ซีสต์ (Cyst) คือ โรคที่มีลักษณะเป็นเนื้องอกหรือเป็นตุ่มก้อนขึ้นตามร่างกาย มีลักษณะเป็นถุงที่บรรจุอากาศ เนื้อเยื่อ ของเหลว หรือไขมัน
อ่านเพิ่มเติม : ขนคุด (หนังไก่) Keratosis Pilaris (Chicken Skin) : อาการ สาเหตุ การรักษา
อ่านเพิ่มเติม : หูด (Warts) คืออะไร: สาเหตุ ประเภท การรักษา
ซีสต์เกิดจากอะไร
ซีสต์เกิดจากความผิดปกติของส่วนต่างๆ ในร่างกาย เช่น ต่อมเหงื่อ ต่อมขน ต่อมไขมัน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจนกลายเป็นถุงซีสต์ เมื่อสารคัดหลั่งและของเหลวต่างๆ มาสะสมอยู่ในถุงนี้ เช่น ไขมัน คราบไคล จะทำให้ถุงนี้ใหญ่ขึ้นจนสังเกตเห็นเป็นก้อนซีสต์ขึ้นมา
ผู้ป่วยเป็นซีสต์หากเป็นแล้วซีสต์สามารถเจริญเติบโตได้ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย หรือใต้ผิวหนังของผู้ป่วย ซีสต์เกิดขึ้นได้หลายประเภท และไม่เป็นโรคที่อันตรายมากนัก และไม่ก่อให้เกิดมะเร็งการรักษาซีสต์ขึ้นอยู่กับปัจจัยเหล่านี้
- ประเภทของซีสต์
- ตำแหน่งของซีสต์
- ซีสต์ที่เป็นสาเหตุให้ทำให้เกิดอาการปวด หรือทำให้รู้สึกไม่สบายตัว อึดอัด
- ซีสต์ที่เกิดจากการติดเชื้อ
ลักษณะของก้อนเนื้อซีสต์
ลักษณะของก้อนเนื้อซีสต์ที่แตกต่าง เกิดมาจาก- การติดเชื้อ
- โรคติดต่อ
- การอักเสบเรื้อรัง
- เกิดการอุดตันในท่อของอวัยวะต่างๆ
ประเภทของซีสต์
ซีสต์มีหลายร้อยประเภทและสามารถเติบโตได้ทุกส่วนของร่ายกาย ประเภทที่พบบ่อย มี 13 ประเภทได้ แก่-
Epidermoid cyst คือ เอพิเดอมอยซีสต์
-
Sebaceous cyst คือ ซีสต์ไขมันผิวหนัง
-
Breast cyst คือ ซีสต์เต้านม
-
Ganglion Cyst คือ ซีสต์หรือก้อนถุงน้ำ
-
Pilonidal cyst คือ ซีสต์บริเวณร่องก้น
-
Ovarian cyst คือ ซีสต์ในรังไข่
-
Chalazia คือ ตากุ้งยิง
-
Baker’s (popliteal) cyst คือ ถุงน้ำที่เกิดหลังหัวเข่า
-
Cystic acne คือ สิวหัวช้าง
-
Ingrown hair cyst คือซีสต์ขนคุด
-
Pilar cyst คือ ซีสต์จากเส้นผม
-
Mucous cyst คือ ซีสต์ทีบรรจุเต็มไปด้วยของเหลว
-
Branchial cleft cyst คือ ซีสต์ที่เกิดการผิดปกติของก้อนเนื้อ
รู้ได้อย่างไรว่าเป็นซีสต์
ซีสต์หรือก้อนเนื้อจะปรากฏบริเวณผิวหนังของผู้ป่วย ลักษณะจะเป็นก้อนเล็กๆ และอาจโตขึ้นเรื่อยๆ ซีสต์บางชนิดที่เจริญเติบโตภายในร่างกายของคุณ จะไม่แสดงอาการใดๆเลย แต่อาจทำให้ระบบของภายในร่างกายส่วนอื่นมีผลกระทบเช่น ซีสต์ในรังไข่ก่อให้เกิดโรคถุงน้ำในรังไข่ ทำให้การทำงานของรังไข่และระบบสืบพันธ์ผิดปกติ หรือก่อให้เกิดโรคไต Polycystic (PKD) ทำให้เกิดผลเสียต่อการทำงานของไต ซีสต์ค่อนข้างเจริญเติบโตช้า และมีพื้นผิวเรียบ มีลักษณะเล็กหรือใหญ่ ซีสต์ส่วนใหญ่ไม่มีอาการเจ็บปวด และจะไม่ส่งผสเสียใดๆต่อร่างกาย ยกเว้นว่า :- เกิดการติดเชื้อ
- มีขนาดใหญ่มาก
- กระทบต่อเส้นประสาท หรืออุดตันเส้นเลือด
- เจริญเติบโตในบริเวณที่บอบบาง
- ส่งผลกระทบต่อระบบทำงานของอวัยวะในร่างกาย
อ่านเพิ่มเติม : ขนคุด (หนังไก่) Keratosis Pilaris (Chicken Skin) : อาการ สาเหตุ การรักษา
เมื่อไหร่ที่ผู้เป็นซีสต์ควรได้รับความช่วยเหลือ
หากผู้ป่วยเป็นซีสต์มีอาการปวดมาก หรือซีสต์มีลักษณะสีแดง อาจเป็นสัญญาณที่ซีสต์กำลังจะแตกหรือมีอาการติดเชื้อ ควรให้ผู้เชี่ยวชาญหรือแพทย์ ตรวจสอบลักษณะอาการของซีสต์ถึงแม้ว่าบริเวณที่เป็นซีสต์จะไม่แสดงอาการเจ็บปวด เนื่องจากการเจริญเติบโตของซีสต์บางตำแหน่งอาจนำไปสู่โรคมะเร็งได้วิธีการรักษาซีสต์
สามารถดูแลและรักษาได้ที่บ้าน ในบางกรณีซีสต์จะหายไปเอง หรือประคบด้วยน้ำอุ่นลงบนก้อนซีสต์หรือถุงน้ำ เพื่อช่วยเร่งให้หายเร็วได้ยิ่งขึ้น ไม่ควรบีบหรือแกะ เพราะอาจจะทำให้เกิดการติดเชื้อได้วิธีการรักษาทางการแพทย์
วิธีการรักษาทางการแพทย์โดยทั่วไป มีดังต่อไปนี้ :- แพทย์จะใช้เข็มเจาะเพื่อระบายของเหลวและสารอื่นๆเพื่อเอาซีสต์ออก
- การฉีดด้วยสาร corticosteroid เพื่อลดการอักเสบในถุงน้ำ
- การใช้ยาสลายซีสต์
- การผ่าตัดซีสต์เพื่อเอาถุงน้ำออก
อ่านเพิ่มเติม : หูด (Warts) คืออะไร: สาเหตุ ประเภท การรักษา
แนวโน้มระยะยาวของซีสต์
ชนิดของซีสต์ที่ไม่มีอันตราย มักจะหายไปเอง และไม่ก่อให้เกิดผลระยะยาว ซีสต์สามารถเจริญเติบโตได้ได้อีกหากได้รับเชื้อเพิ่มเติม หากเป็นซีสต์ประเภทนี้ควรได้รับการผ่าตัดซีสต์ ควรปรึกษาแพทย์และได้รับการรักษาโดยทันทีหากมีซีสต์ที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งการป้องกันซีสต์
ซีสต์ส่วนใหญ่ไม่สามารถป้องกันได้ ยกเว้นเพียงการเกิดซีสต์ในรังไข่ของผู้หญิง สามารถป้องกันได้โดยการไม่ทำให้เกิดก้อนซีสต์ใหม่ หรือการได้รับฮอร์โมนคุมกำเนิด ควรทำความสะอาดเปลือกตาบริเวณใกล้ขนตาโดยใช้น้ำยาฆ่าเชื้อแบบอ่อนโยนทำความสะอาดเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการอุดตันของไขมันและก่อให้เกิดเป็นตากุ้งยิง ควรรักษาความสะอาดให้ผิวเพื่อไม่ให้เกิดการอับชื้น และไม่ควรนั่งนานๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการก่อตัวของซีสต์ผู้ป่วยที่เป็นซีสต์ห้ามกินอะไรบ้าง
- อาหารบรรจุกระป๋อง เพราะอาจมีสารปนเปื้อนหลุดออกจากฟิล์มพลาสติกที่ใช้ เคลือบภายในกระป๋องก่อนการบรรจุอาหาร
- เนื้อสัตว์ใหญ่ เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู หรืออื่น ๆ ที่ฉีดสารเร่งเนื้อแดง หรือสารเร่งโต
- แอลกอฮอร์
- ผักผลไม้ที่ฉีดยาฆ่าแมลง หรือสารเคมีต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดการปนเปื้อน
- อาหารที่มีรสหวาน เช่น ช็อกโกแลต น้ำอัดลม ชาไข่มุก
- อาหารทอด อาหารปิ้งย่าง ต่าง ๆ
- ไขมันสัตว์ และอาหารไขมันสูง
คำถามที่พบบ่อย
วิธีรักษาซีสต์ที่ดีที่สุดคืออะไร ขั้นตอนการผ่าตัดเล็กน้อยที่เรียก ว่าการตัดออกเป็นวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับซีสต์ เช่น ซีสต์ผิวหนังชั้นนอก การผ่าตัดซีสต์ออกทั้งหมด และเป็นการรักษาที่ได้ผลดีที่สุด โดยทั่วไป แพทย์จะหลีกเลี่ยงการตัดตอนเมื่อซีสต์มีสัญญาณของการอักเสบและการติดเชื้อ ซีตส์สามารถหายได้เองหรือไม่ ซีสต์ขนาดเล็กที่ไม่ก่อให้เกิดปัญหาสามารถปล่อยทิ้งไว้ได้ การใช้ผ้าอุ่นๆ ประคบบนผิวหนังจะกระตุ้นให้ซีสต์รักษาและลดการอักเสบ อย่าทำให้ซีสต์แตก หากติดเชื้อ คุณเสี่ยงที่จะแพร่เชื้อ และมันสามารถเติบโตได้หากถุงยังอยู่ใต้ผิวหนัง ซีสต์อยู่ได้นานแค่ไหน ซีสต์จะไม่หายจนกว่าจะถูกกรีดและดูดออกหรือตัดออกโดยการผ่าตัด หากไม่มีการรักษา ซีสต์จะแตกออกและระบายออกบางส่วนในที่สุด อาจใช้เวลาเป็นเดือน (หรือเป็นปี) ซีสต์สามารถหายไปอย่างถาวรได้หรือไม่ ซีสต์ไขมันมักไม่เป็นอันตรายและไม่เจ็บ แต่ให้สังเกตสัญญาณของการติดเชื้อ คุณสามารถรับการรักษาซีสต์ไขมัน หรือดูว่าซีสต์จะหายไปเองหรือไม่ แต่ถ้าปล่อยไว้ไม่รักษา ซีสต์ก็จะอยู่กับคุณตลอดไป วิตามินอะไรดีสำหรับซีสต์ วิตามินซี นี่เป็นสารอาหารสำคัญในการส่งเสริมกิจกรรมภูมิคุ้มกัน หากระบบภูมิคุ้มกันทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ มันสามารถทำลายเซลล์ที่ผิดปกติได้ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันซีสต์ที่ผิดปกติ ซีสต์อันตรายหรือไม่ ซีสต์ส่วนใหญ่ไม่เป็นอันตราย (ไม่ใช่มะเร็ง) แต่บางชนิดเป็นมะเร็งหรือเป็นมะเร็งระยะก่อน และต้องเอาออก นอกจากนี้ หากซีสต์เต็มไปด้วยหนอง แสดงว่ามีการติดเชื้อและอาจก่อตัวเป็นฝีได้ ดังนั้น คุณควรไปพบแพทย์หากรู้สึกเจ็บเมื่อสัมผัสซีสต์ ซีสต์จะใหญ่ขึ้นหรือไม่ ซีสต์มักจะเติบโตช้าและมีผิวเรียบ อาจมีขนาดเล็กหรือใหญ่มาก ซีสต์ส่วนใหญ่ไม่เจ็บปวดลิ้งค์ด้านล่างนี้เป็นแหล่งข้อมูลของบทความของเรา
- https://www.nhs.uk/conditions/skin-cyst/
- https://www.health.harvard.edu/a_to_z/cysts-overview-a-to-z
- https://www.cincinnatichildrens.org/health/c/cysts-types
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น