
-
-
- Furosemide สามารถเพิ่มระดับกรดยูริกในเลือด อาจทำให้โรคเกาต์รุนแรงขึ้นหรือทำให้เกิดโรคเกาต์ได้ บุคคลที่มีประวัติเป็นโรคเกาต์ควรใช้ furosemide ด้วยความระมัดระวัง
-
- โรคลูปัสอีริทีมาโตซัส (SLE):
-
-
- Furosemide อาจทำให้อาการของโรคลูปัส erythematosus (SLE) รุนแรงขึ้น บุคคลที่เป็นโรค SLE ควรใช้ furosemide ด้วยความระมัดระวัง และแนะนำให้ติดตามอาการอย่างใกล้ชิดเพื่อให้อาการแย่ลง
-
- การตั้งครรภ์และให้นมบุตร:
-
- การใช้ furosemide ในระหว่างตั้งครรภ์และให้นมบุตรควรทำภายใต้คำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ควรพิจารณาความเสี่ยงและผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้นอย่างรอบคอบ และอาจพิจารณาวิธีการรักษาทางเลือกอื่น
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น