ขี้ตา (Eye Crust) สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนหลังจากการตื่นนอน กรณีนี้เกิดจากการสะสมของน้ำมันและเมือกต่าง ๆ ขณะที่คุณกำลังพักผ่อน แต่ทว่าหากมีขี้ตาทั้งวันในเวลาหลังตื่นนอน หรือตอนกลางวันไม่ว่าจะเป็นข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง นั่นแสดงให้เห็นว่าดวงตาของคุณอาจเกิดการระคายเคืองและติดเชื้อ
การมีขี้ตานั้นไม่ใช่สาเหตุที่ต้องเป็นกังวลมากนักความแต่ในบางกรณี หากเป็นบ่อยและผิดปกติแนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อให้แน่ใจว่าอาการของคุณจะไม่ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตราย
สาเหตุและอาการของขี้ตาเยอะ รวมไปถึงการรักษา
อาการระคายเคืองจากสารระคายต่าง ๆ เช่นฝุ่น คราบน้ำตา อาจก่อให้เกิดขี้ตาได้ แต่อย่างไรก็ตามยังมีสาเหตุอื่น ๆ อีกหลายประการที่อาจทำให้เกิดการระคายเคืองตาและก่อให้เกิดขี้นได้เยื่อบุตาอักเสบ
เยื่อบุตาอักเสบหรือที่เรียกว่า ตาแดง เมื่อเส้นเลือดในเยื่อบุตาเกิดการอักเสบ อาจเกิดขึ้นจากการติดเชื้อที่พบบ่อยซึ่งมักเกิดจากแบคทีเรียหรือไวรัส อาจทำให้เกิดการติดต่อได้ และทำให้ผู้ป่วยมีขี้ตาเยอะ คันตา ระคายเคือง น้ำตาไหล ปวดตาการรักษาตาแดง
การรักษาตาแดงโดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการบรรเทาอาการที่เกิดขึ้นจนกว่าตาแดงจะหาย โดยแพทย์อาจสั่งยาหยอดตาและแนะนำให้ประคบเย็นเพื่อช่วยผ่อนคลายดวงตา หากตาแดงที่ผู้ป่วยเปิดเกิดจากอาการภูมิแพ้ที่ไม่ใช่ไวรัส แพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยาแก้แพ้และแก้อาการอักเสบภูมิแพ้ขึ้นตา
ภูมิแพ้ขึ้นตา เป็นการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นเมื่อดวงตาเกิดการระคายเคืองจากสารก่อภูมิแพ้ เช่นละอองเกสรดอกไม้หรือฝุ่นละอองทำให้มีขี้ตาเยอะ และ อาการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาการแพ้ทางตา ได้แก่ :การรักษาภูมิแพ้ขึ้นตา
ผู้ป่วยอาจต้องมีการใช้ยารักษาโรคภูมิแพ้และยาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาการ แพทย์สั่งจ่ายยาหยอดตา เพื่อบรรเทาอาการอักเสบ อย่างไรก็ตามวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันไม่ให้เกิดอาการแพ้และระคายเคืองดวงตาคือหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้นั้น ๆกระจกตาเป็นแผล
แผลที่กระจกตาอาจจะมีสาเหตุมาจากตาแห้ง หรือการติดเชื้อรุนแรง เมื่อเกิดการอักเสบหรือติดเชื้อ อาจจะส่งผลให้มีขี้ตาเกรอะ รวมไปถึงอาการอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นเมื่อเกิดแผลที่กระจกตา คือการรักษากระจกตาเป็นแผล
แผลที่กระจกตาส่วนใหญ่ต้องการการรักษา หากอาการเหล่านี้ทำให้เกิดอาการปวดอย่างมากแพทย์จะทำการสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะ ในกรณีที่รุนแรงหากแผลที่กระจกตาส่งผลกระทบต่อการมองเห็นของคุณอย่างถาวรหรือทำให้เกิดความเสียหายในระยะยาวอาจจำเป็นต้องปลูกถ่ายกระจกตาจัดการกับขี้ตาอย่างไร
ต่อไปนี้เป็นเคล็ดลับที่จะช่วยป้องกันและจัดการกับขี้ตา:- รักษาสุขอนามัยดวงตาที่เหมาะสม:
- ล้างมือให้สะอาดก่อนสัมผัสดวงตา
- ใช้ผ้าหรือกระดาษทิชชู่ที่สะอาดและอ่อนนุ่มค่อยๆ เช็ดเศษขี้ตาออกจากหางตา
- รักษาดวงตาของคุณให้สะอาด:
- ใช้แชมพูเด็กอ่อนที่ปราศจากน้ำตาหรือน้ำยาทำความสะอาดดวงตาที่อ่อนโยนซึ่งแพทย์แนะนำให้ทำความสะอาดเปลือกตาและขนตา
- ชุบสำลีก้อนหรือผ้าสะอาดด้วยน้ำยาทำความสะอาด แล้วค่อยๆ เช็ดตามขอบเปลือกตาเพื่อขจัดเศษผงหรือเปลือกตาออก
- รักษาความชุ่มชื้น:
- ดื่มน้ำมากๆ เพื่อให้แน่ใจว่าร่างกายของคุณมีน้ำเพียงพอ ซึ่งสามารถช่วยรักษาการผลิตน้ำตาที่ดีต่อสุขภาพ
- หลีกเลี่ยงการขยี้ตา:
- การขยี้ตาสามารถทำให้เกิดสิ่งสกปรกและสารระคายเคือง ซึ่งอาจนำไปสู่การสร้างขี้ตามากขึ้น
- จัดการการแพ้และอาการทางตา:
- หากคุณมีอาการแพ้หรืออาการทางตาอื่นๆ ที่ทำให้มีขี้ตามากเกินไป ควรปรึกษาแพทย์ตาเพื่อรับการจัดการและการรักษาที่เหมาะสม
- ใช้น้ำตาเทียม:
- น้ำยาน้ำตาเทียมที่จำหน่ายหน้าเคาน์เตอร์สามารถช่วยให้ดวงตาของคุณชุ่มชื้นและลดโอกาสในการเกิดขี้ตา
- ที่อยู่สาเหตุพื้นฐาน:
- หากคุณสังเกตว่ามีน้ำมูกไหลอย่างต่อเนื่องหรือแย่ลง ตาแดง รู้สึกไม่สบาย หรือการมองเห็นเปลี่ยนไป สิ่งสำคัญคือต้องไปพบแพทย์ตา สิ่งเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อที่ดวงตาหรือปัญหาอื่นๆ ที่ต้องได้รับการดูแลจากผู้เชี่ยวชาญ
เมื่อไหร่ที่ควรไปพบแพทย์
คุณควรไปพบแพทย์หากมีขี้ตาเยอะเกินไป ติดต่อกันหนึ่งสัปดาห์ ในกรณีที่รุนแรงมากขึ้นขี้ตาเยอะนี้อาจเกิดขึ้นพร้อมกับอาการอื่น ๆ เช่นความเจ็บตา และตามัว เป็นต้น หากมีอาการระคายเคืองบริเวณดวงตา พร้อมกับขี้ตาเยอะเกินไป หรือหากคุณสังเกตเห็นว่ามีสีของขี้ตาสีเขียวหรือสีอื่น ๆ ที่ผิดปกติให้ไปพบแพทย์ทันที เนื่องจากอาจจะเป็นสัญญาณของอาการอื่น ๆ ที่ร้ายแรงได้ภาพรวม
ขี้ตาเยอะเกิดจากสาเหตุมาจากหลายประการ ในบางกรณีอาจจะเป็นอาการทั่วไปที่เกิดขึ้นได้ไม่ส่งผลร้ายแรงและจะหายไปเอง หรือในบางกรณีอาจจะเป็นผลพวงมาจากโรคทางตาอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่หากไม่หายและเป็นเกินกว่าหนึ่งอาทิตย์ ผู้ป่วยควรเข้ารับการปรึกษาจากแพทย์หาถึงสาเหตุที่แน่ชัดเพื่อป้องกันอันตรายที่สามารถเกิดขึ้นได้กับดวงตา เนื่องจากดวงตาเป็นอวัยวะที่สำคัญเราควรถนอมดวงตาไว้ให้ดีที่สุดนี่ที่แหล่งที่มาในบทความของเรา
- https://www.webmd.com/eye-health/eye-gunk
- https://www.medicalnewstoday.com/articles/320812
เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น