ตาปลา (Corns) คือการที่ผิวหนังที่หนาตัวและแข็งด้านเนื่องจากแรงกดหรือเสียดสี โดยมักจะเกิดขึ้นบริเวณเท้าหรือฝ่าเท้า ทำให้เท้าด้านแข็ง หรือเท้าเป็นตุ่มแข็ง ๆ เหมือนตาปลา
สาเหตุของการเกิดตาปลา
ตาปลาเกิดจากอะไร บางครั้งตาปลาอาจจะเกิดจากสาเหตุที่เราเลือกสวมใส่รองเท้าที่คับเกินไป หรือหลวมเกินไป ไม่เหมาะกับรูปเท้า กรณีที่เป็นตาปลาที่นิ้วมืออาจจะเกิดจากการ ที่เราหิ้วของหนัก ๆ หรือถูกกดทับหรือเสียดสีมากเกินไปก็อาจจะเกิดตาปลาได้ลักษณะและอาการของตาปลา
- ผิวหนังแข็งหนา เป็นตุ่มนูน
- ผิวด้าน ลอกในบางครั้ง
- มีอาการเจ็บปวดเมื่อใส่รองเท้าหรือกดทับ
โดยส่วนใหญ่แล้วตาปลามักจะเกิดขึ้นบริเวณไหนบ้าง
ตาปลาสามารถเกิดขึ้นได้หลายที่ โดยส่วนใหญ่แล้วหลายคนมักเป็นตาปลาฝ่าเท้า หรือเท้า การเป็นตาปลาที่นิ้วเท้า สามารถเกิดขึนได้กับทุกคน แต่สามารถเกิดขึ้นบริเวณอื่น ได้เช่นกัน:- บริเวณนิ้วเท้าหัวแม่โป้ง
- ด้านข้างของฝ่าเท้า
- ด้านล่างของเท้า
- นิ้วมือ
วิธีการรักษาตาปลา
วิธีกำจัดตาปลาทำได้อย่างไร ตาปลาสามารถรักษาและป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นได้ หากยังไม่ได้เป็นขั้นรุนแรง ผู้ป่วยสามารถรักษาตาปลาได้เองที่บ้าน และไม่สวมใส่รองเท้าที่คับเกินไป และสามารถทำตามคำแนะนำได้ดังนี้- แช่เท้าในน้ำอุ่นที่ผสมน้ำเกลือ
- หลังจากนั้นเช็ดเท้าให้แห้งด้วยผ้าสะอาดสามารถทาครีมหรือโลชั่นเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นแก้เท้า
- ทำซ้ำกันจนกว่าตาปลาจะมีความอ่อนนุ่ม
- เมื่อตาปลาอ่อนลงและไม่เจ็บแล้วสามารถใช้หินหรืออุปกรณ์ขัดผิว ขัดผิวหนังตาปลาที่แข็งออกไป
- ทำซ้ำ ๆ กันจนกว่าตาปลาจะหายไป
การทาน้ำมันละหุ่งและแผ่นแปะตาปลาบริเวณที่เป็นตาปลา
อีกทางเลือกหนึ่งในการรักษาตาปลาคือการใช้น้ำมันละหุ่ง นำมาเป็นยาทาตาปลา สามารถทำตามขั้นตอนได้ดังนี้- หลังจากแช่น้ำอุ่นแล้ว เช็ดเท้าให้แห้งใช้น้ำมันละหุ่ง นวดบริเวณตาปลา
- หลังจากนวดน้ำมันละหุ่งแล้วให้ใช้แผ่นแปะตาปลาที่มีกรดไซลิกแปะลงบริเวณตาปลา
- สวมถุงเท้าทับบริเวณนั้น และทำซ้ำ ๆ กันทุกวันเรื่อย ๆ จนกว่าจะดีขึ้น
เมื่อไหร่ที่ควรไปพบแพทย์
หากเป็นตาปลารักษาที่บ้านเองแล้วไม่หาย หรือตาปลามีมากเกินไปและก่อให้เกิดความเจ็บปวดมาก อาจจะต้องมีเข้าไปปรึกษาแพทย์เพื่อสอบถามวิธีการรักษาอื่น ๆ ซึ่งอาจจะหมายถึงการผ่าตาปลา และแพทย์สามารถสั่งจ่ายยาตาปลาชนิดทาเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อได้ด้วย หากปล่อยตาปลาไว้นานเกินไปจนถึงขั้นต้องผ่าตาปลาที่เท้า ผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องงดการเคลื่อนไหวหรือเดินจนกว่าแผลจะหายดีเราจะป้องกันไม่ให้เกิดตาปลาได้อย่างไร
วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันไม่ให้เป็นตาปลาที่เท้า หรือบริเวณอื่น ๆ ผู่ป่วยจะต้องสวมใส่รองเท้าที่สวมใส่สบายและพอดีกับเท้าของ นิ้วเท้าควรเคลื่อนไหวได้อย่างง่ายดาย หมั่นกำจัดเซลล์ผิวที่แข็งกระด้าง แช่เท้ากับน้ำอุ่นเสมอ ๆ เพื่อป้องกันเท้าเป็นตาปลาคำถามที่พบบ่อย
ตาปลาจะหายไปเองหรือไม่ หากแรงกดและการถูที่ทำให้ตาปลาลดลงมักจะหายไปเอง แต่ยังมีวิธีอื่นๆ ที่คุณสามารถทำได้ เช่น การแช่บริเวณนั้นในน้ำอุ่น แล้วค่อยๆ ขจัดผิวหนังที่แข็งส่วนเกินออก ตาปลาเป็นเรื่องปกติโดยเฉพาะในผู้สูงอายุ ก้อนเนื้อแข็งที่เจ็บปวดเหล่านี้มักเกิดขึ้นที่เท้าของคุณ กำจัดตาปลาได้อย่าง การกำจัดผิวหนังที่ตายแล้วที่สร้างขึ้นเป็นกุญแจสำคัญในการรักษาตาปลา ยากรดซาลิไซลิกเป็นยาที่ใช้กันทั่วไปในการทำสิ่งนี้ กรดทำงานโดยการละลายเคราติน ซึ่งเป็นโปรตีนที่เป็นส่วนประกอบส่วนใหญ่ของข้าวโพด คุณสามารถซื้อกรดซาลิไซลิกได้ที่เคาน์เตอร์ในผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ยากำจัดหูด จะเกิดอะไรขึ้นหากปล่อยให้เป็นตาปลาโดยไม่รักษา ตาปลาที่ไม่ ได้รับการรักษา อาจมีขนาดใหญ่ขึ้นจนกว่าคุณจะแก้ไขสิ่งที่ทำให้พวกมันพัฒนาตั้งแต่แรก ตาปลาหรือแคลลัสสามารถติดเชื้อได้ อาจทำให้เจ็บปวดและทำให้เดินลำบาก คุณอาจต้องได้รับการรักษาทางการแพทย์หรือแม้แต่การผ่าตัด ตาปลาจำเป็นต้องตัดออกหรือไม่ พวกเขาอาจพัฒนาเนื่องจากการเสียดสีมากเกินไป ซึ่งมักเกิดจากรองเท้าที่ไม่พอดี หากคุณเชื่อว่าตาปลาก่อตัวขึ้น สิ่งสำคัญคือคุณต้องเอาออกอย่างปลอดภัย คุณไม่ควรใช้ใบมีดโกนหรือมีดเพื่อตัดตาปลาออก ให้แช่เท้าในอ่างแช่เท้าด้วยน้ำอุ่นเพื่อให้ผิวอ่อนนุ่มแทน ทำไมถึงเป็นตาปลา สาเหตุส่วนใหญ่ของตาปลาและหนังด้านคือรองเท้าที่ไม่พอดี หากรองเท้าของคุณคับเกินไปหรือไม่พอดี รองเท้าอาจเสียดสีกับผิวหนังของคุณ ทำให้เกิดการเสียดสีและแรงกดทับ การเดินหรือวิ่งบ่อยๆ อาจทำให้เกิดตาปลาและหนังด้านได้ แม้ว่าคุณจะสวมรองเท้าที่พอดีก็ตาม วิธีแก้ไขบ้านที่เร็วที่สุดสำหรับตาปลา การแช่มือหรือเท้าในน้ำสบู่อุ่นๆจะทำให้ตาปลาและหนังด้านนิ่มลง วิธีนี้จะทำให้ลอกผิวหนังที่หนาออกได้ง่ายขึ้น ผิวหนังหนาขึ้น ระหว่างหรือหลังอาบน้ำ ให้ถูตาปลาด้วยหินภูเขาไฟ ตะไบเล็บ หรือผ้าเช็ดหน้าเพื่อช่วยขจัดชั้นของผิวหนังที่แข็งลิ้งค์ด้านล่างนี้เป็นแหล่งข้อมูลของบทความของเรา
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/corns-and-calluses/symptoms-causes/syc-20355946
- https://www.nhs.uk/conditions/corns-and-calluses/
- https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK470374/
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น