ประเภทของอาการปวดหัวแบบคลัสเตอร์
อาการปวดหัวแบบคลัสเตอร์มี 2 ประเภท: แบบเป็นช่วง ๆ และแบบเรื้อรัง อาการปวดหัวแบบคลัสเตอร์แบบเป็นช่วง ๆ นั้น จะเกิดเป็นประจำระหว่าง 1 สัปดาห์ถึง 1 ปี โดยจะมีช่วงเวลาที่ไม่มีอาการปวดหัวประมาณ 1 หนึ่งเดือนขึ้นไป อาการปวดหัวแบบคลัสเตอร์แบบเรื้อรังจะเกิดขึ้นเป็นประจำนานกว่า 1 ปี โดยมีช่วงเวลาที่ไม่มีอาการปวดหัว น้อยกว่า 1 เดือน ผู้ที่มีอาการปวดหัวคลัสเตอร์แบบเป็นช่วง ๆ อาจมีอาการสลับกับอาการปวดหัวแบบคลัสเตอร์ชนิดเรื้อรังได้สาเหตุของอาการปวดหัวแบบคลัสเตอร์
ความเจ็บปวดจากอาการปวดหัวแบบคลัสเตอร์เกิดจากการพองหรือขยายตัวของหลอดเลือดที่ส่งเลือดไปเลี้ยงสมองและใบหน้าของคุณ การขยายตัวจะทำให้เกิดแรงกดไปยังเส้นประสาทไตรเจมินัลที่ส่งผ่านความรู้สึกจากใบหน้าไปยังสมอง ซึ่งยังไม่ทราบระบุสาเหตุที่ทำให้หลอดเลือดเกิดการขยายได้อย่างชัดเจน
นักวิจัยเชื่อว่าความผิดปกติในสมองส่วนไฮโปทาลามัสของสมองที่ใช้ควบคุมอุณหภูมิร่างกาย ความดันโลหิต การนอนหลับ และการปล่อยฮอร์โมนคือต้นเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดหัวแบบคลัสเตอร์
อาการปวดหัวแบบคลัสเตอร์ยังอาจเกิดจากการปล่อยสารเคมีฮิสตามีนออกมาอย่างกะทันหันของร่างกายเพื่อต่อสู้กับสารก่อภูมิแพ้ หรือสารเซโรโทนินที่ใช้ควบคุมอารมณ์
การวินิจฉัยอาการปวดหัวแบบคลัสเตอร์
แพทย์ของจะสอบถามอาการของผู้ป่วย และทำการตรวจร่างกาย และระบบประสาท รวมถึงการสแกน MRI หรือ CT สแกนสมองเพื่อแยกแยะสาเหตุต่าง ๆ ของอาการปวดหัว เช่น เนื้องอกในสมอง
อาการของการปวดหัวแบบคลัสเตอร์
อาการปวดหัวแบบคลัสเตอร์มักเกิดขึ้นอย่างกะทันหัน ผู้ป่วยหลายรายมักมีอาการผิดปกติทางสายตาร่วมกับอาการปวดหัว เช่น เห็นแสงวาบก่อนปวดหัว
โดยทั่วไปอาการปวดหัวจะเกิดหลังจากที่ผู้ป่วยหลับไปได้ไม่นาน โดยความเจ็บปวดมักรุนแรงพอที่จะปลุกผู้ป่วยให้ตื่น แต่บางกรณีก็รู้สึกปวดในขณะที่กำลังตื่นนอนอยู่ก็ได้
อาการปวดศีรษะจะรุนแรงนานประมาณ 5-10 นาทีเมื่อเริ่มรู้สึกปวดศีรษะ อาการปวดหัวแต่ละครั้งมักกินเวลาหลายชั่วโมง โดยอาการปวดที่รุนแรงที่สุดอาจนานถึง 30 นาทีถึง 2 ชั่วโมง
อาการปวดหัวแบบคลัสเตอร์จะเกิดขึ้นที่ด้านใดด้านหนึ่งของศีรษะ แต่ก็อาจสลับข้างที่ปวดได้ในผู้ป่วยบางราย และโดยทั่วไปยังมีอาการปวดบริเวณด้านหลัง หรือรอบดวงตา ลักษณะอาการปวดมักมีลักษณะปวดแสบปวดร้อนเป็นระยะ ๆ หรือต่อเนื่อง เหมือนถูกแหล็กแผ่นร้อน ๆ นาบบริเวณรอบดวงตา ความเจ็บปวดอาจกระจายไปตามหน้าผาก ขมับ ฟัน จมูก คอ หรือไหล่ด้านเดียวกับศรีษะได้
อาการอื่น ๆ ที่เกิดร่วมกับอาการปวดศีรษะ ได้แก่ :
- หนังตาตก
- รูม่านแคบลง
- น้ำตาไหลออกจากตามากผิดปกติ
- ตาแดง
- ตาแพ้แสง
- บวมใต้หรือรอบดวงตาข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้ง 2 ข้าง
- น้ำมูกไหลหรือคัดจมูก
- ใบหน้าแดงหรือเกิดรอยแดง
- คลื่นไส้
- รู้สึกปั่นป่วนหรือกระสับกระส่าย
การรักษาอาการปวดหัวแบบคลัสเตอร์
การรักษาเพื่อบรรเทาและป้องกันอาการปวดศีรษะมักใช้ยารักษา แต่ในบางกรณีหากแนวทางการรักษษอื่น ๆ ไม่ได้ แพทย์อาจพิจารณารักษษด้วยการผ่าตัด
การใช้ยารักษาอาการปวด
การใช้ยาแก้ปวดมาบรรเทาอาการปวดศีรษะเมื่อเริ่มเกอดอาการ ได้แก่:
-
ออกซิเจน: การหายใจเอาออกซิเจนบริสุทธิ์ 100 % เมื่อเริ่มปวดศีรษะสามารถช่วยบรรเทาอาการได้
-
ยาทริปแทน: ยาพ่นจมูกที่เรียกว่ายาซูมาทริปแทน (Imitrex) หรือยาทริปแทนชนิดอื่น ๆ ที่ทำให้เส้นเลือดหดตัวจึงสามารถบรรเทาอาการปวดหัวได้
-
DHE: ยาฉีดที่เรียกว่ายาไดไฮโดรเออร์โกตามีน (DHE) ใช้บรรเทาอาการปวดหัวแบบคลัสเตอร์ ได้ผลใน 5 นาทีหลังใช้ แต่ไม่สามารถใช้ DHE ร่วมกับยาซูมาทริปแทนได้
-
ครีมแคปไซซิน: ครีมแคปไซซินเป็นยาที่ใช้ทาบริเวณที่เจ็บปวดเฉพาะที่
การใช้ยาป้องกันอาการปวด
ยาป้องกันอาการปวดหัวให้ใช้ยาก่อนที่จะเริ่มอาการ ยาอาจไม่ได้ผล 100% แต่สามารถลดความถี่ของอาการปวดหัวได้ ยาเหล่านี้ ได้แก่ :
- ยาลดความดันโลหิตเช่น ยาโพรพราโนลอล (Inderal) หรือยาเวอราปามิล (Calan, Covera, Isoptin, Verelan) ช่วยผ่อนคลายหลอดเลือด
- ยาสเตียรอยด์ เช่นยาเพรดนิโซนซึ่งช่วยลดการอักเสบของเส้นประสาท
- ยาที่เรียกว่า Ergotamine ช่วยป้องกันไม่ให้หลอดเลือดขยายตัว
- ยากล่อมประสาท
- ยาป้องกันอาการชักเช่น Topiramate (Topamax) และ Valproic acid
- ยาลิเธียมคาร์บอเนต
- ยาคลายกล้ามเนื้อเช่น Baclofen
การใช้การผ่าตัดรักษาอาการปวด
การผ่าตัดเป็นทางเลือกสุดท้ายสำหรับการรักษา เป็นการผ่าตัดเพื่อแก้ไขอาการของเส้นประสาทไตรเจมินัลได้ การผ่าตัดอาจช่วยผู้ป่วยหายจากอาการปวดได้อย่างถาวร แต่มักมีผลข้างเคียงที่รุนแรง เช่น อาการชาบริเวณใบหน้าแบบถาวร
การป้องกันอาการปวดหัวแบบคลัสเตอร์
วิธีป้องกันอาการปวดหัวแบบคลัสเตอร์ทำได้โดยหลีกเลี่ยงสิ่งต่อไปนี้:
- แอลกอฮอล์
- บุหรี่
- โคเคน
- Elevation
- Strenuous activities
- Hot weather
- Taking a hot bath
- Foods with high nitrate values, such as:
- bacon
- Hot dog
- Meat processed for storage
อาการปวดหัวแบบคลัสเตอร์ไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่ไม่มีทางรักษาให้หายขาดได้ แต่การป้องกันและรักษาตามแนวทางนี้จะบรรเทาอาการปวดหัวให้ลดลง และความเจ็บปวดเกิดน้อยลง และอาจหายไปได้เองในที่สุด
ภาวะแทรกซ้อนของการปวดหัวแบบคลัสเตอร์
อาการปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์เป็นรูปแบบที่รุนแรงของความผิดปกติของการปวดศีรษะเบื้องต้น โดยมีลักษณะเป็นอาการปวดศีรษะที่เจ็บปวดอย่างยิ่งซ้ำแล้วซ้ำอีก ซึ่งมักจะเกิดขึ้นเป็นกลุ่มหรือแบบแผน แม้ว่าอาการปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์จะไม่ทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนในระยะยาว แต่ก็สามารถส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อคุณภาพชีวิตของบุคคลได้เนื่องจากความรุนแรงและความถี่ของอาการปวดศีรษะ อย่างไรก็ตาม มีภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นและปัญหาที่เกี่ยวข้องที่ควรทราบ:- ปัญหาสุขภาพทุติยภูมิ : ความเจ็บปวดอย่างรุนแรงและการหยุดชะงักที่เกิดจากอาการปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์สามารถนำไปสู่ปัญหาสุขภาพทุติยภูมิได้ ตัวอย่างเช่น สิ่งเหล่านี้อาจทำให้เกิดการรบกวนการนอนหลับ นำไปสู่การอดนอน ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตมากมาย
- ผลกระทบทางจิตวิทยา : ลักษณะเรื้อรังของอาการปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ ร่วมกับความเจ็บปวดแสนสาหัส สามารถนำไปสู่ความวิตกกังวล ซึมเศร้า และปัญหาทางจิตอื่นๆ ได้ การรับมือกับอาการดังกล่าวอาจเป็นเรื่องท้าทายทางอารมณ์ และความกลัวว่าจะเกิดการโจมตีครั้งต่อไปอาจเพิ่มภาระทางจิตได้
- การใช้ยามากเกินไป : เพื่อจัดการกับอาการปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ บุคคลอาจหันไปใช้ยาแก้ปวดบ่อยกว่าที่แนะนำ การใช้ยาบางชนิดมากเกินไปอาจทำให้เกิดอาการปวดศีรษะจากการใช้ยามากเกินไป ซึ่งเป็นโรคปวดศีรษะอีกประเภทหนึ่ง
- การใช้สารเสพติด : บางคนอาจหันไปหาแอลกอฮอล์หรือสารอื่นๆ เพื่อรับมือกับความเจ็บปวดและความทุกข์ทรมานที่เกิดจากอาการปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ สิ่งนี้สามารถนำไปสู่ปัญหาการใช้สารเสพติดและทำให้สุขภาพโดยรวมมีความซับซ้อนยิ่งขึ้น
- ผลกระทบต่อความสัมพันธ์และไลฟ์สไตล์ : อาการปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์อาจรบกวนชีวิตประจำวันและความสัมพันธ์ที่ตึงเครียด การโจมตีที่รุนแรงบ่อยครั้งอาจทำให้บุคคลพลาดงาน กิจกรรมทางสังคม และกิจกรรมอื่น ๆ ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพชีวิตโดยรวมของพวกเขา
- ผลข้างเคียงของการรักษา : ยาที่ใช้ป้องกันหรือรักษาอาการปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์อาจมีผลข้างเคียงที่ต้องได้รับการจัดการ สิ่งสำคัญคือแต่ละบุคคลจะต้องทำงานอย่างใกล้ชิดกับผู้ให้บริการด้านสุขภาพเพื่อค้นหาการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูงสุดโดยมีผลข้างเคียงน้อยที่สุด
- การบาดเจ็บทางร่างกาย : ความเจ็บปวดอย่างรุนแรงจากอาการปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์อาจนำไปสู่การบาดเจ็บทางร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากบุคคลนั้นไม่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยเมื่อมีการโจมตีเกิดขึ้น
- อาการปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์เรื้อรัง : บางคนอาจมีอาการปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์เรื้อรัง ซึ่งหมายความว่าพวกเขาจะมีอาการกำเริบตลอดทั้งปีโดยไม่มีระยะเวลาบรรเทาอาการ การจัดการนี้อาจเป็นเรื่องที่ท้าทายเป็นพิเศษและอาจต้องได้รับการรักษาพยาบาลอย่างต่อเนื่อง
Sources for our article:
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/cluster-headache/symptoms-causes/syc-20352080
- https://www.webmd.com/migraines-headaches/cluster-headaches
- https://www.nhs.uk/conditions/cluster-headaches/
- https://www.medicalnewstoday.com/articles/172387