อ่อนเพลีย ไม่มีแรง (Fatigue) : อาการ สาเหตุ การรักษา

ร่างกายอ่อนเพลีย (Fatigue) คือ ความรู้สึกเหนื่อยล้า หรือขาดพลังงานของร่างกาย แต่ไม่ใช่ความรู้สึกง่วงนอน การง่วงนอนอาจเป็นอาการของความเหนื่อยล้า แต่ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของความเหนื่อยล้า อาการอ่อนเพลียเป็นอาการทั่วไปของปัญหาสุขภาพที่อาจจะไม่ส่งผลมาก ไปจนถึงกระทบต่อร่างกายอย่างมาก ส่วนมากเป็นผลมาจากการใช้ชีวิตประจำวันที่ไม่เหมาะสม เช่น ขาดการออกกำลังกาย หรือการรับประทานอาหารที่ไม่เป็นประโยชน์ หากพักผ่อนและรับประทานอาหารที่มีประโยชน์อย่างเพียงพอแล้วความเหนื่อยล้าไม่หายไป เป็นไปได้ว่าจะเกิดจากปัญหาด้านสุขภาพจิต ควรเข้าพบแพทย์เพื่อเข้ารับการวินิจฉัย และรักษาต่อไป Fatigue

ร่างกายอ่อนเพลียเกิดจากอะไร

มีสาเหตุมากมายที่ทำให้เกิดความอ่อนเพลีย เราสามารถแบ่งเป็นกลุ่มหลักๆ ได้ดังนี้
  • ปัจจัยจากพฤติกรรมประจำวัน
  • ปัจจัยจากปัญหาสุขภาพกาย
  • ปัจจัยจากปัญหาสุขภาพจิต

ปัจจัยจากพฤติกรรมประจำวัน

  • ออกแรงมากเกินไป
  • ขาดการออกกำลังกาย
  • นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ
  • ภาวะน้ำหนักเกิน
  • เครียด
  • เบื่อหน่าย
  • ซึมเศร้า
  • การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาซึมเศร้า หรือยากล่อมประสาท
  • ดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมาก
  • ยาเสพติด เช่น โคเคน
  • ดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีนเกินขนาด
  • รับประทานอาหารที่ไม่เป็นประโยชน์

ปัจจัยจากปัญหาสุขภาพกาย

ความเหนื่อยล้าเป็นอาการทั่วไปของความวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า และโรคอารมณ์ที่แปรปรวนตามฤดูกาล

เมื่อไรที่ควรพบแพทย์ ควรรีบพบแพทย์เมื่อพบว่าร่างกายเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ร่วมกับอาการดังต่อไปนี้

  • ไม่พบสาเหตุที่ทำให้ร่างกายเหนื่อยล้า
  • มีอุณหภูมิร่างกายสูงกว่าปกติ
  • น้ำหนักลดลงอย่างไม่มีสาเหตุ
  • ไวต่ออุณหภูมิที่เย็น
  • วูบบ่อยๆ
  • สงสัยว่าเป็นโรคซึมเศร้า
หากพยายามแก้ไขสาเหตุจากพฤติกรรม เช่น การพักผ่อนไม่เพียงพอ การรับประทานอาหารที่ไม่เป็นประโยชน์ และความเครียด แต่อาการเหนื่อยล้าไม่หายไปและยังคงดำเนินต่อไปนานกว่า 2 สัปดาห์ จำเป็นจะต้องเข้าพบแพทย์โดยเร่งด่วน และหากอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย อ่อนเพลีย และมีอาการดังต่อไปนี้ร่วมด้วย ถือว่ารุนแรงและควรพบแพทย์

วิธีการรักษาอาการอ่อนเพลีย

แพทย์จะแนะนำวิธีการรักษาที่สอดคล้องกับสาเหตุของความอ่อนเพลียดังนี้
  • เวลาที่เริ่มมีอาการและเวลาที่อาการดีขึ้น
  • อาการอื่น ๆ ที่คุณเคยพบ
  • ปัญหาด้านสุขภาพอื่นๆ
  • ที่มาของความเครียด
  • ยาที่ใช้
หากแพทย์สงสัยว่า มีอาการป่วยที่เป็นสาเหตุของความเหนื่อยล้า จำเป็นจะต้องทดสอบทางการแพทย์บางอย่างเพิ่ม เช่น การตรวจเลือดหรือปัสสาวะ

วิถีชีวิตที่เปลี่ยนแล้วจะทำให้ความอ่อนเพลียหายไป

คำแนะนำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ที่จะช่วยลดความเหนื่อยล้า
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อร่างกาย
  • รับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ
  • นอนหลับให้เพียงพอ
  • หลีกเลี่ยงความเครียด
  • ทำกิจกรรมผ่อนคลาย เช่น โยคะ
  • งดการดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ และยาเสพติดอื่น ๆ 
การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้สามารถช่วยบรรเทาความเหนื่อยล้า อ่อนเพลียข และควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด มิฉะนั้นจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตได้

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

  • https://www.webmd.com/balance/how-tired-is-too-tired#1
  • https://www.nhs.uk/live-well/sleep-and-tiredness/10-medical-reasons-for-feeling-tired/
  • https://www.medicinenet.com/fatigue/article.htm

เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด