โรคโครห์น หรือ โรคลำไส้อักเสบเรื้อรังคืออะไร
โรคโครห์น หรือโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (Crohn’s Disease) เป็นหนึ่งในกลุ่มโรคที่มีการอักเสบของระบบทางเดินอาหาร
ตอนนี้แพทย์ และนักวิจัยยังไม่สามารถหาเหตุผลที่ชัดเจนได้ว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร หรือว่าใครมีโอกาสที่จะเป็นโรคโครห์นได้บ้าง หรือวิธีการรักษาแบบไหนคือวิธีที่ดีที่สุด จากการรักษาใน 30 ปีที่ผ่านมาแพทย์พบว่ายังไม่สามารถหาวิธีการรักษาโรคนี้ให้หายขาดได้
โรคลำไส้อักเสบเรื้อรังนั้นโดยปกติแล้วพบที่ลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ โรคนี้สามารถส่งผลกระทบกับส่วนใดก็ได้ของระบบย่อยอาหารตั้งแต่ปากจนถึงทวารหนัก
ความรุนแรงของโรคนั้นมีตั้งแต่ปานกลางจนไปถึงขั้นที่ทำให้อ่อนเพลีย อาการของโรคนั้นมีหลากหลายและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ในเคสที่รุนแรง อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตและเกิดอาการแทรกซ้อนได้
โรคลำไส้อักเสบเรื้อรังเกิดจากอะไร
ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าสาเหตุของโรคนี้เกิดจากอะไร อย่างไรก็ตาม มีปัจจัยหลายอย่างที่อาจทำให้เกิดโรคนี้ได้:
-
ยีนส์
-
สภาพแวดล้อม
จากข้อมูลของมูลนิธิ Crohn’s & Colitis 20 เปอร์เซนต์ของผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้มีประวัติคนในครอบครัว พ่อ แม่ ลูก หรือ พี่น้องป่วยเป็นโรคนี้ด้วยเช่นกัน
จากการศึกษาในปี 2012 บางปัจจัยสามารถส่งผลต่อความรุนแรงของโรคได้ ได้แก่:
-
การสูบบุหรี่
-
อายุ
-
มีปัญหาที่ลำไส้ใหญ่ด้วยหรือไม่
-
ระยะเวลาที่เป็นโรค
ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ส่วนมากจะเกิดการติดเชื้อที่ลำไส้จากเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อรา เหล่านี้สามารถส่งผลกระทบต่อความรุนแรงของอาการและทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้
โรคโครห์นและการรักษานั้นสามารถส่งผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกันได้ ซึ่งทำให้อาการติดเชื้อชนิดนี้แย่ลงไปอีก
ผู้ที่ติดเชื้อในลำไสเรื้อรังนั้นโดยปกติแล้วจะพบปัญหาการติดเชื้อยีสต์ด้วย ซึ่งสามารถส่งผลต่อทั้งปอดและระบบทางเดินอาหารได้ นั่นจึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากที่จะได้รับการวินิจฉัยและการรักษษที่เหมาะสมด้วยยาต้านเชื้อราเพื่อที่จะป้องกันโรคแทรกซ้อน
อาการของผู้ที่เป็นโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง
อาการของโรคนี้นั้นจะเริ่มรุนแรงขึ้นทีละน้อย จนเมื่อเวลาผ่านไป อาการต่าง ๆ ก็จะแย่ลง อาการที่รุนแรงขึ้นอย่างรวดเร็วและฉับพลันนั้นพบได้ค่อนข้างยาก อาการระยะแรกของโรคนี้คือ:
-
ท้องเสีย
-
มีเลือดปนในอุจจาระ
-
มีไข้
-
อ่อนเพลีย
-
น้ำหนักลด
-
รู้สึกว่าถ่ายออกไปไม่หมดหลังจากถ่ายไปแล้ว
-
รู้สึกปวดท้องอยากถ่ายบ่อย ๆ
บางครั้งเราอาจสับสนอาการเหล่านี้กับอาการของโรคอื่น อย่างเช่น อาหารเป็นพิษ ท้องเสีย หรืออาการแพ้บางอย่าง ควรพบแพทย์หากมีอาการเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง
อาการเหล่านี้อาจจะรุนแรงขึ้นเมื่อเริ่มเป็นโรค อาการรุนแรงที่สามารถเกิดขึ้นได้ ได้แก่:
-
โรคฝีบริเวณทวารหนัก หรือที่เรียกว่าฝีคัณฑสูตร ซึ่งทำให้เกิดความเจ็บปวดและถ่ายเหลว
-
เกิดแผลเปื่อย ซึ่งอาจเกิดขึ้นทุกที่ตั้งแต่ปากจนถึงทวารหนัก
-
การอักเสบที่ข้อต่อและผิวหนัง
-
หายใจถี่หอบและความสามารถในการออกกำลังกายลดลงซึ่งเป็นผลมาจากโลหิตจาง
การตรวจพบและวินิฉัยแต่เนิ่น ๆ สามารถช่วยหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อนได้ และช่วยให้สามารถเริ่มทำการรักษาได้ไว
การรักษาโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง
โรคนี้ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถดูแลให้ดีได้ มีวิธีการรักษาที่หลากหลายที่จะช่วยลดความรุนแรงและความบ่อยของอาการได้
การรักษาโดยยา
การรักษาโรคลำไส้อักเสบเรื้อรังนั้นสามารถรักษาได้ด้วยยาหลายชนิด ยาแก้ท้องเสีย และยาแก้อักเสบถูกใช้กันอย่างแพร่หลาย และยังมียาไบโอโลจิก ซึ่งใช้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้รักษาโรคนี้
การที่จะรักษาด้วยยาใดนั้น ขึ้นอยู่กับอาการ ประวัติการรักษา ความรุนแรง และการตอบสนองต่อการรักษาของคุณ
ยาแก้อักเสบ
ยาที่แพทย์ใช้ในการรักษาโรคนี้มีอยู่ 2 ชนิด คือ 5-aminosalicylates และ corticosteroids ซึ่งยาแก้อักเสบนั้นเป็นยาชนิดแรก ๆ ที่ใช้สำหรับการรักษาลำไส้อักเสบเรื้อรัง
ปกติแล้วยาเหล่านี้จะถูกใช้เมื่อยังมีอาการปานกลางและการกลับมาของโคนั้นไม่บ่อย Corticosteroids ถูกใช้สำหรับอาการที่รุนแรงกว่าแต่ในระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น
สารปรับปรุงภูมิคุ้มกัน
การที่ระบบภูมิคุ้มกันทำงานมากไปส่งผลให้เกิดการอักเสบที่ทำให้เกิดอาการลำไส้อักเสบเรื้อรัง ยาที่ใช้ได้ผลกับระบบภูมิคุ้มกันมีชื่อว่า immunomodulators ยานี้อาจไปช่วยลดการอักเสบและลดการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน
ยาปฏิชีวนะ
ตัวอย่างเช่น ยาปฏิชีวนะช่วยทำให้ถ่ายเหลวน้อยลง และช่วยรักษาแผลซึ่งเกิดจากความผิดปกติของเนื้อเยื่อที่เกิดจากโรคนี้ ยาปฏิชีวนะยังช่วยฆ่าแบคทีเรียที่ไม่ดีในลำไส้ที่ไปทำให้เกิดการอักเสบและการติดเชื้ออีกด้วย
ชีวบำบัด
หากคุณมีอาการที่รุนแรง แพทย์อาจใช้วิธีชีวบำบัดเพื่อรักษาอาการอักเสบและอาการแทรกซ้อนของโรค ยาชีววัตถุสามารถกีดกันโปรตีนต่าง ๆ ที่อาจจะกระตุ้นการอักเสบได้
การปรับเปลี่ยนการบริโภคอาหาร
อาการไม่ใช่สาเหตุของโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง แต่เป็นสิ่งกระตุ้นให้เกิดการปะทุของโรค
หลังจากการวินิฉัยโรค แพทย์จะแนะนำให้คุณพบกับนักกำหนดอาหาร ซึ่งจะทำให้คุณเข้าใจมากขึ้นว่าอาหารส่งผลอย่างไรต่ออาการของคุณ และหากปรับเปลี่ยนแล้วจะช่วยอะไรได้บ้าง
ในเบื้องต้น พวกเขาจะให้คุณจดรายการอาหารที่รับประทานประจำวัน
จากข้อมูลเหล่านี้ นักกำหนดอาหารจะช่วยแนะนำวิธีการรับประทานอาหารของคุณ การเปลี่ยนแปลงการรับประทานอาหารนี้จะช่วยให้คุณได้รับสารอาหารที่จำเป็นในขณะที่ควบคุมผลข้างเคียงจากอาหารที่อาจเป็นสาเหตุให้มีอาการ
การผ่าตัด
หากการรักษาเชิงรุกและการเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิตไม่สามารถทำให้อาการของคุณดีขึ้นได้ คุณอาจต้องเข้ารับการผ่าตัด จากข้อมูลของมูลนิธิ Crohn’s & Colitis ในท้ายที่สุดแล้ว 75 เปอร์เซนต์ของผู้ที่ป่วยด้วยโรคลำไส้อักเสบเรื้อรังต้องเข้ารับการผ่าตัด
การผ่าตัดบางชนิดช่วยนำส่วนที่เสียหายในระบบย่อยอาหารออก แล้วเชื่อมต่อใหม่ในทางที่ดีกว่าเดิม ส่วนการผ่าตัดอื่น ๆ นั้นช่วยซ่อมแซม เนื้อเยื่อที่เสียหาย รอยแผลเป็น และรักษาการติดเชื้อที่ฝังลึก
ภาวะแทรกซ้อนของโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง
โรคโครห์นเป็นโรคลำไส้อักเสบเรื้อรังที่ส่งผลต่อระบบทางเดินอาหารเป็นหลัก อาจทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ ซึ่งอาจรวมถึง:- การตีบตันของลำไส้ : การอักเสบเรื้อรังอาจทำให้ผนังลำไส้หนาและแคบลง ส่งผลให้เกิดการตีบตัน (ส่วนที่แคบลง) ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการอุดตันของลำไส้ ทำให้เกิดอาการต่างๆ เช่น ปวดท้อง ตะคริว และพฤติกรรมการขับถ่ายเปลี่ยนแปลง
- ริดสีดวงทวาร : การอักเสบสามารถสร้างการเชื่อมต่อที่ผิดปกติระหว่างส่วนต่างๆ ของระบบทางเดินอาหาร หรือระหว่างระบบทางเดินอาหารกับอวัยวะอื่นๆ (เช่น ผิวหนังหรือกระเพาะปัสสาวะ) ข้อความที่ผิดปกติเหล่านี้เรียกว่าช่องทวารหนัก และอาจนำไปสู่การติดเชื้อ ฝี และลำไส้รั่วไปยังบริเวณอื่นๆ
- ฝี : ช่องของการติดเชื้อที่เรียกว่าฝีสามารถเกิดขึ้นภายในผนังลำไส้ที่อักเสบหรือในเนื้อเยื่อโดยรอบ สิ่งเหล่านี้อาจทำให้เกิดอาการปวดอย่างรุนแรง มีไข้ และต้องระบายน้ำออกและรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ
- กระเพาะทะลุ : การอักเสบอาจทำให้ผนังลำไส้อ่อนแอลง และอาจนำไปสู่การทะลุเล็กๆ ในผนังได้ ซึ่งอาจส่งผลให้ลำไส้รั่วเข้าไปในช่องท้อง นำไปสู่ภาวะร้ายแรงที่เรียกว่าเยื่อบุช่องท้องอักเสบ
- ภาวะทุพโภชนาการและการลดน้ำหนัก : การอักเสบเรื้อรังอาจทำให้การดูดซึมสารอาหารในลำไส้ลดลง ส่งผลให้เกิดภาวะทุพโภชนาการและน้ำหนักลด สิ่งนี้สามารถเกิดขึ้นได้เนื่องจากความอยากอาหารลดลง การสูญเสียสารอาหารเนื่องจากอาการท้องร่วง และการใช้พลังงานที่เพิ่มขึ้นของร่างกายระหว่างการอักเสบ
- ภาวะแทรกซ้อนทางทวารหนัก : โรคโครห์นอาจส่งผลต่อบริเวณทวารหนัก ทำให้เกิดปัญหาต่างๆ เช่น รอยแยกทางทวารหนัก ฝีในทวารหนัก
- ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของมะเร็งลำไส้ใหญ่ : ผู้ที่เป็นโรคโครห์นมายาวนาน โดยเฉพาะผู้ที่มีการอักเสบบริเวณลำไส้ใหญ่ อาจมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่เมื่อเวลาผ่านไป แนะนำให้มีการตรวจสอบและคัดกรองอย่างสม่ำเสมอ
- ปัญหาข้อต่อ : ผู้ที่เป็นโรคโครห์นบางรายอาจมีอาการปวดข้อ บวม และตึง ภาวะนี้เรียกว่าโรคข้ออักเสบในลำไส้หรือโรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบ
- การอักเสบของตา : การอักเสบของตา อ
- ปัญหาผิวหนัง : ปัญหาผิวหนัง เช่น การมีก้อนเนื้อสีแดงที่เจ็บปวด สามารถเชื่อมโยงกับโรคโครห์นได้
- ภาวะแทรกซ้อนของตับ : เปอร์เซ็นต์เล็กน้อยของผู้ที่เป็นโรคโครห์นอาจมีภาวะตับ เช่น โรคท่อน้ำดีอักเสบแข็งปฐมภูมิ (PSC) ซึ่งส่งผลต่อท่อน้ำดี
นี่คือที่มาในบทความของเรา
-
https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/crohns-disease/symptoms-causes/syc-20353304
-
https://www.webmd.com/ibd-crohns-disease/crohns-disease/default.htm
เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team