หัวไชเท้า
หัวผักกาด หรือ ไชเท้า มีถิ่นกำเนิดที่ประเทศจีน โดยทั่วไปไชเท้ามีอยู่ด้วยกันหลายสี ทั้งสีขาว สีแดง สีม่วง และสีชมพู แต่ละสายพันธุ์จะมีขนาดที่แตกต่างกัน หัวไชเท้าถือเป็นพืชที่มีฤทธิ์เป็นยาเย็น แต่มีรสเผ็ดร้อน ตามตำราแพทย์จีนจึงถือว่าผักชนิดนี้มีประโยชน์อย่างมากต่อการทำงานของปอด กระเพาะอาหาร ลำไส้ใหญ่ สามารถช่วยดับกระหายคลายร้อน แก้อาการไอเรื้อรัง ขับเสมหะ ช่วยการทำงานของระบบย่อยอาหาร แก้ปัญหาย่อยยาก ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องผูก ให้ดีขึ้น สามารถรับประทานได้เมื่อปรุงสุกเป็นอาหาร หรือรับประทานดิบก็ได้ แต่การรับประทานแบบดิบ ๆ จะทำให้ร่างกายได้รับประโยชน์ต่อร่างกายมากกว่าลักษณะทั่วไปของหัวไชเท้า
หัวผักกาดขาวมีลักษณะเป็นรูปกรวยยาว มีสีขาวไปจนถึงสีแดง ปลายของรากหรือหัวมักมีรากฝอยขนาดเล็กแทงดิ่งลงไปด้านล่าง ลำต้นของหัวไชเท้ามีขนาดสั้น กลม และเป็นข้อสั้น ๆ ไม่มีกิ่งก้าน ซึ่งจะโผล่พ้นผืนดินออกมา ใบของหัวไชเท้ามีลักษณะเป็นใบเดี่ยว แทงออกทางข้อของลำต้น ขอบใบมีทั้งแบบเรียบ และโค้งแบบเว้าลึก หัวไชเท้าเริ่มถูกนำไปปลูกตามประเทศต่าง ๆ จากการอพยพย้ายถิ่นฐานของชาวจีน ชื่อเรียกของพืชชนิดนี้ก็จะแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น อย่างภาษาอังกฤษจะเรียกหัวไชเท้าว่า Chinese radish และมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Raphanus sativus L. และเป็นผักกินหัวมากกว่าส่วนอื่น ๆ ของพืชชนิดนี้คุณค่าทางโภชนาการของหัวไชเท้า
คุณค่าทางโภชนาการของหัวไชเท้าหรือผักกาดหัว ปริมาณ 100 กรัม ได้แก่- พลังงาน 22 กิโลแคลอรี
- น้ำ 93.7 กรัม
- โปรตีน 0.8 กรัม
- คาร์โบไฮเดรต 4.8 กรัม
- ไฟเบอร์ 0.7 กรัม
- เถ้า 0.7 กรัม
- แคลเซียม 43 มิลลิกรัม
- ฟอสฟอรัส 20 มิลลิกรัม
- ไทอะมีน 0.01 มิลลิกรัม
- ไรโบฟลาวิน 0.02 มิลลิกรัม
- ไนอะซิน 0.5 มิลลิกรัม
- วิตามินซี 26 มิลลิกรัม
สรรพคุณหัวไชเท้า
ลดความดันโลหิต การรับประทานหัวไชเท้าจะช่วยรักษาภาวะความดันโลหิตสูงได้ คาดว่าเนื่องมาจากในหัวไชเท้ามีสารต้านอนุมูลอิสระอย่างซาโปนิน ฟลาโวนอยด์ แทนนิน ฟีนอล และอัลคาลอยด์ที่สามารถช่วยให้ระดับความดันโลหิต และอัตราการเต้นของหัวใจลดต่ำลงได้ พบว่าสารสกัดจากหัวไชเท้ามีสรรพคุณช่วยต่อต้านโรคหลอดเลือดหัวใจ และช่วยลดระดับความดันโลหิตได้ ดีต่อสุขภาพตับ หัวไชเท้าช่วยเสริมสุขภาพของตับ พบว่าสารสกัดจากหัวไชเท้ามีฤทธิ์ช่วยปกป้องตับจากสารที่เป็นพิษต่าง ๆ และสารสกัดหัวไชเท้ายังช่วยลดความเสียหายของตับที่เกิดจากสารพิษได้อีกด้วย ช่วยรักษาโรคไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ จึงสามารถป้องกันโรคที่เกี่ยวข้องกับตับได้หลายชนิด ต่อต้านการเกิดมะเร็ง หัวไชเท้ามีสารประกอบบางชนิดที่เมื่อผสมกับน้ำแล้วจะทำปฏิกิริยากลายเป็นสารไอโซไทโอไซยาเนต (Isothiocyanate) มีคุณสมบัติช่วยกำจัดสารบางชนืดในร่างกายที่เป็นต้นเหตุของการเกิดมะเร็ง ช่วยป้องกันการเจริญเติบโตของเนื้องอก ประโยชน์ของหัวไชเท้าต้านทานการเกิดมะเร็งจึงเป็นที่กล่าวถึงกันมากขึ้น โดยพบว่าสารสกัดจากส่วนรากของหัวไชเท้ามีฤทธิ์ยับยั้ง และเปลี่ยนแปลงกระบวนการก่อเซลล์มะเร็งของยีน และยังยับยั้งให้เซลล์มะเร็งตายได้ในที่สุด ช่วยลดไขมันในเลือด หัวไชเท้าสามารถรักษาภาวะไขมันในเลือดสูงได้ ในประเทศจีนมีการนำหัวไชเท้ามาแก้ปัญหาไขมันในเลือดสูงมานานแล้ว และมีงานวิจัยสนับสนุนว่าน้ำหัวไชเท้าช่วยป้องกันการเกิดนิ่วในถุงน้ำดี อันเนื่องมาจากระดับคอเลสเตอรอลลดน้อยลงได้ รวมทั้งระดับไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ด้วย และหัวไชเท้ายังช่วยเพิ่มระดับไขมันชนิดดีได้ด้วย รักษาแผลในกระเพาะอาหาร พบว่าหัวไชเท้ามีคุณสมบัติต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ ช่วยบรรเทาและป้องกันไม่ให้อาการแผลในกระเพาะอาหารรุนแรงมากขึ้น รักษาริดสีดวงทวาร แพทย์ทางเลือกใช้หัวไชเท้าเป็นหนึ่งในส่วนประกอบหลักที่นำมาปรุงเป็นยารับประทาน ซึ่งสูตรของยาต้องปรุงอย่างระมัดระวัง และคำนึงถึงความปลอดภัยด้วย ผู้ป่วยควรใช้อย่างถูกวิธี รู้จักดูแลตนเองในเบื้องต้น ด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ดื่มน้ำให้เพียงพอ แช่น้ำอุ่นหรือรับประทานยาเพื่อบรรเทาอาการปวด แต่หากอาการรุนแรงควรไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาหัวไชเท้า ประโยชน์ด้านอื่น ๆ
หัวผักกาดขาวเป็นผักที่หลาย ๆ ประเทศนิยมนำมาทำประกอบเป็นเมนูอาหารชนิดต่าง ๆ เช่น ต้มห้วไชเท้า แกงส้ม ต้มจับฉ่าย ขนมหัวผักกาด สลัดหัวผักกาด ยำหัวผักกาด ไชเท้าดอง หรือไชเท้าขูดฝอยเป็นเครื่องเคียง ในผู้ที่อยู่ในวัยทองเชื่อว่าหัวไชเท้าจะช่วยให้ผิวพรรณสดใสเปล่งปลั่ง มีน้ำมีนวลแลดูอ่อนเยาว์ คั้นเป็นเครื่องดื่มเพื่อดับกระหาย การนำหัวไชเท้าสดมาคั้นเอาแต่น้ำ เติมน้ำขิงเล็กน้อย ผสมกับน้ำตาลทรายขาวพอให้มีรสหวาน แล้วนำไปต้มให้เดือด นำมาจิบเป็นเครื่องดื่มได้ รักษาฝ้า กระ ด้วยครีมหัวไชเท้า วิธีทําครีมโดยล้างหัวไชเท้าให้สะอาด ปอกเปลือกแล้วหั่นบาง ๆ ก่อนนำมาปั่นให้ละเอียดแล้วเติมน้ำมะนาว 1 ช้อนแกง แล้วปั่นในโถจนเข้ากัน นำครีมที่ได้มาพอกหน้าทิ้งไว้ประมาณ 15 นาทีแล้วล้างออก ทำเป็นประจำจะช่วยลดฝ้า และกระให้จางลงได้ พอกหน้าให้ผิวขาวเนียน เริ่มจากนำหัวไชเท้ามาล้างให้สะอาดโดยไม่ต้องปอกเปลือก แล้วหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ประมาณ 2 ช้อนโต๊ะใส่ลงไปในโถปั่น เติมจมูกข้าวสาลีลงไป 1 ช้อนโต๊ะ เติมน้ำผึ้งอีก 1 ช้อนโต๊ะ แล้วปั่นจนละเอียด นำมาพอกใบหน้า หรือพอกตามตัวเป็นเวลาประมาณ 15 นาทีแล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด ทำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง (บางคนเมื่อใช้ในช่วงแรก ๆ อาจทำให้เกิดอาการแสบแดงบ้างเล็กน้อย แต่เมื่อทำไปสักระยะอาการแสบแดงจะหายไป)หัวไชเท้าเมนูแนะนำ
หัวไชเท้า เป็นผักอเนกประสงค์ที่ใช้ในอาหารเอเชียหลากหลายชนิด และสามารถนำไปประกอบในอาหารได้หลากหลายประเภท ต่อไปนี้เป็นเมนูแนะนำของหัวไชเท้า- สลัดหัวไชเท้า:ขูดหรือหั่นหัวไชเท้าแล้วคลุกกับผักอื่นๆ เช่น แครอท แตงกวา และพริกหยวก เติมน้ำสลัดที่ทำจากน้ำส้มสายชู ซีอิ๊ว น้ำมันงา และน้ำตาลเล็กน้อยเพื่อความสดชื่นของสลัด
- หัวไชเท้าดอง:ทำหัวไชเท้าดองโดยหั่นเป็นชิ้นบางๆ หรือก้านไม้ขีด แล้วหมักกับน้ำส้มสายชู น้ำตาล และเกลือ ปล่อยให้ดองสักสองสามชั่วโมงหรือข้ามคืน ซึ่งเข้ากันได้ดีกับอาหารจานต่างๆ หรือเป็นท็อปปิ้งสำหรับแซนวิชหรือแรป
- ผัดกับหัวไชเท้า:เพิ่มหัวไชเท้า หั่นบาง ๆ หรือลูกบาศก์ลงในจานผัด เข้ากันได้ดีกับผักอื่นๆ เต้าหู้ ไก่ หรือกุ้ง และดูดซับรสชาติจากซอสหรือเครื่องปรุงรส
- ซุปหัวไชเท้า:ใช้หัวไชเท้าในซุปหรือน้ำซุป เคี่ยวหัวไชเท้ากับส่วนผสมอื่นๆ เช่น มิโซะ ผัก และบางทีอาจเป็นโปรตีน (เต้าหู้หรือเนื้อสัตว์) มีคุณค่าทางโภชนาการ
- หัวไชเท้าตุ๋นหรือนึ่ง:ปรุงหัวไชเท้าในน้ำซุปที่มีรสชาติหรือนึ่งกับส่วนผสมอื่น ๆ สามารถเสิร์ฟเป็นกับข้าวควบคู่ไปกับอาหารจานหลักได้
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น