ไอเรื้อรัง (Chronic Cough) : อาการ การรักษา สาเหตุ

อาการโดยภาพรวม

อาการไอเรื้อรัง (Chronic Cough) คือ อาการไอที่ติดต่อกันเป็นเวลา 8 สัปดาห์ขึ้นไป อาการไอเรื้อรังก็อาจมีสาเหตุมาจากน้ำมูกไหลลงคอ หรืออาการภูมิแพ้ มีเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่มีอาการไอเรื้อรังจากโรคมะเร็งหรือโรคปอดที่อันตรายถึงชีวิตได้ อาการไอเรื้อรังจะส่งผลกระทบชีวิตคุณมากมาย แม้เวลาในกลางคืน อาการไอเรื้อรังนั้นก็ทำให้ตื่นขึ้นมากลางดึก และทำให้ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันตามมา นั่นคือเหตุผลว่าทำไมคุณต้องพบแพทย์ เมื่อคุณไอเรื้อรังมากกว่า 3 สัปดาห์ บางครั้งอาการไอก็อาจจะก่อเกิดความรำคาญ แต่อาการไอก็มีประโยชน์อยู่ เมื่อคุณไอ คุณก็จะมีน้ำมูกและสิ่งแปลกปลอมออกมาจากระบบทางเดินหายใจ นอกจากนี้อาการไอนั้นยังตอบสนองต่อการอักเสบหรืออาการป่วยต่างๆได้ อาการไอนั้นมักจะมีช่วงเวลาสั้น ซึ่งอาจเกิดมาจากอาการหวัดหรือไข้ ซึ่งอาจจะไอเป็นเวลา 2-3 วัน หรือ 1 สัปดาห์ และอาการก็จะดีขึ้น เราอาจจะไม่พบอาการไอที่เป็นเวลาหลายสัปดาห์ หลายเดือนหรือแม้กระทั่งเป็นปีเท่าใดนัก เมื่อคุณมีอาการไอเรื้อรังโดยที่ไม่มีสาเหตุ อาจเป็นสัญญาณอันตรายของโรคบางอย่างได้ ไอเรื้อรัง (Chronic Cough)

สาเหตุอาการไอเรื้อรัง

สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการไอเรื้อรัง มีดังนี้: สาเหตุที่พบได้น้อยในอาการไอเรื้อรัง ได้แก่:
  • โรคหลอดลมโป่งพองที่เกิดจากทางเดินหายใจเกิดความเสียหาย ทำให้ผนังหลอดลมในปอดหนาและอักเสบ
  • โรคหลอดลมฝอยอักเสบ เกิดจากการติดเชื้อและอักเสบของหลอดลมฝอย เส้นเล็กๆที่อยู่ในปอด
  • โรคหลอดลมพอง เป็นอาการที่ปอดและอวัยวะภายในอื่นๆเสียหาย เนื่องจากการที่สารคัดหลั่งในร่างกายมีความเข้มข้นและหนา
  • โรคเยื่อหุ้มปอดอักเสบ ซึ่งเกิดจากการที่เยื่อหุ้มปอดนั้นเกิดมีบาดแผลขึ้นมา
  • โรคหัวใจล้มเหลว
  • โรคมะเร็งปอด
  • โรคไอกรน
  • โรคซาร์คอยโดซิส ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มของเซลล์อักเสบเรียกว่า granulomas ที่เกิดขึ้นในปอดและส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย

อาการอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับไอเรื้อรัง

นอกจากอาการไอแล้ว คุณอาจจะมีอาการอื่นๆร่วมด้วย ซึ่งอาจจะขึ้นอยู่กับแต่ละคน อาการที่เห็นได้ร่วมกับการไอเรื้อรังดังนี้:
  • รู้สึกถึงการที่มีของเหลวไหลเข้าไปหลังคอ
  • โรคกรดไหลย้อน
  • เสียงแหบ
  • น้ำมูกไหล
  • อาการเจ็บคอ
  • อาการคัดจมูก
  • หายใจถี่
อาการไอเรื้อรังยังสามารถทำให้เกิดอาการเหล่านี้ได้เช่น: อาการที่รุนแรงมากแต่พบได้น้อย แต่ควรปรึกษาแพทย์หากมีอาการดังนี้:
  • อาการไอเป็นเลือด
  • มีเหงื่ออกตอนกลางคืน
  • มีไข้สูง
  • หายใจไม่ออก
  • น้ำหนักลดลงโดยที่ไม่ได้ออกกำลังกาย
  • มีอาการเจ็บหน้าอกเป็นเวลานาน

การรักษาอาการไอเรื้อรัง

การรักษาอาการไอเรื้อรัง ก็ต้องขึ้นอยู่กับสาเหตุอาการไอของคุณ:

การติดเชื้อ

วิธีแก้ไอเรื้อรังโดยการใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษาโรคปอด หรือ การติดเชื้อแบคทีเรียชนิดอื่น.

โรคหอบหืด

ยาที่ใช้รักษาโรคหอบหืดอาจรวมถึงสเตียรอยด์และยาขยายหลอดลม ซึ่งต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น ยาเหล่านี้ช่วยลดอาการบวมในทางเดินหายใจ 

โรคกรดไหลย้อน

คุณจะรับประทานยาเพื่อต่อต้าน ลด หรือหยุดการผลิตกรดขึ้นมา นอกจากยาแก้กรดไหลย้อน ยังมียาตัวอื่นดังนี้:
  • ยาลดกรด
  • ยาต้านตัวรัยH2 
  • ยาลดการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร
คุณสามารถหาซื้อยาเหล่านี้มารับประทานได้ในร้านขายยา วิธีแก้ไอเรื้อรังด้วยวิธีอื่นๆ ควรปรึกษาแพทย์

น้ำมูกไหลลงคอ

ยาหดหลอดเลือด สามารถทำให้สารคัดหลั่งที่อยู่ในร่างกายนั้นแห้งได้ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการไอเรื้องรังมีเสมหะและอาการแพ้นั้นหายไปด้วย และลดอาการบวมในทางเดินหายใจของคุณอีกด้วย

โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง

วิธีแก้ไอเรื้อรังโดยการใช้ยาขยายหลอดลม ใช้ในการรักษาโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังและปอดอุดกั้นเรื้อรังและยาในรูปแบบอื่นๆ อีกมากมาย

อาหารที่ควรรับประทานเมื่อกำลังไอ

น้ำผึ้งหนึ่งช้อนเต็ม

น้ำผึ้งซึ่งเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาที่บ้านที่ดีมากที่สุด (และราคาไม่แพง) สำหรับอาการไอแห้งในเวลากลางคืน น้ำผึ้งจัดอยู่ในประเภทดีมัลเซนท์หรือของเหลวข้นที่เคลือบคอ ช่วยบรรเทาอาการระคายเคือง   มีสองสิ่งที่ควรทราบ ข้อแรก: ห้ามให้เด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี กินน้ำผึ้ง เนื่องจากน้ำผึ้งมีสปอร์ของโรคโบทูลิซึมซึ่งสามารถปล่อยสารพิษเข้าสู่ร่างกายหลังจากกลืนเข้าไป เนื่องจากทารก ยัง ไม่มีระบบภูมิคุ้มกันที่พัฒนาเต็มที่พวกเขาจึงไม่สามารถต่อสู้กับสารพิษนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และอาจทำให้เกิดอาการป่วยร้ายแรงได้ 

ซุปไก่ 

 ซุปไก่ คุณอาจคิดว่าซุปไก่เป็นอาหารที่ช่วยบรรเทาอาการเจ็บป่วย แต่จริงๆ แล้วมีประโยชน์จริงๆ ที่จะจิบเมื่อคุณมีอาการไอ น้ำซุปให้ของเหลว อิเล็กโทรไลต์ และกรดอะมิโนที่ช่วยให้คุณไม่ขาดน้ำ แต่ไม่ใช่แค่นั้น ซุปที่มีน้ำซุปเป็นส่วนประกอบหลักช่วยให้เสมหะในทรวงอกและปอดของคุณบางลง คลายความแออัด และต่อสู้กับ การอักเสบในลำคอ สองสิ่งที่สามารถช่วยบรรเทาอาการไอได้ ไก่ก็มีประโยชน์ในตัวเองเช่นกัน ไก่มีกรดอะมิโนที่เรียกว่าซิสเทอีน ซึ่งช่วยให้เสมหะในปอดบางลงทำให้ขับออกได้ง่ายขึ้น น้ำมูกน้อยลงอาจหมายถึงการไอน้อยลง เนื่องจากการไอมักถูกกระตุ้นเพื่อกำจัดเสมหะที่ติดอยู่ในอกหรือปอด ไก่ยังมีโปรตีนไร้มันสูง ซึ่งสามารถช่วยให้คุณมีพลังงานเพิ่มเติมที่คุณต้องการเมื่อคุณป่วย

สถิติผู้ป่วยอาการไอเรื้อรังในประเทศไทย

สถิตินี้มาจาก เว็บไซต์voiceออนไลน์ จากการสำรวจว่าหากมีอาการไอเรื้อรังและน้ำหนักลด อาจเป็นวัณโรคได้ จากการสำรวจพบว่าปัญหาวัณโรคของประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่อง ในปี 2560-2561 ต้องคัดกรองค้นหาในกลุ่มเสี่ยง ประมาณ 5 ล้านคนอาทิ ผู้ต้องขัง ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้สัมผัสร่วมบ้าน ผู้สูงอายุที่มีโรค ผู้ป่วยเบาหวาน แรงงานข้ามชาติ บุคลากรสาธารณสุข พบผู้ป่วยวัณโรค 22,784 ราย และส่งต่อป่วยเข้าสู่ระบบการรักษา สำหรับในปี 2562 ตั้งเป้าหมายลดผู้ป่วยรายใหม่ให้เหลือ 88 คนต่อแสนประชากรในปี 2564 จากที่พบ 156 คนต่อแสนประชากรในปี 2560  

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/chronic-cough/diagnosis-treatment/drc-20351580
  • https://www.webmd.com/cold-and-flu/features/stubborn-cough#1
  • https://www.lung.org/lung-health-diseases/lung-disease-lookup/chronic-cough/symptoms-diagnosis

เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด