สารไซยาไนด์มีเพื่ออะไร
ไซยาไนด์เป็นสารประกอบทางเคมีที่มีพิษสูงซึ่งประกอบด้วยอะตอมของคาร์บอนที่จับกับอะตอมไนโตรเจน พบได้ในรูปแบบต่างๆ รวมถึงไฮโดรเจนไซยาไนด์ (HCN) และเกลือไซยาไนด์ (เช่น โพแทสเซียมไซยาไนด์และโซเดียมไซยาไนด์) ไซยาไนด์ขึ้นชื่อในเรื่องความเป็นพิษขั้นรุนแรง และการสัมผัสกับสารในปริมาณเพียงเล็กน้อยก็อาจถึงแก่ชีวิตได้ ไซยาไนด์มีการใช้งานหลายอย่าง ซึ่งบางส่วนถูกต้องตามกฎหมายและได้รับการควบคุม ในขณะที่การใช้งานอื่นๆ ผิดกฎหมายและเป็นอันตรายอย่างยิ่ง:- ใช้ในอุตสาหกรรม :
-
- การทำเหมืองแร่ : ไซยาไนด์มักใช้ในอุตสาหกรรมเหมืองแร่เพื่อสกัดทองคำและโลหะมีค่าอื่นๆ จากแร่ มันก่อตัวเป็นสารเชิงซ้อนที่ละลายน้ำได้กับทองคำ ทำให้สามารถแยกตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- การผลิตสารเคมี : ไซยาไนด์ใช้ในกระบวนการทางเคมีต่างๆ รวมถึงการผลิตไนลอน พลาสติก และยางสังเคราะห์
- การรมควัน : ก๊าซไฮโดรเจนไซยาไนด์ถูกนำมาใช้เพื่อการควบคุมศัตรูพืชและการรมควันในการเกษตร
- อาวุธเคมี : สารประกอบไซยาไนด์ โดยเฉพาะก๊าซไฮโดรเจนไซยาไนด์ ถูกใช้เป็นอาวุธเคมีในสงคราม สารเหล่านี้อาจถึงแก่ชีวิตได้เมื่อปล่อยสู่อากาศ
- การฆ่าตัวตายและการฆาตกรรม : น่าเสียดายที่ไซยาไนด์ถูกใช้เป็นพิษในการฆ่าตัวตายและการฆาตกรรม เนื่องจากไซยาไนด์มีผลกระทบอย่างรวดเร็วและถึงแก่ชีวิตเมื่อกินหรือสูดดม
Cyanide สารไซยาไนด์
สารไซยาไนด์เป็นสารเคมีที่ออกฤทธิ์อย่างรวดเร็ว และเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ซึ่งปนเปื้อนในรูปแบบต่าง ๆ ไซยาไนด์อาจอยู่ในรูปของก๊าซที่ไม่มีสี เช่น ไฮโดรเจนไซยาไนด์ (HCN) หรือไซยาไนด์คลอไรด์ (CNCl) อาจอยู่ในรูปของแข็งเป็นโซเดียมไซยาไนด์ (NaCN) หรือโพแทสเซียมไซยาไนด์ (KCN) ไซยาไนด์บางครั้งถูกอธิบายว่ามีกลิ่น “อัลมอนด์ขม” แต่บางครั้งก็อาจไม่มีกลิ่น หลายคนจึงไม่สามารถได้กลิ่นนี้ได้ ไซยาไนด์เป็นที่รู้จักกันในชื่อ military designations AC (สำหรับไฮโดรเจนไซยาไนด์) และ CK (สำหรับไซยาไนด์คลอไรด์)พบไซยาไนด์พบได้ที่ใด และนำมาใช้งานอย่างไร
ไซยาไนด์พบตามธรรมชาติในอาหาร และพืชบางชนิด เช่น มันสำปะหลัง ถั่วลิมา และอัลมอนด์ ดิน และเมล็ดของผลไม้ชนิดต่าง ๆ เช่น แอปริคอต แอปเปิ้ล และพีชบางชนิดอาจดูดซึมสารเคมีชนิดต่าง ๆ อย่างไซยาไนด์เข้าไปสะสมในลำต้นได้ ส่วนที่กินได้ของพืชเหล่านี้มีสารเคมีปนเปื้อนในปริมาณค่อนข้างต่ำ ไซยาไนด์มีอยู่ในควันบุหรี่ และสิ่งที่เกิดจากการเผาไหม้ของวัสดุสังเคราะห์ เช่น พลาสติก เวลาที่ผลิตภัณฑ์เหล่านี้เผาไหม้จะมีการปลดปล่อยสารเคมีต่าง ๆ ออกมา ไซยาไนด์จะถูกนำไปใช้ในกระบวนการผลิตกระดาษ สิ่งทอ และพลาสติก มีการใช้สารเคมีนี้ในการผลิตภาพถ่าย เกลือไซยาไนด์ใช้ในอุตสาหกรรมโลหะ สำหรับงานชุบโลหะด้วยไฟฟ้า การทำความสะอาดโลหะ และการขจัดทองคำออกจากแร่ ก๊าซไซยาไนด์ใช้ในการกำจัดศัตรูพืช สัตว์พาหะในเรือ และอาคารต่าง ๆ หากกลืนกินโดยไม่ตั้งใจ สารเคมีที่พบในร่างกายจะอยู่ในรูปของ Acetonitrile-based ซึ่งเป็นสารเคมีชนิดเดียวกับที่ใช้ในการถอดเล็บ หากเข้าสู่กระบวนการดูดซึมสามารถผลิตไซยาไนด์เมื่อร่างกายเกิดการเผาผลาญ ไฮโดรเจนไซยาไนด์ที่ผลิตในชื่อ Zyklon B เคยถูกนำไปใช้เป็นสารฆ่าล้างเผ่าพันธุ์โดยชาวเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่สอง รายงานระบุว่าในช่วงสงครามอิหร่าน – อิรัก ในช่วงปี 1980 อาจมีการนำก๊าซไฮโดรเจนไซยาไนด์มาใช้ร่วมกับสารเคมีอื่น ๆ เพื่อจัดการกับชาวเคิร์ด ที่เมืองฮาลาจา ทางตอนเหนือของอิรักหากสัมผัสกับไซยาไนด์ต้องทำอย่างไร
เมื่อสัมผัสกับไซยาไนด์ทางอากาศ โดยการหายใจ ดื่มน้ำ กินอาหาร หรือสัมผัสดินที่มีไซยาไนด์ ไซยาไนด์เข้าสู่น้ำ ดิน หรืออากาศ ได้จากกระบวนการทางธรรมชาติ และกิจกรรมทางอุตสาหกรรม เมื่ออยู่ในอากาศมักอยู่ในรูปของก๊าซไฮโดรเจนไซยาไนด์ การสูบบุหรี่อาจเป็นแหล่งสำคัญหนึ่งที่ทำให้ได้รับไซยาไนด์ โดยเฉพาะในกรณีของผู้ที่ไม่ได้ทำงานในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับไซยาไนด์การทำงานของไซยาไนด์
ระดับของพิษของไซยาไนด์ขึ้นกับปริมาณไซยาไนด์ที่ได้รับ ผ่านทางการสัมผัส รวมถึงระยะเวลาที่บุคคลนั้น ๆ ได้รับด้วย ก๊าซไซยาไนด์เข้าสู่ร่างกายทางการหายใจ ซึ่งเป็นอันตรายมากที่สุด แต่การกลืนไซยาไนด์ก็เป็นพิษด้วยเช่นกัน ก๊าซไซยาไนด์เป็นอันตรายที่สุด หากได้รับในสถานที่ที่มีการปิดล้อม และก๊าซถูกกักไว้ ก๊าซไซยาไนด์จะระเหย และกระจายอย่างรวดเร็วเมื่ออยู่ในที่โล่ง จึงไม่เป็นอันตรายหากได้รับในบริเวณกลางแจ้ง ก๊าซไซยาไนด์มีความหนาแน่นน้อยกว่าอากาศ จึงลอยสูงขึ้นไปในบรรยากาศ ไซยาไนด์ทำให้เซลล์ของร่างกายไม่สามารถใช้ออกซิเจนได้ ทำให้เซลล์ตาย ไซยาไนด์เป็นอันตรายต่อหัวใจ และสมองมากกว่าอวัยวะอื่น ๆ เนื่องจากหัวใจ และสมองใช้ออกซิเจนมากเป็นพิเศษสัญญานที่ระบุว่ากำลังได้รับไซยาไนด์
ผู้ที่สัมผัสกับไซยาไนด์ในปริมาณเล็กน้อย ผ่านการหายใจ ดูดซึมผ่านผิวหนัง หรือรับประทานเข้าไปอาจมีอาการ หรืออาการร่วมบางประการ หรือรวมกันทั้งหมดภายในไม่กี่นาที ดังนี้:- วิงเวียนศีรษะ
- ปวดศีรษะ
- คลื่นไส้ อาเจียน
- หายใจถี่
- หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ
- กระสับกระส่าย
- อ่อนเพลีย
- ชักเกร็ง
- หมดสติ
- ความดันโลหิตต่ำ
- ปอดฉีกขาด
- ระบบทางเดินหายใจล้มเหลว จนทำให้เสียชีวิต
- อัตราการเต้นของหัวใจช้าลง
ผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวเมื่อได้รับไซยาไนด์
ผู้ที่รอดชีวิตจากพิษไซยาไนด์ในระดับรุนแรง อาจได้รับความเสียหายบริเวณหัวใจ สมอง และเส้นประสาทการป้องกันและปฏิบัติตัวเมื่อสัมผัสกับไซยาไนด์
การหายใจมักเป็นสาเหตุหลักของการสัมผัสกับไซยาไนด์ ให้รีบออกจากบริเวณที่มีก๊าซไซยาไนด์ และให้ไปยังบริเวณที่มีอากาศบริสุทธิ์ การอพยพไปยังบริเวณที่มีอากาศบริสุทธิ์อย่างรวดเร็วจะช่วยลดการสัมผัสกับก๊าซไซยาไนด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากก๊าซไซยาไนด์ถูกปล่อยออกมากลางแจ้ง ให้อพยพออกจากบริเวณที่ก๊าซถูกปลดปล่อยออกมา หากไม่สามารถอพยพออกมาจากบริเวณที่ปล่อยก๊าซไซยาไนด์ออกมาได้ ให้ก้มตัวลงต่ำใกล้ชิดพื้นให้ได้มากที่สุด หากปล่อยก๊าซไซยาไนด์ภายในอาคารให้รีบออกจากอาคารนั้น หากอยู่ใกล้พื้นที่ที่มีการปล่อยก๊าซไซยาไนด์ ให้ประสานงานกับหน่วยงานฉุกเฉิน เพื่อดำเนินการอพยพผู้คนออกจากพื้นที่ หรือ “หาที่พักพิงชั่วคราวให้” (ควรอยู่ในที่ร่ม และเป็นพื้นที่ปิด) อยู่แต่ภายในอาคารเพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารเคมี หากคิดว่าตนเองอาจสัมผัสกับไซยาไนด์ ควรถอดเสื้อผ้าออก แล้วล้างร่างกายด้วยสบู่ และน้ำอย่างรวดเร็ว และเข้ารับการดูแลจากแพทย์ให้เร็วที่สุด การถอดเสื้อผ้า : ถอดเสื้อผ้าที่อาจมีการปนเปื้อนของไซยาไนด์ออกไปโดยเร็ว เสื้อผ้าที่ต้องดึงออกไปทางศีรษะ ควรใช้การตัดออกแทนการดึงตามปกติ หากกำลังช่วยผู้อื่นถอดเสื้อผ้า ให้พยายามหลีกเลี่ยงการสัมผัสบริเวณที่ปนเปื้อน และถอดเสื้อผ้าออกให้เร็วที่สุด การล้างตัว : ล้างไซยาไนด์ออกจากผิวหนังโดยเร็วที่สุดด้วยสบู่ และน้ำปริมาณมาก การล้างด้วยสบู่และน้ำจะช่วยป้องกันไม่ให้สารเคมีซึมผ่านร่างกายได้ หากดวงตารู้สึกปวดแสบปวดร้อน หรือมองเห็นไม่ชัดให้ล้างตาด้วยน้ำเปล่านาน 10 ถึง 15 นาที หากใส่คอนแทคเลนส์ให้รีบถอดออก แล้วห่อด้วยผ้าเอาไว้ ห้ามนำมาสัมผัสกับใบหน้า หรือนำกลับมาใช้อีก (แม้จะเป็นคอนแทคเลนส์ที่ยังมีอายุการใช้งานอยู่ก็ตาม) หากคุณสวมแว่นตาให้ล้างด้วยสบู่ และน้ำ และสามารถสวมแว่นกลับเข้าไปใหม่ได้หลังจากล้างทำความสะอาดแล้ว กรณีสวมเครื่องประดับก็สามารถล้างด้วยสบู่ และน้ำ ก่อนนำกลับไปใช้ใหม่ได้เช่นกัน การทิ้งเสื้อผ้า : หลังจากล้างตัวแล้วให้ใส่เสื้อผ้าไว้ในถุงพลาสติก หลีกเลี่ยงการสัมผัสบริเวณที่เปื้อนเสื้อผ้า หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ให้สวมถุงมือยาง หรือห่อเสื้อผ้าด้วยด้านในของถุงก่อนม้วนกลับออกมา เพื่อให้ส่วนที่ปนเปื้อนอยู่ภายในถุงเท่านั้น อีกวิธีหนึ่งคือใช้ที่คีบหรือเครื่องมือลักษณะเดียวกัน คีบเสื้อผ้าใส่ลงในถุง และนำอุปกรณ์ที่ใช้คีบเสื้อผ้าเก็บร่วมเอาไว้ในถุง รวมทั้งคอนแทคเลนส์ที่มีการปนเปื้อนด้วย ปิดปากถุง แล้วนำถุงไปใส่ไว้ในถุงพลาสติกอีกชั้นหนึ่ง วิธีนี้จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการสัมผัสกับสารเคมีที่ปนเปื้อนอยู่บนเสื้อผ้าชิ้นนั้น ๆ เมื่อหน่วยงานสาธารณสุข หรือหน่วยงานภาครัฐ มาสอบถามเกี่ยวกับการปนเปื้อนของไซยาไนด์ ให้นำเสื้อผ้าที่ปนเปื้อนให้กับเจ้าหน้าที่ เพื่อดำเนินการต่อไป ไม่ควรจัดการถุงเสื้อผ้าด้วยตนเอง รีบไปพบแพทย์ทันที และอธิบายว่าเกิดอะไรขึ้นวิธีการรักษาพิษไซนาไนด์
พิษของไซยาไนด์สามารถรักษาได้ด้วยยาแก้พิษสำหรับไซยาไนด์โดยเฉพาะ และการดูแลทางการแพทย์ตามสถานพยาบาล ยาแก้พิษสำหรับพิษไซยาไนด์จะเกิดประโยชน์มากที่สุด หากได้รับโดยเร็วที่สุดหลังจากสัมผัส แพทย์จะใช้ในกรณีที่สงสัยว่าได้รับไซยาไนด์ โดยไม่ต้องรอการยืนยันทางห้องปฏิบัติการ เพราะสิ่งที่สำคัญที่สุดคือผู้ที่ได้รับสารเคมีต้องได้รับการรักษาพยาบาลโดยเร็วที่สุดนี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
- https://emergency.cdc.gov/agent/cyanide/basics/facts.asp
- https://www.health.ny.gov/environmental/emergency/chemical_terrorism/cyanide_general.htm
- https://www.cyanidecode.org/cyanide-facts/environmental-health-effects
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น