ท้องอืด (Flatulence) คืออาการที่ทุกคนอาจจะรู้จักกันดีเมื่อเกิดอาการที่มีลมในกระเพาะ อาหารไม่ย่อย มีแก๊สในกระเพาะอาหารเยอะเกินไปทำให้ต้องเกิดการผายลมบ่อยครั้ง หรือเรอ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดภาวะไม่สบายตัว อึดอัด ซึ่งอาการนี้สามารถเกิดได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่
สาเหตุของอาการท้องอืด
สาเหตุท้องอืด มีได้หลายปัจจัยดังนี้:การกลืนอากาศมากเกินไป
โดยปกติแล้วคนเราสามารถกลืนอากาศลงไปในท้องได้ในระหว่างการรับประทาน ดื่มน้ำ หรือพูดคุย โดยอากาศที่กลืนเข้าไปจะกลืนไปเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่หากมากเกินไป อาจจะทำให้เกิดการเรอ ผายลม หรือสะอึก เนื่องจากลมในกระเพาะเยอะเกินไปสาเหตุที่ทำให้อากาศถูกกลืนเข้าท้องคือ:
- การเคี้ยวหมากฝรั่ง
- การสูบบุหรี่
- การรับประทานอาหารเร็วเกินไป
การรับประทานอาหารหรือดื่มเครื่องดื่มที่มีแก๊ส
อาหารบางประเภทอาาจะทำให้ท้องอืดมากเกินไป อาหารที่ทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะมีดังนี้:- กะหล่ำปลี
- ถั่ว
- ลูกเกด
- บร็อคโคลี
- ลูกพรุน
- แอปเปิ้ล
- น้ำอัดลม
ท้องอืดในคนท้อง
อาการท้องอืดในคนท้อง ผลสืบเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายที่เกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ ทำให้ระบบการย่อยอาหารทำงานได้ช้าลง ไม่เหมือนตอนร่างกายปกติ ดังนั้น แม่ท้องจึงท้องอืดท้องเฟื้อ ลมในท้องเยอะ และอาหารไม่ย่อยได้ง่ายอาการท้องอืด
อาการท้องอืดมีลมในท้องนั้นโดยทั่วไปแล้วผู้ป่วยจะรู้สึกไม่สบายท้อง มีอาการแน่นท้อง ท้องแข็ง มีลมในท้อง อาการปวดท้องแน่นท้อง ท้องอืดผายลมบ่อย เรอ ท้องแข็งท้องอืด เป็นต้นการรักษาอาการท้องอืดด้วยตัวเองที่บ้าน
วิธีแก้อาการท้องอืดขึ้นอยู่กับสาเหตุของปัญหา ผู้ป่วยสามารถทำการรักษาอาการท้องอืดได้เองที่บ้าน โดยอาจจะลองปฎิบัติดังนี้ เพื่อเป็นวิธีแก้ลมในท้องเยอะเกินไป:- ระมัดระวังในการรับประทานอาหาร หากอาหารที่ทานมีคาร์โบไฮเดรตมากไปทำให้ย่อยยาก ให้ลองเปลี่ยนเป็นคาร์โบไฮเดรตที่ย่อยง่ายกว่าเช่นมันฝรั่งข้าวและกล้วย
- จดบันทึกการรับประทานอาหารประจำวัน จะช่วยให้คุณระบุได้ว่าอาหารประเภทใดที่รับประทานแล้วก่อให้เกิดอาการท้องอืดมากเกินไป เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงในครั้งหน้า หากผู้ป่วยกินอาหารแล้วท้องอืดควรปฎิบัติข้อนี้จะช่วยได้มาก
- กินให้น้อยลง พยายามกินอาหารมื้อเล็ก ๆ วันละห้าถึงหกมื้อแทนที่จะเป็นมื้อใหญ่สามมื้อเพื่อช่วยกระบวนการย่อยอาหาร
- เคี้ยวอาหารให้ละเอียด
- ไม่สูบบุหรี่
- ไม่เคี้ยวหมากฝรั่ง
- หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การออกกำลังกายช่วยส่งเสริมการย่อยอาหารและสามารถป้องกันอาการท้องอืด
- รับประทานยาลดกรดในกระเพาะอาหาร
ภาวะแทรกซ้อนของอาการท้องอืด (Flatulence)
หากว่าคุณมีอาการท้องอืดบ่อย ๆ บางครั้งอาจจะส่งผลให้เกิดอาการแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ดังนี้:- ท้องผูก
- กระเพาะและลำไส้อักเสบ
- การแพ้อาหารเช่นการแพ้แลคโตส
- แผลในกระเพาะอาหาร
- อาการลำไส้แปรปรวน (IBS)
- โรคช่องท้อง
- โรคเบาหวาน
- โรคกรดไหลย้อน (GERD)
การวินิจฉัยอาการท้องอืด
แพทย์อาจจะมีการสอบถามข้อมูลพร้อมกับการตรวจร่างกาย ในบางครั้งอาจมีการตรวจเลือดเพื่อให้แน่ใจว่าร่างกายของคุณไม่ได้ติดเชื้อ และเพื่อระบุอาการแพ้อาหารที่เป็นไปได้และเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีสาเหตุอื่นที่ทำให้เกิดอาการท้องอืด ควบคู่กับการตรวจดูบริเวณท้องและฟังเสียงของระบบย่อยอาหารร่วมด้วย นอกจากนี้แพทย์อาจจะแนะนำให้มีการจดบันทึก อาหารประจำวันที่รับประทานเพื่อทราบถึงอาหารที่ทำเกิดอาการท้องอืดมากเกินไป เมื่อไหร่ที่ควรไปพบแพทย์ หากผู้ป่วยมีอาการท้องอืดท้องเฟ้อโดยไม่ทราบสาเหตุ รวมไปถึงมีอาการดังนี้ร่วมด้วย ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์โดยด่วน เพราะบางครั้งอาการท้องอืดอาจจะมีผลกระทบมาจากโรคที่ร้ายแรงได้ เช่นมะเร็ง หรือเนื้องอกในช่องท้อง:- ท้องบวม
- มีอาการปวดท้องเหมือนมีลมในท้อง
- อาเจียน
- ท้องเสีย
- ท้องผูก
- น้ำหนักลดลง
- แสบหน้าอก
- ถ่ายอุจจาระปนเลือด
การป้องกันท้องอืด
ผู้ป่วยสามารถเลือกรับประทานอาหารที่ก่อให้เกิดแก๊สน้อยได้ จำพวก:- เนื้อสัตว์ และปลา
- ไข่
- ผักจำพวก ผักกาด มะเขือเทศ บวบและกระเจี๊ยบ
- ผลไม้ จำพวก แคนตาลูป องุ่น เบอร์รี่ เชอร์รี่ อะโวคาโด และมะกอก
- คาร์โบไฮเดรตจำพวก ขนมปังที่ไม่มีกลูเตน ข้าว
ภาพรวมเมื่อมีอาการท้องอืด
โดยทั่วไปแล้วหากอาการท้องแน่นท้องอืดไม่ได้มีสาเหตุมาจากโรคร้ายแรง ก็จะไม่ส่งผลกระทบระยะยาว เพียงแค่จะก่อให้เกิดอาการไม่สบายตัว แต่หากอาการท้องอืดส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำมัน การรักษาอาหารเพื่อสุขภาพและการพบแพทย์ก็เป็นสิ่งสำคัญคำถามที่พบบ่อย
วิธีแก้ท้องอืดที่เร็วที่สุดคืออะไร- กินทีละน้อยและบ่อย ๆ และหลีกเลี่ยงอาหารมื้อใหญ่
- ใช้เวลาในการเคี้ยวอาหารและน้ำทีละน้อย
- ออกกำลังกายเป็นประจำซึ่งจะช่วยปรับปรุงการย่อยอาหาร
- กินอาหารที่มีประโยชน์และสมดุล
- ดื่มชาเปปเปอร์มินต์ซึ่งเชื่อกันว่าช่วยย่อยอาหารและดีต่อกระเพาะอาหาร
ลิ้งค์ด้านล่างเป็นแหล่งข้อมูลบทความของเรา
- https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/stomach-liver-and-gastrointestinal-tract/flatulence
- https://www.betterhealth.vic.gov.au/health/ConditionsAndTreatments/flatulence
- https://www.health.harvard.edu/a_to_z/gas-flatulence-a-to-z
เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น