ยาโคเดอีนคืออะไร
ยาโคเดอีน (Codeine) คือ ยาระงับอาการปวดกลุ่มโอปิออยด์ บางครั้งเรียกว่า นาคอติก โคเดอีนถูกใช้ในการรักษาอาการปวดตั้งแต่น้อยไปถึงปานกลาง โคเดอีนยังอาจถูกใช้เพื่อจุดประสงค์อื่นที่ไม่ได้อยู่ในคู่มือยาดังกล่าวนี้ ตามการวิเคราะห์ของแพทย์ อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจ ยาแก้ปวดคำเตือน
ไม่ควรใช้ยาโคเดอีนหากมีปัญหาด้านการหายใจรุนแรง มีการอุดตันในกระเพาะอาหารหรือลำไส้ หรือหอบหืดกำเริบบ่อยหรือภาวะระบายลมหายใจเกิน ยาโคเดอีนสามารถทำให้การหายใจหยุดหรือช้าลง และบางทีอาจเสพติดได้ การใช้ยาผิดวิธียาโคเดอีนทำให้เกิดการเสพติด การใช้ยาเกินขนาดหรือเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะในเด็กหรือคนที่ใช้ยาโดยไม่มีใบสั่งจากแพทย์ ไม่ควรใช้ในคนอายุต่ำกว่า 18 ปี การรับประทานยาโคเดอีนในระหว่างการตั้งครรภ์อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการถอนยาที่อันตรายถึงขั้นเสียชีวิตในเด็กแรกเกิดได้ ผลข้างเคียงรุนแรงสามารถเกิดขึ้นได้หากใช้ยาโคเดอีนร่วมกับการดื่มแอลกอฮอล์ หรือร่วมกับยาชนิดอื่นที่เป็นสาเหตุทำเกิดอาการง่วงนอนหรือการหายใจช้าก่อนเริ่มรับประทานยา Codeine
ไม่ควรใช้ยานี้หากallergy-0094/”>แพ้ยาหรือมีอาการดังต่อไปนี้:- หอบหืดรุนแรงหรือมีปัญหาด้านการหายใจ
- มีการอุดตันในกระเพาะอาหารหรือลำไส้
- มีอาหารหอบหืดกำเริบบ่อยหรือมีภาวะระบายลมหายใจเกิน
- โรคตับ
- การหายใจมีปัญหา มีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ
- หอบหืด โรคหลอดลมอุดตันเรื้อรัง ภาวะหยุดหายใจในขณะนอนหลับหรือการหายใจผิดปกติแบบอื่นๆ
- ความโค้งของกระดูกสันหลังผิดปกติที่ส่งผลต่อการหายใจ
- โรคไต
- มีการบาดเจ็บที่ศีรษะ หรือมีเนื้องอกในสมอง
- ความดันโลหิตต่ำ
- มีการอุดตันในระบบทางเดินอาหาร (กระเพาะอาหารหรือลำไส้)
- ถุงน้ำดีหรือตับอ่อนผิดปกติ
- ภาวะขาดไทรอยด์
- โรคแอดดิสัน หรือโรคที่เกิดจากต่อมหมวกไตทำงานผิดปกติ
- ต่อมลูกหมากโต การปัสสาวะมีปัญหา
- มีอาการเจ็บป่วยทางจิตใจ เสพติดยา หรือแอลกอฮอล์
ยาโคเดอีนควรรับประทานอย่างไร
รับประทานยาโคเดอีนตามคำแนะนำจากแพทย์อย่างเคร่งครัด ปฏิบัติตามข้อแนะนำในคู่มือยา ยาโคเดอีนสามารถทำให้เกิดอาการหายใจช้าหรือหยุดได้ ห้ามใช้ยาในปริมาณมากเกินไปหรือนานเกินไปกว่าที่แพทย์สั่ง แจ้งให้แพทย์ทราบหากยาดูเหมือนจะไม่ได้ผลรวมไปถึงการบรรเทาอาการปวด ยาโคเดอีนอาจทำให้เกิดการเสพติดแม้จะใช้ในปริมาณปกติก็ตาม ห้ามแบ่งยาใช้ร่วมกับผู้อื่น โดยเฉพาะในคนที่มีประวัติเสพติดยาหรือใช้ยาไปในทางที่ผิด การใช้ยานาโคติกผิดวิธีอาจเป็นสาเหตุให้เกิดการเสพติดยา การใช้ยาเกินขนาดหรือเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะในเด็กหรือคนที่ใช้ยาโดยไม่มีใบสั่งแพทย์ การขายยาหรือให้ยาโคเดอีนคือสิ่งที่ผิดกฏหมาย ควรรับประทานยาโคเดอีนพร้อมอาหารหรือนมหากมีอาการมวนท้องหรือปวดท้อง ดื่มน้ำ 6 ถึง 8 แก้วต่อวันเพื่อช่วยป้องกันอาการท้องผูกในขณะรับประทานยาโคเดอีน ไม่ควรใช้ยาทำให้อุจจาระนิ่ม (ยาระบาย) โดยไม่ปรึกษาแพทย์ ไม่ควรหยุดยาโคเดอีนทันทีหลังจากใช้มาเป็นระยะเวลานาน มิฉะนั้นอาจเกิดอาการถอนยาที่ไม่พึงประสงค์ ปรึกษาแพทย์ถึงวิธีการหยุดการใช้ยานี้อย่างปลอดภัย เก็บยาไว้ในอุณหภูมิห้องห่างไกลจากความชื่นและความร้อน เฝ้าติดตามการใช้ยา ยาโคเดอีนคือยาที่เสพติดได้และควรรับรู้หากมีคนที่ใช้ยาไม่เหมาะสมหรือใช้ยาโดยไม่มีคำสั่งจากแพทย์ ไม่ควรเก็บยาโอปิออยด์ที่เหลือ เพียงแค่โดสเดียวเท่านั้นก็สามารถเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตในคนที่ใช้ยาโดยไม่ตั้งใจหรือไม่เหมาะสม ปรึกษาเภสัชกรถึงสถานที่นำคืนยาที่ไม่ได้ใช้ หากไม่ด้ส่งยาคืนกลับให้นำยาที่เหลือไปผสมกับทรายแมวหรือผงกาแฟบดในถุงพลาสติกที่ปิดผนึกก่อนทิ้งลงในถังขยะหากลืมรับประทานยาจะเกิดอะไรขึ้น
เพราะยาโคเดอีนคือยาที่ใช้แก้ปวด จึงเป็นยาที่มักไม่ค่อยมีการลืมรับประทาน ให้ข้ามมื้อยามื้อที่ลืมไปเลยหสกพบว่าใกล้เวลายาในมื้อถัดไป ห้ามรับประทานยาเพิ่มเพื่อทดแทนมื้อที่ลืมรับประทานยาหากรับประทานยาเกินขนาดจะเกิดอะไรขึ้น
พบแพทย์ฉุกเฉินทันที การรับประทานยาโคเดอีนเกินขนาดสามารถทำให้เสียชีวิตได้ โดยเฉพาะในเด็กหรือคนที่ใช้ยาโดยไม่มีใบสั่งจากแพทย์ การใช้ยาเกินขนาดเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงรุนแรง ผิวหนังเย็นและแตกลอก รูม่านตาเล็กเท่ารูเข็ม การหายใจช้าลง ง่วงนอนมาก หรือโคม่าสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงคืออะไร
ห้ามดื่มแอลกอฮอล์ อาตทำให้เกิดผลข้างเคียงอันตรายหรือเสียชีวิตได้ ยาโคเดอีนอาจทำระบบความคิดหรือปฏิกิริยาแย่ลง หลีกเลี่ยงการขับรถหรือใช้อุปกรณ์เครื่องจักรจนกว่าจะรู้ว่าตัวยาจะส่งผลอะไรต่อตัวคุณบ้าง อาการมึนงงหรือง่วงนอนรุนแรงอาจเป็นสาเหตุทำให้หกล้มหรือเกิดอุบัติเหตุอื่นๆผลข้างเคียงของยาโคเดอีน
พบแพทย์ฉุกเฉินเพื่อขอความช่วยเหลือหากมีสัญญานของปฏิกิริยาแพ้ยาโคเดอีน : มีผื่นขึ้น หายใจลำบาก บวมบริเวณใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้นหรือคอ เหมือนยานาโคติกชนิดอื่นๆ ยาโคเดอีนสามารถทำให้การหายใจช้าลงได้ อาจถึงขั้นเสียชีวิตหากการหายใจเริ่มช้ามากเกินไป ควรรีบพบแพทย์ทันทีหากพบว่ามีอาการหายใจช้าลงร่วมกับการหยุดหายใจเป็นเวลานาน รีมฝีปากเป็นสีม่วงหรือมีอาการปลุกตื่นยาก โทรหาแพทย์ทันทีหากมีอาการดังต่อไปนี้:
- หายใจเสียงดัง ถอนหายใจ หายใจไม่สุด
- อัตราการเต้นของหัวใจช้าลงหรือชีพจรเต้นอ่อน
- รู้สึกวิงเวียนศีรษะ คล้ายจะหมดสติ
- สับสน กระวนกระวาย เห็นภาพหลอน ความคิดหรือพฤติกรรมผิดปกติ
- รู้สึกมีความสุขหรือเศร้าสุดขีด
- ภาวะชัก (มีการหดเกร็งของกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง)
- การปัสสาวะมีปัญหา
- ระดับคอติซอลต่ำ – คลื่นไส้ อาเจียน ไม่อยากอาหาร มึนงง เหนื่อยล้ามากขึ้นหรืออ่อนแรง
- รู้สึกมึนศีรษะหรือง่วงนอน
- คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง
- ท้องผูก
- มีเหงื่อออก
- คันเล็กน้อยหรือมีผื่นขึ้น
- โรคภูมิแพ้:
-
-
- บุคคลที่แพ้โคเดอีนหรือฝิ่นอื่นๆ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ ปฏิกิริยาการแพ้ฝิ่นอาจมีตั้งแต่ปฏิกิริยาทางผิวหนังเล็กน้อยไปจนถึงปฏิกิริยารุนแรงที่คุกคามถึงชีวิต
-
- สภาพระบบทางเดินหายใจ:
-
-
- โคเดอีนสามารถระงับการทำงานของระบบทางเดินหายใจ และควรหลีกเลี่ยงการใช้ในผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคหอบหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) หรือโรคทางเดินหายใจอื่นๆ
-
- หยุดหายใจขณะหลับ:
-
-
- บุคคลที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (OSA) ซึ่งเป็นภาวะที่มีลักษณะการหายใจติดขัดระหว่างการนอนหลับ ควรใช้โคเดอีนด้วยความระมัดระวัง สารฝิ่นอาจทำให้ระบบทางเดินหายใจแย่ลง และอาจทำให้อาการหยุดหายใจขณะหลับแย่ลง
-
- การบาดเจ็บที่ศีรษะหรือความดันในกะโหลกศีรษะเพิ่มขึ้น:
-
-
- โคเดอีนสามารถเพิ่มความดันในกะโหลกศีรษะได้ และควรหลีกเลี่ยงการใช้โคเดอีนในบุคคลที่มีอาการบาดเจ็บที่ศีรษะ มีความดันในกะโหลกศีรษะเพิ่มขึ้น หรือสภาวะที่อาจรุนแรงขึ้นจากความดันที่เพิ่มขึ้นในกะโหลกศีรษะ
-
- ปัญหาระบบทางเดินอาหาร:
-
-
- โคเดอีนอาจทำให้เกิดอาการท้องผูกและอาจชะลอการเคลื่อนไหวของระบบทางเดินอาหาร บุคคลที่มีภาวะระบบทางเดินอาหารบางอย่าง เช่น ลำไส้อุดตันหรือโรคลำไส้อักเสบ ควรใช้โคเดอีนด้วยความระมัดระวัง
-
- ความผิดปกติของตับ:
-
-
- โคเดอีนถูกเผาผลาญในตับ และบุคคลที่มีความผิดปกติของตับอย่างมีนัยสำคัญอาจจำเป็นต้องใช้โคเดอีนด้วยความระมัดระวัง อาจพิจารณาปรับขนาดยาหรือใช้ยาอื่น
-
- ความผิดปกติของไต:
-
-
- โคเดอีนและสารของมันจะถูกขับออกทางไต บุคคลที่มีความผิดปกติของไตอย่างรุนแรงอาจจำเป็นต้องปรับขนาดยาหรืออาจจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงโคเดอีนโดยสิ้นเชิง
-
- ประวัติการใช้สารเสพติดหรือการเสพติด:
-
-
- บุคคลที่มีประวัติการใช้สารเสพติดหรือติดยาเสพติด โดยเฉพาะฝิ่น ควรหลีกเลี่ยงโคเดอีน โคเดอีนก็เหมือนกับฝิ่นอื่นๆ ที่อาจนำไปใช้ในทางที่ผิด การเสพติด และการเสพติด
-
- การตั้งครรภ์และให้นมบุตร:
-
-
- การใช้โคเดอีนในระหว่างตั้งครรภ์และให้นมบุตรควรทำภายใต้คำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โคเดอีนสามารถผ่านเข้าสู่น้ำนมแม่และอาจส่งผลต่อทารกได้ และควรพิจารณาถึงความเสี่ยงและผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้นอย่างรอบคอบ
-
- ผู้สูงอายุ:
-
- ผู้สูงอายุอาจไวต่อผลข้างเคียงของโคเดอีน เช่น อาการหายใจลำบากและท้องผูก อาจจำเป็นต้องมีขนาดยาเริ่มต้นที่ต่ำกว่าและการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดในประชากรกลุ่มนี้
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น