โดพามีน (Dopamine) : วิธีใช้ และข้อควรระวัง

ผู้เขียน Dr. Sommai Kanchana
0
โดพามีน
เบื้องหลังความกระปรี้กระเปร่า สดชื่น รวมไปถึงสมาธิในการทำกิจกรรมต่างๆจะมีใครรู้บ้างหรือไม่ว่าอะไรเป็นตัวทำให้เกิดขึ้น และหากร่างกายขาดสิ่งนั้นไปจะเกิดอะไรขึ้นกับเราบ้าง 

ชื่อสามัญ

โดพามีน (Dopamine)

ชื่อการค้า

Dopamin, Dopamine, Dopamex, DBL Dopamine, Dopmin, Inopin โดพามีนเป็นสารเคมีภายในสมองที่เกิดจากกรดอะมิโนไทโรซีน (Tyrosine:Tyr) และเอนไซม์ไทโรซีนไฮดร็อกซิเลส (Tyrosine Hydroxylase:TH) ทำงานร่วมกัน เป็นสารที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มแคทีโคลามีน (Catecholamine) ซึ่งประกอบไปด้วยนอร์เอพิเฟริน (Norepinephrine), อิพิเนฟริน (Epinephine) และโดพามีน (Dopamine) โดยสารที่หลั่งออกมาจะถูกรับไปโดยโปรตีนภายในสอง และเส้นประสาททั่วร่างกาย

ข้อบ่งใช้

รักษาภาวะช็อกจากกล้ามเนื้อหัวใจตาย อุบัติเหตุ การติดเชื้อ การผ่าตัดหัวใจ ไตวาย และผู้ที่มีภาวะหัวใจวาย

กลไกการออกฤทธิ์

                  กระตุ้นทั้งตัวรับ A และ ?-Adrenergic ทำให้หลอดเลือดส่วนปลายตีบเพื่อเพิ่มแรงบีบตัวของหัวใจ เพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปสู่อวัยวะภายในช่องท้อง  อย่างไรก็ตามผลการออฤทธิ์ขึ้นอยู่กับขนาดของยาที่ให้

หน้าที่ของโดพามีน

  1. ช่วยให้กระบวนการทำงานของสมอง และการเคลื่อนไหวของร่างกายเป็นไปอย่างปกติ
  2. ควบคุมกล้ามเนื้อมัดเล็ก
  3. ควบคุมอารมณ์ความรู้สึก
  4. ช่วยในเรื่องการรับรู้ ส่งเสริมระบบความจำ และการเรียนรู้ต่างๆให้ดียิ่งขึ้น
  5. สร้างบุคลิกของผู้คนให้กลายเป็นคนที่มองโลกในแง่ดี
  6. ช่วยทำให้มีสมาธิในการแก้ไขปัญหาต่างๆ
Dopamine

ประโยชน์ของโดพามีน

ประโยชน์ที่โดดเด่นของโดพามีนคือ ช่วยให้เกิดความคิด หรือเป็นบุคคลที่มองโลกในแง่ดี เพราะเมื่อโดพามีนหลั่งแล้วไปกระตุ้นการทำงานของสมอง จะทำให้คุณรู้สึกอารมณ์ดีเกิดความรู้สึกดีได้ง่ายๆต่อสิ่งรอบตัว และเมื่อโดพามีนหลั่งอย่างต่อเนื่องแน่นอนว่ามันจะส่งผลดีต่อร่างกายของคุณ อีกทั้งช่วยในการจดจำได้แม่นยำยิ่งขึ้น สามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆได้อย่างรวดเร็ว การเคลื่อนไหวของร่างกายโดยเฉพาะกล้ามเนื้อสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ กระฉับกระเฉง มีความตื่นตัวอยู่เสมอ ยิ่งเป็นกิจกรรม เช่น การออกกำลังกายคุณจะรู้สึกได้ทันทีว่าร่างกายสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างมั่นใจ เพราะมีโดพามีนจึงทำให้ระบบสมอง และระบบของร่างกายทำงานสอดประสานกันได้เป็นอย่างดี

หากระดับของโดพามีนผิดเพี้ยนไปจะเกิดอะไรขึ้น

เมื่อร่างกายมีระดับของโดพามีนต่ำลง หรือขาดหายไป อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆตามมา เช่น โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s Disease) มักพบมากในผู้สูงอายุ โดยมีสาเหตุหลักๆมาจากการที่เซลล์สมองไม่สามารถสร้างสารโดพามีนได้ หรือเซลล์สมองที่สร้างสารโดพามีนบางส่วนเกิดถูกทำลาย หรือตายลง ทำให้การเครื่องไหวของร่างกายเป็นไปอย่างยากลำบาก จนเกิดความผิดปกติในที่สุด ในทางกลับกันหากร่างกายมีระดับของโดพามีนที่มากเกินไป อาจก่อให้เกิดพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น กลายเป็นคนย้ำคิดย้ำทำ, อารมณ์ร้อน ซึ่งหากสารโดพามีนมากจนเกินไปอาจนำไปสู่โรคทางจิตได้ ซึ่งการปรับสมดุลให้กับสารโดพามีนภายในร่างกายที่ดีที่สุดคือ การรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น เนื้อสัตว์ นม ไข่ หรือธัญพืชต่างๆ หรือหากเกินกว่าที่จะมานั่งปรับอาหาร คุณสามารถปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย และเข้ารับการรักษาต่อไป

ขนาด และวิธีการใช้

  • ให้ยาขนาดน้อยๆ : 1-2 ไมโครกรัม/น้ำหนักตัว 1 กก./นาที จะทำให้เลือดไปเลี้ยงไต และอวัยวะภายในช่องท้องมากขึ้น ปัสสาวะจึงออกดีขึ้น
  • ให้ยาขนาดปานกลาง : 2-10 ไมโครกรัม/น้ำหนักตัว 1 กก./นาที จะกระตุ้นที่ตัวรับ ? มากกว่า ทำให้เพิ่มแรงบีบของหัวใจ แต่ไม่เพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ ส่งผลให้ความดันโลหิตจึงสูงขึ้น
  • ให้ยาขนาดสูง : มากกว่า 20 ไมโครกรัม/น้ำหนักตัว 1 กก./นาที จะกระตุ้นที่ตัวรับ ? มากขึ้น ทำให้หลอดเลือดที่ไตหดตัว ปัสสาวะจึงออกน้อยลง

การจัดเก็บยา 

แยกเก็บยาออกจากยาทั่วไป ให้เข้าถึงยาก หากใช้ในโรงพยาบาลควรกำหนดปริมาณที่เอาไว้สำรองภายในหอผู้ป่วยให้ชัดเจน ทำสัญลักษณ์เตือนให้ระวัง เก็บยาไว้ในอุณหภูมิห้อง และเก็บให้พ้นแสง โดยภายหลังการผสมยา ยาสามารถอยู่ได้นาน 24 ชม.ที่อุณหภูมิห้อง

ผลข้างเคียง

ข้อควรระวัง

อาจเกิดภาวะเป็นพิษ ได้แก่ ความดันโลหิตสูง (Severe Hypertension), หัวใจเต้นผิดจังหวะ (Cardiac Arrhythmias) ภาวะไตวายเฉียบพลัน (Acute Renal Failure) และกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โดยทั่วไปทีมสุขภาพจะบริหารยาทางหลอดเลือดดำ หากเกิดยารั่วออกนอกเส้นเลือด (Extravasation) แม้ว่าจะให้ยาในขนาดต่ำ 1-1.5 ไมโครกรัม/น้ำหนักตัว 1 กก./นาที ก็มีรายงานการเกิดเนื้อเยื่อถูกทำลายจากยา (Gangrene) โดปามีนเป็นสารสื่อประสาทที่มีบทบาทสำคัญในการทำงานทางสรีรวิทยาต่างๆ รวมถึงการควบคุมอารมณ์ แรงจูงใจ และการควบคุมร่างกาย แม้ว่าโดปามีนจำเป็นสำหรับการทำงานของร่างกายตามปกติ แต่ก็มีเงื่อนไขและสถานการณ์บางประการที่บุคคลอาจจำเป็นต้องใช้ความระมัดระวังหรือจำกัดกิจกรรมที่อาจส่งผลต่อระดับโดปามีนอย่างมีนัยสำคัญ ต่อไปนี้เป็นสถานการณ์บางส่วนที่บุคคลอาจพิจารณากลั่นกรองกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับโดปามีน: บุคคลที่มีความผิดปกติทางจิตเวช: 
  • ผู้ที่มีภาวะทางจิตเวชบางอย่าง เช่น โรคจิตเภทหรือโรคอารมณ์สองขั้ว อาจมีระดับโดปามีนไม่สมดุล การเปลี่ยนแปลงระดับโดปามีนในบุคคลเหล่านี้อาจทำให้อาการรุนแรงขึ้นได้ สิ่งสำคัญสำหรับบุคคลที่มีความผิดปกติทางจิตเวชจะต้องทำงานอย่างใกล้ชิดกับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเพื่อจัดการกับอาการของตนเอง
ภาวะหัวใจ: 
  • การปล่อยโดปามีนหรือการกระตุ้นมากเกินไปอาจส่งผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด บุคคลที่มีภาวะหัวใจอยู่แล้วหรือผู้ที่มีความเสี่ยงต่อปัญหาหัวใจและหลอดเลือดควรระมัดระวังในการทำกิจกรรมหรือสารที่อาจทำให้โดปามีนเพิ่มขึ้นอย่างกะทันหัน
ปัญหาการใช้สารเสพติด: 
  • การใช้สารเสพติด โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับยาที่ส่งผลต่อระดับโดปามีน (เช่น โคเคนหรือยาบ้า) สามารถทำลายสมดุลตามธรรมชาติของสารสื่อประสาทได้ บุคคลที่ประสบปัญหาการใช้สารเสพติดอาจต้องขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้และหลีกเลี่ยงสารที่ส่งผลต่อโดปามีน
ยาบางชนิด: 
  • ยาบางชนิด เช่น ยารักษาโรคจิตและยาแก้คลื่นไส้บางชนิด อาจส่งผลต่อระดับโดปามีน บุคคลที่รับประทานยาเหล่านี้ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพ และหลีกเลี่ยงการรักษาตนเองหรือเปลี่ยนแปลงวิธีการรักษาอย่างมีนัยสำคัญโดยไม่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
สตรีมีครรภ์: 
  • สตรีมีครรภ์ควรระมัดระวังในกิจกรรมหรือสารบางอย่างที่อาจส่งผลต่อระดับโดปามีน การเปลี่ยนแปลงอาหาร การออกกำลังกาย หรือยาใดๆ ในระหว่างตั้งครรภ์ควรปรึกษากับผู้ให้บริการด้านสุขภาพเพื่อให้แน่ใจว่าทั้งมารดาและทารกในครรภ์จะมีความเป็นอยู่ที่ดี
ความผิดปกติทางระบบประสาท: 
  • บุคคลที่มีความผิดปกติทางระบบประสาทบางอย่าง เช่น โรคพาร์กินสัน อาจมีโดปามีนไม่สมดุลเนื่องจากการเสื่อมของเซลล์ประสาทที่ผลิตโดปามีน บุคคลเหล่านี้มักต้องการการรักษาทางการแพทย์โดยเฉพาะเพื่อจัดการกับอาการของตนเอง และควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมหรือสารที่อาจรบกวนระดับโดปามีนได้อีก
การใช้สารกระตุ้นมากเกินไป: 
  • การใช้สารกระตุ้นมากเกินไป ไม่ว่าจะเป็นสารทางกฎหมาย เช่น คาเฟอีน หรือยาตามใบสั่งแพทย์สำหรับโรคสมาธิสั้น อาจส่งผลให้ระบบโดปามีนกระตุ้นมากเกินไป บุคคลควรคำนึงถึงการบริโภคยากระตุ้นและขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญหากพบผลข้างเคียง
สิ่งสำคัญที่ควรทราบคือการตอบสนองของแต่ละบุคคลต่อกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับโดปามีนอาจแตกต่างกันไป และคำแนะนำอาจแตกต่างกันไปตามสุขภาพโดยรวม ประวัติการรักษาพยาบาล และสถานการณ์เฉพาะของบุคคล ใครก็ตามที่มีความกังวลเกี่ยวกับระดับโดปามีนหรือผลกระทบต่อสุขภาพควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเพื่อขอคำแนะนำเฉพาะบุคคล

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.webmd.com/mental-health/what-is-dopamine
  • https://www.medicalnewstoday.com/articles/320637
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด