โรคดักแด้ (Epidermolysis bullosa) คือ กลุ่มโรคที่หายากมาก เป็นโรคทางพันธุกรรม สามารถถ่ายทอดจากพ่อแม่สู่ลูก ซึ่งเป็นโรคที่มีความผิดปกติของผิวหนังที่พบได้ยากมาก ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จะมีผิวหนังแห้งแตก ผิวหนังเปราะบาง และเกิดการติดเชื้ออย่างรุนแรง เนื่องจากโปรตีนในเยื่อบุที่รองรับเซลล์ทำงานผิดปกติในชั้นหนังกำพร้าและชั้นหนังแท้ ผิวหนังแยกออกจากกันมีแนวโน้มที่จะเป็นตุ่ม แผลพุพอง ที่มักเกิดจากการเกาหรือผิวหนังสัมผัสกับความร้อนแรงเสียดทาน หรือการบาดเจ็บเล็กน้อยก็จะเกิดแผลได้ง่าย โรคนี้มักเกิดขึ้นในเด็กเรียกว่า ” เด็กดักแด้ ”
Epidermolysis bullosa (EB) เกิดจากความผิดปกติหรือการกลายพันธุ์ในยีนเคราตินหรือคอลลาเจนและมีผลต่อเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน
ทารกแรกเกิดที่เป็นโรคนี้ ความเสี่ยงจะเหมือนกันโดยไม่คำนึงถึงเพศและเชื้อชาติ ผู้ที่มี EB มีผิวที่บอบบางมาก การเสียดสีเพียงเล็กน้อยอาจทำให้เกิดแผลพุพองเนื่องจากชั้นของผิวหนังมีความบอบบาง
ไม่มีวิธีการรักษาสำหรับ โรคEB แต่จะเน้นการรักษาการบรรเทาอาการปวดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อและภาวะแทรกซ้อนต่างๆเท่านั้น
ผลกระทบของโรคดักแด้ต่อร่างกาย
ผิวของคนปกติที่มีสุขภาพดีจะมีชั้นผิวหนังสองชั้น คือ- หนังกำพร้าซึ่งเป็นส่วนที่อยู่ชั้นนอกสุด
- หนังแท้ซึ่งเป็นส่วนที่อยู่ด้านใน
ประเภทของโรคดักแด้
โรคดักแด้มีสามประเภทใน dystrophic epidermolysis bullosa (DEB) แผลพุพองจะเกิดขึ้นที่ชั้นนอกและชั้นในของผิวหนัง- โรคดักแด้ชนิดที่พบมากที่สุดคือ epidermolysis bullosa simplex (EBS)มีแผลพุพองก่อตัวที่ชั้นผิวนอกของผิวหด้านน
- โรคดักแด้ใน dystrophic epidermolysis bullosa (DEB) มีแผลพุพองจะเกิดขึ้นที่ชั้นนอกและชั้นในของผิวหนัง
- โรคดักแด้ประเภท Junctional epidermolysis bullosa (JEB) เป็นรูปแบบที่มีความรุนแรงที่สุด อย่างไรก็ตามรูปแบบนี้ค่อนข้างหายาก แผลพุพองที่ผิวชั้นนอกและชั้น
อาการของโรคดักแด้
คนที่ป่วยด้วยโรคดักแด้ จะมีผิวหนังที่บอบบางมาก ผิวหนังสามารถเกิดความเสียหายเมื่อสัมผัสเพียงเล็กน้อย แม้แต่การขัดถูเบา ๆ การโดนกระแทกอาจทำให้เกิดแผลพุพองได้ เสื้อผ้าที่สัมผัสหรือถูกับผิวหนังสามารถเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นแผลผุพอง ในรายที่มีอาการไม่รุนแรงมาก อาจไม่แสดงอาการจนกระทั่งเมื่อเกิดแผลพุพองขึ้นมา มีแผลน้อยมากหรือไม่มีแผลเลย อาการที่แสดงนั้นขึ้นอยู่กับชนิดของ EB- พุพองบนผิวหนังหนังศีรษะและรอบดวงตาและจมูก
- การฉีกขาดของผิวหนัง
- ผิวที่ดูบางมาก
- ผิวที่ตกสเก็ดออกมา
- ผมร่วง
- มีแผลและสิวหัวเล็กสีขาวขึ้นหลังจากตุ่มหายไป
- การสูญเสียเล็บมือเล็บเท้าหรือทั้งสองอย่างหรือความผิดปกติของเล็บ
- ตุ่มรอบดวงตา
- เหงื่อออกมากกว่าคนปกคิ
- ปัญหาเกี่ยวกับการกลืนถ้าเกิดแผลพุพองรอบปากและคอ
- เสียงแหบแห้งเนื่องจากแผลในลำคอ
- ปัญหาการหายใจเนื่องจากแผลพุพองในทางเดินหายใจส่วนบน
- ปัสสาวะเจ็บปวดที่เกิดจากการพองตัวในทางเดินปัสสาวะ
การดูแลผิวหนังของคนที่เป็รโรคดักแด้
- การสวมใส่เสื้อผ้าที่ไม่ก่อให้เกิดการเสียดสีหรือระคายเคืองเช่นเสื้อผ้าที่ทำจากผ้าฝ้ายแท้
- ใช้สารหล่อลื่นบนผิวหนังเพื่อลดแรงเสียดทาน
- ทำให้อุณหภูมิห้องให้เย็นลงเพื่อป้องกันความร้อนสูงเกินไป
- ใส่ถุงมือขณะหลับเพื่อป้องกันความเสียหายที่เกิดจากการเกา
สาเหตุของโรคดักแด้
ยีนที่ผิดปกติทำให้เกิดโรคดักแด้ และได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ในการถ่ายทอดทางพันธุกรรมที่ส่งผ่าน พ่อแม่ทั้งสองจะต้องมียีนที่ผิดปกติ ในกรณีอื่น ๆ ความผิดพลาดอาจเกิดขึ้นระหว่างการก่อตัวของไข่หรือตัวอสุจิ ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่เชื่อว่าการกลายพันธุ์เกิดขึ้นในเคราตินหรือคอลลาเจนการรักษาโรคดักแด้
ไม่มีวิธีการรักษาสำหรับโรคดักแด้ การรักษามุ่งเน้นไปที่การบรรเทาอาการและป้องกันความเสียหายของผิวหนังการติดเชื้อและภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ในบางคนอาจจะดูและรักษาทางด้านจิตใจและอารมณ์เพื่อช่วยรักษาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น- แพทย์อาจสอนให้รู้วิธีการทำความสะอาดแผลพุพองใหญ่ ๆ อย่างปลอดภัยและถูกสุขลักษณะ การเจาะช่วยให้ของเหลวจากแผลพุพองระบายของเหลวออกมาโดยไม่เพิ่มความเสี่ยงของการติดเชื้อหรือทำลายผิวได้
- แพทย์อาจสั่งยาปฏิชีวนะเฉพาะที่สำหรับการติดเชื้อ
- แผลไม่ควรยึดติดกับผิวหนังดังนั้นแพทย์อาจแนะนำผ้าพันแผลที่เฉพาะเจาะจงเพื่อช่วยในการรักษาลดอาการปวดและลดโอกาสในการติดเชื้อ
- หากแผลไม่หายสนิทอาจต้องทำการปลูกถ่ายผิวหนัง
- การเกิดแผลพุพองและรอยแผลเป็นซ้ำ ๆ อาจทำให้นิ้วมือหงิกงอ นอกจากนี้เนื้อเยื่อของกล้ามเนื้ออาจสั้นลงอย่างผิดปกติ ส่งผลกระทบในการใช้ชีวิตประจำวัน หากกรณีนี้เกิดขึ้นผู้ป่วยควรเข้ารับการผ่าตัด
- อาการปวดเป็นอาการที่มักเกิดขึ้นในผู้ป่วยโรคดักแด้ ดังนั้นการรักษามักจะเกี่ยวข้องกับยาควบคุมอาการปวด
- หากเกิดแผลพุพองในหลอดอาหารทำให้รับประทานอาหารยาก แพทย์อาจแนะนำให้ทำการผ่าตัดเพื่อขยายหลอดอาหาร
- หากผู้ป่วย ไม่สามารถกลืนอาหารได้อาจต้องใช้ท่อทางเดินอาหาร ศัลยแพทย์ทำการเปิดช่องท้องและผ่านท่อให้อาหารผ่านเข้าไปแทน
ภาวะแทรกซ้อน
- แผลพุพองอาจนำไปสู่การติดเชื้อและแผลเปื่อย
- มีความเสี่ยงสูงในการพัฒนาเซลล์มะเร็ง squamous cell ซึ่งเป็นความรุนแรงของโรคมะเร็งผิวหนังก่อนอายุ 35 ปี
- นิ้วสั้น กุด พิการ
- หากโรคดักแด้ส่งผลกระทบต่อเยื่อบุตาและส่วนอื่น ๆ ของดวงตาบางคนอาจประสบกับภาวะสูญเสียการมองเห็น
- โรคโลหิตจาง
- ภาวะแทรกซ้อนบางส่วนของโรคดักแด้ เช่นการขาดน้ำ การติดเชื้อ การขาดสารอาหารอาจถึงแก่ชีวิตได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กทารก
นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/epidermolysis-bullosa/symptoms-causes/syc-20361062
- https://www.nhs.uk/conditions/epidermolysis-bullosa/
- https://www.physio-pedia.com/Epidermolysis_Bullosa
เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น