โคม่า (Coma) คือภาวะที่ผู้ป่วยหมดสติเป็นเวลานาน เนื่องจากสมองส่วนใดส่วนหนึ่งได้รับความเสียหาย ซึ่งความเสียหายนี้ส่งผลให้ผู้ป่วยอยู่ในภาวะหมดสติ ไม่สามารถตื่นตัว เคลื่อนไหว และไม่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอกได้ เช่นความเจ็บปวด เสียงและแสง รวมไปถึงการสัมผัส คำว่าโคม่า มีรากมาจากภาษากรีก “Koma” ที่แปลว่า การหลับลึก นั่นเอง
อาการโคม่าสามารถเกิดจากสาเหตุหลายประการ ตั้งแต่การบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยไปจนถึงโรคหลอดเลือดสมองเนื้องอก และนอกจากนี้การดื่มแอลกอฮอล์และการใช้ยาเสพติดสามารถส่งผลให้เกิดอาการโคม่าได้เช่นกัน
ผู้ป่วยอยู่ในอาการโคม่านั้นยังมีชีวิตอยู่ แต่ไม่สามารถเคลื่อนไหวและรู้สึกตัวได้ ผู้ป่วยจะหยุดการคิด และไม่สามารถพูดหรือตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมได้ แต่ภาวะทางร่างกายยังคงสามารถสั้งการทำงานที่สำคัญได่ เช่นการหายใจและการไหลเวียนของเลือด
อาการโคม่าเกิดจากสาเหตุอะไร
โคม่ามีสาเหตุมาจากการที่สมองถูกทำลาย โดยเป็นการทำลายที่จำเพาะเจาะจงในสมองใหญ่ทั้งซีกซ้ายและขวา ในบริเวณของเยื่อหุ้มสมอง และระบบประสาท ซึ่งสมองในส่วนนี้ทำหน้าที่ในการรับรู้ และการตื่นตัว การถูกทำลายสามารถเป็นเหตุมาจากปัจจัยสำคัญได้หลายประการ เช่น ศีรษะได้รับการกระทบกระเทือน การขาดออกซิเจน การมีเลือดออกหรือเกิดแรงดันในสมอง การติดเชื้อ ระบบเมแทบอลิซึมมีปัญหา ภาวะเป็นพิษ ตัวอย่างได้แก่- การบาดเจ็บที่ศีรษะ หรือสมอง เช่น เกิดจากอุบัติเหตุที่กระทบกระเทือนสมองอย่างรุนแรง หรือการถูกทำร้ายอย่างรุนแรง
- โรคหลอดเลือดสมอง
- เนื้องอกในสมอง
- การขาดออกซิเจนไปเลี้ยงสมองเป็นเวลานาน
- การใช้ยาหรือแอลกอฮอล์เกินขนาด
- ได้รับสารพิษมากเกินไปจนตับหรือไตไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ
- การสะสมของสารพิษในร่างกาย เช่น แอมโมเนีย ยูเรีย หรือคาร์บอนไดออกไซด์
- ได้รับสารพิษจากโลหะหนัก เช่น ตะกั่ว
- การติดเชื้อ เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบหรือโรคไข้สมองอักเสบ
- เกิดอาการชักต่อเนื่องกัน
อาการโคม่าเป็นอย่างไร
อาการโคม่าเป็นเหตุฉุกเฉินทางการแพทย์และต้องได้รับการดูแลจากแพทย์ทันที สัญญาณของอาการโคม่า มีดังนี้- ผู้ป่วยไม่ลืมตา
- ไม่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าใด ๆ
- ไม่สามารถหายใจได้ตามปกติ
- ร่างกายไม่ตอบสองต่อความเจ็บปวด
- รูม่านตาไม่ตอบสนองต่อแสงค่ะ
การรักษาภาวะโคม่า
สิ่งสำคัญอันดับแรกของการรักษา คือ การรักษาชีวิตและการทำงานของสมอง แพทย์จะทำการให้ยาปฏิชีวนะทันทีในกรณีที่มีการติดเชื้อในสมอง และการรักษาอื่น ๆ ตามสาเหตุของอาการโคม่า เช่น ในกรณีของการใช้ยาเกินขนาด อาจต้องผ่าตัด เพื่อลดอาการบวมในสมอง เมื่อผู้ป่วยโคม่ามีอาการทรงตัวแพทย์จะดูแลในส่วนของการป้องกันการติดเชื้อ แผลกดทับ และการหดตัวของกล้ามเนื้อ นอกจากนี้แพทย์จะให้สารอาหารที่ผู้ป่วยต้องการอย่างเพียงพอในช่วงที่อยู่ในภาวะโคม่าการดูแลผู้ป่วยโคม่า
การดูแลผู้ป่วยโคม่าสามารถทำได้ทั้งทางร่างกายและอารมณ์ ต่อไปนี้เป็นหลักเกณฑ์ทั่วไปบางประการที่จะช่วยให้คุณให้การดูแลที่เหมาะสม:ความร่วมมือของทีมแพทย์
-
- ผู้ป่วยโคม่าต้องการการดูแลทางการแพทย์เฉพาะทาง ทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับทีมแพทย์ รวมถึงแพทย์ พยาบาล และนักบำบัด เพื่อทำความเข้าใจอาการของผู้ป่วย การพยากรณ์โรค และแผนการดูแลรักษา
- รักษาความต้องการขั้นพื้นฐาน :
- สุขอนามัย : ตรวจสอบให้แน่ใจว่าผิวหนังของผู้ป่วยสะอาดและแห้ง พลิกตัวและเปลี่ยนตำแหน่งผู้ป่วยเป็นประจำเพื่อป้องกันแผลกดทับ
- การดูแลช่องปาก : รักษาปากของผู้ป่วยให้สะอาดและชุ่มชื้นเพื่อป้องกันความแห้งและการติดเชื้อ
- โภชนาการและการให้น้ำ : ปรึกษาทีมแพทย์เพื่อกำหนดวิธีการและปริมาณการให้อาหารที่เหมาะสม ไม่ว่าจะผ่านทางสายยางหรือวิธีอื่นๆ
- การหายใจ : หากผู้ป่วยต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ให้ตรวจสอบการตั้งค่าเครื่องช่วยหายใจและระดับออกซิเจนของผู้ป่วย
-
ป้องกันการติดเชื้อ :
-
-
- สุขอนามัยของมือ : ล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังการสัมผัสผู้ป่วยเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของการติดเชื้อ
- ข้อควรระวังในการแยกเชื้อ : ปฏิบัติตามระเบียบการแยกเชื้อที่แนะนำโดยทีมแพทย์ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของการติดเชื้อ
-
-
การสื่อสาร :
-
-
- พูดคุยกับผู้ป่วย แม้ผู้ป่วยจะไม่มีการโต้ตอบใด ๆ กลับ การได้ยินมักเป็นประสาทสัมผัสสุดท้ายอย่างหนึ่ง และเสียงที่คุ้นเคยสามารถปลอบโยนได้
- เล่นดนตรีเบาๆ หรือกระตุ้นประสาทสัมผัสอื่นๆ ตามคำแนะนำของบุคลากรทางการแพทย์
-
-
ตำแหน่งและความคล่องตัว :
-
-
- เปลี่ยนตำแหน่งของผู้ป่วยบ่อยๆ เพื่อป้องกันแผลกดทับและตึงของกล้ามเนื้อ
- ออกกำลังกายแบบเคลื่อนไหวเป็นระยะเบาๆ เพื่อรักษาความยืดหยุ่นของข้อต่อ
-
-
ติดตามสัญญาณชีพ :
-
-
- ติดตามสัญญาณชีพของผู้ป่วย เช่น อัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต และอุณหภูมิ
- รายงานการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญต่อทีมแพทย์ทันที
-
-
การสนับสนุนทางอารมณ์ :
-
-
- การปรากฏตัวและการสนับสนุนทางอารมณ์ของคุณมีความสำคัญ เสียงที่คุ้นเคย การจับมือ และการสัมผัสที่อ่อนโยนสามารถปลอบใจผู้ป่วยได้
- ให้ข้อมูลอัปเดตแก่เพื่อนและครอบครัว และสนับสนุนให้พวกเขามาเยี่ยมชมหากได้รับอนุญาต
-
-
รักษาสภาพแวดล้อมที่สะดวกสบาย :
-
-
- ตรวจสอบให้แน่ใจว่าห้องของผู้ป่วยมีแสงสว่างเพียงพอ มีการระบายอากาศที่ดี และปราศจากเสียงรบกวนที่มากเกินไป
- ใช้ผ้าปูที่นอนและเบาะรองนั่งที่นุ่มสบาย
-
-
จัดการกับความเจ็บปวดและความรู้สึกไม่สบาย :
-
-
- รายงานอาการปวดหรือไม่สบายใด ๆ ต่อทีมแพทย์ พวกเขาสามารถให้กลยุทธ์การจัดการความเจ็บปวดที่เหมาะสมได้
-
-
ตรวจสอบการทำงานของสมอง :
- อาจจำเป็นต้องติดตามการทำงานของสมองด้วยการถ่ายภาพ (เช่น การ CT สแกน ) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสาเหตุของอาการโคม่า
ภาพรวมของภาวะโคม่า
ภาวะโคม่าที่โดยส่วนใหญ่นั้นไม่เกิน 4 สัปดาห์ แต่ทั้งนี้มีในบางกรณีที่ผู้ป่วยจะโคม่าในระยะยาวได้ ทั้งนี้ระยะเวลาในการเกิดอาการโคม่าขึ้นอยู่กับสาเหตุ และระดับความเสียหายต่อสมอง การเอาใจใส่ของคนใกล้ชิด ด้วยการพูดคุย หรือสัมผัสบ่อยๆ อาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกตัวได้เร็วขึ้น และควรจะพลิกตัวผู้ป่วยบ่อยๆ เพื่อหลีกเลี่ยงแผลกดทับนี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
- https://www.webmd.com/brain/coma-types-causes-treatments-prognosis
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/coma/symptoms-causes/syc-20371099
- https://www.medicalnewstoday.com/articles/173655
- https://www.nhs.uk/conditions/coma/
เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น