โครเมียม (Chromium) เป็นแร่ธาตุสำคัญที่สามารถเพิ่มความไวต่ออินซูลินและทำให้การเผาผลาญโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมันดีขึ้น
โครเมียม คือ ธาตุโลหะที่เราต้องการในปริมาณที่น้อยมาก ๆ
ข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณธาตุโครเมียมที่ร่างกายต้องการนั้นมีอยู่อย่างจำกัด เพราะงานวิจัยที่ผ่าน ๆ มาได้ผลลัพท์ที่ขัดแย้งกัน
ผลลัพท์ล่าสุดแสดงให้เห็นว่าอาหารเสริมโครเมียมพิโคลิเนตอาจมีประโยชน์ต่อบางคน แต่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้รับประทานในรูปแบบของอาหารมากกว่าอาหารเสริม
ค่าปริมาณอาหารทีเพียงพอในแต่ละวันของโครเมียมสำหรับเด็กอายุ 9 ปี และมากกว่า คือปริมาณ 21-25 ไมโครกรัมต่อวัน สำหรับผู้หญิง และ 25-35 มิลลิกรัมต่อวันสำหรับผู้ชาย
สำหรับทารกและเด็ก มีปริมาณที่แนะนำดังนี้:
- อายุ 6 เดือน: 0.2 mcg ต่อวัน
- อายุ 7-12 เดือน: 5.5 mcg ต่อวัน
- อายุ 1-3 ปี: 11 mcg ต่อวัน
- อายุ 4-8 ปี: 15 mcg ต่อวัน
อาหารที่มีโครเมียมสูง
แหล่งของโครเมียมที่ดีที่สุดคือ บร็อคโคลี่ ตับ และบรีเวอร์ยีสต์ มันฝรั่ง ธัญพืช อาหารทะเล และเนื้อก็มีโครเมียมเช่นกัน เหล่านี้คือแหล่งที่ดีของโครเมียม:- บร็อคโคลี่: 1 ถ้วยมี 22 mcg
- น้ำองุ่น: 1 ถ้วยมี 8 mcg
- ส่วนอกของไก่งวง: 3 ออนซ์มี 2 mcg
- มัฟฟินอังกฤษ: โฮลวีทมัฟฟิน 1 ชิ้นมี 4 mcg
- มันฝรั่งบด: 1 ถ้วยมี 3 mcg
- ถั่วเขียว: 1 ถ้วยมี 2 mcg
- ไวน์เเดง: 5 ออนซ์มี 1-13 mcg
ภาวะขาดธาตุโครเมียม
ประโยชน์ของโครเมียมที่มีต่อร่างกายนั้นยังไม่แน่ชัด และรายงานเกี่ยวกับภาวะขาดโครเมียมในมนุษย์นั้นมีน้อย แต่ที่สำคัญคือ ภาวะขาดโครเมียมนั้นสามารถก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพบางประการได้ ซึ่งได้แก่:- ภาวะทนต่อน้ำตาลบกพร่อง ทำให้การควบคุมน้ำตาลในเลือดของผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ลดลง
- ประสิทธิภาพการควบคุมคอเลสเตอรอลลดลง ทำให้มีโอกาศสูงที่จะเกิด โรคหลอดเลือดแดงแข็ง และโรคหัวใจ
ประโยชน์และความเสี่ยงของอาการเสริมโครเมียม
โครเมียมไพโคลิเนทเป็นอาหารเสริมที่ได้รับความนิยมสำหรับผู้ที่ต้องการเพิ่มกล้ามเนื้อหรือลดน้ำหนัก นักเพาะกายและนักกีฬาบางคนใช้มันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการออกกำลังกายและเพิ่มพลังงาน การศึกษาในช่วงแรกพบว่าอาหารเสริมโครเมียมอาจช่วยลดน้ำหนักและช่วยเพิ่มมวลกล้ามเนื้อได้ การศึกษายังไม่มีผลสรุป แต่ล่าสุดได้แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาด้านความเติบโตของกล้ามเนื้อและมวลไขมันที่ลดลง ในส่วนเพิ่มเติม จำนวนของน้ำหนักที่ลดลงไปยังไม่ถือว่าคุ้มค่านัก ผู้ที่ใช้อาหารเสริมนี้ยังมีอาการข้างเคียง เช่น ถ่ายเป็นน้ำ วิงเวียนศีรษะ ปวดหัว และลมพิษ งานวิจัยในอดีตไม่สามารถรับรองว่าอาหารเสริมโครเมียมมีประโยชน์ต่อผู้ที่มีภาวะทนต่อน้ำตาลบกพร่อง และเบาหวานชนิดที่ 2 แต่การศึกษาล่าสุดกล่าวว่ามันช่วยเกี่ยวกับการจัดการกับโรคเบาหวาน การลดลงของระดับไขมัน เพิ่มโอกาศการลดน้ำหนัก และพัฒนาองค์ประกอบของร่างกาย ในการศึกษาหนึ่ง ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 96 คน รับประทาน โครเมียมพิโคลิเนทวันละ 400 มิลลิกรัม 200 มิลลิกรัม หรือรับประทานยาหลอก ผู้ที่รับประทาน 400 มิลลิกรัมเป็นประจำ พบการพัฒนาที่ดีขึ้นของการทำงานของเยื่อบุผนังหลอดเลือด ระดับไขมันในเลือด และดัชนีชี้วัดทางชีวภาพของภาวะเครียดออกซิเดชั่น โครเมียมพิโคลิเนทมีประโยชน์ต่อผู้ที่เป็นเบาหวานประเภทที่ 2 การตีพิมพ์ในปี 2017 ของ Nature แนะนำว่า โครเมียมพิโคลิเนทรวมกับยาลดไขมันกลุ่มสเตติน อาจช่วยลดอาการของโรคหลอดเลือดแดงแข็งในหนู หากเป็นเช่นนั้นแล้ว อาหารเสริมโครเมียมก็สามารถทำให้สุขภาพของหัวใจดีขึ้นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยเบาหวาน มีงานวิจัยที่สนับสนุนการตีพิมพ์นี้ นักวิจัยให้ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินแต่มีสุขภาพดี 19 คนดื่มกรดอะมิโนและโครเมียม พิโคลิเนทในตอนเช้า ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มในตอนเช้ามีระดับน้ำตาลในเลือดลดลง เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้ดื่มปฏิกริยาต่อกันของยา
อาหารเสริมก็เหมือนกับยา พวกมันสามารถมีปฏิกริยากับสารอื่น ๆ ได้ และอาหารเสริมที่มากไปก็ทำให้เป็นอันตรายได้ โครเมียม พิโคลิเนทรบกวนการดูดซึมของยาไทรอยด์ ยาไทรอยด์ควรจะถูกรับประทานก่อนอาหารเสริมโครเมียมอย่างน้อย 3-4 ชั่วโมง อาหารเสริมโครเมียมทำปฏิกริยากับยาลดกรด สเตียรอยด์ corticosteroids สารต้านตัวรับเอช 2 กลุ่มยา proton pump inhibitors เบต้าบล็อกเกอร์ อินซูลิน วิตามินบี 3 ยาต้านการอักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ และ prostaglandin inhibitors ผู้ที่ใช้ยาเหล่านี้ และผู้ที่เป็นโรคเบาหวานควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานอาหารเสริมโครเมียม เพราะอาจจะไปทำปฏิกริยากับยาที่ใช้อยู่ประจำได้ อาหารเสริมโครเมียมไม่ควรรับประทานระหว่างตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร และเด็กไม่ควรรับประทานข้อควรระวังเกี่ยวกับอาหารเสริม
อาหารที่รับประทานเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการป้องกันโรคและมีสุขภาพที่ดี การศึกษาแสดงให้เห็นว่าสารอาหารจากอาหารเสริมนั้นจะไม่สามารถให้ประโยชน์ต่อร่างกายได้เหมือนการรับประทานอาหารอย่างครบถ้วน ไม่ได้มีเพียงสารอาหารชนิดเดียวที่ทำให้อาหารบางชนิดสำคัญ แต่เป็นการทำงานร่วมกันของสารอาหารต่าง ๆ ภาวะขาดโครเมียมนั้นพบได้น้อย และการศึกษาต่าง ๆ ก็ยังไม่รับรองประโยชน์ของการรับประทานอาหารเสริมนี้ เพราะฉะนั้น การได้รับโครเมียมจากอาหารจึงเป็นสิ่งที่ดีกว่า ยังไม่มีการรายงานเกี่ยวกับโครเมียมเป็นพิษจากการรับประทานอาหาร ฉะนั้น ปริมาณสูงสุดที่รับประทานได้จึงไม่ได้ถูกกำหนดไว้ อย่างไรก็ตาม อาหารเสริมโครเมียมที่เยอะมากสามารถทำให้เกิดปัญหากับกระเพาะอาหาร ทำให้น้ำตาลในเลือดลดลง และเกิดความเสียหายต่อไต หรือตับได้ มันจึงปลอดภัยกว่าที่จะได้รับสารอาหารจากอาหาร และปรึกษาเรื่องการใช้อาหารเสริมกับแพทย์นี่คือที่มาในบทความของเรา
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น