อาการแพ้ยา (Drug Allergy) มันคืออะไร : อาการ วิธีรักษา สาเหตุ

 
พญ.พรรณิภา สุขสมบูรณ์กิจเรียบเรียงและปรับปรุงข้อมูลทางการแพทย์โดย : พญ. พรรณิภา สุขสมบูรณ์กิจ

อาการแพ้ยาคืออะไร

อาการแพ้ยา (Anaphylaxis or Drug Allergy) เกิดขึ้นจาก การตอบสนองที่เกิดจากภูมิคุ้มกันของร่างกายต่อต้านยาที่ได้รับเข้าไป เนื่องจากร่างกาย ไม่สามารถรับสารนั้น ๆ ได้ จึงเกิดปฎิกริยาต่าง ๆ แสดงออกมาทางร่างกาย หรือผิวหนังเช่นแพ้ยาผื่นขึ้นตามตัว อาการหน้าบวม แพ้ยานี้อาจจะมีอาการเล็กน้อยไปจนถึงขั้นรุนแรง อาจจะถึงชีวิตได้ ดังนั้นหากผู้ป่วยแพ้ยา (Drug Allergy) ควรปรึกษาแพทย์ทันที การแพ้ยาผื่นขึ้นนับว่าเป็นอาการเบื้องต้นที่เกิดขึ้นบ่อยในผู้ป่วยหลายราย แต่ทั้งนี้ไม่ควรเพิกเฉยควรที่จะแจ้งให้แพทย์ทราบ

สาเหตุของอาการแพ้ยา

แพ้ยาอาจจะเกิดได้จากสองสาเหตุ คือ การแพ้ที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายที่ทำปฎิกริยากับสารตัวนั้น ๆ ที่ร่างกายรับเข้าไปและ ร่างกายต่อต้าน หรืออีกอย่างคือยาที่ใช้นั้นมีฤทธิ์รุนแรงเกินไป และส่งผลให้เกิดอาการข้างเคียงเพราะหากยาฤทธิ์แรงเกินไปอาจจะทำให้ความดันสูงขึ้นผิดปกติ และส่งผลให้ร่างกายมีปฎิกริยาต่าง ๆ แสดงขึ้นมา การตอบสนองทางภูมิคุ้มกันนี้นำไปสู่การอักเสบ หรือเกิดอาการเช่นมีผื่นไข้ หายใจลำบาก หลายคนแพ้ยาได้หลายชนิดหรือแม้แต่ยาทั่วไปที่บุคคลใช้กัน เช่นบางคนมีอาการแพ้ยาแก้อักเสบทั่วไป 

แพ้ยาเป็นอันตรายหรือไม่

อาแพ้ยาขึ้นอยู่กับอาการซึ่งอาจจะมีอาการเพียงเล็กน้อย แค่มีผื่นคัน หรืออาการที่รุนแรงมากขึ้นอาจจะถึงชีวิตได้เช่น ตัวบวม ระบบทางเดินหายใจติดขัด อาจจะทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ แพ้ยาอาจจะเกิดขึ้นได้ทันทีหรือหลังจากการทานยาภายใน 12 ชั่วโมง 

อาการแพ้ยา

อาการของคนแพ้ยาเบื้องต้นที่ไม่เป็นอันตรายอาจจะเกิดอาการ
  • ผิวมีผื่นแดง ผื่นแพ้ยา  
  • มีจุดแดงตามตัว
  • น้ำมูกไหล
  • จาม
  • คันตามตัว หรือดวงตามีน้ำตา
  • ปากพอง
  • ตาบวมข้างเดียว หรือสองข้าง
  • หน้าบวมข้างเดียวหรือสองข้าง
อาการแพ้ยาที่มีความอันตรายมากอาจจะแสดงอาการดังนี้
  • ตัวบวม หน้าบวม ตาบวมหรือปากบวม
  • หัวใจเต้นผิดปกติ
  • หายใจติดขัด 
  • หมดสติ
  • ชัก
  • ท้องเสีย
หากอาการเหล่านี้เกิดขึ้น  ควรเข้ารับการรักษาอย่างเร่งด่วน  หากแพ้ยา (Drug Allergy) ตาบวมเป่งควรไปหาแพทย์โดยด่วนและไม่ควรขับขี่ยานพาหนะ  สาเหตุผื่นแพ้บางครั้งอาจจะมาจากหลายสาเหตุอาจจะอาการแพ้ยาหรือไม่ใช่จึงควรพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจ

ลักษณะผื่นแพ้ยา

ผื่นแพ้ยาสามารถเกิดได้ทั่วบริเวณของร่างกาย บางครั้งอาจจะเป็นผื่นลมพิษ หรือเกิดเป็นผื่นคล้ายสิว หรือในบางรายอาจจะเกิดเป็นตุ่มน้ำใส ๆ หรือตุ่มหนอง 

ยาอะไรที่สามารถทำให้เกิดการแพ้ได้

ชนิดยาที่แตกต่างกันออกไปส่งผลกระทบต่างกันในแต่ละบุคคล แต่นี่คือยาที่มีปฎิกริยาที่ทำให้ผู้ป่วยบางคนเกิดอาการแพ้ดังนี้ : 
  • ยาคลายกล้ามเนื้อ
  • ยา trastuzumab และ ibritumomab tiuxetan
  • ยาเคมีบำบัดเช่น paclitaxel, docetaxel และ procarbazine
  • ยาคุมกำเนิด
  • ยาลดการอักเสบที่ไม่มีสเตียรอยด์ เช่น ibuprofen หลายคนอาจจะแพ้ยาแก้อักเสบยี่ห้ออื่น ๆ ได้
  • ยากันชักเช่น carbamazepine และ lamotrigine
  • ยาปฎิชีวนะ เช่น penicillin และ sulfa sulfamethoxazole-trimethoprim
  • แอสไพริน
  • ยดลดความอ้วน

วิธีรักษาอาการแพ้ยา

วิธีแก้อาการแพ้ยานั้นขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค ด้วยปฏิกิริยาการแพ้ที่รุนแรงต่อยาผู้ป่วยอาจต้อง งดใช้ยานั้น ๆ  แพทย์อาจทำการเปลี่ยนเป็นยาตัวอื่น หรือหากมีปฎิกริยาทางผิวหนังวิธีการรักษาอาการแพ้ยาเบื้องต้นอาจจะซื้อยาทาแก้แพ้มาทาผิวโดยให้แพทย์หรือเภสัชกรณ์สั่งจ่ายยาให้เพื่อรักษาผื่นแพ้ยา (Anaphylaxis)

แต่ถ้าหากผู้ป่วยแพ้ตัวนั้น ๆ ไม่มากนัก แพทย์อาจสั่งยาให้แต่จะสั่งยาเพิ่มเพื่อควบคุมอาการแพ้ ยาบางชนิดสามารถช่วยป้องกันการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันและลดอาการ ยาเหล่านี้รวมถึง:

Antihistamines

ร่างกายของผู้ป่วยจะผลิตฮิสตามีนเมื่อคิดว่ามีสารจากการแพ้ เช่นสารก่อภูมิแพ้ ฮิสตามีนที่ปล่อยออกมาอาจทำให้เกิดอาการแพ้ เช่นบวมคันหรือระคายเคือง antihistamine จะทำการบล็อกการผลิตของฮีสตามีและลดการเกิดอาการแพ้  Bronchodilators หากแพ้ยาทำให้เกิดอาการหายใจดังเสียงฮืดหรือไอแพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยาขยายหลอดลม ยานี้จะช่วยเปิดทางเดินหายใจของคุณและทำให้หายใจง่ายขึ้น ยาขยายหลอดลมมาในรูปแบบของเหลวและผงสำหรับใช้ในเครื่องช่วยหายใจหรือเครื่องพ่น

Corticosteroids

แพ้ยาอาจทำให้เกิดการติดขัดของทางเดินหายใจและอาการรุนแรงอื่น ๆ Corticosteroids ช่วยลดการอักเสบที่นำไปสู่ปัญหาเหล่านี้ Corticosteroids อยู่ในรูปแบบ ยาสเปรย์พ่นจมูกยาหยอดตาและครีม   อาการแพ้ไม่รุนแรง
  • อาการแพ้ สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการแพ้แค่เพียงเล็กน้อย หลังจากเลิกใช้ยาที่แพ้แล้วก็ควรรับประทานยาแก้แพ้ เช่น ยาคลอเฟนิรามีน (Chlorpheniramine) โดยให้รับประทานวันละ 3-4 ครั้ง ครั้งละ 1/2-1 เม็ด จนกว่าจะหาย หรือฉีดยาไดเฟนไฮดรามีน (Diphenhydramine) เข้ากล้ามเนื้อ
  • อาการแพ้ปานกลาง หรือรุนแรง ในกลุ่มที่มีอาการ ยากินจะไม่สามารถช่วยรักษาอาการได้แต่แพทย์โดยจะให้ยาอะดรีนาลีน (Adrenaline) 0.3-0.5 มิลลิกรัม หรือสเตียรอยด์ 1-2 หลอด ผ่านการฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือด
  • อาการแพ้ในกลุ่มสตีเวนจอห์นสัน (Stevens Johnson Syndrome) อาแพ้ยา ปฏิชีวนะอย่างรุนแรง หากมีอาการแพ้ควรรีบรับประทานยาแก้แพ้ หรือสเตียรอยด์ แล้วนำส่งโรงพยาบาลในทันที เพราะอาจมีอาการติดเชื้อแทรกซ้อนทำให้เกิดภาวะโลหิตเป็นพิษจนอาจจะทำให้เสียชีวิตได้
drug allergy

ข้อแตกต่างระหว่างการแพ้ยาและผลข้างเคียงของยาคืออะไร

แพ้ยามีผลกับบางคนเท่านั้น มันมักจะเกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันแต่ผลข้างเคียงของยาจะเกิดขึ้นได้กับ

ยาที่พบว่ามีผู้แพ้บ่อยมีอะไรบ้าง

ยาสามัญที่ก่อให้เกิดการแพ้ ควรเตรียมตัวอย่างไรเมื่อต้องทำเคมีบำบัด

อาการแพ้ยาจะเป็นอยู่นานแค่ไหน

หากเกิดผื่นขึ้นควรหยุดยาโดยเร็วที่สุด ผื่นอาจคงอยู่เป็นเวลาหลายวันถึงหลายสัปดาห์หลังจากที่คุณหยุดใช้ยา แล้วผื่นจะจางลง โดยปกติผื่นจะหายไปจากส่วนบนของร่างกายก่อนและขาและเท้า

อาการแพ้ยาร้ายแรงแค่ไหน

ปฏิกิริยาแพ้ยาที่รุนแรงและเกิดขึ้นทันทีอาจส่งผลต่อการหายใจ หัวใจและความดันโลหิต และเรียกว่า ‘แอนาฟิแล็กซิส’ ปฏิกิริยาเหล่านี้อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตและจำเป็นต้องได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างเร่งด่วน

ลิงค์ด้านล่างนี้เป็นแหล่งข้อมูลของบทความของเรา

  • https://acaai.org/allergies/anaphylaxis
  • https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2911828/
  • https://www.worldallergy.org/education-and-programs/education/allergic-disease-resource-center/professionals/drug-allergies 
  • https://www.aafa.org/medicine-drug-allergy/ 
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด