แครนเบอร์รี่ คืออะไร
แครนเบอร์รี่เป็นผลไม้ตระกูลเบอร์รี่เช่นเดียวกับ บลูเบอร์รี่ บิลเบอร์รี่ และลินกอนเบอร์รี่ ชนิดที่พบมากที่สุดคือแครนเบอร์รี่ที่ปลูกในอเมริกาเหนือ (Vaccinium macrocarpon) แต่ชนิดอื่น ๆ ก็ถูกพบทั่วไปในธรรมชาติ แครนเบอร์รี่ไม่ค่อยถูกกินดิบ ๆ เท่าใดนักเพราะมีรสเปรี้ยว ปกติแล้วจะถูกบริโภคในรูปแบบของน้ำผลไม้ ซึ่งถูกทำให้หวานและนำไปผสมกับน้ำผลไม้อื่น หรือเป็นแครนเบอร์รี่อบแห้ง ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่มีแครนเบอร์รี่เป็นส่วนประกอบเช่น ซอส แครนเบอร์รี่แห้ง แป้ง และสารสกัดที่เป็นอาหารเสริม แครนเบอร์รี่มีวิตามินและสารประกอบที่ดีต่อสุขภาพหลายชนิด บางชนิดสามารถต้านการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะได้ บทความนี้จะบอกทุกอย่างที่คุณต้องรู้เกี่ยวกับแครนเบอร์รี่ รวมไปถึงคุณค่าทางโภชนาการและประโยชน์ต่อสุขภาพคุณค่าทางโภชนาการ
แครนเบอร์รี่สดประกอบไปด้วยน้ำ 90% ที่เหลือก็เป็นคาร์โบไฮเดรตและไฟเบอร์ แครนเบอร์รี่สด 1 ถ้วยมีคุณค่าทางอาหาร:- แคลลอรี่: 46
- น้ำ: 87%
- โปรตีน: 0.4 กรัม
- คาร์บ: 12.2 กรัม
- น้ำตาล: 4 กรัม
- ไฟเบอร์: 4.6 กรัม
- ไขมัน: 0.1 กรัม
คาร์บและไฟเบอร์
แครนเบอร์รี่ประกอบไปด้วยคาร์ปและไฟเบอร์ (เส้นใยอาหาร) ทั้งยังมีน้ำตาล เช่น ซูโครส กลูโคส และฟรุกโตส ทั้งหมดเป็นไฟเบอร์ที่ไม่ละลายน้ำ เช่น เพคติน เซลลูโลส และเฮมิเซลลูโลส ซึ่งจะผ่านลำไส้ใหญ่แทบจะทั้งหมด ในแครนเบอร์รี่ยังมีไฟเบอร์ที่ละลายน้ำได้ ด้วยเหตุผลนี้ แครนเบอร์รี่เป็นสาเหตุของท้องเสียได้ ในทางกลับกัน น้ำแครนเบร์รี่ไม่มีไฟเบอร์และมันก็เจือจางไปกับน้ำผลไม้อื่น และถูกทำให้หวานโดยการใส่น้ำตาลเพิ่มวิตามินและแร่ธาตุ
แครนเบอร์รี่เป็นแหล่งของวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วิตามินซี- วิตามินซีหรือแอสคอร์บิกแอซิด เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีในแครนเบอร์รี่ ซึ่งสำคัญต่อผิว กล้ามเนื้อ และกระดูก
- แมงกานีส พบมากในอาหารต่าง ๆ แมงกานีสจำเป็นต่อการเติบโตของร่างกาย การเผาผลาญ และระบบต้านอนุมูลอิสระของร่างกาย
- วิตามินอี เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ละลายในไขมัน
- วิตามินเค 1 หรือ ฟิลโลควิโนน เป็นวิตามินที่ทำให้เกิดลิ่มเลือด
- คอปเปอร์ การรับประทานคอปเปอร์อย่างไม่เหมาะสมอาจส่งผลต่อหัวใจได้
สารประกอบพืชอื่น ๆ
แครนเบอร์รี่มีสารประกอบพืชและสารต้านอนุมูลอิสระที่ออกฤทธิ์ทางชีวภาพสูงมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งฟลาโวนอลโพลีฟีนอล สารประกอบพืชเหล่านี้พบมากบนผิวของแครนเบอร์รี่ และลดลงมากเมื่อกลายเป็นน้ำแครนเบอร์รี่- เควอซิทิน เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีมากที่สุดในแครนเบอร์รี่ แครนเบอร์รี่เป็นหนึ่งในผลไม้ที่อุดมไปด้วยเควอซิทิน
- ไมริเซติน เป็นสารต้านอนุมูลอิสระโพลีฟีนอลที่พพบมากในแครนเบอร์รี่ ซึ่งมีประโยชน์ต่อสุขภาพมาก
- พีโอนิดิน เมื่อเทียบกับไซยานิเชดินแล้ว พีโอนิดินทำให้เกิดสีแดงในแครนเบอร์รี่และมีประโยชน์ต่อสุขภาพ พีโอนิดินพบมากในแครนเบอร์รี่
- กรดยูโซลิก พบมาในผิวของแครนเบอร์รี่ กรดยูโซลิกเป็นสารประกอบไตรเทอร์พีน เป็นส่วนผสมในยามุนไพรแบบดั้งเดิมมากมาย และมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ
- ชนิดเอ หรือแทนนิน เป็นโพลีฟีนอลที่มีฤทธิ์ต้านการติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ
ป้องกันการติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ
การติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะเป็นการติดเชื้อแบคทีเรีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้หญิง มีสาเหตุเกิดจากแบคทีเรียในลำไส้ Escherichia coli (E. coli) ซึ่งไปติดในพื้นผิวของกระเพาะปัสสาวะและทางเดินปัสสาวะ แครนเบอร์รี่มีสารไฟโตนิวเทรียน Proanthocyanidins ชนิดเอ หรือแทนนิน Proanthocyanidins ชนิดเอ สามารถป้องกันแบคทีเรีย E. coli ไม่ให้ไปติดในกระเพาะปัสสาวะและทางเดินปัสสาวะได้ ทำให้แครนเบอร์รี่สามารถป้องกันการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะได้ แครนเบอร์รี่มี Proanthocyanidins อยู่มาก โดยเฉพาะชนิดเอ การศึกษาในมนุษย์พบว่า การดื่มน้ำแครนเบอร์รี่หรือการรับประทานอาหารเสริมแครนเบอร์รี่สามารถลดความเสี่ยงของการเกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้ทั้งในเด็กและในผู้ใหญ่ การทบทวนอย่างเป็นระบบแะการวิเคราะห์อภิมานสนับสนุนการค้นพบเหล่านี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้หญิงที่มีการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะซ้ำซ้อน ผลิตภัณฑ์จากแครนเบอร์รี่ทุกชนิดไม่ได้มีผลต้านการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ เพราะในบางกระบวณการเกิดการสูญเสีย Proanthocyanidins ทำให้ไม่พบในหลาย ๆ ผลิตภัณฑ์ ในทางกลับกัน อาหารเสริมจากแครนเบอร์รี่ ซึ่งมี Proanthocyanidins ชนิดเออยู่มาก อาจเป็นวิธีการป้องกันที่ดี หากคุณสงสัยว่าคุณกำลังเป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาเบื้องต้น ซึ่งคือการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ แครนเบอร์รี่ไม่ได้มีฤทธิ์รักษาการติดเชื้อ แต่เพียงช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดการติดเชื้อขึ้นประโยชน์อื่นของแครนเบอร์รี่อบแห้ง
แครนเบอร์รี่ยังมีประมีประโยชน์ต่อสุขภาพด้านอื่น ๆ ดังนี้น้ำแครนเบอร์รี่ป้องกันโรคมะเร็งและแผลในกระเพาะอาหาร
โรคมะเร็งกระเพาะอาหารเป็นหนึ่งในโรคที่ทำให้คนเสียชีวิตทั่วโลก เกิดขึ้นจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Helicobacter pylori (H. pylori) ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร การอักเสบ และแผลในกระเพาะอาหาร แครนเบอร์รี่มีสารประกอบพืช Proanthocyanidins ชนิดเอ ที่ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหารโดยการป้องกันไม่ให้ H. pylori เกาะผิวกระเพาะอาหาร การศึกษาในผู้ใหญ่ 189 แนะนำว่าการดื่มน้ำแครนเบอร์รี่ 2.1 แก้ว (500 ml) เป็นประจำอาจช่วยลดการติดเชื้อจาก H. pylori อีกการศึกษาหนึ่งในเด็ก 295 พบว่า การบริโภคน้ำแครนเบอร์รี่ทุกวันเป็นเวลา 3 สัปดาห์ช่วยลดการเติบโตของ H. pylori ประมาณ 17% ในผู้ที่มีการติดเชื้อแครนเบอร์รี่สรรพคุณที่ดีต่อสุขภาพของหัวใจ
โรคหัวใจเป็นโรคที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตทั่วโลก แครนเบอร์รี่มีสารต้านอนุมูลอิสระมากมายที่อาจมีประโยชน์ต่อสุขภาพของหัวใจ ซึ่งรวมไปถึง Anthocyanins Proanthocyanidins และ Quercetin ในการศึกษาในมนุษย์ น้ำแครนเบอร์รี่หรือสารสกัดจากแครนเบอร์รี่มีประโยชน์ต่อปัจจัยความเสี่ยงของโรคหัวใจหลายอย่าง ผลิตภัณฑ์จากแครนเบอร์รี่อาจช่วย:- เพิ่มปริมาณคอเลสเตอรอลชนิดดี
- ลดคอเรสเตอรอลชนิดไม่ดีในผู้ป่วยเบาหวาน
- ป้องกันคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีจากการทำปฏิกริยา
- ลดความเเข็งของหลอดเลือดในผู้ที่เป็นโรคหัวใจ
- ลดความดันโลหิต
- ลดระดับโฮโมซิสเตอิน ซึ่งทำให้ความเสี่ยงที่หลอดเลือดจะอักเสบลดลง
ความปลอดภัยและผลข้างเคียง
แครนเบอร์รี่และผลิตภัณฑ์จากแครนเบอร์รี่ปลอดภัยสำหรับคนส่วนมากที่จะบริโภค อย่างไรก็ตาม การบริโภคที่มากเกินไปอาจทำให้ปวดท้องและท้องเสีย และอาจทำให้เกิดนิ่วในไตในบางรายนิ่วในไต
นิ่วในไตเกิดจากการที่แร่ธาตุบางชนิดในปัสสาวะมีสูงเกินไป ซึ่งสร้างความเจ็บปวดมาก นิ่วในไตส่วนมากเกิดจากแคลเซียมออกซาเลต หากมีมากในปัสสาวะจะทำให้เกิดนิ่ว แครนเบอร์รี่ โดยเฉพาะอย่างย่ิงสารสกัดจากแครนเบอร์รี่ อาจมีออกซาเลตในปริมาณที่สูง ด้วยเหตุนี้ มันจึงทำให้เกิดความเสี่ยงของการเกิดนิ่วในไตหากบริโภคในปริมาณที่สูงเกินไป ความไวต่อการเกิดนิ่วในไตนั้นขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ในผู้คนส่วนมาก แครนเบอร์รี่ไม่ได้ก่อให้เกิดโรคนิ่วในไต แต่คุณก็ยังมีความเสี่ยงที่จะเป็นนิ่วในไตได้ ฉะนั้น จึงควรรับประทานแครนเบอร์รี่และอาหารที่มีออกซาเลตสูงอย่างเหมาะสม แม้ว่าโดยทั่วไปแล้วแครนเบอร์รี่จะถือว่าปลอดภัยและมีคุณค่าทางโภชนาการเมื่อบริโภคในปริมาณที่พอเหมาะ แต่การกินแครนเบอร์รี่ในปริมาณที่มากเกินไปอาจทำให้เกิดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้หลายประการ สิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้หากคุณบริโภคแครนเบอร์รี่มากเกินไป:- ระบบทางเดินอาหารแปรปรวน:การบริโภคแครนเบอร์รี่มากเกินไปอาจทำให้เกิดอาการระบบทางเดินอาหารแปรปรวน รวมถึงอาการต่างๆ เช่น ท้องร่วง ปวดท้อง และคลื่นไส้ ปริมาณเส้นใยสูงในแครนเบอร์รี่อาจทำให้เกิดปัญหาเหล่านี้เมื่อบริโภคในปริมาณมาก
- ปริมาณแคลอรี่:แครนเบอร์รี่อาจมีน้ำตาลธรรมชาติสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้ในการเตรียมน้ำตาล เช่น ซอสแครนเบอร์รี่หรือเครื่องดื่มแครนเบอร์รี่รสหวาน การรับประทานแครนเบอร์รี่มากเกินไปอาจทำให้มีการบริโภคแคลอรี่มากเกินไป และอาจส่งผลให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นได้
- ฟันผุ:การบริโภคผลิตภัณฑ์แครนเบอร์รี่ที่มีน้ำตาลสูงอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพช่องปากได้ เนื่องจากอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อฟันผุได้
- กรดไหลย้อน:ความเป็นกรดของแครนเบอร์รี่สามารถกระตุ้นหรือทำให้อาการของโรคกรดไหลย้อน หรืออาการเสียดท้องในบางคนรุนแรงขึ้นเมื่อบริโภคในปริมาณที่มากเกินไป
- การทำให้เลือดบาง:แครนเบอร์รี่มีสารประกอบที่อาจทำให้เลือดบางลงได้เล็กน้อย การบริโภคผลิตภัณฑ์แครนเบอร์รี่มากเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณทานยาลดความอ้วนในเลือดอยู่แล้ว อาจนำไปสู่ปัญหาเรื่องการแข็งตัวของเลือดได้
นี่คือที่มาในบทความของเรา
- https://www.webmd.com/food-recipes/health-benefits-cranberries
- https://www.medicalnewstoday.com/articles/269142
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น