โรคมะเร็งลำไส้
มะเร็งลำไส้ (Colorectal cancer) เกิดจากมะเร็งที่เกิดขึ้นในลำไส้ใหญ่หรือลำไส้ตรง ซึ่งอวัยวะทั้งสองนี้อยู่ในส่วนล่างของระบบย่อยอาหาร ลำไส้นี้เป็นรู้จักกันดีว่า ลำไส้ใหญ่ จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่ามะเร็งลำไส้ใหญ่ ส่วนทวารหนักนั้นเป็นส่วนที่อยู่ปลายลำไส้ใหญ่ แพทย์จะมีการแยกระยะอาการของโรคมะเร็งลำไส้เอาไว้เพื่อเป็นแนวทางว่ามะเร็งลำไส้นั้น อยู่ในช่วงระยะไหนแล้ว เพื่อที่แพทย์จะได้หาวิธีการรักษาให้เหมาะสมกับระยะการเป็นมะเร็งที่มีอยู่ และคาดการณ์ถึงแนวโน้มในระยะยาวของมะเร็งลำไส้ใหญ่ อาการระยะที่ 1 ของการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นระยะที่พบมะเร็งครั้งแรก จนมาถึงระยะที่มีความรุนแรงขึ้นมาจนถึง อาการระยะที่ 4 ที่มีอาการหนักขึ้นตามระดับ และนี่คือระยะอาการของการเกิดมะเร็งลำไส้ ซึ่งมีดังนี้:- อาการระยะที่ 1 เชื้อมะเร็งได้มาสู่ร่างกายแล้ว ซึ่งจะเข้าไปยังเยื่อบุลำไส้หรือทวารหนัก แต่จะยังไม่มีการแพร่ของเชื้อมะเร็งไปยังผนังลำไส้
- อาการระยะที่ 2 เชื้อมะเร็งเริ่มกระจายไปยังผนังลำไส้ใหญ่หรือทวารหนัก แต่ยังไม่การกระจายของเชื้อมะเร็งไปยังต่อมน้ำเหลืองหรือเนื้อเยื่อของอวัยวะที่อยู่ใกล้เคียง
- อาการระยะที่ 3 เชื้อมะเร็งเริ่มกระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองแล้ว แต่ยังไม่กระจายไปยังอวัยวะอื่น
- อาการระยะที่ 4 เชื้อมะเร็งได้มีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะต่างๆแล้ว เช่น ตับหรือไต ซึ่งระยะนี้เป็นระยะที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้แล้ว
อาการของโรคมะเร็งลำไส้
โดยทั่วไปมะเร็งลำไส้อาจจะไม่แสดงอาการออกมาให้เห็นชัด ในอาการระยะแรก แต่จะมีอาการให้สังเกตได้ดังต่อไปนี้:- อาการท้องผูก
- อาการท้องเสีย
- สีอุจจาระเปลี่ยนไป
- รูปร่างของอุจจาระเปลี่ยนไป เช่น อุจจาระก้อนเล็กลง
- มีเลือดผสมอยู่อุจจาระ
- มีเลือดไหลออกมาจากทวารหนัก
- มีก๊าซในกระเพาะอาหาร
- ปวดท้องอย่างรุนแรง
อาการของระยะที่ 3-4 ของโรคมะเร็งลำไส้ (อาการโรคมะเร็งลำไส้ระยะสุดท้าย)
โรคมะเร็งลำไส้นั้นจะแสดงอาการออกมาได้ในอาการโรคมะเร็งลำไส้ระยะสุดท้าย(อาการะยะที่ 3 และ 4) ซึ่งนอกเหนือจากอาการที่พบในอาการระยะที่ 1 และ 2 คุณสามารถพบอาการเหล่านี้ได้ดังนี้:- ร่างกายอ่อนเพลีย
- น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
- การขับถ่ายไม่ปกติ
- อาเจียน
- มีอาการมือบวมหรือเท้าบวม
- หายใจลำบาก
- โรคดีซ่าน (ตาเหลืองและผิวเหลือง)
- มีอาการปวดหัวเรื้อรัง
- การมองเห็นผิดปกติ
- มีกระดูกหัก
ประเภทของโรคมะเร็งลำไส้
มะเร็งลำไส้มีมากกว่า 1 ประเภท ซึ่งความแตกต่างนั้นขึ้นอยู่กับชนิดของเซลล์ที่ก่อให้เกิดเป็นมะเร็งลำไส้ขึ้นมาเช่นเดียวกับอวัยวะที่เกิดเซลล์มะเร็ง ประเภทของโรคมะเร็งลำไส้ที่พบส่วนใหญ่เกิดจากเซลล์ของมะเร็งชนิดต่อมอะดีโนคาร์ซีโนมา มะเร็งชนิดต่อมอะดีโนคาร์ซีโนมาทำให้เกิดอาการมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ถึง 96 เปอร์เซนต์ ซึ่งแพทย์ระบุว่าคนส่วนใหญ่น่าจะเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ประเภทนี้ด้วย ซึ่งมะเร็งชนิดต่อมอะดีโนคาร์ซีโนมา มักเกิดขึ้นภายในเซลล์ของลำไส้ใหญ่และทวารหนัก มะเร็งลำไส้ใหญ่ที่เกิดจากเนื้องอกชนิดอื่น ซึ่งพบได้น้อยกว่าโรคมะเร็งลำไส้ที่เกิดจากเซลล์มะเร็งชนิดต่อมตามที่กล่าวข้างต้น ซึ่งพบเนื้องอกได้ดังนี้:- มะเร็งต่อมน้ำเหลือง ที่สามารถเกิดขึ้นในต่อมน้ำเหลืองหรือในลำไส้ก่อนเป็นอันดับแรก
- เนื้องอกคาร์ซินอยด์ ที่เกิดจากเซลล์ในฮอร์โมนภายในลำไส้ของคุณ
- ก้อนเนื้อมะเร็ง ที่สามารถเกิดขึ้นในเนื่อเยื่ออ่อน เช่นกล้ามเนื้อในลำไส้ใหญ่
- เนื้องอกทางเดินอาหาร ที่สามารถเป็นเนื้อร้ายและกลายเป็นมะเร็ง (ซึ่งเนื้องอกนี้มักพบในทางเดินอาหาร แต่พบในลำไส้ใหญ่ได้น้อย)
สาเหตุของโรคมะเร็งลำไส้
นักวิจัยยังไม่สามารถหาสาเหตุที่แท้จริงของโรคมะเร็งลำไส้ได้ ซึ่งในขณะที่ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งไส้นั้นมีมากขึ้น ความเสี่ยงอาจจะเกิดจากเพียงปัจจัยเดียว หรืออาจมีปัจจัยอื่นได้หลายอย่างที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งลำไส้ได้การเติบโตของเนื้อร้ายมะเร็ง
เซลล์มะเร็งที่กลายเป็นเนื้อร้ายที่สะสมอยู่ในเยื่อบุลำไส้ ทำให้มีเนื้องอกในลำไส้ใหญ่ ซึ่งเนื้อมีขนาดเล็ก และเติบโตอย่างช้าๆ การผ่าตัดเอาเนื้องอกออกมานั้น ก็เป็นการป้องกันรักษามะเร็งที่พบได้ทั่วไป ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษา ติ่งเนื้อที่ลำไส้ใหญ่ก็จะกลายเป็นเซลล์มะเร็ง ทำให้กลายเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้การกลายพันธุ์ของยีนพันธุกรรม
บางครั้งโรคมะเร็งลำไส้นั้น ก็อาจมาจากพันธุกรรม ซึ่งหากมีคนในครอบครัวที่เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่มาก่อนแล้ว อาจส่งผลไปยังลูกหลานได้ ซึ่งการกลายพันธุ์ทางพันธุกรรมนั้น ไม่ได้ทำให้เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้เสมอไป แต่มันจะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งลำไส้ของคุณได้การรักษาโรคมะเร็งลำไส้
การรักษาโรคมะเร็งลำไส้นั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ความแข็งแรงของสุขภาพร่างกายนั้นและระยะอาการของโรคมะเร็งลำไส้ จะช่วยให้แพทย์สามารถคิดและหาแผนของวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับอาการที่ปรากฏได้การผ่าตัด
หากพบอาการระยะแรกของมะเร็งลำไส้ แพทย์อาจแนะนำให้คุณทำการผ่าตัดเพื่อกำจัดเนื้องอก และหากเนื้องอกนั้นไม่เกาะอยู่ในผนังลำไส้ใหญ่ อาการมะเร็งลำไส้ในระยะแรกอาจหายขาดได้ หากมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้แพร่กระจายไปยังผนังลำไส้ แพทย์อาจจะจำเป็นต้องทำการผ่าตัดเอาส่วนของลำไส้หรือส่วนของทวารหนักที่มีเชื้อมะเร็งทิ้งไป รวมถึงต่อมน้ำเหลือง และหากเป็นไปได้ ศัลยแพทย์อาจทำการผ่าตัดโดยนำลำไส้ที่เหลือแนบกับรูทวารหนัก หากการผ่าตัดข้างต้นนั้นไม่ได้ผล แพทย์อาจจะทำการ ผ่าตัดลำไส้ใหญ่เปิดเป็นช่องทางที่หน้าท้อง ซึ่งการผ่าตัดนี้ได้ทำการผ่าตัดโดยการนำลำไส้ใหญ่บางส่วนเปิดที่หน้าท้อง เพื่อระบายของเสียภายในร่างกายออกมา การผ่าตัดนี้สามารถทำได้แบบชั่วคราวหรือถาวรก็ได้การรักษาโดยเคมีบำบัด
การรักษาโดยเคมีบำบัด เกี่ยวข้องกับการใช้ยาทำลายเซลล์มะเร็ง ซึ่งในกรณีของผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่นั้น การรักษาโดยเคมีบำบัดก็เป็นการรักษาที่ส่วนใหญ่จะได้รับหลังจากผ่านการผ่าตัดมาแล้ว ซึ่งไปทำลายเซลล์มะเร็งที่อยู่ในลำไส้ส่วนปลาย และสามารถควบคุมการเติบโตของเนื้องอกที่กำลังกลายเป็นมะเร็งซ้ำได้ ถึงแม้ว่าการรักษาโดยเคมีบำบัดจะรักษาอาการโรคมะเร็งลำไส้ระยะสุดท้ายได้ แต่อย่างก็ตามการรักษานี้มักมีอาการหรือผลข้างเคียงการฉายแสง
การฉายแสงเป็นการใช้รังสีพลังงานสูงเพื่อฉายรังสีไปทำลายเซลล์มะเร็งก่อนและหลังการผ่าตัด ซึ่งเหมือนกับการฉายรังสีเอ็กซเรย์ การรักษาโดยการฉายแสงนั้นสามารถใช้ร่วมการรักษาโดยเคมีบำบัดได้การใช้ยา
ยาเรโกราเฟนิบ(Stivarga) สามารถนำมาใช้เพื่อรักษาในระยะการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งหรือรักษาอาการโรคมะเร็งลำไส้ระยะสุดท้ายที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาอื่นและเชื้อมะเร็งได้แพร่กระจายไปยังทุกส่วนของร่างกายไปแล้ว ซึ่งยารักษามะเร็งนี้ทำงานโดยการหยุดการหลั่งเอ็นไซม์ที่ทำให้เชื้อมะเร็งมีการเติบโตขึ้นนั่นเองเลือกอาหารอย่างชาญฉลาดสำหรับผู้ป่วยมะเร็งลำไส้
อาหารจากพืชที่มีเส้นใยสูงที่มีเนื้อแดงในระดับปานกลางถึงต่ำโดยมีเนื้อแปรรูปและแอลกอฮอล์น้อยที่สุดแสดงให้เห็นว่าสามารถลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้สิ่งที่ควรรับประทาน:
- ผัก : ผักสลัด มะเขือเทศ หัวหอม บรอกโคลี มะเขือม่วง แครอท และอื่น ๆ ผักทุกชนิดมีคุณสมบัติป้องกันมะเร็ง ดังนั้น การบริโภคให้หลากหลายคือกุญแจสำคัญ ขณะนี้การวิจัยแสดงให้เห็นว่ากระเทียมมีประโยชน์ในการป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ดังนั้นอย่าลืมรวมไว้ในมื้ออาหารของคุณทุกวัน
- ผลไม้ : เบอร์รี่ เมลอน แอปเปิ้ล แพร์ ส้ม กล้วย ฯลฯ ผลไม้ทั้งลูกให้ประโยชน์สูงสุดแก่คุณ ดังนั้นควรเลือกผลไม้ทั้งลูกและจำกัดหรือหลีกเลี่ยงน้ำผลไม้
- โฮลเกรนและถั่ว : ควินัว ข้าวโอ๊ต ข้าวสีดำ ข้าวบาร์เลย์ ฟาร์โร ข้าวป่า ถั่วเลนทิล ถั่ว ฯลฯ มีไฟเบอร์สูงซึ่งช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก อาหารเหล่านี้มีสารอื่น ๆ อีกมากมายที่เชื่อมโยงกับความเสี่ยงมะเร็งที่ลดลง ด้วยเหตุนี้ผู้เชี่ยวชาญจึงแนะนำให้เพิ่มปริมาณใยอาหารจากอาหารทั้งหมดมากกว่าอาหารเสริม
กินน้อย:
- เนื้อแดง (เนื้อวัว เนื้อแกะ เนื้อหมู) : ชนิดของธาตุเหล็กในเนื้อแดงและสารประกอบอื่นๆ บางชนิดสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งได้ ด้วยเหตุนี้จึงแนะนำให้บริโภคเนื้อแดงน้อยลง หรืองด
- เนื้อแปรรูป (เนื้อโคลด์คัท เบคอน ไส้กรอก และฮอทด็อก) : ของเหล่านี้มีไนเตรตและโซเดียมในปริมาณสูง ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งทั้งคู่ แนะนำให้กินเนื้อสัตว์แปรรูปให้น้อยครั้งหรือไม่กินเลย
- อาหารจานด่วน : แคลอรี่สูงทำให้ควบคุมน้ำหนักได้ยากขึ้น นอกจากนี้ยังมีโซเดียมสูงแต่ในผักผลไม้ เมล็ดธัญพืช ถั่ว และไฟเบอร์ต่ำ
- แอลกอฮอล์ : แอลกอฮอล์จะกลายเป็นสารก่อมะเร็งในร่างกาย สารเหล่านี้ยังสามารถทำลายเซลล์เยื่อบุลำไส้ใหญ่ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือหากคุณเลือกที่จะดื่ม ควรจำกัดการดื่ม 1 แก้ว (เบียร์ 12 ออนซ์ ไวน์ 5 ออนซ์ สุรา 1.5 ออนซ์) ต่อวัน
สถิติของผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ในประเทศไทย
สถิตินี้มาจากหัวข้อ ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งลำไส้ ซึ่งพบว่า มะเร็งลำไส้นั้นเป็นโรคที่อยู่ในระดับ 4 ในประเทศไทย หรือพบผู้ป่วยรายใหม่ 11,496 ราย/ปี อัตราการเสียชีวิต 6,845 ราย/ปี ซึ่งรองลงมาจากมะเร็งตับ มะเร็งปอด และมะเร็งเต้านมอีกด้วยนี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/colon-cancer/symptoms-causes/syc-20353669
- https://www.medicinenet.com/colon_cancer/article.htm
- https://medlineplus.gov/ency/article/000262.htm
เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น