กะหล่ำดอก คือ อะไร
กะหล่ำดอก คือ ผักที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพที่สุดของแหล่งของสารอาหาร กะหล่ำดอกเป็นพืชที่มีส่วนประกอบที่มีความพิเศษเฉพาะตัวที่ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคได้มากมาย ซึ่งรวมไปถึงโรคหัวใจ และโรคมะเร็ง อีกทั้งยังช่วยในการลดน้ำหนัก และง่ายต่อการเพิ่มเติมเข้าไปในอาหารได้อย่างน่าเหลือเชื่อ ต่อไปนี้คือ 8 ประโยชน์ต่อสุขภาพที่มีการรับรองทางวิทยาศาสตร์ดอกกะหล่ำมีสารอาหารมากมาย
กะหล่ำดอกคือ ผักที่มีแคลลอรี่ต่ำมากในขณะที่มีวิตามินสูงมาก ในความจริงแล้วกะหล่ำดอกมีวิตามิน และแร่ธาตุเกือบทุกชนิดที่ร่างกายเราต้องการอยู่ ต่อไปนี้คือ สารอาหารที่ได้จากดอกกะหล่ำดิบ 1 ถ้วย หรือ 128 กรัม:- แคลลอรี่: 25
- ใยอาหาร: 3 กรัม
- วิตามินซี: 77% ของปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน
- วิตามินเค: 20% ของปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน
- วิตามินบี6: 11% ของปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน
- โฟเลต: 14% ของปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน
- กรดแพนโทเธนิค: 7% ของปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน
- โปแตสเซียม: 9% ของปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน
- แมงกานีส: 8% ของปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน
- แมกนีเซียม: 4% ของปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน
- ฟอสฟอรัส: 4% ของปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน
กะหล่ำดอกมีใยอาหารสูง
กะหล่ำดอกมีเส้นใยอาหารสูงมาก ซึ่งมีประโยชน์ต่อสุขภาพโดยรวม ใยอาหารมีความสำคัญเพราะว่าช่วยเป็นอาหารให้เชื้อแบคทีเรียที่ดีในลำไส้ ซึ่งจะช่วยลดการอักเสบ และช่วยทำให้การย่อยอาหารมีสุขภาพที่ดีได้ การบริโภคใยอาหารที่เพียงพออาจช่วยป้องกันโรคเกี่ยวกับการย่อยอาหาร เช่น ท้องผูก โรคถุงผนังลำไส้อักเสบ และโรคลำไส้อักเสบ การบริโภคผักที่อุดมไปด้วยใยอาหาร เช่น กะหล่ำดอกมีส่วนช่วยทำให้ลดความเสี่ยงในการเกิดอาการเจ็บป่วยหลายอย่างรวมไปถึงโรคหัวใจ โรคมะเร็ง และโรคเบาหวาน ใยอาหารยังอาจมีบทบาทในการป้องกันภาวะโรคอ้วน เพราะสามารถช่วยทำให้รู้สึกอิ่ม และลดการบริโภคที่มากเกินไปได้เป็นแหล่งของสารต้านอนุมูลอิสระ
กะหล่ำดอกคือ แหล่งของสารต้านอนุมูลอิสะที่ดีที่สุดแหล่งหนึ่ง ซึ่งช่วยปกป้องเซลล์ของร่างกายจากความเสียหายที่เกิดจากอนุมูลอิสระ และการอักเสบ คล้ายกับพืชในตระกูลประเภทของผักกะหล่ำทั้งหลาย กะหล่ำดอกมีกลูโคซิโนเลท และไอโซไธโอไซยาเนต สารต้านอนุมูลอิสระทั้งสองกลุ่มนี้ช่วยทำให้เซลล์มะเร็งเติบโตได้ช้า กลูโคซิโนเลท และไอโซไธโอไซยาเนตแสดงให้เห็นว่าสามารถป้องกันโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก เต้านม ปอด และลำไส้ใหญ่ได้เป็นพิเศษ กะหล่ำดอกมีสารต้านอนุมูลอิสระแคโรทีนอยด์ และฟลาโวนอยด์ ซึ่งมีฤทธิ์ต้านมะเร็ง และช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอาการเจ็บป่วยหลายอย่าง ซึ่งรวมถึงโรคหัวใจ ยิ่งกว่านั้น กะหล่ำดอกยังมีวิตามินซีสูง ซึ่งก็ทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระด้วย และเป็นที่รู้กันดีว่ามฤทธิ์ต้านการอักเสบที่อาจช่วงเสริมภูมิคุ้มกัน และลดความเสี่ยงโรคหัวใจ และโรคมะเร็งผักกะหล่ำช่วยลดน้ำหนัก
กะหล่ำดอกมีคุณสมบัติมากมายที่อาจช่วยในการลดน้ำหนัก เริ่มจากการที่มีแคลลอรี่ต่ำเพียง 25 แคลลอรี่ต่อหนึ่งถ้วยเท่านั้น ดังนั้นเราจะสามารถรับประทานได้มากโดยไม่ทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น กะหล่ำดอกสามารถรับประทานเป็นอาหารแคลลอรี่ต่ำแทนอาหารที่มีแคลลอรี่สูงๆได้ เช่น ข้าว หรือแป้ง เพราะเป็นแหล่งใยอาหารที่ดี กะหล่ำดอกย่อยช้า และช่วยทำให้รู้สึกอิ่ม ซึ่งก็จะเป็นการลดปริมาณแคลลอรี่ที่เรารับประทานตลอดทั้งวันได้โดยอัตโนมัติ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการควบคุมน้ำหนักกะหล่ำดอกมีสารโคลีนสูง
กะหล่ำดอกมีสารโคลีนสูง เป็นสารอาหารที่มีความจำเป็นที่หลายคนมักขาดไป กะหล่ำดอกหนึ่งถ้วยมีสารโคลีน 45 มก. มีประมาณ 11% ของปริมาณสารอาหารที่พอเพียงในแต่ละวัน (AI) สำหรับผู้หญิง และ 8% สำหรับผู้ชาย สารโคลีนมีความสำคัญต่อการทำงานในร่างกายหลายอย่าง ในช่วงเริ่มต้นโคลีนจะมีบทบาทหลักในการคงที่ความสมบูรณ์ของเยื่อหุ้มเซลล์ การสังเคราะห์ดีเอ็นเอ และช่วยระบบเผาผลาญ โคลีนมีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาสมอง และผลิตสารสื่อนำประสาท ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับระบบประสาทที่มีสุขภาพ และยังช่วยป้องกันการสะสมคอเรสเตอรอลในตับ คนที่บริโภคโคลีนไม่เพียงพออาจมีความเสี่ยงสูงต่อโรคตับ และโรคหัวใจ รวมถึงโรคระบบประสาท เช่น โรคสมองเสื่อม และอัลไซเมอร์ อาหารที่มีโคลีนมีไม่มากนัก กะหล่ำดอกร่วมกับบล็อคโคลี่คือ หนึ่งในพืชที่มีสารอาหารนี้ที่ดีที่สุดกะหล่ำดอกอุดมไปด้วยสารซัลโฟราเฟน
กะหล่ำดอกมีสารซัลโฟราเฟน เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ สารซัลโฟราเฟนสามารถช่วยยับยั้งการเติบโตของมะเร็งได้ด้วยการยับยั้งเอนไซม์ ซึ่งมีเส่วนเกี่ยวข้องกับมะเร็ง และการเติบโตของเนื้องอก สารซัลโฟราเฟนอาจช่วยหยุดการเติบโตมะเร็งได้โดยทำลายเซลล์ที่เสียหาย สารซัลโฟราเฟนช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้ และมะเร็งต่อมลูกหมาก และอาจส่งผลต่อมะเร็งอื่นๆ เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งเม็ดเลือดขาว ตับอ่อน และมะเร็งผิวหนังเมลาโมนา จากการวิจัยแสดงให้เห็นว่าสารซัลโฟราเฟนอาจช่วยลดความดันโลหิต และรักษาหลอดเลือดแดงให้มีสุขภาพดีทั้งสองปัจจัยนี้จะช่วยป้องกันโรคหัวใจ สารซัลโฟราเฟนอาจมีบทบาทในการป้องกันโรคเบาหวาน และช่วยลดความเสี่ยงที่อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนโรคเบาหวาน เช่น โรคไตอาหารทางเลือกแป้งต่ำแทนธัญพืช และถั่วเมล็ดแห้ง
กะหล่ำดอกอาหารอเนกประสงค์ที่เหลือเชื่อ และสามารถนำมาใช้ทดแทนการบริโภคธัญพืช และถั่วเมล็ดแห้ง กะหล่ำดอกหนึ่งถ้วยมคาร์บ 5 กรัม ในขณะเดียวกันกับข้าวหนึ่งถ้วยมีคาร์บ 45 กรัม- 9เท่าของกะหล่ำ ต่อไปนี้คือ ตัวอย่างเมนูดอกกะหล่ำที่สามารถนำกะหล่ำดอกมาแทนธัญพืช และถั่วเมล็ดแห้ง:- ข้าวกะหล่ำ: ใช้แทนข้าวขาว หรือข้าวกล้องด้วยกะหล่ำดอกโดยการนำมาขูดฝอย และนำไปปรุงสุก
- แป้งพิซซ่ากะหล่ำดอก: นำกะหล่ำไปปั่นในเครื่องผสมอาหาร และจากนั้นนำไปทำแป้งพิซซ่า
- กะหล่ำดอกฮัมมูส: Cauliflower Hummus:นำกะหล่ำดอกไปใช้แทนส่วนของถั่วลูกไก่ในสูตรฮัมมูส
- กะหล่ำบด: แทนการทำมันบด ใช้กะหล่ำดอกที่มีคาร์บต่ำมาบด ซึ่งง่ายต่อการทำ
- ตอติญ่ากะหล่ำดอก: นำกะหล่ำดอกไปปั่นรวมกับไข่เพื่อทำเป็นตอติญ่าคาร์บต่ำ สามารถนำไปห่อ เป็นแผ่นทาโก้ หรือเบอร์ริโต
- กะหล่ำแมคแอนด์ชีส: นำกะหล่ำต้มไปผสมกับนม ชีส และเครื่องปรุงรส
ง่ายต่อการเพิ่มเติมในอาหาร
คุณสามารถรับประทานแบบดิบ ซึ่งใช้เวลาในการเตรียมน้อยมาก ดอกกระหล่ำดิบสามารถนำมาเป็นอาหารว่างในฮัมมูส หรือผักดิบอื่นๆดิบ และยังนำไปปรุงสุกได้หลากหลายรูปแบบ เช่น นึ่ง ย่าง หรือผัด ทำเป็นผักเครื่องเคียง หรือทานร่วมอาหาร เช่น ซุป สลัด จานผัด และคัสเซอโรล และยังมีราคาถูก และสามารถหาซื้อได้ง่ายตามร้านขายของทั่วไปข้อเสียของกะหล่ำดอก
แม้ว่าโดยทั่วไปแล้วดอกกะหล่ำจะถือเป็นผักที่ดีต่อสุขภาพและเป็นอาหารเสริมที่มีคุณค่าทางโภชนาการจากการรับประทานอาหารที่สมดุล แต่ก็อาจมีข้อควรพิจารณาหรือข้อเสียที่อาจเกิดขึ้นสำหรับบางคน ต่อไปนี้เป็นประเด็นที่ควรทราบ:- ปัญหาทางเดินอาหาร:
-
-
- ดอกกะหล่ำก็เหมือนกับผักตระกูลกะหล่ำอื่นๆ ที่มีเส้นใยและคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนซึ่งอาจเป็นเรื่องยากสำหรับบางคนในการย่อย สิ่งนี้อาจทำให้เกิดแก๊ส ท้องอืด หรือไม่สบายตัวในผู้ที่มีระบบย่อยอาหารที่ละเอียดอ่อน
-
- FODMAP:
-
-
- ดอกกะหล่ำมี FODMAPs (โอลิโกแซ็กคาไรด์ที่หมักได้ ไดแซ็กคาไรด์ โมโนแซ็กคาไรด์ และโพลีออล) ซึ่งเป็นคาร์โบไฮเดรตประเภทหนึ่งที่สามารถกระตุ้นให้เกิดอาการในผู้ที่มีอาการลำไส้แปรปรวน (IBS) หรือภาวะระบบทางเดินอาหารอื่น ๆ การปรุงดอกกะหล่ำสามารถช่วยลดปริมาณ FODMAP ได้
-
- การแทรกแซงของต่อมไทรอยด์:
-
-
- ดอกกะหล่ำพร้อมกับผักตระกูลกะหล่ำอื่นๆ มีสารประกอบที่เรียกว่ากอยโตรเจน ซึ่งอาจรบกวนการทำงานของต่อมไทรอยด์ในปริมาณมาก อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปนี่เป็นข้อกังวลสำหรับบุคคลที่มีภาวะต่อมไทรอยด์อยู่ และผลกระทบจะน้อยมากเมื่อบริโภคโดยเป็นส่วนหนึ่งของอาหารที่สมดุล
-
- ปริมาณวิตามินเค:
-
-
- กะหล่ำดอกเป็นแหล่งวิตามินเคที่ดี แม้ว่าวิตามินเคจำเป็นต่อการแข็งตัวของเลือดและสุขภาพกระดูก แต่บุคคลที่รับประทานยาลดความอ้วนในเลือด (เช่น วาร์ฟาริน) อาจจำเป็นต้องตรวจสอบปริมาณวิตามินเคที่รับประทานและรักษาความสม่ำเสมอ
-
- ปฏิกิริยาการแพ้:
-
-
- บุคคลบางคนอาจแพ้กะหล่ำดอกหรือผักตระกูลกะหล่ำอื่นๆ ทำให้เกิดอาการแพ้ได้ หากคุณมีอาการต่างๆ เช่น คัน บวม หรือหายใจลำบากหลังจากรับประทานกะหล่ำดอก ให้ไปพบแพทย์
-
- ออกซาเลต:
-
-
- ดอกกะหล่ำก็มีสารออกซาเลตเช่นเดียวกับผักหลายชนิด บุคคลที่มีแนวโน้มที่จะเกิดนิ่วในไตอาจได้รับคำแนะนำให้รับประทานอาหารที่มีออกซาเลตสูงในปริมาณปานกลาง แม้ว่ากะหล่ำดอกจะไม่ใช่อาหารที่มีออกซาเลตสูงที่สุดก็ตาม
-
- สารกำจัดศัตรูพืชตกค้าง:
-
-
- เช่นเดียวกับผักอื่นๆ ดอกกะหล่ำอาจมีสารกำจัดศัตรูพืชตกค้าง การล้างและเลือกดอกกะหล่ำออร์แกนิกสามารถช่วยลดการสัมผัสยาฆ่าแมลงได้
-
- การโต้ตอบกับยา:
-
- หากคุณกำลังใช้ยา โดยเฉพาะอย่างยิ่งยาที่อาจเกิดปฏิกิริยาโต้ตอบกับวิตามินเคหรือการแข็งตัวของเลือด โปรดปรึกษาผู้ให้บริการด้านสุขภาพเกี่ยวกับการบริโภคกะหล่ำดอกอย่างเหมาะสม
บทสรุป
กะหล่ำดอกมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย กะหล่ำดอกเป็นแหล่งสารอาหารที่ดีเยี่ยม มีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยลดการอักเสบ และช่วยป้องกันการเกิดอาการเจ็บป่วยหลายอย่าง เช่น โรคมะเร็ง และโรคหัวใจ ยิ่งกว่านั้น กะหล่ำยังง่ายต้องการนำไปรับประทาน มีรสชาติอร่อย และง่ายในการเตรียม และยังสามารถนำไปทดแทนอาหารที่มีคาร์บสูงได้หลายเมนูหัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น