เรียบเรียงและปรับปรุงข้อมูลทางการแพทย์โดย : พญ. พรรณิภา สุขสมบูรณ์กิจ
โรคอีสุกอีใสเกิดจากอะไร
โรคอีสุกอีใส (Chikenpox หรือ varicella) เป็นโรคติดต่อชนิดหนึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสที่เข้าสู่ร่างกายทางผิวหนัง จากนั้นจะมีอาการเริ่มแรกของอีสุกอีใสเกิดขึ้น ได้แก่มีผื่นคันที่มีลักษณะเป็นตุ่มน้ำใสๆและแตกง่าย เมื่อตุ่มน้ำเหล่านี้แตกแล้วจะทิ้งรอยแผลหลงเหลือไว้ โดยมีลักษณะเป็นสีรอยสีน้ำตาล ส่วนใหญ่โรคอีสุกอีใสจะพบในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี ซึ่งเชื้อไวรัสสามารถแพร่เชื้อและติดต่อกับผู้อื่นได้ แต่ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใสแล้วจึงทำให้มีผู้ป่วยโรคอีสุกอีใสลดน้อยลง ข้อมูลรายงานจากสํานักงานโรคระบาดวิทยาและกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เรื่องการเฝ้าระวังสถานการณ์ของโรคอีสุกอีใส พบว่า ในปี พ.ศ. 2557-2559 มีอัตราการป่วย 129.57 ต่อแสนประชากร 79.82 ต่อแสนประชากร และ 66.57 ต่อแสนประชากร ตามลำดับสาเหตุของโรคอีสุกอีใส (Chikenpox)
สาเหตุของโรคอีสุกอีใสเกิดจากเชื้อไวรัส Varicella-zoster virus (VZV) เป็นเชื้อที่ทำให้โรคอีสุกอีใส โดยส่วนใหญ่เกิดการติดเชื้อผ่านการสัมผัสกับผู้ที่มีเชื้อไวรัสชนิดดังกล่าวหรือผู้ที่มีเชื้อไวรัสนี้ไปสัมผัสกับคนรอบข้าง เมื่อเกิดการสัมมผัสกับเชื้อไวรัสเป็นเวลาหนึ่งถึงสองวันก่อนจะมีผื่น (rash) หรือตุ่มคันปรากฎขึ้น ทั้งนี้เชื้อไวรัส Varicella-zoster virus (VZV) สามารถแพร่กระจายได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้
อาการของอีสุกอีใส
ผู้ที่เป็นโรคอีสุกอีใสจะมีผื่นคันและตุ่มน้ำพองเกิดขึ้นบนผิวหนังทั่วร่างกาย รวมถึงใบหน้า ซึ่งเป็นอาการที่พบได้บ่อยที่สุดของโรคอีสุกอีใส โดยเชื้อไวรัสสามารถอยู่ในร่างกายของผู้ป่วยได้ประมาณ 7 ถึง 21 วันก่อนที่จะมีผื่นและอาการอื่น ๆเกิดตามมา แต่ก่อนมีผื่นเกิดขึ้นไม่กี่วันผู้ป่วยอาจจะมีอาการดังนี้ :- เบื่ออาหาร
- ปวดหัว
- มีไข้สูง
- เกิดผื่นเป็นที่มีลักษณะเป็นจุดสีแดงบนผิวบริเวณใบหน้า หน้าอก หลัง และลุกลามไปทั่วตัว
- ผื่นแดงจะกลายเป็นตุ่มพองเล็ก ๆ มีน้ำใส ๆ หรือที่เรียกว่า ตุ่มอีสุกอีใส
- ตุ่มใสแตกออกเอง ภายใน 2-4 วันตุ่มจะแห้งและตกสะเก็ดทำให้เกิดอาการคันและระคายเคืองผิวหนัง
อาการข้างเคียงที่เกิดจากโรคอีสุกอีใส (Chikenpox)
ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์ทันทีหากมีอาการดังนี้:- มีผื่นคันรุนแรงและติดเชื้อ
- เป็นผื่นหรือตุ่มน้ำบริเวณตา หรือใกล้ตา
- มีผื่นอีสุกอีใสขึ้นพร้อมกับอาหารวิงเวียนศรีษะ และหายใจถี่
- เด็กอาจจะเกิดปัญหาทางสายตา
- สมองอาจจะพิการได้
- การเจริญเติบโตไม่เต็มที่
- ศรีษะมีขนาดเล็ก
การวินิจฉัย
โดยทั่วไปแพทย์สามารถทำการวินิจฉัยโรคนี้ได้ด้วยการตรวจร่างกายและสังเกตุจากอาการของโรคเพียงเท่านั้น แต่หากผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนหรืออาการข้างเคียงร่วมด้วย แพทย์จะทำการทดสอบน้ำเหลืองเพื่อหาระดับสารภูมิต้านทานต่อไวรัสอีสุกอีใส หรือตรวจหาเชื้อจากตุ่มน้ำ หากผู้ใดมีตุ่มคันโดยไม่ทราบสาเหตุ มีไข้หรือเบื่ออาหารและสงสัยว่าเป็นโรคอีสุกอีใส ควรไปพบแพทย์ได้ทันทีผู้ใดที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคอีสุกอีใส
- เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 12 ปี
- ติดต่อหรือสัมผัสกับผู้ป่วยโรคอีสุกอีใส
- ผู้ป่วยหรือมีภูมิคุ้มกันบกพร่อง
วิธีรักษาโรคอีสุกอีใส
สำหรับการรักษาอีสุกอีใส หากอาการไม่รุนแรงสามารถหายเองได้ โดยแพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยโรคอีสุกอีใสรักษาตัวอยู่ที่บ้านเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสและแพทย์อาจจะสั่งจ่ายยาให้ทานเองที่บ้าน ได้แก่ยากลุ่มต้านฮีสตามีนเป็นยาที่สามารถรักษาโรคอีสุกอีใสได้หรือยาทาแก้อาการคันเช่นคาลาไมน์ และยาทาอื่น ๆ เพื่อรักษาแผลอีสุกอีใสและป้องกันการเกิดแผลเป็นจากโรคอีสุกอีใส- การรักษาด้วยยาต้านไวรัสอีสุกอีใสหรือ วัคซีนป้องกันอีสุกอีใส เป็นวิธีรักษาอีสุกอีใสให้หายเร็วขึ้น หากได้รับยาต้านไวรัสภายใน 24 ชั่วโมงหลังผื่นขึ้น
- หากมีไข้อีสุกอีใส ควรเฝ้าระวังและใช้วิธีลดไข้ ด้วยการทานยาลดไข้พาราเซตามอล ไม่ควรใช้ยากลุ่มแอสไพลินเพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติทางสมองและตับอย่างรุนแรงเช่นไขมันพอกตับ
การป้องกันโรคอีสุกอีใส
ควรเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส แพทย์จะแนะนำให้มีการฉีดวัคซีนจำนวน 2 เข็ม โดยเริ่มฉีดเข็มแรกได้ตั้งแต่อายุประมาณ 1 ปี (12-15 เดือน) และฉีดอีกครั้งเมื่ออายุ 4-6 ปี ในกรณีสตรีมีครรภ์หรือหรือมีภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอ อาจส่งผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายได้ ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์ก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีนเมื่อไหร่ที่ควรไปพบแพทย์
หากพบว่าคนในบ้านเป็นโรคอีสุกอีใส ให้ไปพบแพทย์ โดยปกติแล้ว แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคอีสุกอีใสได้โดยการตรวจดูผื่นและพิจารณาจากอาการอื่นๆ แพทย์ของคุณสามารถสั่งยาเพื่อลดความรุนแรงของโรคอีสุกอีใสและรักษาภาวะแทรกซ้อนได้หากจำเป็น เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ผู้อื่นแพร่เชื้อในห้องรอ ให้โทรนัดหมายล่วงหน้าและแจ้งว่าคุณคิดว่าคุณหรือลูกของคุณอาจเป็นโรคอีสุกอีใส นอกจากนี้ แจ้งให้แพทย์ทราบหาก:- ผื่นจะกระจายไปที่ตาข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง
- ผื่นจะแดงมาก อุ่นหรืออ่อนโยน นี่อาจบ่งบอกถึงการติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนังแบบทุติยภูมิ
- ผื่นจะมาพร้อมกับอาการวิงเวียนศีรษะ สับสน หัวใจเต้นเร็ว หายใจถี่ สั่น สูญเสียการประสานงานของกล้ามเนื้อ ไอแย่ลง อาเจียน คอเคล็ด หรือมีไข้สูงกว่า 38.9 องศาเซลเซียส
- ทุกคนในครอบครัวมีปัญหาเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันของตนเองหรืออายุน้อยกว่า 6 เดือน
ลิงค์ด้านล่างนี้เป็นแหล่งข้อมูลของบทความของเรา
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/chickenpox/symptoms-causes/syc-20351282
- https://www.nhs.uk/conditions/chickenpox/
- https://www.webmd.com/children/what-is-chickenpox
- https://kidshealth.org/en/parents/chicken-pox.html
- https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2919834/
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น