สมองบวมคืออะไร
สมองบวม (Cerebral Edema) ที่เรารู้จักกันดีคืออาการที่สมองมีการบวม เป็นอาการป่วยที่เป็นอันตรายถึงชีวิต เพราะของเหลวในสมองที่มีเพิ่มมากขึ้น ของเหลวนี้จะไปเพิ่มความดันในกระโหลกศีรษะ โดยทั่วไปแล้วมักเกี่ยวข้องกับความดันภายในกระโหลกที่เรียกว่า ICP การเพิ่มสูงของความดันในกระโหลกจะไปลดการไหลเวียนของเลือดในสมอง และทำให้สมองได้รับออกซิเจนน้อยลง สมองคนเรามีความจำเป็นต้องมีออกซิเจนไปเลี้ยงอย่างต่อเนื่องเพื่อการทำงานที่เหมาะสม การบวมเป็นการตอบสนองการบาดเจ็บอย่างหนึ่งของร่างกาย ซึ่งในบางครั้งก็สามารถรักษาด้วยยาและด้วยการพักผ่อน สมองบวมอาจเป็นเรื่องที่รักษาได้ค่อนข้างยาก หากเกิดขึ้นจากการเสียหายของสมองที่ไม่สามารถกลับคืนสู่สภาพปกติได้ การบวมอาจเกิดขึ้นได้ทั่วทั้งสมองหรืออาจเกิดขึ้นเป็นบางส่วน การปล่อยทิ้งให้สมองบวมโดยไม่รักษาก็อาจทำให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้สาเหตุของสมองบวม
มีหลายปัจจัยที่สามารถทำให้เกิดสมองบวม ดังต่อไปนี้:- การบาดเจ็บที่ศีรษะ(TBI) TBIมีสาเหตุมาจากการที่สมองได้รับความเสียหาย จากการโดนกระแทกหรือล้มก็เป็นสาเหตุให้สมองมีการบวมได้ ในรายที่เป็นรุนแรง การบาดเจ็บที่ศีรษะอาจเกิดจากการแตกของกระโหลกศีรษะ และชิ้นส่วนของศีรษะหลุดเข้าไปและทำให้หลอดเลือดในสมองฉีกขาดและเป็นต้นเหตุของการบวม
- โรคหลอดเลือดสมอง คนไข้บางรายที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองก็เป็นต้นเหตุของสมองบวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคหลอดเลือดชนิดสมองขาดเลือด โรคนี้เกิดขึ้นเมื่อเกิดการอุดตันของเลือดในสมองจนทำให้เลือดและออกซิเจนไม่ไปเลี้ยงสมอง เป็นเหตุทำให้เซลสมองตาย และสมองจึงเกิดการบวมขึ้นเป็นการตอบสนองต่ออาการบาดเจ็บ
- การติดเชื้อ เชื้อแบคทีเรียบางตัวเป็นสาเหตุของการเจ็บป่วยและโรคต่างๆที่นำไปสู่การอักเสบของสมองและการบวม โดยเฉพาะในรายที่ทิ้งไว้โดยไม่รับการรักษา
- เนื้องอก เนื้องอกในสมองจะเป็นตัวเพิ่มความดันในพื้นที่สมอง เป็นสาเหตุทำให้พื้นที่รอบๆสมองมีอาการบวม
- อยู่ในระดับความสูงเหนือระดับน้ำทะเล
- ผู้ที่สุขภาพไม่ดีจำเป็นต้องใช้ยา
- ติดเชื้อไวรัส
- ภาวะพิษคาร์บอนมอนอกไซด์
- ถูกสัตว์ต่างๆ สัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ทะเลมีพิษกัด
อาการสมองบวม
สมองบวมอาจเป็นเรื่องที่แพทย์จะวินิจฉัยได้ค่อนข้างยากหากปราศจากการตรวจและประเมินอย่างเหมาะสม บางอาการต่อไปนี้ที่เราควรเฝ้าระวังหลังจากได้รับบาดเจ็บหรือมีการติดเชื้อบางอย่างที่อาจบ่งบอกว่ามีการบวมเกิดขึ้น ซึ่งเป็นอาการของสมองบวมดังนี้: ในรายที่สมองบวมรุนแรง อาจมีอาการต่างๆดังนี้ร่วมด้วย:- อารมณ์เปลี่ยนแปลง
- สูญเสียความทรงจำ
- พูดสื่อสารลำบาก
- ขาดการยับยั้ง
- สติอารมณ์เปลี่ยนไป
- เกิดอาการชัก
- ร่างกายอ่อนแรง
การรักษาสมองบวม
สมองบวมอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ จึงควรได้รับการรักษาอย่างทันที ตัวเลือกในการรักษามีจุดประสงค์เพื่อทำให้เลือดและออกซิเจนไหลเวียนกลับสู่สมองตามปกติเพื่อเป็นการลดการบวมลง เรื่องพื้นฐานการรักษานั้นที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งคือเราต้องระวังไม่ให้เกิดผลเสียหายต่อไปในอนาคต 6วิธีในการรักษารักษาด้วยยา
ขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของอาการ แพทย์อาจสั่งยาเพื่อช่วยลดอาการบวมและป้องกันการเกิดลิ่มเลือดการรักษาด้วย Osmotherapy
เมื่อสมองบวมจะเกิดการสะสมของเหลวเพิ่มมากขึ้น การรักษาด้วยOsmotherapyเป็นรูปแบบหนึ่งของการนำน้ำออกจากสมอง โดยการใช้สารก่อความดันออสโมซิสเช่นแมนนิทอลหรือน้ำเกลือเข้มข้น การรักษาด้วยวิธีนี้จะช่วยทำให้ระบบการหมุนเวียนของเลือดดีขึ้น ซึ่งจะเป็นการช่วยลดการบวมและลดความดันภายในกระโหลกICPลงการรักษา Hyperventilation
แพทย์บางท่านอาจใช้วิธีควบคุมภาวะระบายลมหายใจเกินเพื่อช่วยทำให้ICPของคนไข้ลดต่ำลง ภาวะระบายลมหายใจเกินเป็นภาวะที่ผู้ป่วยหายใจออกมากกว่าหายใจเข้า ทำให้ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในกระแสเลือดลดลง การไหลเวียนของเลือดในสมองจะทำงานเหมาะสมหรือไม่ขึ้นอยู่กับคาร์บอนไดออกไซด์ การควบคุมนี้ทำให้เลือดไหลเวียนในสมองต่ำลงและลดภาวะICPการลดอุณหภูมิร่างกาย Hypothermia
อีกรูปแบบหนึ่งขอองการรักษายังรวมไปถึงการรักษาชนิดนี้ด้วย hypothermiaเป็นการทำให้อุณหภูมิในร่างกายลดลงเพื่อช่วยลดอัตราการเผาผลาญในสมอง และบรรเทาอาการบวม แต่การรักษารูปแบบดังกล่าวอาจทำได้ยากและยังไม่แพร่หลายจึงควรศึกษาเพิ่มเติมการรักษาโดยการใส่สายระบายโพรงสมอง Ventriculostomy
วิธีนี้เป็นหัตถการรุกล้ำร่างกายแบบหนึ่งโดยวิธีระบายของเหลวออกจากสมอง แพทย์จะทำการผ่าที่บริเวณกระโหลกแล้วนำท่อใส่เพื่อระบายน้ำส่วนเกิน วิธีดังกล่าวนี้จะช่วยลดความดันในกระโหลกศีรษะได้การผ่าตัด
ในรายที่สมองบวมมีความรุนแรง อาจจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดเพื่อลดความดันในกระโหลกศีรษะ การผ่าตัดนี้อาจเป็นการตัดบางส่วนของกระโหลกศีรษะออกหรืออาจตัดส่วนที่เป็นต้นเหตุของอาการบวมออกไป อย่างเช่นในรายที่เป็นเนื้องอกเป็นต้นการวินิจฉัยอาการสมองบวม
สมองบวมเป็นโรคที่แพทย์จะวินิจฉัยได้ค่อนข้างยากหากไม่มีการตรวจที่เหมาะสม การวินิจฉัยขึ้นอยู่กับอาการของคนไข้และโรคประจำตัว วิธีทั่วๆไปที่แพทย์ใช้ในการวินิจฉัยสมองบวม คือ:- การตรวจร่างกายเพื่อหาอาการเจ็บ ความรู้สึกไม่สบายตัวหรือความผิดปกติอื่น
- การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์หรือซีทีสแกน (CT Scan) เพื่อหาตำแหน่งการบวมที่แน่ชัด
- การตรวจศีรษะด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือเอ็มอาร์ไอ (MRI Scan) เพื่อหาตำแหน่งการบวมที่แน่ชัด
- การตรวจเลือดเพื่อการตัดสินใจถึงสาเหตุที่ทำให้สมองบวม
การเฝ้าระวังในระยะยาว
สมองบวมเป็นอาการที่รุนแรงที่อาจส่งผลเสียหายในระยะยาวกับระบบความจำและความสามารถในการคิดตัดสินใจ อาจทำให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตหากรับการรักษาช้าเกินไป หากท่านใดเคยมีผลข้างเคียงที่เกิดจากการล้ม จากอุบัติเหตุหรือมีการติดเชื้อควรรีบพบแพทย์ทันทีการป้องกันภาวะสมองบวม
การป้องกันภาวะสมองบวมเกี่ยวข้องกับการจัดการกับสาเหตุที่แท้จริงและการจัดการปัจจัยเสี่ยง ต่อไปนี้เป็นแนวทางและกลยุทธ์ทั่วไปบางประการ:- การป้องกันการบาดเจ็บ : หลีกเลี่ยงอุบัติเหตุและอาการบาดเจ็บสาหัสด้วยการสวมเข็มขัดนิรภัย หมวกกันน็อค และอุปกรณ์นิรภัยที่เหมาะสม ปฏิบัติตามแนวทางด้านความปลอดภัยสำหรับกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บที่ศีรษะ เช่น กีฬา
- ควบคุมความดันโลหิต : ความดันโลหิตสูงสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะสมองบวมได้ รักษาวิถีชีวิตที่มีสุขภาพดีด้วยการออกกำลังกายสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่สมดุล จำกัดปริมาณเกลือ และรับประทานยาลดความดันโลหิตตามที่กำหนดหากจำเป็น
- จัดการโรคเบาหวาน : โรคเบาหวานเพิ่มความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือด รวมถึงที่ส่งผลต่อสมอง จัดการระดับน้ำตาลในเลือดของคุณอย่างเหมาะสมผ่านการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย และการใช้ยาตามคำแนะนำของผู้ให้บริการด้านสุขภาพ
- ดื่มน้ำมาก ๆ : รักษาความชุ่มชื้นที่เหมาะสม โดยเฉพาะในช่วงอากาศร้อนหรือเมื่อทำกิจกรรมทางกาย ภาวะขาดน้ำอาจทำให้ความเสี่ยงต่อภาวะสมองบวมรุนแรงขึ้น
- การป้องกันการติดเชื้อ : ดำเนินมาตรการป้องกันการติดเชื้อ เนื่องจากอาจทำให้เกิดอาการอักเสบและสมองบวมได้ ปฏิบัติตามสุขอนามัยที่ดี รับการฉีดวัคซีน และไปพบแพทย์ทันทีสำหรับการติดเชื้อ
- การจัดการเนื้องอก : หากคุณมีเนื้องอกในสมอง ให้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับทีมดูแลสุขภาพของคุณเพื่อจัดการกับเนื้องอกอย่างมีประสิทธิภาพ การติดตามอย่างสม่ำเสมอและการรักษาที่เหมาะสมสามารถช่วยลดความเสี่ยงของภาวะสมองบวมที่เกี่ยวข้องกับการเติบโตของเนื้องอกได้
- การป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง : ใช้วิถีชีวิตที่ดีต่อสุขภาพหัวใจเพื่อลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งรวมถึงการรักษาน้ำหนักให้ดีต่อสุขภาพ ควบคุมความดันโลหิตและระดับคอเลสเตอรอล หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป
- การปฏิบัติตามการใช้ยา : หากคุณมีอาการทางการแพทย์ที่เพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะสมองบวม เช่น การบาดเจ็บที่สมองหรือการติดเชื้อบางชนิด ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพสำหรับการใช้ยาและแผนการรักษา
- ติดตามอาการ : หากคุณมีประวัติสภาวะที่อาจนำไปสู่ภาวะสมองบวม เช่น การบาดเจ็บที่สมอง ให้ใส่ใจกับอาการต่างๆ เช่น อาการปวดหัวอย่างรุนแรง การมองเห็นเปลี่ยนแปลง พูดลำบาก อ่อนแรง หรือสับสน ไปพบแพทย์ทันทีหากเกิดอาการเหล่านี้
- ปรึกษาแพทย์ : หากคุณมีข้อกังวลเฉพาะเกี่ยวกับการป้องกันภาวะสมองบวมโดยพิจารณาจากประวัติทางการแพทย์หรือปัจจัยเสี่ยงของคุณ โปรดปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น