โรคบิด (Dysentery) : ชนิด อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคบิด (Dysentery) คือ การติดเชื้อในลำไส้ ทำให้เกิดอาการท้องเสียอย่างรุนแรงหรือท้องเสียเป็นเลือด อาจพบเมือกในอุจจาระ โดยปกติจะมีอาการ 3-7 วัน Dysentery

โรคบิดอาการเป็นอย่างไร

อาการอื่นๆอาจรวมไปถึง : โรคบิดมักเกิดจากการที่มีสุขอนามัยที่ไม่ดี เข่น ไม่ได้ล้างมือหลังจากใช้ห้องน้ำ หรือสัมผัสสิ่งต่างๆที่มีความเสี่ยง การติดเชื้อ สามารถแพร่กระจายได้โดยการรับประทานอาหาร หรือน้ำที่ปนเปื้อน ดังนั้น การล้างมือสามารถช่วยป้องกันไม่ให้โรคแพร่กระจายได้

ชนิดของโรคบิด

คนส่วนใหญ่ที่เป็นโรคบิด มักเกิดจากแบคทีเรียหรือโรคอะมีบา โรคบิดแบซิลารีย์เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Shigella, Campylobacteria, Salmonella หรือ Enterohemorrhagiv E.coli  อาการท้องเสียจาก Shigella เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Shigellosis Shigellosis เป็นโรคที่พบได้มาที่สุดถึง 500,000 ราย โรคบิดอะมีบาเกิดจากการติดเชื้อในลำไส้จากพยาธิเซลล์เดียวที่เรียกว่า amebiasis โรคอะมีบาเป็นโรคที่พบได้น้อย โดนส่วนมากจะพบในพื้นที่เขตร้อนที่มีสุขอนามัยที่ไม่ดี โดยส่วนมาในอเมริกาผู้ที่เป็นโรคนี้คือผู้ที่เดินทางไปยังสถานที่ข้างต้น

สาเหตุของโรคบิดและผู้ที่ได้รับความเสี่ยง

โรคบิดมักเกิดจากการการที่มีสุขอนามัยที่ไม่ดี รวมไปถึงการที่ผู้ไม่มีเชื้อไปสัมผัสกับอุจจาระจากผู้ที่มีเชื้อ การสัมผัสอาจเกิดได้จาก :
  • อาหารที่มีการปนเปื้อน
  • น้ำหรือเครื่องดื่มต่างๆที่มีการปนเปื้อน
  • ผู้ที่ติดเชื้อล้างมือไม่สะอาด
  • การว่ายน้ำในน้ำที่ปนเปื้อน เช่น ทะเลสาปหรือสระน้ำ
  • การสัมผัสโดยตรง
โรคบิดสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกวัย แต่จะพบในเด็กได้มากที่สุด มันสามารถแพร่กระจายได้ด้วยการสัมผัสระหว่างบุคคลและอาหารและเครื่องดื่มที่ปนเปื้อน โดยส่วนมากจะแพร่กระจายในผู้ที่ใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อเช่น:
  • ที่บ้าน
  • ที่รับเลี้ยงเด็ก
  • ที่โรงเรียน
  • บ้านพักคนชรา
โรคอะมีบาส่วนใหญ่ จะแพร่กระจายโดยการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่มีการปนเปื้อนในพื้นที่เขตร้อน

การวินิจฉัยโรค

หากคุณหรือบุตรหลานของคุณมีอาการของโรคบิด ควรไปพบแพทย์ทันที เพราะอาจเกิดอาการขาดน้ำอย่างรุนแรงจนเป็นอันตรายต่อขีวิตได้ แพทย์จะสอบถามถึงอาการและการเดินทางล่าสุดทั้งในและนอกประเทศ ซึ่งข้อมูลนี้จะสามารถช่วยให้แพทย์สามารถวิเคราะห์โรคของคุณได้ง่ายขึ้น อาการท้องเสียเกิดได้จากสาเหตุหลายๆอย่าง หากคุณไม่มีอาการข้างเคียงอื่นๆที่บ่งบอกว่าเป็นโรคบิด แพทย์อาจจะตรวจหาแบคทีเรียชนิดอื่นๆ รวมไปถึงการตรวจเลือดและอุจจาระในห้องปฏิบัติการ แพทย์อาจสั่งให้มีการตรวจอย่างอื่นเพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุของโรค

วิธีการรักษาโรคบิด

หากมีอาการไม่รุนแรง แพทย์จะแนะนำให้พักผ่อนและให้น้ำเกลือ และสามารถทานยาที่หาซื้อได้ทั่วไปเช่น Pepto-Bismol ช่วยลดอาการตะคริวและท้องเสียได้ แค่ควรหลีกเลี่ยงยาประเภท Ioperamide หรือ atropime-diphenoxylate ซึ่งอาจทำให้มีอาการแย่ลง แต่ถ้าหากมีอาการรุนแรง สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ แต่ถ้าหากทานยาแล้วอาการไม่ดีขึ้นใน 2-3 วัน ให้แจ้งแพทย์เพื่อปรับวิธีการรักษา โรคอะมีบาสามารถรักษาได้ด้วย metronidazole (Flagyl) หรือ tinidazole (Tindamax) ซึ่งทำหน้าที่ฆ่าพยาธิและในบางกรณีหลังจากหากแล้ว แพทย์อาจมีการให้ยาเพิ่มเติม เพื่อให้แน่ใจว่าเชื้อโรคได้หายไปหมดแล้ว ในกรณีที่ท้องเสียอย่างรุนแรง แพทย์อาจแนะนำให้ให้น้ำเกลือเพื่อป้องกันการขาดน้ำ

ภาวะแทรกซ้อน

ในบางกรณีอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น : โรคข้ออักเสบหลังติดเชื้อ : ส่งผลประมาณ 2% ของผู้ที่ได้รับแบคทีเรียสายพันธุ์เฉพาะที่เรียกว่า S.Flexneri จะมีอาการปวดตามข้อและเคืองตา รวมไปถึงเจ็บขณะปัสสาวะ โรคข้ออักเสบนี้ สามารถอยู่ได้นานหลายเดือนจนถึงหลายปี การติดเชื้อในกระแสเลือด : พยได้น้อย และมักจะส่งผลกระทบต่อผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น HIV หรือมะเร็ง อาการชัก : อาการชักสามารถเกิดขึ้นได้ทั่วไปในเด็กเล็ก แต่ยังไม่มีข้อบ่งชี้แน่ชัดว่าเกิดจากอะไร และสามารถหายเองได้โดยไม่จำเป็นที่จะต้องรับการรักษา Hemolytic uremic syndrome (HUS): เป็นอาการที่เม็ดเลือดแดงถูกทำลายด้วยสารพิษที่เกิดจากแบคทีเรีย กรณีที่พบได้ยาก โรคอะมีบาอาจส่งผลให้เกิดฝีในตับหรือพยาธิกระจายไปที่ปอดหรือสมอง

ลักษณะทั่วไป

โรคนี้มักหายไปภายในหนึ่งสัปดาห์และสามารถรับประทานยาที่หาซื้อได้โดยทั่วไป ถ้าหากมีอาการติดเชื้อควรหลีกเลี่ยงการเตรียมอาหารให้กับผู้อื่นและหลีกเลี่ยงการว่ายน้ำ ถ้าหากทำงานเกี่ยวกับเด็ก การเตรียมอาหาร หรือทำงานในโรงพยาบาล ควรพักผ่อนจนกว่าจะหายดี รวมไปถึงหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ด้วย คนส่วนใหญ่มัจะมีอาการตั้งแต่สองถึงสามวัน ไปจนถึงหลายสัปดาห์ แต่ควรไปพบแพทย์ทันทีที่มีอาการ เพื่อรับยาที่ใช้ในการกำจัดเชื้อโรค

วิธีการป้องกันโรคบิด

โรคบิดสามารถป้องกันได้โดยการรักษาสุขอนามัยที่ดี เช่น :
  • ล้างมือบ่อยๆ
  • ระมัดระวังในการเปลี่ยนผ้าอ้อมของเด็กที่ป่วย
  • ไม่กลืนน้ำจากสระ
วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันโรคคือ ระมัดระวังในการรับประทานอาหารต่างๆ อาหารต่างๆที่ควรหลีกเลี่ยงขณะเดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยงมีดังนี้ :
  • เครื่องดื่มที่มีน้ำแข็ง
  • น้ำที่ไม่ได้ใส่ขวดหรือเปิดแล้ว
  • อาหารและเครื่องดื่มริมถนน
  • ผักผลไม้ที่ปอกเปลือกแล้ว
  • นมที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อหรือผลิตภัณฑ์จานม
แหล่งน้ำที่ปลอดภัยคือ :
  • ขวดน้ำที่ปิดสนิท
  • น้ำอัดลมที่ยังไม่ได้รับการเปิด
  • น้ำอัดลมในกระป๋องหรือขวดที่ปิดสนิท
  • น้ำต้มสุก
  • น้ำที่ผ่านการกรอง

อาหารที่ควรรับประทานเมื่อเป็นโรคบิด

โภชนาการมีบทบาทสำคัญในการจัดการโรคบิดและสนับสนุนการฟื้นตัวของร่างกาย เป้าหมายหลักของโภชนาการในระหว่างโรคบิดคือเพื่อรักษาความชุ่มชื้น เติมสารอาหารที่สูญเสียไป และสนับสนุนการรักษาเยื่อบุลำไส้ ต่อไปนี้คือคำแนะนำด้านอาหารทั่วไปสำหรับผู้ที่เป็นโรคบิด:
  • น้ำ: สิ่งสำคัญที่สุดของโภชนาการสำหรับโรคบิดคือการคงความชุ่มชื้นไว้ อาการท้องเสียสามารถนำไปสู่การสูญเสียของเหลวจำนวนมาก ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดภาวะขาดน้ำ การดื่มของเหลวใสจำนวนมาก เช่น น้ำ สารละลายเกลือแร่ (ORS) และเครื่องดื่มเกลือแร่เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อทดแทนของเหลวที่สูญเสียไปและรักษาสมดุลของอิเล็กโทรไลต์
  • Oral Rehydration Solutions (ORS): ORS เป็นสารละลายสูตรพิเศษที่มีความสมดุลของอิเล็กโทรไลต์ (โซเดียม โพแทสเซียม คลอไรด์ และไบคาร์บอเนต) และกลูโคสเพื่อช่วยในการคืนน้ำ มีจำหน่ายในซองหรือสามารถเตรียมที่บ้านโดยใช้สูตรเฉพาะ ORS มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับเด็กเล็กและผู้สูงอายุ
  • หลีกเลี่ยงอาหารบางชนิด: ในช่วงระยะเฉียบพลันของโรคบิด แนะนำให้หลีกเลี่ยงอาหารบางชนิดที่อาจทำให้อาการรุนแรงขึ้น ซึ่งรวมถึงอาหารที่มีไขมันและมันเยิ้ม อาหารรสเผ็ด ผลิตภัณฑ์จากนม คาเฟอีน แอลกอฮอล์ และอาหารที่มีไฟเบอร์สูง
  • อาหาร BRAT: อาหาร BRAT (กล้วย ข้าว ซอสแอปเปิ้ล ขนมปังปิ้ง) มักจะแนะนำในกรณีที่มีอาการท้องเสียไม่รุนแรง รวมถึงโรคบิดด้วย อาหารเหล่านี้ย่อยง่ายและช่วยให้อุจจาระมีปริมาณมากขึ้น อย่างไรก็ตาม อาหาร BRAT มีสารอาหารที่จำเป็นต่ำและไม่เหมาะสำหรับการใช้งานในระยะยาว
  • อาหารประเภทแป้งปรุงสุก: อาหารประเภทแป้งปรุงสุกธรรมดา เช่น ข้าวขาว มันฝรั่งต้ม และพาสต้าธรรมดาอาจมีประโยชน์ในระหว่างที่เป็นโรคบิด อาหารเหล่านี้ให้พลังงานและอ่อนโยนต่อกระเพาะอาหาร
  • ผักต้ม: ผักที่ปรุงอย่างดีและปอกเปลือก เช่น แครอทและบวบสามารถรวมอยู่ในอาหารได้ หลีกเลี่ยงผักดิบในระยะเฉียบพลัน
  • โปรตีนไม่ติดมัน: รวมแหล่งโปรตีนที่ย่อยง่ายและไม่ติดมัน เช่น ไก่ต้มหรือย่าง ไก่งวง หรือปลา
  • โปรไบโอติก: อาหารที่มีโปรไบโอติก เช่น โยเกิร์ตที่มีชีวิตหรืออาหารหมัก เช่น กะหล่ำปลีดอง อาจช่วยคืนสมดุลของแบคทีเรียที่มีประโยชน์ในลำไส้
  • อาหารที่อุดมด้วยสังกะสี: สังกะสีเป็นสารอาหารสำคัญที่สนับสนุนระบบภูมิคุ้มกันและสุขภาพของลำไส้ อาหารที่อุดมด้วยสังกะสี ได้แก่ เนื้อไม่ติดมัน ถั่ว เมล็ดพืช และธัญพืชไม่ขัดสี
จำเป็นต้องไปพบแพทย์สำหรับโรคบิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากอาการนั้นรุนแรงหรือเป็นมานาน บุคลากรทางการแพทย์สามารถให้คำแนะนำและการรักษาเฉพาะบุคคลตามเงื่อนไขและความต้องการเฉพาะของแต่ละบุคคล โปรดจำไว้ว่าข้อมูลนี้มีไว้สำหรับคำแนะนำทั่วไปเท่านั้น และไม่ควรใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพหรือนักโภชนาการที่ขึ้นทะเบียนไว้เสมอเพื่อรับคำแนะนำส่วนบุคคลและคำแนะนำในการจัดการโรคบิดด้วยโภชนาการ

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

  • https://www.medicalnewstoday.com/articles/171193
  • https://www.nhs.uk/conditions/dysentery/
  • https://www.webmd.com/digestive-disorders/what-is-dysentery
  • https://www.chp.gov.hk/en/healthtopics/content/24/14.html

Content and expert reviews from Bupa team.

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด