ผื่นผ้าอ้อม (Diaper rash): สาเหตุ อาการ การวินิจฉัย การรักษา

ผื่นผ้าอ้อมคืออะไร 

ผื่นผ้าอ้อม (Diaper rash) เป็นอาการระคายเคืองของผิวหนัง ที่เป็นในลักษณะของผื่นแพ้ในทารกหรือเด็ก  ซึ่งมักจะพบในเด็กที่มีอายุต่ำกว่าสองปี โรคผิวหนังจากผ้าอ้อมผื่นผ้าอ้อมทำให้เกิดอาการแสบร้อนและแดงบนผิวที่ของผิวหนังที่สัมผัสและถูกับผ้าอ้อม ผื่นผ้าอ้อมนี้ไม่ได้เกิดจากผ้าอ้อมโดยตรงแต่จะเกิดบริเวณที่สวมใส่ผ้าอ้อมที่เกิดการอับและผิวลูกสัมผัสกับปัสสาวะหรืออุจจาระนานเกินไปจะทำให้ผิวแดงมีผื่นระคายเคือง เกิดผดผื่นในทารกได้ แต่ทั้งนี้มียาทาแพ้ผื่นผ้าอ้อม เพื่อช่วยบรรเทาอาการให้ลูกน้อยได้
ผื่นผ้าอ้อม (Diaper rash)

ผื่นผ้าอ้อม (Diaper rash)

สาเหตุที่ทำให้เกิดผื่นผ้าอ้อมคือ

สาเหตุของการเกิดผื่นผ้าอ้อมบางครั้งอาจจะเป็นเพราะการที่เด็กใช้ผ้าอ้อมที่อับชื้นนานเกินไป หรือบางครั้งอาาจจะเกิดเพราะการเสียดสีของผิวหนังที่บอบบาง หรือหากผ้าอ้อมคับจนเกินไปอาจจะทำให้เกิดการระคายเคือง แต่หากลูกน้อยเกิดถับถ่าย หรือมีอาการท้องเสียแล้วไม่ได้เปลี่ยนผ้าอ้อมทันที ก็อาจจะทำให้เกิดผื่นผ้าอ้อม ผิวลูกน้อยแสบแดง เนื่องจากบางครั้งอุจจาระหรือปัสสาวะอาจจะมีความเป็นกรด กัดผิวลูกน้อยได้ บางครั้งกรณีที่ไม่ได้เกิดจากผ้าอ้อมโดยตรง ด้วยความบอบบางของผิวเด็ก อาจจะเกิดจากสบู่ หรือทิชชู่ที่แม่ใช้ทำความสะอาดผิวลูกน้อยแล้วลูกเกิดอาการแพ้ก็เป็นได้ สาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้ผิวหนังเกิดอาการคัน

ใครที่มีความเสี่ยงกับการเป็นผื่นผ้าอ้อม (Diaper rash)

เด็กในอายุตั้งแต่ 3-18 เดือนมีความเสี่ยงที่จะเป็นผื่นผ้าอ้อม แต่ทั้งนี้สำหรับเด็กน้อยที่ทานนมแม่อาจจะมีความเสี่ยงได้น้อยกว่า แต่แม่ควรเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูกบ่อย ๆ ไม่ควรให้ลูกอยู่ในผ้าอ้อมที่อับชื้นนาน ๆ 

อาการของผื่นผ้าอ้อม

ผื่นผ้าอ้อมอาการที่เกิดขึ้นกับผิวบริเวณที่สัมผัสผ้าอ้อม จะเป็นผื่นแดงแสบ ร้อน คัน บางครั้งอาจจะมีผิวลอก ร่วมด้วย ก้นแดงแสบ เป็นผื่นที่ขาหนีบ บางครั้งแดงบริเวณอวัยวะเพศและหากลูกอยู่ในผ้าอ้อมที่อับชื้นนานเกินไป หรือในผ้าอ้อมที่มีอุจจาระนาน อาจจะทำให้ผิวลูกติดเชื้อแบคทีเรีย และก่อให้เกิดอาการแทรกซ้อนรุนแรงได้ และเมื่อเกิดผื่นผ้าอ้อมแล้ว ผื่นนี้อาจจะเป็นอยู่ตั้งแต่ 24-48 ชั่วโมงหรือนานกว่านั้นก็เป็นได้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของผื่น และหากผื่นของลูกมีอาการขั้นรุนแรงที่มีผื่นและแผลหรือหนองร่วมด้วย และลูกมีไข้คุณควรพบแพทย์ทันที จากคำแนะนำของ (Mayo Clinic, 2012)

การวินิจฉัยผื่นผ้าอ้อม

ผื่นแพ้ผ้าอ้อมเป็นเรื่องที่สามารถพบได้บ่อย และหากคุณเคยมีความคุ้นเคยในการดูแลเด็กคุณจะสามารถสังเกตุเห็นอาการนี้ได้ง่าย บางครั้งคุณอาจจะต้องการความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญในการปรึกษาว่าควรใช้ยาชนิดใดทาผื่นแพ้ผ้าอ้อม  เพราะในบางครั้งผื่นแพ้นั้นอาจจะเกิดจากการติดเชื้อยีสต์ หรืออาจจะเกิดขึ้นจาก การรับประทานยาฆ่าเชื้อ ดังนั้นผื่นอาจจะไม่หายไปถ้าไม่ได้รับยาทาผื่นแพ้จากแพทย์ และคุณควรสังเกตุชนิดหรือผ้าอ้อมที่ลูกแพ้ด้วย บางครั้งแม้แต่ครีมที่ทาหรือสบู่ที่ใช้อาจจะเป็นสิ่งจำเป็นที่ควรดูอาการ ตรวจสอบสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้ผิวเป็นผื่นแพ้

วิธีรักษาผื่นผ้าอ้อม (Diaper rash)

การป้องกันผื่นผ้าอ้อม เราควรหมั่นตรวจดูและเปลี่ยนผ้าอ้อมลูกบ่อย ๆ ระวังไม่ให้ผิวบริเวณนั้นเกิดความอับชื้น เราไม่ควรให้เกิดผื่นแพ้ผ้าอ้อมขึ้นแล้วมารักษาเราควรป้องกันไม่ให้ผื่นผ้าอ้อมเกิดขึ้นเลย  การป้องกันผื่นผ้าอ้อมไม่ให้เกิดขึ้นสามารถทำได้ดังนี้ :
  • เลือกใช้ผ้าอ้อมที่เหมาะกับสภาพผิวและขนาดตัวลูก มีส่วนสำคัญอย่างมากในการป้องกันการเกิดผื่น และการระคายเคือง เพราะถ้าผ้าอ้อมคับหรือแน่นเกินไปอาจจะทำให้เกิดการเสียดสีและระคายเคือง และต้องเลือกผ้าอ้อมที่สามารถดูดซับความชื้นได้เป็นอย่างดี
  • ทำความสะอาดผิวลูกให้ดีทุกครั้งหลังเปลี่ยนผ้าอ้อม ซับให้แห้ง
  • เปลี่ยนผ้าอ้อมทุก ๆ 2-3 ชม หรือทุกครั้งหลังลูกน้อยถ่ายหนัก
  • ควรงดการใส่ผ้าอ้อมบ้างเพื่อให้ผิวหนังของลูกน้อยได้สัมผัสอากาศและผ่อนคลาย
  • ไม่ควรทาแป้งฝุ่นเพราะแป้งจะจับกับเหงื่อที่ออกในบริเวณนั้นกลายเป็นคราบหรือก้อนแป้ง ทำให้ผิวชื้นแฉะตลอดเวลา สามารถเกิดอาการระคายเคืองและเป็นผื่นผ้าอ้อมง่ายขึ้น
  • ควรใช้แค่สบู่อ่อน ๆ ไม่ควรใช้แอลกอฮอล์หรือสารระคายเคืองหรือสบู่ที่มีส่วนผสมของน้ำหอมทำความสะอาดผิวลูก
หากลูกเป็นผื่นแพ้ผ้าอ้อมคุณสามารถซื้อยาทาผื่นผ้าอ้อมได้ เพื่อลดผื่นคัน:
  • hydrocortisone ครีมทาผื่นผ้าอ้อมเพื่อลดอาการบวม
  • ครีมต้านเชื้อราหรือยาปฏิชีวนะลดการติดเชื้อ (แพทย์อาจสั่งยาปฏิชีวนะแบบทานให้ด้วย)
  • zinc oxide
  • ครีมที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์
ทั้งนี้ก่อนการใช้ยาใด ๆ กับผิวลูกควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญก่อน

 เมื่อไหร่ที่ควรไปพบแพทย์

หากผื่นไม่หายไป แย่ลง หรือมีแผลปรากฏบนผิวหนังของทารก ให้ปรึกษาแพทย์ นอกจากนี้ ให้ไปพบแพทย์หากลูกน้อยของคุณมีไข้มีหนองไหลจากผื่น หรือหากลูกของคุณงอแงมากกว่าปกติ แพทย์อาจเลือกใช้ครีมต้านเชื้อราหรือครีมปฏิชีวนะ ขึ้นอยู่กับชนิดของผื่นที่ลูกน้อยของคุณมี หรืออาจแนะนำให้เปลี่ยนกิจวัตรการใส่ผ้าอ้อมของคุณ บางครั้งหากการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นไม่ช่วยรักษาผื่นที่เกิดจากอาการแพ้ แพทย์อาจสั่งครีมสเตียรอยด์อ่อนๆ ให้เป็นเวลา 2-3 วันจนกว่าผื่นจะหายไป
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด