การตรวจ EGD คืออะไร?
แพทย์จะใช้การตรวจการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนต้นเพื่อตรวจดูเนื้อเยื่อของหลอดอาหาร กระเพาะอาหารและดูโอดีนัม หลอดอาหารคือท่อของกล้ามเนื้อที่เชื่อมต่อกับคอที่ตรงไปยังกระเพาะอาหารและดูโอดีนัม ซึ่งเป็นส่วนบนของลำไส้เล็ก เอ็นโดสโคปคือกล้องเล็กที่ติดอยู่ที่ปลายท่อ การตรวจ EGD รวมไปถึงการตรวจด้วยการใส่กล้องเอ็นโดสโคปลงไปในลำคอและยาวเรื่อยไปตามหลอดอาหารการตรวจ EGD เมื่อมีอาการอย่างไร
แพทย์อาจจะแนะนำให้ตรวจ EGD หากคุณมีอาการบางอย่างเช่น:- มีอาการแสบร้อนเรื้อรัง รุนแรง
- อาเจียนเป็นเลือด
- มีอุจจาระดำเหนียวเหมือนน้ำมันดิน
- สำรอกอาหาร
- ปวดท้องส่วนบน
- มีภาวะโลหิตจางที่ไม่สามารถอธิบายได้
- มีอาการคลื่นไส้หรือาเจียนไม่หาย
- น้ำหนักตัวลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
- รู้สึกอิ่มหลังรับประทานอาหารที่น้อยกว่าปกติ
- ความรู้สึกว่ามีอาหารติดอยู่ที่กระดูกหน้าอก
- การกลืนลำบากหรือเจ็บ
- โรคโครห์น
- โรคแผลในทางเดินอาหาร
- โรคตับแข็ง
- หลอดเลือดำในหลอดอาหารส่วนล่างบวม
การเตรียมตัวสำหรับการตรวจ EGD
การเตรียมตัวก่อนการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ แพทย์จะแนะนำให้หยุดยาเช่นแอสไพริน (บัฟเฟอร์ริน) และสารเจือจางเลือดอื่นๆเป็นเวลาหลายวันก่อนการตรวจ ต้องงดอาหารก่อนการตรวจ 6-12 ชั่วโมงก่อนการตรวจ คนที่สวมใส่ฟันปลอมจะต้องถูกเอาออกก่อนการตรวจ และเหมือนกับการตรวจทางการแพทย์ทุกชนิดคนไข้จะต้องถูกขอให้เซ็นต์ยินยอมก่อนการเข้ารับการผ่าตัดการตรวจ EGD ทำอย่างไรและทำได้ที่ไหนบ้าง
ก่อนการตรวจส่องกล้องกระเพาะอาหาร EGD แพทย์จะให้ยาชาและยาแก้ปวดแแก่คนไข้ เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดความรู้สึกปวด ปกติคนไข้มักจะจำอะไรในระหว่างตรวจไม่ได้ แพทย์อาจใช้ยาระงับความรู้สึกแบบสเปรย์เฉพาะที่ฉีดเข้าไปที่ในปากเพื่อหยุดการสำลักหรือไอในขณะที่สอดกล้องเอ็นโดสโคปเข้าไป อาจต้องใช้ฟันยางเพื่อป้องกันความเสียหายของฟันหรือกล้อง แพทย์จะฉีดเข็มเข้าเส้นเลือดดำที่แขนดังนั้นยาจะอยู่ตลอดเวลาในการตรวจ คนไข้จะต้องนอนตะแคงซ้ายในระหว่างการตรวจ ทันทีที่ยาชาเริ่มออกฤทธิ์ กล้องเอ็นโดสโคปจะถูกใส่เข้าไปในหลอดอาหารแลใส่ลงไปที่่กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนบน อากาศจะถูกนำเข้าไปที่หลอดอาหารเพื่อให้แพทย์สามารถเห็นเนื่อเยื่อของหลอดอาหาร ในระหว่างการตรวจ แพทย์จะนำตัวอย่างเนื้อเยื่อออกมาด้วยกล้องเอ็นโดสโคป ตัวอย่างที่ได้นี้จะถูกนำไปตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์เพื่อระบุหาเซลล์ที่ผิดปกติ กระบวนการนี้เรียกว่าการตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจ การรักษาบางครั้งอาจทำเสร็จในระหว่างการตรวจ EGD เช่นเพื่อขยายบริเวณที่แคบผิดปกติของหลอดอาหาร การตรวจจะใช้เวลา 5 ถึง 20 นาที อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับโรคกระเพาะทะลุได้ที่นี่ความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนของการตรวจ
In general, ปกติแล้วการตรวจ EGD คือการตรวจที่มีความปลอดภัย การตรวจมีความเสี่ยงต่ำมากที่กล้องเอ็นโดสโคปจะทำให้เกิดรูเล็กๆในหลอดอาหาร กระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็ก หากเลือกใช้วิธีตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ อาจมีความเสี่ยงเล็กน้อยจากการเลือดไหลที่ยาวนานตรงบริเวณที่เนื้อเยื่อถูกตัดออกไป ในบางรายอาจเกิดปฏิกิริยาต่อยาชาและยาแก้ปวดที่ใช้ในระหว่างการตรวจ และอาจรวมไปถึง:- ภาวะการหายใจลำบากหรือไม่สามารถหายใจได้
- ความดันโลหิตต่ำ
- จังหวะหัวใจเต้นช้า
- เหงื่อออกมากกว่าปกติ
- เกิดการหดตัวของกล่องเสีย
ความเข้าใจผลการตรวจ
ผลปกตินั้นหมายความว่าเนื้อเยื่อภายในของหลอดอาหารมีความราบเรียบและแสดงให้เห็นว่าไม่มีสัญญานดังต่อไปนี้:- ภาวะการอักเสบ
- การเจริญเติบโต
- แผลเปื่อย
- มีเลือดไหล
- โรคซิลิแอค เป็นผลมาจากความเสียหายของเนื้อเยื่อลำไส้และกันไม่ให้เกิดการดูดซึมสารอาหาร
- พังผืดในหลอดอาหาร คือมีเนื้อเยื่อเจริญเติบโตผิดปกติตรงบริเวณจุดเชื่อมต่อของหลอดอาหารกับกระเพาะอาหาร
- ภาวะหลอดเลือดโป่งพองในหลอดอาหาร
- ไส้เลื่อนกระบังลม คือภาวะที่เป็นสาเหตุทำให้ส่วนของกระเพาะอาหารปูดนูนดันเปิดเข้าในกระบังลม
- หลอดอาหารอักเสบ กระเพาะอาหารอักเสบ และลำไส้เล็กดูโอดีนัมอักเสบ คือภาวะการอักเสบของเนื้อเยื่อหลอดอาหาร กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น
- โรคกรดไหลย้อน (GERD) คือภาวะที่เป็นสาเหตุที่ทำให้ของเหลวหรืออาหารจากกระเพาะอาหารรั่วย้อนกลับขึ้นมาที่หลอดอาหาร
- ภาวะหลอดอาหารฉีกขาดคือเนื้อเยื่อของหลอดอาหารมีการฉีกขาด
- เกิดแผลเปื่อยในกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็ก
หลังการตรวจ
นางพยาบาลจะเฝ้าติดตามดูอาการต่อประมาณหนึ่งชั่วโมงเพื่อให่แน่ใจว่าไม่หลงเหลือผลจากยารังับประสาทและสามารถกลืนได้โดยไม่เกิดปัญหาหรือไม่สบายตัว อาจมีอาการท้องอืดบ้างเล็กน้อย บางรายอาจมีอาการปวดหรือเจ็บคอเล็กน้อย ซึ่งผลข้างเคียงเหล่านี้ถือเป็นเรื่องปกติและควรหายไปภายใน 24 ชั่วโมง ให่คอยจนสามารถกลืนได้ดีแล้วจึงรับประทานหรือดื่ม โดยเริ่มจากอาหารว่างอ่อนๆ ควรรีบพบแพทย์ทันทีหากมีอาการดังต่อไปนี้:- อาการแย่ลงมากกว่าก่อนการตรวจ
- การกลืนมีปัญหา
- รู้สึกมึนงงหรือหน้ามืด
- อาเจียน
- ปวดแปลบภายในท้อง
- อุจจาระมีเลือดปน
- ไม่สามารถรับประทานหรือดื่ม
- ปัสสาวะน้อยกว่าปกิหรือไม่ปัสสาวะเลย
ความเสี่ยงและข้อควรพิจารณา
- โดยทั่วไปถือว่า EGD ปลอดภัย แต่เช่นเดียวกับหัตถการทางการแพทย์อื่นๆ ก็มีความเสี่ยงบางประการ เช่น การเจาะระบบทางเดินอาหาร (การฉีกขาด) การตกเลือด ปฏิกิริยาต่อยาระงับประสาท หรือภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับสภาวะทางการแพทย์ที่มีอยู่ก่อน
- ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะรู้สึกไม่สบายคอเล็กน้อยหรือท้องอืดหลังทำหัตถการ แต่อาการเหล่านี้มักจะหายไปอย่างรวดเร็ว
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น