พริก (Capsicum annuum) เป็นผลของพืชในกลุ่มสปีชีส์ Capsicum มีรสชาติเด่น คือ เผ็ด ร้อน
พริกอยู่ในตระกูล Nightshade ซึ่งอยู่ในจำพวกเดียวกันกับพริกหวานและมะเขือเทศ พริกมีหลายสายพันธุ์ เช่น พริกป่นและพริกฮาลาปิโน (jalapeño)
พริกส่วนใหญ่ใช้เป็นเครื่องเทศ สามารถปรุงให้สุก ปรุงแห้ง หรือทำเป็นผงได้ พริกชี้ฟ้าแดงชนิดผง เรียกอีกอย่างว่า ผงปาปริกา (Paprika)
สารแคปไซซิน (Capsaicin) เป็นสารประกอบสำคัญทางชีวภาพที่สำคัญของพริก ซึ่งทำให้พริกมีรสชาติที่ไม่เหมือนใคร กลิ่นฉุน และมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย
บทความนี้จะบอกทุกสิ่งที่คุณจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับพริก
ข้อเท็จจริงทางโภชนาการ
ข้อมูลทางโภชนาการของพริกแดงดิบ 1 ช้อนโต๊ะ (15 กรัม) :- แคลอรี่: 6
- น้ำร้อยละ 88
- โปรตีน: 0.3 กรัม
- คาร์โบไฮเดรต: 1.3 กรัม
- น้ำตาล: 0.8 กรัม
- ไฟเบอร์: 0.2 กรัม
- ไขมัน: 0.1 กรัม
วิตามินและแร่ธาตุ (Vitamins and Minerals)
พริกอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากพริกถูกใช้ในปริมาณเล็กน้อยเท่านั้น การบริโภคในแต่ละวันถือว่าน้อยมาก ผลไม้รสเผ็ดอย่างพริกมีประโยชน์ดังนี้- วิตามินซี (Vitamin C) พริกมีสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูงมาก ซึ่งมีความสำคัญต่อการรักษาบาดแผล และการทำงานของภูมิคุ้มกัน
- วิตามินบี 6 (Vitamin B6) พริกถือว่าอุดมไปด้วยวิตามิน B6 มีบทบาทช่วยในการเผาผลาญพลังงาน
- วิตามิน K1 (Vitamin K1) หรือที่เรียกว่า Phylloquinone วิตามิน K1 เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการแข็งตัวของเลือด เสริมสร้างกระดูก และช่วยให้ไตแข็งแรง
- โพแทสเซียม แร่ธาตุอาหารที่จำเป็น ซึ่งทำหน้าที่ได้หลากหลาย โพแทสเซียมอาจช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจได้ เมื่อบริโภคในปริมาณที่เพียงพอ
- ทองแดง (Copper) บ่อยครั้งที่เรามักขาดอาหารตะวันตก ทองแดงเป็นสารอาหารที่จำเป็นซึ่งพบในอาหารตะวันตก มีความสำคัญต่อกระดูกและเซลล์ประสาท
- วิตามินเอ (Vitamin A) พริกแดงมีเบต้าแคโรทีน (Beta carotene)สูง ซึ่งร่างกายจะเปลี่ยนเป็นวิตามินเอ
สารประกอบอื่นๆที่พบในพริก
พริกเป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยแคปไซซิน (Capsaicin) ที่มีรสเผ็ดร้อน นอกจากนี้ยังมีแคโรทีนอยด์ (Carotenoids) ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูงมาก ซึ่งมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย สารประกอบอื่นๆที่ออกฤทธิ์ทางชีวภาพในพริก มีดังนี้- แคปซาทิน (Capsanthin) เป็นสารแคโรทีนอยด์หลักในพริกแดง – มากถึงร้อยละ 50 ของปริมาณแคโรทีนอยด์ทั้งหมดที่พบในร่างกาย – แคปซาทินมีหน้าที่ทำให้พริกมีสีแดง มีประสิทธิภาพและคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ ที่อาจต่อสู้กับมะเร็งได้
- วิโอแซนธิน (Violaxanthin) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระแคโรทีนอยด์ที่สำคัญในพริกสีเหลือง วิโอแซนธินคิดเป็นร้อยละ 37–68 ของปริมาณแคโรทีนอยด์ทั้งหมด
- ลูทีน(Lutein) พบมากที่สุดในพริกเขียว(พริกที่ยังไม่สุก) ระดับของลูทีนจะลดลงเมื่อสุก การบริโภคลูทีนสูงจะทำให้สุขภาพตาที่ดีขึ้น
- แคปไซซิน (Capsaicin) หนึ่งในสารประกอบของพริก ที่ได้รับการศึกษามากที่สุด แคปไซซินมีหน้าที่ทำให้พริกมีรสชาติที่ฉุน (ร้อน) และมีผลดีต่อสุขภาพมากมาย
- กรดไซนาปิค (Sinapic acid) หรือที่เรียกว่ากรดไซนาปินิก (Sinapinic acid) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายประการ
- กรดเฟรูลิก(Ferulic acid) เช่นเดียวกับกรดไซนาปิค กรดเฟรูลิกเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ที่อาจช่วยป้องกันโรคเรื้อรังต่างๆ
พริกมีประโยชน์อย่างไร สรรพคุณของพริกคืออะไร
แม้จะมีรสชาติเผ็ดร้อน แต่พริกก็ถือเป็นเครื่องเทศที่ดีต่อสุขภาพมานานแล้วบรรเทาอาการปวด
แคปไซซินซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพหลักในพริก มีคุณสมบัติพิเศษบางประการ สารนี้จะจับตัวกับตัวรับความเจ็บปวด (pain receptors) ซึ่งเป็นปลายประสาทที่รับรู้ความเจ็บปวด สารนี้ก่อให้เกิดความรู้สึกแสบร้อน แต่จริงๆแล้วไม่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บจากการไหม้ ถึงกระนั้นการบริโภคพริก (หรือแคปไซซิน) ในปริมาณมาก อาจทำให้ตัวรับความเจ็บปวดของคุณลดลง เมื่อเวลาผ่านไปอาจทำให้ความสามารถในการรับรู้ถึงรสเผ็ดร้อนของพริกลดลงด้วย นอกจากนี้ยังทำให้ความรู้สึกเจ็บปวดในรูปแบบอื่นลดลงด้วย เช่นความรู้สึกแสบร้อนกลางอก ที่เกิดจากกรดไหลย้อน ผลการศึกษาพบว่าเมื่อได้รับพริกสีแดง 2.5 กรัมทุกวัน ในคนที่มีอาการแสบร้อนกลางอก พบว่ามีความเจ็บปวดมากขึ้นใน 5 สัปดาห์แรกของการรักษา แต่มีอาการดีขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป ยังมีการศึกษาวิจัยขนาดเล็กที่ใช้เวลา 6 สัปดาห์ สนับสนุนด้วย ในการศึกษาแสดงให้เห็นว่า การกินพริก 3 กรัมในแต่ละวัน สามารถลดอาการแสบร้อนกลางอกในผู้ที่มีโรคกรดไหลย้อนได้ มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งตั้งข้อสังเกตจากงานวิจัยข้างต้น พบว่าอาการแสบร้อนกลับมาอีก 1–3 วันหลังจากหยุดการบริโภคแคปไซซินในพริกการลดน้ำหนัก
โรคอ้วนเป็นภาวะสุขภาพที่ร้ายแรง ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยเรื้อรังหลายอย่างเช่น โรคหัวใจและโรคเบาหวาน มีหลักฐานบางอย่างที่แสดงให้เห็นว่า แคปไซซินสามารถส่งเสริมการลดน้ำหนักได้ โดยการลดความอยากอาหาร และเพิ่มการเผาผลาญไขมัน การศึกษาแสดงให้เห็นว่า การบริโภคพริกสีแดง 10 กรัม สามารถเพิ่มการเผาผลาญไขมันทั้งในชายและหญิงอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ แคปไซซินยังอาจช่วยลดบริมาณแคลอรี่ที่บริโภคเข้าไปในแต่ละวัน การศึกษาในคนที่กินพริกก่อนมื้ออาหารเป็นประจำ 24 คน พบว่า แคลอรี่ที่กินเข้าไปในอาหารแต่ละมื้อ มีปริมาณลดลง แต่การศึกษาอื่น แสดงให้เห็นว่ามีการลดลงของความอยากอาหาร และการบริโภคแคลอรี่ในผู้ที่ไม่ได้มีการกินพริกอย่างมีนัยสำคัญ ไม่ใช่ทุกการศึกษาที่พบว่าพริกมีประโยชน์ต่อสุขภาพ การศึกษาอื่นๆยังไม่เห็นประโยชน์ของพริกในการควบคุมแคลอรี่หรือการเผาผลาญไขมัน แม้จะมีหลักฐานทั้งทางดีและไม่ดีในการบริโภคพริก แต่ที่ปรากฏแน่ชัดคือการบริโภคพริกแดงเป็นประจำหรืออาหารเสริมที่มีสารแคปไซซินช่วยลดน้ำหนักได้ เมื่อทำร่วมกับการปรับเปลี่ยนการดำเนินชีวิตเพื่อสุขภาพอื่นๆ สรุป พริกมีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายประการ อาจส่งเสริมการลดน้ำหนัก เมื่อทำร่วมกับการปรับเปลี่ยนการดำเนินชีวิตเพื่อสุขภาพอื่นๆ และอาจช่วยบรรเทาอาการแสบร้อน ที่เกิดจากกรดไหลย้อนได้ ข้อเสียที่อาจเกิดขึ้น พริกอาจมีผลข้างเคียงในบางคน และหลายๆคนก็ไม่ชอบความรู้สึกแสบร้อนที่เกิดจากพริกความรู้สึกแสบร้อน
พริกเป็นที่รู้จักกันดีว่ามีรสเผ็ดร้อนและแสบ สารที่เป็นสาเหตุคือแคปไซซิน ซึ่งจับกับตัวรับความเจ็บปวด และทำให้เกิดความรู้สึกแสบร้อนอย่างรุนแรง ด้วยเหตุนี้ สารสกัดจากพริกจึงใช้เป็นส่วนผสมหลักในการทำสเปรย์พริกไทยในปริมาณสูง เพราะจะทำให้เกิดอาการปวด อักเสบ บวม และแดงอย่างรุนแรง แต่เมื่อเวลาผ่านไปการได้รับแคปไซซินเป็นประจำ อาจทำให้เซลล์ประสาทบางส่วน รับความรู้สึกความเจ็บปวดได้น้อยลงอาการปวดท้องและท้องร่วง
การรับประทานพริก อาจทำให้เกิดอาการลำไส้แปรปรวนในบางคน อาจมีอาการปวดท้อง รู้สึกแสบร้อนในลำไส้ ลำไส้บิดตัว และท้องร่วงได้ พบได้บ่อยในผู้ที่เป็นโรคลำไส้แปรปรวน (IBS) พริกสามารถทำให้อาการแย่ลงกว่าผู้ที่ไม่ได้รับประทานเป็นประจำ ด้วยเหตุนี้ผู้ที่เป็นโรคลำไส้แปรปรวน อาจต้องจำกัดการบริโภคพริก และอาหารรสเผ็ดอื่นๆความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง
มะเร็งเป็นโรคร้ายแรง ที่มีการเจริญเติบโตของเซลล์ผิดปกติ มีหลักฐานเกี่ยวกับผลของพริกต่อการเกิดมะเร็ง ทั้งในด้านบวกและด้านลบ การศึกษาในหลอดทดลองและสัตว์ทดลอง ระบุว่าแคปไซซินซึ่งเป็นสารประกอบจากพืชในพริกอาจเพิ่มหรือลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งก็ได้ การศึกษาในมนุษย์ พบความเชื่อมโยงว่าการบริโภคพริกสามารถเพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งมะเร็งถุงน้ำดี และมะเร็งกระเพาะอาหาร ในประเทศอินเดีย ผงพริกสีแดงได้รับการระบุว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็งช่องปาก และโรคมะเร็งลำคอ โปรดระลึกไว้เสมอว่า การศึกษาเชิงสังเกต ไม่สามารถพิสูจน์ได้แน่ชัดว่าพริกเป็นสาเหตุของมะเร็ง แต่คนที่กินพริกในปริมาณมาก มีแนวโน้มที่จะเป็นมะเร็ง จำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม เพื่อตรวจสอบว่าการบริโภคพริกอย่างหนักหรืออาหารเสริมที่มีสารแคปไซซินนั้นปลอดภัยในระยะยาวหรือไม่พริกที่เป็นที่นิมยมในประเทศไทย
พริกชี้ฟ้า
พริกชี้ฟ้าพบได้ทุกภาคในประเทศไทย แต่ภาคเหนือและกรุงเทพจะมีเยอะมากพริกชี้ฟ้า สรรพคุณ
ต้นพริกชี้ฟ้ามีแหล่งกำเนิดจากประเทศอเมริกาได้ พริกชี้ฟ้าแดงและเขียว ผลและเม็ดช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยระบบทางเดินหายใจและความดัน รวมไปถึงการไหลเวียนของโลหิต แก้อาเจียน ลดหวัดคัดจมูก ขับเสมหะ เป็นยาระบายอ่อนๆสรุปภาพรวม
พริกไม่ได้ดีสำหรับทุกคน พริกทำให้เกิดความรู้สึกแสบร้อน และอาจทำให้เกิดอาการปวดท้องและท้องร่วงได้ งานวิจัยบางชิ้นเชื่อมโยงการบริโภคพริกกับความเสี่ยงการเกิดมะเร็งที่เพิ่มขึ้น พริกเป็นเครื่องเทศที่ได้รับความนิยมในหลายๆส่วนของโลก และเป็นที่รู้จักกันดีในด้านรสชาติที่เผ็ดร้อนและฉุน พริกอุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ และสารประกอบต่างๆที่เป็นเอกลักษณ์หลายชนิด รวมถึงแคปไซซิน ซึ่งเป็นสารที่ทำให้ปากของคุณแสบร้อน แคปไซซินเชื่อมโยงกับประโยชน์ต่อสุขภาพหลายประการ แต่ผลเสียก็มีเช่นกัน ในแง่หนึ่งอาจช่วยส่งเสริมการลดน้ำหนักและบรรเทาอาการปวด เมื่อบริโภคเป็นประจำ ในทางกลับกัน มันทำให้เกิดอาการแสบร้อน ซึ่งเป็นอาการที่ไม่พึงประสงค์สำหรับหลายๆคนโดยเฉพาะคนที่ไม่เคยกินพริก นอกจากนี้ยังส่งผลต่อระบบย่อยอาหารด้วย สิ่งสำคัญคือต้องใส่ใจกับระดับความทนทานต่อความเผ็ดของคุณเองเมื่อกินพริก การใช้เป็นเครื่องเทศอาจดีต่อสุขภาพ แต่ผู้ที่มีปัญหาทางเดินอาหารควรหลีกเลี่ยงนี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น