น้ำมันหอมระเหยถูกนำมาใช้บ่อยในการบำบัดรักษาโรคโดยใช้กลิ่นหอม เป็นทางเลือกอีกรูปแบบหนึ่งในการรักษาที่ถูกนำมาช่วยเพื่อทำให้สุขภาพ และชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม เรื่องการนำน้ำมันมาร่วมใช้ในการรักษายังคงเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันอยู่ น้ำมันหอมระเหยคืออะไร  น้ำมันหอมระเหยคือน้ำมันที่สกัดมาจากพืช ไม่ว่าจะเป็นจากดอก ใบ หรือลำต้นและผล น้ำมันนี้จะเก็บกลิ่นของพืชไว้ที่เรียกว่า “เอสเซนส์” ที่เป็นกลิ่นเฉพาะตัวก็จะให้น้ำมันที่มีกลิ่นเฉพาะของพืชชนิดนั้น น้ำมันหอมระเหยได้มาจากการกลั่น (ผ่านไอน้ำและ/หรือน้ำ) หรือวิธีเชิงกล เช่นการบีบเย็น เมื่อแอโรมาติกสารเคมีถูกสกัดออกมาแล้ว จะถูกนำไปรวมกับผลิตภัณฑ์เพื่อพร้อมนำไปใช้ วิธีทำน้ำมันเป็นสิ่งที่สำคัญมาก น้ำมันหอมระเหยที่ได้ผ่านกระบวนการทางเคมีจะไม่จัดเป็นน้ำมันหอมระเหยที่แท้จริง 

สรรพคุณน้ำมันหอมระเหย 

น้ำมันหอมมักนำมาใช้ในการบำบัดรักษาโรคด้วยกลิ่นหอม ด้วยการสูดดมผ่านกรรมวิธีที่หลากหลายรูปแบบ น้ำมันหอมระเหยไม่ได้ทำมาเพื่อการดื่มกลิ่น สารเคมีในน้ำมันหอมระเหยสามารถก่อปฏิกิริยาต่อร่างกายได้หลายทาง เมื่อถูกนำมาใช้กับผิวหนัง สารเคมีจากพืชจะถูกดูดซึมเข้าไปในผิวหนัง ด้วยกรรมวิธีบางอย่างสามารถทำให้การดูดซึมดีขึ้นได้ เช่นการนำไปใช้ร่วมกับความร้อนหรือการใช้ในบริเวณของร่างกายที่แตกต่างกัน แต่อย่างไรก็ตามการศึกษาเรื่องนี้ยังคงมีไม่มากนัก การสูดดมกลิ่นหอมจากน้ำมันหอมระเหยสามารถกระตุ้นระบบลิมบิกได้ ซึ่งเป็นส่วนของสมองที่มีบทบาทเกี่ยวกับเรื่องของอารมณ์ พฤติกรรม การรับรู้รสกลิ่น และความทรงจำในระยะยาว สิ่งที่น่าสนใจยิ่ง ระบบลิมบิกคือแหล่งรวมความทรงจำจำนวนมหาศาล ด้วยเหตุนี้จึงสามารถอธิบายได้ว่าทำไมกลิ่นที่คุ้นเคยจึงสามารถช่วยกระตุ้นความทรงจำหรืออารมณ์ได้ ระบบลิมบิกมีบทบาทสำคัญในการควบคุมการทำงานของจิตใต้สำนึกหลายอย่าง เช่นการหายใจ การเต้นของหัวใจและความดันเลือด อย่างเช่นพบว่าในบางรายคนที่อ้างว่าใช้น้ำมันหอมระเหยสามารถช่วยเพิ่มแรงให้ร่างกายได้   กลิ่นน้ำมันหอมระเหยที่ได้รับความนิยม น้ำมันหอมมมากกว่า 90 ชนิด ซึ่งแต่ละชนิดก็จะมีกลิ่นและมีประโยชน์ต่อสุขภาพเฉพาะตัว ต่อไปน้คือน้ำมันหอมระเหย 10 ชนิดที่เป็นที่นิยมและมีผลต่อสุขภาพ:
  • เปปเปอร์มินท์: ใช้เพื่อเสริมสร้างพลังงานและช่วยเรื่องระบบย่อยอาหาร
  • ลาเวนเดอร์: ใช้เพื่อบรรเทาความเครียด
  • ไม้จันทร์หอม: ใช้เพื่อทำให้สงบและเพิ่มสมาธิ
  • มะกรูด: ใช้เพื่อลดความเครียดและช่วยทำให้โรคผิวหนังดีขึ้น
  • กุหลาบ: ใช้เพื่อทำให้อารมณ์ดีขึ้นและลดความวิตกกังวล
  • คาร์โมมาย: ใช้เพื่อทำให้อารมณ์ดีขึ้นและรู้สึกผ่อนคลาย
  • กระดังงา: ใช้เพื่อรักษาอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ และโรคทางผิวหนัง
  • ทีทรี: ใช้เพื่อต่อสู้กับการติดเชื้อและสร้างเสริมภูมิต้านทาน
  • มะลิ: ใช้เพื่อช่วยเรื่องโรคซึมเศร้า การคลอดบุตรและความต้องการทางเพศ 
  • มะนาว: ใช้เพื่อช่วยระบบย่อยอาหาร อารมณ์ ปวดศีรษะและอื่นๆ 

ประโยชน์เพื่อสุขภาพของน้ำมันหอมระเหย

แม้จะมีการนำน้ำมันหอมระเหยมาใช้กันอย่างแพร่หลาย แต่กลับมีความรู้เรื่องความสามารถของน้ำมันหอมที่มีผลดีต่อสุขภาพเพียงน้อยนิด ต่อไปนี้คือสิ่งที่พบได้ว่าเราสามารถนำน้ำมันหอมระเหยหรือการบำบัดโรคด้วยกลิ่นหอมมาใช้ในการรักษาโรคได้

ความเครียดและความวิตกกังวล

พบว่าคนที่มีภาวะเครียดและวิตกกังวลเฉลี่ย 43% ที่ได้รับทางเลือกในการบำบัดรูปแบบดังกล่าวสามารถช่วยบรรเทาอาการต่างๆเหล่านี้ลงได้ ในเรื่องของการบำบัดโรคด้วยกลิ่นหอม จากการศึกษาขั้นต้นพบว่าส่งผลด้านบวก กลิ่นของน้ำมันหอมระเหยสามารถนำมาใช้ควบคู่ไปกับการบำบัดทางเลือกในการรักษาภาวะวิตกกังวลและความเครียดได้ สิ่งที่น่าสนใจคือการนำน้ำมันหอมระเหยมาใช้ในระหว่างการนวดอาจช่วยบรรเทาความเครียดได้ ถึงแม้จะพบว่าจะมีผลแค่เพียงในขณะที่นวดอยู่เท่านั้นก็ตาม จากตัวอย่างจากการศึกษากว่า 201 ตัวอย่างพบว่ามีเพียงแค่ 10 ตัวอย่างเท่านั้นที่มีความสมบูรณ์พอที่จะนำมาวิเคราะห์ ทำให้สรุปได้ว่า การบำบัดโรคด้วยกลิ่นหอมนั้นไม่มีประสิทธิภาพมากพอในการรักษาภาวะวิตกกังวลได้

ปวดศีรษะและปวดไมเกรน

ในยุคปี 90 จากการศึกษาขนาดเล็กพบว่าการป้ายน้ำมันเปปเปอร์มินต์และส่วนผสมเอทานอลลงบริเวณหน้าผากและขมับสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะ และปวดไมเกรนได้ดี และจากการศึกษาเมื่อไม่นานมานี้สังเกตพบว่าอาการปวดศีรษะลดลงหลังใช้น้ำมันหอมเปปเปอร์มินต์และลาเวนเดอร์ลงบนผิวหนัง ยิ่งไปกว่านั้น ยังแนะนำด้วยว่าการนำน้ำมันคาร์โมมายด์ผสมกับน้ำมันงาป้ายที่ขมับอาจช่วยรักษาอาการปวดศีรษะแลไมเกรนได้ ซึ่งเป็นวิธีดั้งเดิมในการรักษาอาการปวดศีรษะแบบชาวเปอร์เซีย

การนอนและโรคนอนไม่หลับ

การสูดดมกลิ่นน้ำมันหอมระเหยลาเวนเดอร์แสดงให้เห็นแล้วว่าช่วยทำให้คุณภาพในการนอนของผู้หญิงหลังคลอดบุตรดีขึ้นได้ เช่นเดียวกับคนไข้ที่เป็นโรคหัวใจ จากการศึกษาตัวอย่าง 15 ตัวอย่างที่ใช้น้ำมันหอมระเหยกับเรื่องของการนอน แสดงให้เห็นว่าการสูดดมกลิ่น- ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นน้ำมันหอมกลิ่นลาเวนเดอร์ – ส่งผลดีต่อพฤติกรรมการนอนได้อย่างมีประสิทธิภาพช่วยบรรเทาโรคนอนไม่หลับได้

ลดการอักเสบ

จากการศึกษาพบว่าน้ำมันหอมระเหยอาจช่วยต้อสู้กับโรคที่มีการอักเสบได้ จากการศึกษาในหลอดทดลองแสดงให้เห็นว่ามีผลเรื่องต้านการอักเสบได้ จากการศึกษาหนูทดลองพบว่าการกินน้ำมันหอมระเหยไทม์และออริกาโนเข้าไปจะช่วยบรรเทาโรคลำไส้อักเสบให้สงบได้ และจากการศึกษาหนูอีกสองตัวอย่างยังพบด้วยว่าการใช้น้ำมันยี่หร่าและโรสแมรี่ก็ส่งผลที่คล้ายคลึงกัน แต่อย่างไรก็ตาม พบว่าการศึกษาผลของน้ำมันเหล่านี้ต่ออาการอักเสบในคนยังมีไม่มากนัก 

ยาปฏิชีวนะและกลุ่มยาต้านจุลชีพ

การดื้อของเชื้อแบคทีเรียที่มีต่อยาปฏิชีวนะที่เพิ่มมากขึ้นได้ถูกกลับมาสนใจใหม่อีกครั้งในการศึกษาสารประกอบอื่นๆที่สามารถช่วยต่อสู้กับการติดเชื้อแบคทีเรียได้ จากการศึกษาในหลอดทดลองพบว่าน้ำมันหอมระเหยเช่น น้ำมันเปปเปอร์มินต์และทีทรีออยล์สามารถส่งผลในการต้านจุลชีพได้ดี แต่อย่างไรก็ตาม ในขณะที่ผลจากการทดลองในหลอดทดลองนั้นดูน่าสนใจ แต่กลับพบวาไม่มผลที่ดีนักเมื่อนำมาใช้ภายในร่างกาย พวกมันจึงยังไม่อาจพิสูจน์ได้แน่ชัดว่าน้ำมันหอมระเหยเหล่านี้จะสามารถช่วยรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียในมนุษย์ได้ Essential Oil

การใช้เพื่อประโยชน์อื่น ๆ 

น้ำมันหอมระเหยอาจมีประโยชน์นอกเหนือจากใช้เพื่อบำบัดโรคด้วยกลิ่นหอม
  • หลายๆคนอาจนำกลิ่นหอมมาใช้สำหรับในบ้านหรือเพื่อเพิ่มความสดชื่นให้กับสิ่งต่างๆเช่นการซักรีด
  • และยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์เพื่อสร้างกลิ่นในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางค์ธรรมชาติที่มีคุณภาพสูง
  • น้ำมันหอมระเหยจะสามารถนำมาใช้ในการผลิตยากันยุงที่มีความปลอดภัยและเป็นมิตรต่อผู้ใช้ได้ด้วยเช่น DEET   
  • จากการศึกษาพบว่าน้ำมันบางอย่าง เช่นน้ำมันตะไคร้หอม อาจช่วยกันยุงได้ราว 2 ชั่วโมง การปกป้องนี้อาจยาวนานขึ้นได้ถึง 3 ชั่วโมงเมื่อนำมาใช้ร่วมกับวานิลลิน
  • ในอนาคต ด้วยคุณสมบัติของน้ำมันหอมระเหยนี้เองอาจถูกนำมาใช้ในวงการอุตสาหกรรมเพื่อยืดอายุของอาหารได้ด้วย
  • การใช้น้ำมันอโรม่าในการนวดผ่อนคลาย 

วิธีเลือกใช้น้ำมันหอมระเหยที่ถูกต้อง

หลายๆบริษัทอาจอวดอ้างว่าน้ำมันของตนนั้นที “บริสุทธิ์” หรือ “เกรดวัสดุทางการแพทย์” แต่กระนั้นข้อกล่าวอ้างดังกล่าวนี้ไม่เป็นจริงเสมอไป การเลือกน้ำมันที่มีคุณภาพสูงควรปฏิบัติตามคำแนะนำดังต่อไปนี้:
  • ความบริสุทธิ์: หาซื้อน้ำมันที่มีส่วนประกอบกลิ่นที่มาจากพืชเท่านั้น ปราศจากการแต่งเติมน้ำมันสังเคราะห์ น้ำมันบริสุทธิ์มักมาในชื่อทางพฤกษศาสตร์ (เช่น Lavandula officinalis) มากกว่าคำว่า “น้ำมันหอมระเหยจากลาเวนเดอร์”  
  • คุณภาพ: น้ำมันหอมระเหยแท้คือน้ำมันที่ผ่านการเปลี่ยนด้วยกระบวนการสกัด ควรเลือกน้ำมันหอมระเหยที่ปราศจากสารเคมีที่ผ่านการสกัดด้วยการกลั่นหรือการบีบเย็น
  • ความมีชื่อเสียง: เลือกซื้อยี่ห้อที่มีชื่อเสียงเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูง 

วิธีการสกัดน้ำมันหอมระเหย

การทำน้ำมันหอมระเหยมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ในยุดก่อนจะมีการเก็บพรรณไม้หอมนานาชนิดมาแช่น้ำทิ้งไว้จนมีกลิ่นหอม จากนั้นจึงนำไปดื่มและอาบ ต่อมาในปัจจุบันนี้เราได้มีการผลิตการสกัดน้ำมันหอมระเหย 6 รูปแบบ เพื่อมห้ได้ประสิทธิภาพที่สุดเราจะแยกน้ำมันหอมระเหยออกจากพืชด้วยการกลั่น การสกัด

การกลั่นน้ำมันหอมระเหย

หลักของการกลั่น คือการนำน้ำร้อนหรือไอน้ำเข้าไปแยกน้ำมัหอมระเหยออกจากพืช ความร้อนจะทำให้สารละลายกลายออกมาเป็นไอ การกลั่นเพื่อให้ได้น้ำมันหอมระเหยที่มีคุณภาพดีเยี่ยมนั้นจะต้องมีกระบวนการทำหลายอย่างประกอบเข้าด้วยกัน ซึ่งมักใช้ 3 วิธีดังนี้
  1. การกลั่นด้วยน้ำร้อน เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด พืชนั้นจะต้องจุ่มอยู่ในน้ำเดือดทั้งหมด น้ำมันหอมระเหยน้ใช้กับของที่ติดกันง่ายๆ เช่นใบไม้บางๆ กลีบดอกไม้อ่อนๆ แต่ต้องระวังการไหม้ เพราะพืชมักได้รับความร้อนไม่สม่ำเสมอ จะทำให้เกิดกลิ่นไหม้ปนมาได้
  2. การกลั่นด้วยน้ำและไอน้ำ ทำโดยใช้ตะแกรงกรองที่จะกลั่นวางให้อยู่เหนือระดับน้ำในหม้อกลั่น จากนั้นต้มน้ำให้เดือด น้ำจะลอยตัวขึ้นไปผ่านพืช ส่วนตัวน้ำจะไม่ได้สัมผัสกับพืชเลย ไอน้ำจากน้ำเดือดเป็นไอน้ำอิ่มตัวเป็นความร้อนที่ไม่ร้อนจนเกินไป ทำให้ได้คุณภาพของน้ำมันที่ดี มักใช้เป็นที่กว้างขวางในการผลิตน้ำมันหอมระเหยทางการค้า
  3. การกลั่นด้วยไอน้ำ วิธีนี้คือวางพืชบนตะแกรงในหม้อกลั่น แต่ไม่มีน้ำอยู่ จะได้ไอน้ำจากภายนอกหรือไอน้ำร้อนจัดแต่ความดันสูงกว่าบรรยากาศ ส่งต่อไปตามท่อใต้ตะแกรง ให้ไอน้ำผ่านขึ้นไปถูกกับพืชซึ่งต้องมีปริมาณมากพอที่จะทำให้น้ำมันถูกปล่อยออกมา 
ข้อดีของการกลั่นคือสามารถทำได้รวดเร็ว เมื่อนำพืชใส่หม้อไม่ต้องรอให้ร้อน แต่สามารถปล่อยไอร้อนเข้าไปได้เลย

การสกัดน้ำมันหอมระเหย

  1. การสกัดด้วยไขมันเย็น เพราะไขมันมีคุณสมบัติในการดูดกลิ่น เราจึงนำไขมันมาใช้เพื่อดูดกลิ่นของดอกไม้ โดยเก็บดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมมากๆไปวางบนไขมันที่เตรียมไว้และทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง จากนั้นนำดอกเก่าออกและเอาดอกสดมาวางใหม่ ทำซ้ำๆเช่นนี้ไปเรื่อยๆจนสิ้นฤดูดอกไม้ จากนั้นจะใช้แอลกอฮอล์ละลายน้ำมันหอมระเหยนั้นๆ แล้วนำไปแยกต่อไป วธีนี้จำเป็นต้องใช้ไขมันที่สะอาด ไม่มีกลิ่น ถ้าแห้งไปจะดูดกลิ่นได้ไม่ดีนัก 
  2. การสกัดด้วยไขมันร้อน ใช้กับดอกไม้บางชนิดเช่นกุหลาบ  กลิ่นจะหยุดทันทไม่เหมือนมะลิที่มีกลิ่นตลอดเวลา การสัดด้วยไขมันร้อนทำให้ได้น้ำมันหอมระเหยมากและมีกลิ่นหอมมาก 
  3. การสกัดด้วยตัวทำละลายระเหยง่าย ตัวทำละลายแต่ละตัวมีความสามารถในการสัดพืชได้ต่างกัน การสกัดด้วยวิธีนี้มีราคาแพ ต้นทุนการผลิตสูง แต่มข้อดีตรงที่ทำให้ได้น้ำมันหอมระเหยที่มีคุณภาพที่ดีขึ้น
  4. การสัดด้วยการบีหรืออัด เหมาะกับการทำน้ำมันหอมระเหยมากๆ เช่น น้ำมันหอมระเหยจากผิวส้ม ด้วยการนำพืชมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆเข้าเครื่องบีบหรืออัด
  5. การสกัดด้วยคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นวิธีที่พัฒนาใหม่แลได้ผลที่ดี แต่มีข้อจำกัดคือทำได้ในปริมาณน้อย และเทตโนโลยีที่ใช้ วัสดุอุปกรณ์ที่นำมาใช้ในกระบวนการกลั่นด้วยวิธี SFE-CO2 มีราคาค่อนข้างสูง จึงต้องใช้กับวัตถุดิบบางชนิดที่จำเป็นเท่าน้ัน 

น้ำมันหอมระเหยสมุนไพร

น้ำมันหอมระเหยที่ทำมาจากสมุนไพรมีมากมายหลายกลิ่น ม่สามารถช่วยในการบำบัดสุขภาพและช่วยในเรื่องของอารมณ์ มีกลิ่นที่เป็นที่นิยม 7 ชนิด
  1. ลาเวนเดอร์ ช่วยในเรื่องปัญหาด้านการนอน ลดความเครียดความกัวล อีกทั้งยังพบว่าสามารถช่วยลดความดันโลหิต รักษาอัตราการเต้นของหัวใจให้คงที่ 
  2. คลารี่เสจ  เมื่อสูดดมจะช่วยลดความกังวลใจ ลดความตื่นกลัว ป้องกันความจำเสื่อมและทำให้มีสมาธิเพิ่มขึ้น
  3. สาระแหน่ ทำให้ตื่นตัว แก้ง่วง ทำให้มีสมาธิสร้างความจำ ลดความเหนื่อยล้า
  4. เปลือกส้ม ลดความเครียด ทางการแพทย์ยังพบว่ากลิ่นเปลือกส้มอาจช่วยเรื่องภาวะความผิดปกติทางจิตใจจากเหตุการณ์รุนแรง
  5. โรสแมรี่ ช่วยเพิ่มพลังให้สมอง ช่วยเรื่องการตัดสินใจ ทำให้รู้สึกสดชื่น จิตใจแจ่มใส
  6. ยูคาลิปตัส ช่วยทำให้จมูกโล่งสบาย จิตใจสงบ แก้คัดจมูก
  7. มะกรูด ให้กลิ่นหอมสดชื่น จากการศึกษายังพบว่าเมื่อผู้หญิงมีการสูดดมมะกรูดจะช่วยทำให้ระดับฮอร์โมนคอร์ติซอล (ฮอร์โมนความเครียด) ลดต่ำลงได้ มะกรูดช่วยปรับสมดุลอารมณ์ให้ผู้ป่วยด้านสุขภาพจิตในทางการแพทย์

ความปลอดภัยและผลข้างเคียง

แค่เพียงเพราะว่าเป็นสิ่งที่มาจากธรรมชาตินั้นไม่ได้หมายความว่ามันมีความปลอดภัยพอ พืชและผลิตภัณฑ์อาจมีสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ และน้ำมันหอมระเหยเองก็ไม่ต่างกัน เมื่อเราสูดดมหรือนำน้ำมันไปใช้กับผิวหนัง ส่วนใหญ่มักมีความปลอดภัย แต่ควรพิจารณาสิ่งแวดล้อมอื่นๆที่มีการสูดดม รวมไปถึงในหญิงตั้งครรภ์ เด็กและสัตว์เลี้ยง น้ำมันหอมระเหยอาจส่งผลข้างเคียง เช่น:
  • ขึ้นผื่น
  • มีอาการหอบหืด
  • ปวดศีรษะ
  • มีปฏิกิริยาแพ้
ในขณะที่มีผื่นขึ้นอาจเป็นอาการที่พบได้ทั่วไปก็ตาม แต่น้ำมันหอมระเหยก็อาจเป็นสาเหตุให้เกิดปฏิกิริยาที่รุนแรงได้ ซึ่งพบว่าเคยมีการเสียชีวิตมาแล้วหนึ่งราย น้ำมันที่พบว่าทำให้เกิดปฏิกิริยารุนแรง เช่น ลาเวนเดอร์ เปปเปอร์มินต์ ทีทรี และกระดังงา น้ำมันที่มีสารประกอบฟีนอลสูง เช่น ชินนามอน อาจทำให้ผิวมีอาการระคายเคืองและไม่ควรใช้กับผิวหนังหากปราศจากการนำมาใช้ร่วมกับน้ำมันพื้นฐาน น้ำมันหอมระเหยที่ทำมาจากผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวจะเพิ่มปฏิกิริยาทางผิวหนังเมื่อโดนแสงแดดและเกิดอาการไหม้ ไม่ควรกลืนน้ำมันหอมระเหยเข้าไป เพราะอาจเป็นอันตรายและอาจทำให้เสียชีวิตได้ 

ประเด็นสำคัญ

น้ำมันหอมระเหยมีความปลอดภัยในการสูดดมหรือใช้กับผิวหนังหากนำมาใช้ร่วมกับน้ำมันพื้นฐาน ไม่ควรรับประทาน แต่อย่างไรก็ตามยังพบว่าหลักฐานที่สามารถนำมาอ้างอิงเพื่อเกิดประโยขน์ต่อสุขภาพนั้นยังมีไม่มากนัก และผลที่นำมากล่าวอ้างนั้นเกินความจริงมากเกินไป สำหรับปัญหาสุขภาพที่ไม่รุนแรง การใช้น้ำมันหอมระเหยในการบำบัดอาจไม่ส่งผลให้เกิดอันตรายมากนัก แต่กระนั้น หากพบว่าคุณมีโรคบางอย่างที่รุนแรงหรือกำลังต้องรับประทานยาบางอย่าง ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ

ข้อเท็จจริงที่ควรรู้

น้ำมันหอมระเหยเป็นสารสกัดเข้มข้นสูงจากสารประกอบอะโรมาติกจากพืช น้ำมันเหล่านี้ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ที่หลากหลาย รวมถึงอโรมาเธอราพี การนวด การดูแลผิว และแม้แต่การทำอาหาร ต่อไปนี้เป็นข้อเท็จจริงที่น่าสนใจเกี่ยวกับน้ำมันหอมระเหย:
  • วิธีการสกัด:โดยทั่วไปแล้วน้ำมันหอมระเหยจะถูกสกัดจากพืชโดยวิธีการต่างๆ เช่น การกลั่นด้วยไอน้ำ การสกัดเย็น หรือการสกัดด้วยตัวทำละลาย วิธีการใช้ขึ้นอยู่กับชนิดของพืชและน้ำมันเฉพาะที่ผลิต
  • ความเข้มข้น:น้ำมันหอมระเหยมีความเข้มข้นมาก มักใช้วัสดุจากพืชจำนวนมากเพื่อผลิตน้ำมันในปริมาณเล็กน้อย ตัวอย่างเช่น ต้องใช้กลีบกุหลาบหลายพันกลีบในการผลิตน้ำมันหอมระเหยดอกกุหลาบเพียงหยดเดียว
  • การใช้ที่หลากหลาย:น้ำมันหอมระเหยมีการใช้งานที่หลากหลาย รวมถึงส่งเสริมการผ่อนคลาย ลดความเครียด เพิ่มอารมณ์ ปรับปรุงสุขภาพผิว และให้กลิ่นหอมตามธรรมชาติในผลิตภัณฑ์
  • อโรมาเธอราพี:อโรมาเธอราพีคือการใช้น้ำมันหอมระเหยเพื่อปรับปรุงสุขภาพจิตและร่างกาย น้ำมันหอมระเหยชนิดต่างๆ ถูกนำมาใช้เพื่อสร้างบรรยากาศที่เฉพาะเจาะจงหรือจัดการกับข้อกังวลด้านสุขภาพต่างๆ
  • น้ำมันตัวพา:น้ำมันหอมระเหยมักจะเจือจางในน้ำมันตัวพา เช่น น้ำมันมะพร้าว น้ำมันอัลมอนด์ หรือน้ำมันโจโจบา ก่อนที่จะทาลงบนผิวหนัง ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงของการระคายเคืองผิวหนังและอาการแพ้
  • ไม่ใช่น้ำมันแท้:แม้จะมีชื่อ แต่น้ำมันหอมระเหยก็ไม่ใช่น้ำมันจริงเนื่องจากไม่มีกรดไขมัน เป็นสารประกอบระเหยที่ระเหยได้เร็ว
  • กลิ่นหอมจากธรรมชาติ:น้ำมันหอมระเหยมักใช้ในน้ำหอม สบู่ และเทียนจากธรรมชาติ เพื่อให้กลิ่นหอมโดยไม่ต้องใช้สารเคมีสังเคราะห์
  • ยาสมุนไพร:น้ำมันหอมระเหยถูกนำมาใช้ในการแพทย์แผนโบราณและการแพทย์ทางเลือกมานานหลายศตวรรษ เชื่อกันว่ามีคุณสมบัติในการรักษาหลายประการ แต่หลักฐานทางวิทยาศาสตร์แตกต่างกันไปตามน้ำมันแต่ละชนิด
  • ข้อควรระวังเพื่อความปลอดภัย:น้ำมันหอมระเหยบางชนิดอาจเป็นพิษหรือระคายเคืองได้หากใช้ไม่ถูกต้อง จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ด้านความปลอดภัยและใช้ด้วยความระมัดระวัง น้ำมันหอมระเหยบางชนิดไม่ปลอดภัยสำหรับการทาบนผิวหนังโดยตรง
  • แหล่งที่มาของพืชหลากหลายชนิด:น้ำมันหอมระเหยสกัดจากแหล่งพืชหลากหลายชนิด รวมถึงดอกไม้ ใบไม้ เปลือกไม้ ราก เมล็ดพืช และเปลือกผลไม้
  • คุณสมบัติในการต้านจุลชีพ:น้ำมันหอมระเหยบางชนิด เช่น ทีทรีและออริกาโน มีคุณสมบัติในการต้านจุลชีพ และใช้ในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดตามธรรมชาติและการใช้งานเฉพาะที่
ใช้น้ำมันหอมระเหยด้วยความระมัดระวังและปฏิบัติตามแนวทางการใช้งานที่แนะนำเสมอ 

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/ss/slideshow-essential-oils
  • https://www.hopkinsmedicine.org/health/wellness-and-prevention/aromatherapy-do-essential-oils-really-work
  • https://health.clevelandclinic.org/essential-oils-101-do-they-work-how-do-you-use-them/
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด