การครอบแก้วคืออะไร
การครอบแก้วเป็นการรักษาแบบดั้งเดิมที่มีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีน เป็นการวางแก้วลงบนผิวหนังให้แก้วดูด การดูดที่เกิดขึ้นทำให้เลือดไหลเวียนง่ายขึ้น ผู้สนับสนุนกล่าวว่าการดูดช่วยให้การไหลเวียนของ “ฉี” ในร่างกายดีขึ้น ฉี เป็นคำภาษาจีนที่แปลว่าพลังงานชีวิต นักพรตเต๋า และนักสมุนไพรคนหนึ่งได้เริ่มทำการครอบแก้วขึ้นเป็นครั้งแรกในปี ค. ศ. 281-341 นักพรตเต๋าเชื่อว่าการครอบแก้วเป็นการสมดุลพลังงานหยินและหยาง หรือพลังงานด้านลบและพลังงานด้านบวกนั่นเอง การทำให้พลังงานทั้งสองสมดุลจะช่วยให้ร่างกายทนต่อเชื้อโรคต่าง ๆ ทำให้เลือดไหลเวียนดี และลดความเจ็บปวด การครอบแก้วเพิ่มการไหลเวียนของเลือดในบริเวณที่แก้วครอบ ซึ่งอาจช่วยลดความตึงของกล้ามเนื้อ ที่จะช่วยให้เลือดไหลเวียนดี และทำให้เซลล์ซ่อมแซมได้ดีขึ้น ทั้งยังสามารถทำให้เกิดเนื้อเยื่อเกี่ยวพันใหม่ ๆ และเส้นเลือดใหม่ ๆ ได้อีกด้วยการครอบแก้วชนิดต่าง ๆ
การครอบแก้วเริ่มแรกโดยการใช้เขาสัตว์ ภายหลังจึงเปลี่ยนมาเป็นการใช้แก้วที่ทำมาจากไม้ไผ่ และเซรามิก การดูดเกิดจากความร้อน แก้วจะถูกทำให้ร้อนด้วยไฟ และวางลงบนผิวหนัง เมื่อเย็นแล้ว แก้วจะดูดผิวหนังขึ้นได้ ในปัจจุบัน การครอบแก้วมักใช้แก้วที่มีรูปร่างทรงกลม และมีปลายเปิดทางเดียว การครอบแก้วมีอยู่ 2 แบบ ดังนี้:- การครอบแก้วแบบแห้ง
- การครอบแก้วแบบเปียก
สิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างการรักษา
ระหว่างการรักษา แก้วจะถูกวางบนผิวหนัง และถูกทำให้ร้อน หรือดูดกับผิว แก้วมักถูกทำให้ร้อนโดยไฟที่เกิดจากแอลกอฮอล์ สมุนไพร หรือกระดาษที่ถูกวางไว้บนแก้ว เมื่อแก้วร้อนแล้ว จะถูกนำไปวางบนผิวโดยด้านที่ปลายเปิดคว่ำลงบนผิวหนัง เมื่อแก้วร้อนถูกวางลงบนผิวแล้ว อากาศในแก้วจะเย็นลง และทำให้เกิดสุญญากาศที่ดูดผิว และกล้ามเนื้อขึ้นไปในแก้ว ผิวหนังอาจเปลี่ยนเป็นสีแดงเพราะเส้นเลือดตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของความดัน การครอบแก้วแบบแห้งแก้วจะถูกวางโดยตั้งเวลาไว้ ปกติจะ 5-10 นาที ในการครอบแก้วแบบเปียก แก้วจะถูกวางไว้เพียงไม่กี่นาทีแล้วถูกนำออก และทำรอยเล็ก ๆ เพื่อระบายเลือด หลังจากที่แก้วถูกนำออกแล้ว ผู้ที่ทำการครอบแก้วอาจทาบริเวณที่ครอบแก้วด้วยขี้ผึ้ง และพลาสเตอร์ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ รอยช้ำ หรือรอยต่าง ๆ มักหายไปภายใน 10 วันหลังการครอบแก้ว บางครั้งการครอบแก้วทำร่มกับการฝังเข็ม เพื่อให้ได้ผลลัพท์ที่ดีที่สุด คุณอาจต้องอดอาหาร หรือทาอาหารเบา ๆ ประมาณ 2-3 ชั่วโมงก่อนการครอบแก้ว อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับ: รอยช้ำได้ที่นี่โรคที่รักษาได้ด้วยการครอบแก้ว
การครอบแก้วถูกใช้เพื่อรักษาอาการมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาจได้ผลกับการรักษาอาการปวดกล้ามเนื้อ และความเจ็บปวดอื่น ๆ การครอบแก้วสามารถทำได้ตามบริเวณที่กดจุดได้เช่นกัน เป็นการทำเพื่อรักษาปัญหาการย่อยอาหาร ปัญหาผิว และอาการอื่น ๆ ที่สามารถรักษาได้ด้วยการครอบแก้ว การศึกษาแนะนำว่า การครอบแก้วสามารถใช้รักษาได้ผงดีกว่าการรักษาด้วยยาหลอก งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการครอบแก้วอาจช่วยรักษาอาการเหล่านี้ : อย่างไรก็ตาม ยังมีการศึกษาเกี่ยวกับการครอบแก้วหลายการศึกษาที่เอนเอียง ซึ่งจำเป็นต้องทำการศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิภาพของการครอบแก้วเพิ่มขึ้น อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับ: โรคงูสวัดได้ที่นี่ผลข้างเคียง
การครอบแก้วไม่มีผลข้างเคียงมากนัก ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นอาจปรากฏขึ้นระหว่างการรักษา หรือหลังการรักษาทันที คุณอาจรู้สึกเวียนศีรษะ หรือวิงเวียนระหว่างการรักษา รวมทั้งอาจรู้สึกว่ามีเหงื่อออกและคลื่นไส้ หลังการรักษา ผิวหนังรอบ ๆ จะแดง ระคายเคือง และจะมีรอยกลม ๆ บริเวณที่ทำการครอบแก้ว คุณอาจรู้สึกเจ็บบริเวณแผลที่ใช้เข็มระบายเลือด ความเสี่ยงของการติดเชื้อเกิดขึ้นได้กับการครอบแก้ว แต่เป็นความเสี่ยงที่เล็กน้อย และสามารถหลีกเลี่ยงได้หากผู้ที่ทำการครอบแก้วทำอย่างถูกวิธี ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นได้แก่:- ผิวหนังมีรอยแผลเป็น
- มีรอยช้ำ
รอยช้ำหลังการครอบแก้ว
การดูแลหลังการครอบแก้ว เป็นเรื่องปกติที่จะมีรอยวงกลมหรือรอยฟกช้ำบนผิวหนังบริเวณที่วางแก้ว โดยทั่วไปรอยเหล่านี้จะหายไปภายในสองสามวันถึงหนึ่งสัปดาห์ สิ่งสำคัญคือต้องรักษาบริเวณที่บรรจุถ้วยให้สะอาดและหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับอุณหภูมิที่สูงเกินไป (เช่น ฝักบัวน้ำอุ่น) ทันทีหลังการครอบแก้ว การบำบัดแบบครอบแก้วอ้างว่าสามารถช่วยในสภาวะต่างๆ ได้ รวมถึงการจัดการความเจ็บปวด การอักเสบ ช่วยให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ส่งเสริมการผ่อนคลาย และลดความตึงเครียดของกล้ามเนื้อ อย่างไรก็ตาม หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนประสิทธิผลของการบำบัดแบบครอบแก้วเพื่อวัตถุประสงค์เหล่านี้ยังมีจำกัด และจำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติม สิ่งสำคัญคือต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพที่มีคุณสมบัติเหมาะสมก่อนที่จะลองทำการครอบแก้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณมีปัญหาด้านสุขภาพหรือข้อกังวลใดๆ นอกจากนี้ อย่าลืมหาผู้ประกอบวิชาชีพที่ได้รับการฝึกอบรมและมีประสบการณ์ซึ่งปฏิบัติตามระเบียบปฏิบัติด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยที่เหมาะสมหัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น