ภาวะหายใจไม่อิ่ม (Dyspnea) เป็นอาการที่ภาษาทางการแพทย์เรียกว่า อาการหายใจไม่อิ่ม การหายใจถี่นั้นเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพที่ตามมา ซึ่งมักจะเกี่ยวกับโรคหัวใจหรือโรคปอด(lung disease) ซึ่งจะพบอาการหายใจไม่อิ่มนี้ได้ในการที่ออกกำลังกายหนักเกินไป
อาการโรคหายใจไม่อิ่ม
อาการหลักของโรคหายใจไม่อิ่มนั้นเกิดจากการหายใจที่ไม่สะดวก ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นในเวลา 1หรือ 2 นาทีหลังจากที่ทำกิจกรรมหนักมา หรืออาจกลายเป็นปัญหาสุขภาพที่เรื้อรังมานาน คุณอาจจะรู้สึกว่าหายใจไม่เต็มปอดตลอดเวลา ซึ่งถ้าเป็นกรณีที่ร้ายแรงมาก คุณอาจมีอาการแน่นหน้าอก ซึ่งก็เป็นสาเหตุที่ทำให้มีอาการของโรคหายใจไม่อิ่มได้เช่นกัน อาการหายใจไม่อิ่มที่เกิดจากการออกกำลังกายที่หนักเกินไปนั้นเป็นเรื่องที่สามารถเข้าใจได้ แต่อย่างไรก็ตาม หากมีอาการเหล่านี้ ควรพบแพทย์โดยทันที:- คุณเริ่มหายใจไม่ออกหลังจากที่คุณทำกิจกรรมเคยทำ โดยที่ไม่มีปัญหาอะไรมาก่อนเลย
- คุณเริ่มอาการหายใจไม่อิ่มโดยที่ไม่มีสาเหตุใดมาก่อน
- คุณหายใจเร็วกว่าปกติที่คุณเคยเป็น หลังจากที่คุณออกกำลังกาย
สาเหตุอาการหายใจไม่อิ่ม
หากคุณเคยวิ่งหรือแข่งขันว่ายน้ำมาก่อน คุณก็จะรู้ว่าอาจจะใช้เวลาสักครู่ในการหายใจ คุณอาจมีปัญหาว่าออกซิเจนในลมหายใจไม่พอที่จะตอบสนองต่อความต้องการของร่างกายและจะรู้สึกเหนื่อยมากขึ้น ซึ่งถ้าคุณเป็นคนที่แข็งแรงมากพอ การหายใจของคุณจะผ่อนคลายอย่างรวดเร็ว โดยที่จะกลับมาหายใจได้ปกติเพียงไม่กี่นาที การออกกำลังกายมักจะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการหายใจไม่อิ่มเพียงในเวลาอันสั้น ซึ่งคุณอาจมีอาการหายใจไม่อิ่มเพียงชั่วคราว หากอยู่ในที่สูงและมีออกซิเจนที่อาจไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายของคุณ เช่น ยอดเขาที่สูงชัน หากคุณต้องไปปีนเขาในระดับที่สูงนั้น ควรปรึกษาแพทย์เสียก่อน เพื่อตรวจให้แน่ใจว่าคุณมีสุขภาพที่แข็งแรงพอที่จะปีนเขาได้ อาการหายใจไม่อิ่มที่เกิดจากโรคต่างๆนั้นอาจครอบคลุมถึงความกังวลที่มีต่อสุขภาพในวงกว้าง ขณะที่ควรได้รับการประเมินโดยแพทย์ อาการที่ทำให้เกิดการหายใจไม่อิ่มนั้น มีดังต่อไปนี้:- โรคหัวใจล้มเหลว
- ความดันโลหิตต่ำ
- โรคปอดอักเสบ
- ลิ่มเลือดอุดตันในปอด (มีลิ่มเลือดอยู่ในปอด)
- ก๊าซคาร์บอนโมน็อกไซด์เป็นพิษ
- ความเครียดหรือความวิตกกังวล
- โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง(COPD) ที่รวมถึงโรคถุงลมโป่งพองและโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง
- โรคเยื่อหุ้มปอดผิดปกติ (แผลเป็นในเนื้อเยื่อปอด)
- ร่างกายไม่ค่อยแข็งแรง
- ความอ้วน(diabesity)
- โรคหัวใจ
ตัวเลือกการรักษาอาการหายใจไม่อิ่ม
การรักษาอาการหายใจไม่อิ่มนั้น มักจะรักษาที่สาเหตุของอาการที่พบเห็น
การฟื้นฟูสมรรถภาพของปอด
โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังและปัญหาโรคปอดอื่นๆต้องการให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านปอดนั้นดูแลเรื่องปอดและระบบทางเดินหายใจเป็นกรณีพิเศษ คุณอาจต้องมีออกซิเจนแบบพกพาเพื่อให้คุณหายใจได้โดยที่ไม่อึดอัด การฟื้นฟูสมรรถภาพของปอดก็ช่วยอาการหายใจไม่อิ่มได้เหมือนกัน ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ช่วยดูแลในเรื่องของการออกกำลังกายภายใต้การดูของแพทย์และให้ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการหายใจเพื่อให้คุณเอาชนะโรคปอดให้ได้การรับประทานอาหารและการออกกำลังกาย
หากคุณมีความอ้วนและการออกกำลังกายอยู่ในระดับต่ำ ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้คุณมีอาการหายใจไม่อิ่มได้ การรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพและออกกำลังกายเป็นประจำ หากคุณมีอาการป่วยหรือคุณต้องรับประทานยาที่ทำให้คุณทำกิจกรรมได้ในเวลาอันจำกัด ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อการเริ่มต้นการออกกำลังกายให้เป็นกิจวัตรประจำวันที่ปลอดภัยสำหรับคุณการฟื้นฟูสมรรถภาพของหัวใจ
สาเหตุการหายใจไม่อิ่มที่เกี่ยวข้องกับหัวใจนั้น จะได้รับการรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชายด้านโรคหัวใจ หากคุณมีอาการโรคหัวใจล้มเหลวอยู่ด้วยแล้ว แสดงว่าหัวใจของคุณนั้นอ่อนแอมากเกินไปที่จะสูบเลือดรับออกซิเจนเข้ามา เพื่อให้เพียงพอต่อร่างกาย อาการหายใจไม่อิ่มนั้นเป็นหนึ่งในอาการหลักของโรคหัวใจล้มเหลว ซึ่งการฟื้นฟูสมมรถภาพของหัวใจนั้นช่วยจัดการในเรื่องของโรคหัวใจล้มเหลวและอาการโรคหัวใจอื่น บางกรณีนั้นเกิดอาการโรคหัวใจล้มเหลวฉับพลัน ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจมาช่วยในการหายใจ เพื่อสูบฉีดออกซิเจนเข้าสู่หัวใจที่กำลังอ่อนแอการป้องกันอาการหายใจไม่อิ่ม
การป้องกันอาการหายใจไม่อิ่มนั้นหมายความว่าต้องหลีกเลี่ยงสิ่งที่จะทำให้เกิดอาการดังกล่าว ซึ่งปัจจัยที่ทำให้เสี่ยงมากที่สุดคือ การสูบบุหรี่ ถ้าคุณสูบบุหรี่อยู่ ให้คุณปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการเลิกบุหรี่ ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีและการรักษาที่มีประสิทธิภาพมากมายที่ทำให้คุณนั้นเลิกบุหรี่ได้ ซึ่งก็ยังไม่สายเกินไป ที่จะทำให้ปอดและหัวใจของคุณกลับมาดีขึ้นได้ดังเดิม หลังจากที่คุณเลิกสูบบุหรี่ไปแล้ว มลพิษทางอากาศและสารเคมีในอากาสนั้น ก็เป็นสาเหตุหลักในอาการหายใจไม่อิ่ม ซึ่งหากคุณทำงานในสภาพแวดล้อมที่มีสิ่งเหล่านี้อยู่ คุณก็ควรใส่หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันสารเคมีที่จะเข้ามาในปอดของคุณ และตรวจสอบให้แน่ใจว่าที่ทำงานของคุณมีการระบายอากาศได้ดี การรักษาน้ำหนักตัวให้คงที่นั้น ช่วยให้คุณหลีกเลี่ยงปัญหาสุขภาพได้ หากคุณต้องการลดน้ำหนัก ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อให้แพทย์แนะนำการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การปรับเปลี่ยนนิสัยการรับประทานอาหาร ก็จะทำให้คุณไม่มีปัญหาสุขภาพได้แล้วสถิติผู้มีอาการหายใจไม่อิ่ม
สถิติได้มาจากงานวิจัยของโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ ชื่องายวิจัย เรื่องผลการผ่อนคลายกล้ามเนื้อต่ออาการหายใจไม่อิ่มและความวิตกกังวลของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ซึ่งได้นำผู้ป่วยนอก ในคลินิกอายุรกรรม โรงพยาบาลจังหวัดพังงา เป็นจำนวน 20 ราย ซึ่งได้ติดตามการวิจัยถึง 8 สัปดาห์ และเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับอาการหายใจไม่อิ่มและความวิตกกังวลทุก 2 สัปดาห์ โดยมีการฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อวันละ 1 ครั้ง 5 วัน/สัปดาห์ ผลการวิเคราะห์ความแตกต่างของอาการหายใจไม่อิ่มและความวิตกกังวลก่อน และหลังการฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อด้วยการทดสอบเฟรดแมน พบว่าอาการดังกล่าวได้หายไปหลังการฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อโดยมีเลขทางสถิติที่ระดับ 0.001 ซึ่งแสดงว่าการผ่อนคลายกล้ามเนื้อสามารถลดอาการหายใจไม่อิ่มและความวิตกกังวลได้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการหายใจไม่อิ่ม
อาการหายใจลำบากหรือที่เรียกกันทั่วไปว่าหายใจถี่หรือหายใจไม่ออกเป็นภาวะทางการแพทย์ที่มีลักษณะความรู้สึกลำบากหรือไม่สบายในการหายใจ เป็นอาการมากกว่าโรคเฉพาะ และอาจเกิดจากปัจจัยพื้นฐานต่างๆ ต่อไปนี้เป็นข้อเท็จจริงที่สำคัญเกี่ยวกับอาการหายใจลำบาก:- สาเหตุ: อาการหายใจลำบากอาจเกิดจากปัจจัยต่างๆ มากมาย รวมถึงภาวะทางเดินหายใจ (เช่น โรคหอบหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง – COPD) ปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ (เช่น หัวใจล้มเหลว หัวใจวาย) การติดเชื้อในปอด โลหิตจาง ความวิตกกังวลหรืออาการตื่นตระหนก โรคอ้วน ยาบางชนิด และอื่นๆ
- ความรุนแรง: ความรุนแรงของอาการหายใจลำบากอาจแตกต่างกันไปตั้งแต่ไม่รุนแรง ซึ่งแต่ละคนจะรู้สึกไม่สบายเมื่อออกแรงมากขึ้น ไปจนถึงรุนแรง ซึ่งแม้แต่กิจกรรมง่ายๆ เช่น การเดินหรือพูดคุยก็อาจทำให้หายใจไม่ออกได้
- ความรู้สึก: บุคคลอาจอธิบายอาการหายใจลำบากได้ว่าเป็นความรู้สึกหายใจไม่ออก แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก หรือไม่สามารถรับอากาศเพียงพอ
- การให้เกรด: แพทย์มักจะใช้มาตราส่วนการให้คะแนน (เช่น Modified Medical Research Council Dyspnea Scale) เพื่อประเมินความรุนแรงของอาการหายใจลำบากในผู้ป่วย ซึ่งจะช่วยในการพิจารณาการรักษาที่เหมาะสมและติดตามการเปลี่ยนแปลงเมื่อเวลาผ่านไป
- การวินิจฉัย: จำเป็นต้องระบุสาเหตุของอาการหายใจลำบากเพื่อให้การรักษาที่เหมาะสม การวินิจฉัยเกี่ยวข้องกับประวัติทางการแพทย์ที่ครอบคลุม การตรวจร่างกาย การทดสอบภาพ (เอ็กซ์เรย์ CT สแกน) การทดสอบการทำงานของปอด การตรวจเลือด และการประเมินการเต้นของหัวใจในบางครั้ง
- เฉียบพลันและเรื้อรัง: อาการหายใจลำบากอาจเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน โดยเกิดขึ้นอย่างฉับพลันและรุนแรง (เช่น จากอาการหอบหืด) หรือเรื้อรัง ซึ่งคงอยู่เป็นระยะเวลานานขึ้น (เช่น ในสภาวะต่างๆ เช่น ปอดอุดกั้นเรื้อรัง)
- การรักษา: การรักษาอาการหายใจลำบากขึ้นอยู่กับสาเหตุที่แท้จริง อาจรวมถึงการใช้ยา (เช่น ยาขยายหลอดลมสำหรับโรคหอบหืด) การบำบัดด้วยออกซิเจน การฟื้นฟูสมรรถภาพปอด การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต หรือการผ่าตัดในกรณีที่รุนแรง
- การดูแลแบบประคับประคอง: ในกรณีที่ไม่สามารถรักษาสาเหตุที่แท้จริงได้ การดูแลแบบประคับประคองจะมุ่งเน้นไปที่การจัดการอาการ เช่น หายใจลำบาก เพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย
- ความวิตกกังวลและอาการหายใจลำบาก: อาการหายใจลำบากอาจเกี่ยวข้องกับความวิตกกังวล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบางสภาวะ เช่น โรคตื่นตระหนก อาการหายใจลำบากที่เกิดจากความวิตกกังวลอาจทำให้รู้สึกหายใจไม่ออกมากขึ้น
- การจัดการรูปแบบการใช้ชีวิต: สำหรับผู้ที่มีอาการหายใจลำบากเรื้อรัง การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ชีวิต เช่น การเลิกสูบบุหรี่ การรักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดีต่อสุขภาพ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ (ตามความเหมาะสม) และการหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นสามารถช่วยจัดการกับสภาวะนี้ได้
นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา
https://www.mayoclinic.org/symptoms/shortness-of-breath/basics/definition/sym-20050890 https://www.webmd.com/lung/shortness-breath-dyspnea https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK357/ https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK499965/เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น