ภาวะหัวนมแตก (Cracked Nipples) : สาเหตุ อาการ การรักษา

หากคุณเป็นคุณแม่ที่กำลังให้นมบุตรก็อาจเคยมีอาการเจ็บหัวนมและหัวนมแตก ซึ่งทำให้คุณแม่หลายคนทรมานเอามาก ๆ สาเหตุหลัก ๆ ก็เกิดจากการให้ลูกกินนมในท่าที่ลูกงับเต้านมไม่ลึกพอ ซึ่งเป็นผลให้คุณแม่มักจับลูกน้อยกินนมผิดท่าเสมอ

หัวนมแตกเกิดจากอะไร

หัวนมแตกบอบช้ำมีลักษณะ:
  • เจ็บ
  • หัวนมอักเสบ ปวดบวม
  • มีเลือดออก
  • สั่นจากอาการเจ็บ
  • หัวนมเป็นแผล 
โดยทั่วไปจะมีสาเหตุอยู่ 2 ประการ ได้แก่ การจัดท่าให้ลูกกินนมไม่เหมาะและอาการเจ็บปวดจากการขบกัด การจัดท่าให้นมไม่เหมาะสมเกิดจากหลายสาเหตุ คุณแม่ก็จำเป็นต้องเรียนรู้เรื่องการให้นมบุตรเหมือนกัน และวิธีเอาลูกเข้าเต้าต้องฝึกเอาหัวนมใส่ปากลูกให้ถูกตำแหน่งและจัดท่าให้นมลูกให้เหมาะ การจับทารกให้อยู่ในท่าให้นมไม่เหมาะสมอาจเป็นกลไกลการป้องกันตัวของคุณแม่ที่จะป้องกันลูกน้อยไม่ให้บีบนมเล่น หากคุณแม่เอานมเข้าปากลูกได้ไม่ลึกพอ ลูกก็อาจจะเล่นนมบ่อยขึ้น และกินนมไม่พอในการให้นมแต่ละครั้ง มีการตั้งข้อสังเกตว่า ทารกบางรายจะบีบหัวนมแม่เมื่อดูดนมเนื่องจากปัญหาทางร่างกาย เช่น: สาเหตุอื่น ๆ อีกได้แก่ :
  • ลูกสับสนหัวนมกับจุกนม (เกิดขึ้นได้หากคุณแม่ให้นมบุตร ให้นมขวดหรือให้จุกนมปลอมแก่ลูก)
  • มีปัญหาในการดูดนม
  • ทารกดูดนมไม่ถูกที่ระหว่างให้นม
สิ่งสำคัญคือต้องดูว่าอะไรเป็นสาเหตุของภาวะหัวนมแตกและเจ็บเพื่อที่จะได้เลี่ยงปัญหาที่เกิดขึ้นอีก ให้ปรึกษาแพทย์ด้านการให้นมบุตรเสมอ เพราะแพทย์จะสามารถประเมินทั้งเทคนิคการให้นมคุณแม่ได้ นอกจากนี้ แพทย์ยังช่วยดูในเรื่องการจัดท่าให้นม การดูดและความแข็งแรงของทารก 5 Natural Remedies for Cracked Nipples

ภาวะหัวนมแตกจากสบกัดของลูกรักษาได้หรือไม่

การจัดท่าในการให้นมที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันหัวนมไม่ให้บาดเจ็บในอนาคต แต่หากมีหัวนมแตกอยู่แล้วจะรักษาอย่างไร การรักษาสามารถทำได้ที่บ้านและสามารถทำได้หลายวิธี

ชะโลมน้ำนมด้วยนมจากเต้า

การลูบไล้นมแม่ที่เพิ่งออกมาจากเต้าบนหัวนมที่แตกอาจช่วยให้หายได้เนื่องจากน้ำนมจากเต้าที่ไหลใหม่ ๆ จะช่วยป้องกันเชื้อแบคทีเรียต่าง ๆ ได้ หากกำลังให้นมบุตร คุณแม่จะมีน้ำนมไหลจากเต้าอยู่แล้ว ซึ่งง่ายต่อการใช้ทาบนเต้านมหลังการให้นมบุตร ล้างมือให้สะอาดก่อน แล้วค่อย ๆ หยดน้ำนมตัวเอง 2-3 หยดลงบนหัวนม ปล่อยให้แห้งก่อนปิดหัวนม หมายเหตุ: หากหัวนมมีเชื้อรา ควรเลี่ยงวิธีการรักษานี้ คุณแม่ควรบีบนมออกอีกเล็กน้อยและทำความล้างหัวนมหลังให้นมบุตร ยีสต์เติบโตได้เร็วในนมมนุษย์

ประคบอุ่น

การประคบอุ่นเป็นอีกทางเลือกในการรักษาที่ทำได้เองและราคาไม่แพง แม้ว่าจะไม่มีประโยชน์ในเรื่องของการต้านเชื้อแบคทีเรีย แต่อาจพบว่า การประคบอุ่นหลังให้นมจะช่วยบรรเทาอาการเจ็บหัวนมที่แตกได้ จุ่มผ้าขนหนูลงในน้ำอุ่น บีบให้แห้งหมาด ๆ ประคบผ้าขนหนูไว้เหนือหัวนมและเต้านมทิ้งไว้ ค่อย ๆ ซับให้แห้ง ล้างด้วยน้ำเกลือ น้ำเกลือแบบทำเองจะช่วยให้ผิวชุ่มชื้นและรักษาภาวะหัวนมแตกได้ดีขึ้น:
  • ผสมเกลือ 1/2 ช้อนชาในน้ำอุ่น 8 ออนซ์
  • แช่หัวนมในชามเล็ก ๆ ของน้ำเกลืออุ่น ๆ ประมาณ 1 นาทีหลังให้นม
นอกจากนี้ คุณแม่ยังสามารถใช้ขวดสเปรย์ฉีดทาน้ำยาบนหัวนมได้อีกด้วย ซับเบา ๆ ให้แห้ง อย่าลืมทำน้ำเกลือใหม่ทุกวันเพื่อลดโอกาสในการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย หากลูกน้อยดูเหมือนจะไม่ชอบรสชาติของน้ำยาแห้ง ให้ล้างหัวนมก่อนป้อนนม

ทาครีมลาโนลินเกรดทางการแพทย์

การใช้ครีมลาโนลินที่ออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับคุณแม่ที่ให้นมบุตรจะช่วยส่งเสริมการรักษาบาดแผลที่ชื้นได้ ใช้ทาหัวนมหลังให้นม ไม่จำเป็นต้องล้างออกก่อนให้นมลูก

เปลี่ยนแผ่นซับน้ำนมบ่อย ๆ

เปลี่ยนแผ่นซับน้ำนมทันทีที่รู้สึกว่าเปียกชุ่มมาก การปล่อยหัวนมชื้นอาจทำรักษาได้ช้าลง หลีกเลี่ยงแผ่นซับน้ำนมที่ทำจากวัสดุบุพลาสติก แผ่นซับน้ำนมเหล่านี้อาจมีการไหลเวียนของอากาศได้ไม่ดี มองหาแผ่นซับน้ำนมที่ทำจากผ้าฝ้าย 100 เปอร์เซ็นต์

การรักษาที่ไม่ควรทำ

มีการพูดต่อ ๆ กันมาเรื่องวิธีรักษาหัวนมแตกต่าง ๆ เมื่อเกิดภาวะเจ็บหัวนมแตก ซึ่งบางอย่างก็ไม่ควรทำและเลี่ยงได้ การใช้ถุงชาเปียกในการรักษา: วิธีนี้เป็นวิธีการรักษาที่ได้รับความนิยมในหลายพื้นที่ทั่วโลก แม้ว่าการรักษาจะมีค่าใช้จ่ายไม่มาก แต่กรดแทนนิกจากชาอาจมีฤทธิ์ฝาดต่อหัวนม ซึ่งอาจทำให้หัวนมแห้งหรือถึงขั้นแตกได้อีก หากการประคบอุ่นได้ผล ให้ใช้วิธีประคบอุ่นและใช้น้ำธรรมดา ให้ใช้ขี้ผึ้งหรือครีมที่ไม่ใช่ลาโนลิน 100 เปอร์เซ็นต์ ผลิตภัณฑ์บางอย่างสำหรับมารดาที่ให้นมบุตรจะทำให้ระบายอากาศบริเวณหัวนมไม่ดีและทำให้ผิวหนังแห้งได้ เลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์หรือยากรักษาที่ใช้วิธีการกิน เพราะอาจเป็นอันตรายต่อลูกได้ หากต้องล้างหัวนมก่อนให้นมทุกครั้ง อาจเสียประโยชน์จากน้ำมันหล่อลื่นตามธรรมชาติได้

สรุป

ภาวะหัวนมแตกมักเกิดจากการให้นมบุตร การรักษาหัวนมแตกให้มีประสิทธิภาพได้นั้นก็จะต้องระบุสาเหตุของปัญหาให้ได้เสียก่อน หากคุณมีคำถามหรือข้อสงสัยเกี่ยวกับหัวนมแตก ให้พบกุมารแพทย์หรือที่ปรึกษาด้านการให้นมบุตรที่ได้รับการรับรอง

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด