อาการเพ้อ (Delirium) คือ การเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันในสมองที่ทำให้เกิดความสับสนทางจิตใจ และอารมณ์เสีย ส่งผลกระทบต่อการคิด ความจำ นอนหลับและอื่น ๆ
อาการเพ้อพบได้ในช่วงเลิกดื่มแอลกอฮอล์ หลังการผ่าตัด หรือภาวะสมองเสื่อม
อาการเพ้อเป็นอาการชั่วคราวและสามารถรักษาได้
ประเภทของอาการเพ้อ
อาการเพ้อถูกจัดแบ่งหมวดหมู่ตามสาเหตุ ความรุนแรง และลักษณะดังนี้ :- Delirium tremens อาการเพ้อรุนแรงจากผู้ที่พยายามหยุดดื่มแอลกฮอล์ โดยปกติแล้วพวกเขาดื่มแอลกอฮอล์มาต่อเนื่องเป็นเวลานานหลายปี
- Hyperactive Delirium แสดงออกทางพฤติกรรมมากกว่าปกติ และไม่ให้ความร่วมมือกับผู้อื่น
- Hypoactive Delirium อาการเพ้อประเภทนี้ผู้ป่วยมักจะใช้เวลานอนหลับนานและหลับแบบไม่ตั้งใจและไม่มีความเป็นระเบียบในการทำกิจวัตรประจำวัน
โรคหลงผิด
อาการเพ้อนั้นมีผลต่อจิตใจอารมณ์ การควบคุมกล้ามเนื้อและการนอนหลับ ลำบากในการใช้สมาธิ หรือรู้สึกสับสน อาจจะมีการเคลื่อนไหวช้า หรือเร็วกว่าปกติ รวมถึงอารมณ์แปรปรวน อาการอื่น ๆ อาจรวมถึง:- ความคิด หรือพูดไม่ชัดเจน
- นอนหลับไม่เพียงพอ และรู้สึกง่วงนอน
- ความจำระยะสั้นแย่
- สูญเสียการควบคุมกล้ามเนื้อ
สาเหตุของอาการเพ้อ
สาเหตุของอาการเพ้อได้แก่โรคที่ทำให้เกิดการอักเสบ และการติดเชื้อ เช่น ปอดบวม ซึ่งอาจรบกวนการทำงานของสมอง นอกจากนี้การรับประทานยาบางชนิด (เช่น ยาลดความดันโลหิต) หรือการใช้ยาที่ผิดหรือไม่เป็นไปตามคำแนะนำของแพทย์อาจรบกวนสารเคมีในสมอง การเลิกดื่มแอลกอฮอล์ และการได้รับสารพิษอาจทำให้เกิดอาการเพ้อได้ เมื่อมีอาการการหายใจติดขัด เนื่องจากโรคหอบหืดหรืออาการอื่น สมองจะไม่ได้รับออกซิเจนตามที่ต้องการ เงื่อนไขหรือปัจจัยใด ๆ ที่เปลี่ยนการทำงานของสมองอย่าง อาจทำให้เกิดความสับสนทางจิตใจได้ใครบ้างมีความเสี่ยงมีอาการเพ้อ
ผู้ป่วยด้านระบบประสาทที่อายุ 65 ปี ขึ้นไป มีความเสี่ยงสูงที่จะมีอาการเพ้อ บุคคลอื่นๆ ที่มีความเสี่ยงจะมีอาการเพ้อ:- ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด
- ผู้ที่กำลังเลิกสุรา
- ผู้ป่วยที่สมองเคยได้รับการทำลาย หรือกระทบกระเทือน
- ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะกดดัน และภาวะตึงเครียดอย่างหนัก
- การนอนหลับพักผ่อน
- ยาบางชนิด (เช่น ยาระงับประสาท ยารักษาความดันโลหิต ยานอนหลับ และยาแก้ปวด)
- การขาดน้ำ
- การได้รับโภชนาการที่ไม่ดี
- การติดเชื้อ เช่น การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
การรักษาอาการเพ้อ
การรักษาอาจจะเป็นการหยุดยาบางชนิดทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสาเหตุของโรคเพ้อ ในผู้สูงอายุการวินิจฉัยที่ถูกต้องมีความสำคัญต่อการรักษา เนื่องจากอาการเพ้อคล้ายคลึงกับภาวะสมองเสื่อม แต่วิธีการการรักษานั้นแตกต่างกันมากการให้ยารักษา
แพทย์จะสั่งยา เพื่อรักษาสาเหตุของโรคเพ้อ เช่น หากอาการเพ้อเกิดจากโรคหอบหืดรุนแรง อาจจำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ เพื่อฟื้นฟูการหายใจของผู้ป่วย หากอาการเพ้อมาจากเชื้อแบคทีเรีย แพทย์จะสั่งยาปฏิชีวนะเพื่อใช้รักษา ในบางกรณีแพทย์จะสั่งให้ระงับการดื่มแอลกอฮอล์ หรือเลิกใช้ยาบางชนิด หากผู้ป่วยรู้สึกหดหู่ อาจจะได้รับยาดังต่อไปนี้ :- Antidepressants เพื่อผ่อนคลายความวิตกกังวล
- Sedatives ช่วยในการละเลิกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- Dopamine blockers ช่วยในการเลิกสารเสพติด
- Thiamine ช่วยป้องกันความสับสน
การให้คำปรึกษาเพื่อบรรเทา
หากผู้ป่วยมีอาการสับสนการได้รับคำปรึกษาจากแพทย์จะช่วยบรรเทาอาการได้ การให้คำปรึกษานั้นเป็นวิธีการรักษาสำหรับผู้ที่มีอาการเพ้อใช้ยาเสพติด หรือแอลกอฮอล์ โดยการงดแอลกอฮอล์หรือยาเสพติดเพื่อจัดการกับต้นตอปัญหาโดยตรง ไม่ว่าอาการเพ้อกรณีใดๆ การให้คำปรึกษานั้นมีเป้าหมายเพื่อให้คุณรู้สึกสบายใจ และปลอดภัย รวมถึงเปิดพื้นที่ให้ผู้ป่วยพูดคุยเกี่ยวกับความคิดและความรู้สึกการฟื้นฟูผู้ป่วยอาการเพ้อ
การฟื้นฟูอาการเพ้อ สามารถทำได้เมื่อได้รับการรักษาที่เหมาะสม อาจใช้เวลา 2-3 สัปดาห์ กว่าที่ร่างกายจะกลับมาเป็นปกติ โปรดปรึกษาแพทย์ถึงผลข้างเคียงของการใช้ยาในการรักษาและข้อมูลการรักษาอื่นๆ โดยละเอียดวิธีดูแลคนที่มีอาการเพ้อ
มีหลายวิธีที่คุณสามารถช่วยคนที่มีอาการเพ้อได้ คุณสามารถช่วยพวกเขาได้โดย:- ช่วยดูแลผู้ป่วยให้พักผ่อนนอนหลับอย่างเต็มที่
- ทำให้ห้องของของผู้ป่วยเงียบและสงบ
- ตรวจดูความสบายตัวของผู้ป่วย
- ส่งเสริมให้ลุกนั่งเก้าอี้ในระหว่างวัน
- กระตุ้นให้ผู้ป่วยทำภาพบำบัดหรือนักกิจกรรมบำบัด
- นักกายภาพบำบัดสามารถช่วยให้พวกเขาเคลื่อนไหวและลุกจากเตียงได้
- นักกิจกรรมบำบัดสามารถช่วยพวกเขาทำงานประจำวันเพื่อดูแลตัวเอง (เช่น ไปห้องน้ำ) และแสดงการออกกำลังกายทางจิตที่พวกเขาทำได้ (เช่น ซูโดกุหรือปริศนาอักษรไขว้)
- ดูแลให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารและดื่มน้ำ
- พูดคุยเกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบันหรือสิ่งต่าง ๆ ทั้งในและนอกห้อง
- อธิบายว่าพวกเขาอยู่ที่ไหนและทำไม
- อ่านหนังสือหรือจดหมาย
- เล่นเพลงที่พวกเขาชอบหรือเพลงที่สงบเงียบ
- นำสิ่งของที่คุ้นเคยจากบ้านมาให้พวกเขา (เช่น หมอนหรือรูปภาพ)
นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/delirium/symptoms-causes/syc-20371386
- https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3065676/
เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น