ภาพรวม
โดยปกติภาวะชักจากไข้สูง (Febrile Seizure) เกิดขึ้นในเด็กเล็กที่มีอายุระหว่าง 3 เดือนถึง 3 ปี โดยปกติเด็กจะมีอาการไข้ชักเมื่อมีไข้ขึ้นสูงมากกว่า 102.2 ถึง 104°F (39 ถึง 40°C) ภาวะไข้ชนิดนี้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิที่รวดเร็วยิ่งมีอุณหภูมิสูงขึ้นยิ่งทำให้เกิดความเสี่ยงที่กระตุ้นทำให้เกิดอาการชักได้มากยิ่งขึ้น โดยปกติภาวะนี้มักเกิดขึ้นกับเด็กที่ป่วย โดยส่วนใหญ่ภาวะชักจากไข้สูงมักเกิดขึ้นกับเด็กที่มีอายุ 12-18 เดือน ภาวะชักจากไข้สูงมี 2 ประเภทได้แก่ ภาวะไข้ชักธรรมดาและภาวะไข้ชักแบบเกร็งหรือกระตุกเพียงซีกเดียว ซึ่งภาวะไข้ชักธรรมดาเป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้บ่อยมากกว่าอาการของภาวะไข้ชัก
อาการภาวะชักจากไข้สูงมีอาการเกิดขึ้นแตกต่างกันขึ้นอยู่กับประเภทของไข้ชัก อาการของภาวะชักจากไข้สูงแบบธรรมดาได้แก่- หมดสติ
- มีอาการแขนขากระตุกหรือมีอาการตัวสั่นอย่างรุนเเรง (โดยปกติมีเกิดอาการตัวสั่นเป็นจังหวะ)
- เป็นอาการสับสนหรือเหนื่อยหลังจากเกิดอาการชัก
- แขนและขาไร้ความรู้สึก
- หมดสติ
- มีอาการแขนขากระตุกหรือมีอาการตัวสั่นอย่างรุนเเรง
- โดยปกติมักเกิดอาการอ่อนเเรงที่แขนหรือขาข้างใดข้างหนึ่ง
- ลูกของคุณมีอุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นเมื่อมีอาการชักครั้งเเรกและอาจมีไข้ลดลง
- เมื่อมีอาการชักครั้งถัดไป มักเกิดขึ้นภายในปีที่เริ่มต้นเกิดอาการชัก
- อุณหภูมิของไข้อาจไม่สูงเท่ากับอาการไข้ชักครั้งเเรก
- ลูกของคุณเป็นไข้บ่อย
สาเหตุของภาวะชักจากไข้สูง
ภาวะชักจากไข้สูงมักเกิดขึ้นเมื่อลูกของคุณมีอาการป่วยแต่หลายครั้งที่ภาวะนี้เกิดขึ้นก่อนที่คุณจะทราบว่าลูกของคุณมีอาการป่วย เนื่องจากโดยปกติอาการไข้ชักมักเกิดขึ้นตั้งแต่วันเเรกที่เด็กมีอาการป่วย ซึ่งเด็กอาจยังไม่มีอาการป่วยแสดงออกมา สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะชักจากไข้สูงมีหลายประการได้แก่- อาการไข้มักเกิดขึ้นหลังจากการฉีดวัคซีนโดยเฉพาะวัคซีน MMR (โรคคางทูมและหัดเยอรมัน) โดยส่วนใหญ่อาการไข้สูงหลังจากการฉีดวัคซีนมักเกิดขึ้นเป็นเวลา 8 ถึง 14 วันหลังจากที่เด็กได้รับการฉีดวัคซีน
- มีไข้ที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือเชื้อแบคทีเรียที่สามารถทำให้เกิดภาวะชักจากไข้สูงได้ โดยโรคผื่นดอกกุหลาบเป็นโรคที่ทำให้เกิดอาการไข้ชักได้มากที่สุด
- ปัจจัยเสี่ยงได้แก่ มีสมาชิกในครอบครัวที่มีภาวะชักจากไข้สูง จึงทำให้ลูกมีความเสี่ยงเกิดอาการไข้ชักได้สูง
การรักษาภาวะชักจากไข้สูง
ในขณะที่เกิดภาวะไข้ชักโดยปกติไม่มีอาการแทรกซ้อนใดๆเกิดขึ้น สิ่งสำคัญคือควรพาเด็กไปเข้ารับการรักษาเมื่อเกิดภาวะชักขึ้นครั้งหนึ่ง ควรติดต่อทีมแพทย์ฉุกเฉินทันทีเมื่อเกิดอาการไข้ชัก แพทย์จำเป็นต้องมั่นใจว่าลูกของคุณไม่มีอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบที่ทำให้อาการเลวร้ายลง โดยเฉพาะเมื่อเกิดไข้ชักกับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 1 ปี ในขณะที่เด็กเกิดอาการชักควรปฏิบัติตามชั้นตอนดังต่อไปนี้- นำเด็กพลิกตัวนอนตะเเคง
- ไม่ควรนำสิ่งใดก็ตามใส่เข้าไปในปากของเด็ก
- ไม่ควรจำกัดการเคลื่อนไหวของอาการตัวสั่นอย่างรุนเเรงหรือแขนขากระตุก
- ควรนำสิ่งของหรือวัตถุที่เป็นอันตรายไปวางไว้ไกลจากตัวของผู้ที่เกิดอาการชัก (เฟอร์นอเจอร์หรือของแหลงคม)
- ระยะเวลาของการเกิดภาวะไข้ชัก
ภาวะแทรกซ้อนจากภาวะไข้สูง
อาการชักจากไข้เป็นอาการชักชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นในเด็กอายุระหว่าง 6 เดือนถึง 5 ปี โดยมักเกิดจากอาการไข้ อาการชักเหล่านี้ค่อนข้างพบได้บ่อยและมักไม่เป็นอันตราย แต่อาจทำให้ผู้ปกครองและผู้ดูแลรู้สึกลำบากใจเมื่อพบเห็น ในกรณีส่วนใหญ่ อาการชักจากไข้จะเกิดขึ้นเป็นเวลาสั้นๆ และกินเวลาน้อยกว่าสองสามนาที และมักจะหายได้เองโดยไม่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในระยะยาว อย่างไรก็ตาม ในบางกรณีอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจากอาการชักจากไข้ได้ ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่ :- การเกิดซ้ำ: เด็กที่มีอาการชักจากไข้หนึ่งครั้งมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่จะมีไข้ตามมาอีก ความเสี่ยงของการเกิดซ้ำจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ รวมถึงประวัติครอบครัวและอายุของเด็กที่เกิดอาการชักครั้งแรก
- การบาดเจ็บ: ระหว่างที่มีอาการชักจากไข้ เด็กอาจหมดสติและมีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อหรือเคลื่อนไหวกระตุก ในบางกรณีอาจหกล้มหรือกระแทกศีรษะจนได้รับบาดเจ็บได้
- ความกังวลเกี่ยวกับพัฒนาการ: ในกรณีส่วนใหญ่ อาการชักจากไข้ไม่ได้ทำให้เกิดปัญหาทางระบบประสาทหรือพัฒนาการที่ยาวนาน อย่างไรก็ตาม งานวิจัยบางชิ้นได้ชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่เป็นไปได้ระหว่างอาการชักจากไข้หลายครั้งหรือเป็นเวลานานกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยในพัฒนาการล่าช้าหรือความบกพร่องทางการเรียนรู้ หลักฐานเกี่ยวกับเรื่องนี้ยังไม่เป็นที่แน่ชัด และเด็กส่วนใหญ่ฟื้นตัวเต็มที่โดยไม่มีปัญหาใดๆ
- สาเหตุแฝง: อาการชักจากไข้เป็นอาการของการติดเชื้อหรือการเจ็บป่วย เช่น การติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย การแก้ไขสาเหตุเป็นสิ่งสำคัญเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อ
- โรคลมบ้าหมู: ในบางกรณี อาการชักจากไข้อาจนำไปสู่การชักเป็นเวลานานที่เรียกว่าโรคลมชักในสถานะ โรคลมบ้าหมูเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ที่ต้องได้รับการดูแลทันที เนื่องจากอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง รวมถึงสมองถูกทำลาย
บทสรุป
โดยปกติภาวะชักจากไข้สูงไม่มีอะไรที่น่ากังวลเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้น แม้ว่าอาการภาวะไข้ชักอาจทำให้ดูน่าหวาดกลัวเมื่อเกิดขึ้นกับเด็กโดยเฉพาะครั้งเเรก อย่างไรก็ตามควรพาเด็กไปพบแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพทันทีหลังจากมีภาวะชักจากไข้สูงเกิดขึ้น โดยแพทย์จะทำการยืนยันว่าเด็กมีอาการไข้ชักเกิดขึ้นและวางแผนการรักษาต่อไปในอนาคต ควรติดต่อทีมแพทย์ฉุกเฉินทันที หากมีอาการดังต่อไปนี้เกิดขึ้น- คอตึง
- อาเจียน
- หายใจลำบาก
- นอนหลับยาก
นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/febrile-seizure/symptoms-causes/syc-20372522
- https://www.nhs.uk/conditions/febrile-seizures/
- https://www.ninds.nih.gov/Disorders/Patient-Caregiver-Education/Fact-Sheets/Febrile-Seizures-Fact-Sheet
- https://kidshealth.org/en/parents/febrile.html
เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น