นิ้วซ้น (Finger Dislocation) คือ การที่นิ้วมือของเรานั้นได้รับการบาดเจ็บ นิ้วมือทุกนิ้วของคนเราจะมีอยู่ 3 ข้อ ข้อต่อเหล่านี้ทำให้นิ้วของเรานั้นยืดตรงและงอได้ เมื่อมีกระดูกเคลื่อนออกจากข้อต่อ เนื่องจากอาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา หรือการตกลงมาจากที่สูง จนกลายเป็นอาการนิ้วซ้น ซึ่งไม่สามารถเหยียดนิ้วให้ตรงตามปกติได้
เมื่อนิ้วเกิดอาการซ้น กระดูกก็จะไม่อยู่ติดกันหรืออยู่ในเดียวกับข้อต่อนิ้ว ซึ่งบริเวณข้อต่อที่เกิดอาการซ้นได้มากที่สุดก็คือ ข้อต่อข้อกลางของนิ้ว
สาเหตุของอาการนิ้วซ้น
อาการนิ้วซ้นและนิ้วเท้าซ้นส่วนใหญ่แล้ว เกิดมาจากอาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา โดยเฉพาะกีฬาที่ใช้ลูกบอล เช่น ฟุตบอล บาสเกตบอล และวอลเล่ย์บอลหรือเป็นกิจกรรมที่ผาดโผน เป็นต้น การตกจากที่สูง และอุบัติเหตุก็เป็นสาเหตุอาการนิ้วซ้นและนิ้วเท้าซ้นได้เช่นเดียวกัน ซึ่งนิ้วที่มาอาการซ้นจะมีลักษณะที่งอผิดรูปการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา
จาการศึกษาวิจัยงานหนึ่ง ที่ได้นักวิจัยได้ศึกษาเกี่ยวกับการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาของนักฟุตบอลของสมาคมฟุตบอลแห่งชาติ(NFL) พบว่า 17 เปอร์เซนต์ของนักฟุตบอลนั้นเป็นอาการบาดเจ็บที่ข้อต่อกลางของนิ้ว เนื่องจากเวลาที่หยิบจับลูกบอล นิ้วเกิดอาการซ้นได้อย่างง่ายดาย ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อลูกบอลเข้ามากระทบที่นิ้วอย่างรุนแรง ซึ่งกระดูกข้อต่อส่วนนี้ได้ผลักลูกบอลออกไปการตกจากที่สูง
อาการนิ้วซ้นที่เกิดจากการตกจากที่สูง เกิดจากการที่มือของคุณนั้นเกิดการบาดเจ็บที่มาจากการตกจากที่สูง ซึ่งทำให้นิ้วมือนั้นเกิดการเคลื่อนที่ที่ผิดปกติไปจากข้อต่อของนิ้วการเกิดอุบัติเหตุ
การได้รับกระแทกอย่างรุนแรงที่นิ้ว อย่างเช่นนิ้วถูกประตูหนีบไว้ สามารถทำให้กระดูกนั้นเคลื่อนออกมาจากข้อต่อได้เช่นเดียวกันนิ้วซ้นจากทางพันธุกรรม
บางคนนั้นเกิดมาก็อาการเอ็นที่นิ้วอ่อนแอ เอ็นนั้นเป็นเนื้อเยื่อที่เชื่อมกับข้อต่อของกระดูก และทำให้เกิดโครงสร้างการเคลื่อนไหวที่ถูกต้อง แต่เมื่อเอ็นนั้นเกิดการบาดเจ็บก็ทำให้มีอาการนิ้วซ้นได้เช่นกันอาการของนิ้วซ้น
คุณอาจจะมีอาการของนิ้วซ้น ซึ่งนิ้วที่มาอาการซ้นจะมีลักษณะที่งอผิดรูป ถ้าเกิดอาการดังนี้:- ข้อต่อนิ้วเกิดคดงอดูผิดรูป
- กระดูกนิ้วของคุณจะยื่นออกไปด้านใดด้านหนึ่ง
- มีอาการบวมและช้ำรอบข้อต่อ
- มีอาการบาดเจ็บที่ข้อต่อ
- ไม่สามารถเคลื่อนนิ้วของคุณได้
การรักษาอาการนิ้วซ้น
ทันที่หลังจากเกิดอาการนิ้วซ้น หลีกเลื่ยงการดึงนิ้วกลับเข้าที่ด้วยตัวเอง ซึ่งอาจทำลายโครงสร้างพื้นฐานของข้อต่อนิ้วให้เสียหายอย่างถาวร เช่น:- หลอดเลือด
- เส้นเอ็น
- เส้นประสาท
- เอ็นนิ้ว
การลดอาการบาดเจ็บของอาการนิ้วซ้น
การลดอาการบาดเจ็บอาการนิ้วซ้น นั้นเป็นการรักษาโดยการจัดตำแหน่งของกระดูกให้กลับมาดังเดิม โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ คุณอาจได้รับการฉีดยาชาเฉพาะที่ เพื่อบรรเทาอาการบาดเจ็บ ซึ่งในระหว่างการรักษานั้น แพทย์จะกดกระดูกของคุณให้ปล่อยออกมา เพื่อดึงข้อต่อนิ้วให้กลับมาเข้าที่ดังเดิมอย่างที่เคยเป็นมาการผ่าตัด
อาการนิ้วซ้นในบางกรณีที่มีความรุนแรง อาจต้องได้รับการผ่าตัดเพื่อปรับเปลี่ยนตำแหน่งกระดูกและซ่อมแซมเอ็นที่ฉีดขาด การผ่าตัดนั้นมักจะใช้ต่อเมื่อการลดอาการบาดเจ็บนั้นไม่ได้ผล หรือข้อไม่สามารถเชื่อมต่อกับนิ้วได้ หรือคุณมีอาการนิ้วซ้นที่รุนแรงการรักษาโดยการดามนิ้ว
นอกจากการเข้าเฝือกแล้ว บางครั้งก็อาจใช้การดามนิ้วแทนที่การเข้าเฝือก แพทย์อาจใช้ที่ดามนิ้วพันนิ้วที่บาดเจ็บดามไว้กับนิ้วที่ปกติตืดไว้ด้วยกัน ซึ่งการรักษานี้จะช่วยให้อาการนิ้วซ้นที่บาดเจ็บนั้นดีขึ้นและอาจให้เคลื่อนไหวนิ้วเพื่อป้องกันการติดขัดของนิ้วและสูญเสียการเคลื่อนไหวได้การเข้าเฝือก
เมื่อกระดูกของคุณได้รับการจัดตำแหน่งใหม่ แพทย์จะทำการเข้าเฝือกให้กระดูกเข้าที่มากขึ้น ซึ่งการเข้าเฝือกนั้นป้องกันการเคลื่อนไหว และทำให้นิ้วกลับมามีอาการบาดเจ็บเหมือนเดิมอีก คุณอาจจะต้องเข้าเฝือกสัก 2-3 วัน ถึง 2 สัปดาห์ขึ้นไป ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการบาดเจ็บด้วยการฟื้นตัว
การทำกายภาพบำบัดหรือกิจกรรมบำบัดอาจได้รับการแนะนำจากแพทย์ เมื่อนิ้วของคุณได้เอาเฝือกออกมาแล้ว นักกายภาพบำบัดจะแนะนำให้คุณออกกำลังกายและอาจจะแนะนำการประคบร้อนและการนวด ซึ่งช่วยให้ลดอาการฝืดของนิ้วและเพิ่มความคล่องแคล่วในการใช้ข้อต่อ คุณสามารถกลับมาใช้ชีวิตและทำกิจกรรมตามปกติ อาจรวมถึงการเล่นกีฬาด้วยภายในไม่กี่สัปดาห์หลังจากอาการนิ้วซ้นหายไป แต่มันอาจจะใช้เวลาถึง 6 เดือนเพื่อรักษาอาการนิ้วซ้นจนกว่าจะหายสนิท โดยเฉพาะอย่าง ในบางกรณีที่คุณมีอาการนิ้วซ้นที่รุนแรง หรือการรักษาโดยการใช้ยาไม่ได้ผล ทำให้อาการเจ็บปวดหรืออาการฝืดติดที่นิ้ว สามารถทำให้อาการบาดเจ็บนั้นยาวนานจนถึงขั้นถาวรเลยก็ได้แนวทางการรักษาของอาการนิ้วซ้น
คนส่วนใหญ่จะมีการฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วในอาการนิ้วซ้นที่ไม่รุนแรงนัก แต่อย่างไรก็ตาม นิ้วของคุณอาจจะมีอาการนิ้วซ้นกลับมาอีกครั้งได้ในอนาคต ซึ่งการป้องกันอาการนิ้วซ้นนั้น มีดังต่อไปนี้- สวมอุปกรณ์การเล่นกีฬาทุกครั้ง และถ้าเป็นไปได้ ให้สวมเฝือกนิ้วเพื่อป้องกันการกระแทกที่นิ้วเมื่อเล่นกีฬา ซึ่งทำให้เกิดอาการนิ้วซ้นได้
- ออกกำลังที่มือของคุณ หรือทำกายภาพบำบัดเพื่อให้เกิดการคล่องตัวมากขึ้น
- ไม่ควรเดินถ้ารู้สึกไม่มีความสมดุลในร่างกาย และ ระวังการลื่นล้มที่รุนแรง ซึ่งทำให้คุณตกจากที่สูงได้
สิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำเมื่อมีอาการนิ้วซ้น
หากสงสัยว่ามีอาการนิ้วซ้น จำเป็นต้องไปพบแพทย์ทันที แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะสามารถประเมินอาการบาดเจ็บและให้การรักษาที่เหมาะสมได้อย่างเหมาะสม อย่างไรก็ตาม ต่อไปนี้คือสิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำโดยทั่วไปที่คุณอาจพิจารณาก่อนขอความช่วยเหลือจากแพทย์:สิ่งที่ควรทำ:
- ขอความช่วยเหลือจากแพทย์: ไปพบแพทย์หรือไปที่ห้องฉุกเฉินโดยเร็วที่สุดเพื่อรับการประเมินและการรักษาที่เหมาะสม
- ตรึงนิ้ว: ให้นิ้วที่บาดเจ็บอยู่นิ่งที่สุดเพื่อป้องกันความเสียหายเพิ่มเติม คุณสามารถใช้เฝือกหรือเฝือกชั่วคราวที่ทำจากกระดาษแข็งหรือวัสดุแข็ง แล้วยึดให้เข้าที่ด้วยเทปทางการแพทย์หรือผ้าพันแผล
- ยกมือขึ้น: ยกมือที่บาดเจ็บให้สูงกว่าระดับหัวใจเพื่อช่วยลดอาการบวม
- ประคบน้ำแข็ง: การประคบน้ำแข็งด้วยผ้าหรือผ้าประคบเย็นสามารถช่วยลดอาการปวดและบวมได้ อย่างไรก็ตาม อย่าประคบน้ำแข็งโดยตรงที่ผิวหนัง เพราะอาจทำให้เกิดอาการบวมเป็นน้ำเหลืองได้
- ใช้ยาบรรเทาอาการปวด: ยาแก้ปวดที่จำหน่ายหน้าเคาน์เตอร์ เช่น ไอบูโพรเฟนหรืออะเซตามิโนเฟนสามารถช่วยจัดการความเจ็บปวดได้จนกว่าจะได้รับความช่วยเหลือจากแพทย์ ปฏิบัติตามปริมาณที่แนะนำเสมอ
ไม่ควรทำ:
- อย่าพยายามดันนิ้วกลับเข้าที่ด้วยตัวเอง: การเคลื่อนที่ของนิ้วถือเป็นการบาดเจ็บที่รุนแรง และการพยายามขยับนิ้วโดยไม่ได้รับการฝึกฝนที่เหมาะสมอาจทำให้เกิดความเสียหายเพิ่มเติมได้
- หลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็น: อย่าพยายามขยับนิ้วที่เคลื่อนหรือพยายามยืดนิ้วให้ตรง เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายเพิ่มเติมได้
- อย่าเพิกเฉยต่อการบาดเจ็บ: ไม่ควรเพิกเฉยหรือปล่อยให้นิ้วเคลื่อนโดยไม่ได้รับการรักษา เนื่องจากอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในระยะยาวได้หากไม่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม
- หลีกเลี่ยงการใช้ความร้อน: การใช้ความร้อนสามารถเพิ่มอาการบวมและอาจทำให้อาการบาดเจ็บแย่ลงได้ ใช้น้ำแข็งเป็นเวลา 24-48 ชั่วโมงแรกหลังจากได้รับบาดเจ็บ
- อย่ารอช้าที่จะไปพบแพทย์: การประเมินและการรักษาทางการแพทย์อย่างทันท่วงทีมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการฟื้นตัวที่ประสบความสำเร็จ
นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา
- https://www.webmd.com/fitness-exercise/finger-dislocation
- https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK551508/
- https://www.mgo.md/patient-resources/education/finger-dislocation
- https://www.health.harvard.edu/a_to_z/finger-dislocation-a-to-z
เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น