แมวข่วน (Cat Scratch Fever) คือ การติดเชื้อแบคทีเรีย โรคนี้ได้รับชื่อนี้เนื่องจากผู้ป่วยจะติดเชื้อจากแมวที่ติดเชื้อแบคทีเรีย Bartonella henselae
อาการของไข้แมวข่วน
แมวเป็นพาหะของ B. henselae ได้ แต่โดยทั่วไปแล้วแมวจะไม่ป่วยจากแบคทีเรียชนิดนี้ ทำให้เราไม่สามารถแยกแยะได้ว่าแมวตัวไหนเป็นพาหะนำเชื้อโรคนี้ แมวนั้นได้รับแบคทีเรียจากหมัดที่ติดเชื้อ การที่คนจะได้รับแบคทีเรียโดยตรงนั้นเป็นไปได้น้อยมาก อาการของไข้แมวข่วนได้แก่- ตุ่มพุพองบริเวณที่โดนแมวข่วนหรือกัด
- ต่อมน้ำเหลืองบริเวณที่ถูกกัดหรือข่วนบวม
- อ่อนเพลีย
- ปวดศีรษะ
- ไข้ต่ำๆ ประมาณ 37 องศาเซลเซียส
- ปวดเมื่อยตามร่างกาย
- Lymphadenitis ต่อมน้ำเหลือมอักเสบและบวม
- Brucellosis เป็นการติดเชื้อจากสัตว์สู่คนอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่และต่อมน้ำเหลืองบวม
- Lymphogranuloma venereum เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STI) ที่ส่งผลให้เกิดแผลที่ผิวหนังบริเวณที่ติดเชื้อ รอบๆแผลจะมีลักษณะเป็นตุ่มและต่อมน้ำเหลืองบวม
- Lyme เป็นผื่นและอาการคล้ายกับไข้หวัดใหญ่
สาเหตุของไข้แมวข่วน
ผู้ป่วยได้รับเชื้อจากการโดนกัดหรือข่วนจากแมวที่ติดเชื้อ นอกจากนี้ยังสามารถติดโรคได้จากการที่น้ำลายจากแมวที่ติดเชื้อเข้าไปในแผลเปิด หรือสัมผัสกับตา แต่โรคนี้จะไม่แพร่จากคนสู่คนใครมีความเสี่ยงเป็นโรคแมวข่วนบ้าง
ทุกคนที่สัมผัสกับแมวล้วนแต่มีความเสี่ยงที่จะเป็นไข้แมวข่วนได้ อาการไข้แมวข่วนจะรุนแรงขึ้นเมื่อร่างกายมีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ สตรีมีครรภ์ และผู้ที่มีปัญหาสุขภาพดังต่อไปนี้การวินิจฉัยแมวข่วน
การวินิจฉัยไข้แมวข่วนแพทย์จะทำการตรวจร่างกาย แมวข่วนนั้นยากที่จะวินิจฉัยจากอาการเพียงอย่างเดียว ดังนั้นการวินิจฉัยได้อย่างถูกต้องโดยทำการตรวจเลือด Polymerase chain reaction (PCR) เพื่อดูว่ามีแบคทีเรีย B. henselae อยู่ในร่างกายหรือไม่ภาวะแทรกซ้อนของไข้แมวข่วน
ภาวะแทรกซ้อนของไข้แมวข่วนพบได้ยาก แต่ก็สามารถพบได้ มีดังต่อไปนี้
โรคไข้สมองอักเสบ
Encephalopathy เป็นโรคทางสมองที่สามารถเกิดขึ้นได้ เมื่อเชื้อแพร่กระจายไปที่สมอง สามารถทำลายสมองได้ และรักษาไม่ทันเวลาอาจสร้างความเสียหายอย่างถาวรโรคประสาทอักเสบ
Neuroretinitis คือ อาการเส้นประสาทตาและจอประสาทตาอักเสบ ทำให้สายตาพร่ามัว เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียกระดูกอักเสบ
Osteomyelitis คือ อาการที่กระดูกติดเชื้อแบคทีเรีย สร้างความเสียหายของกระดูก และอาจรุนแรงจนถึงขั้นต้องสูญเสียอวัยวะParinaud oculoglandular syndrome
Parinaud oculoglandular syndrome คือ เป็นอาการติดเชื้อที่ตา มีลักษณะคลายตาแดง ไข้แมวข่วนเป็นหนึ่งในสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของกลุ่มอาการนี้ อาจเป็นผลมาจากเชื้อ B. henselae เข้าตาโดยตรง หรือจากเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือดวิธีการรักษาไข้แมวข่วน
ไข้แมวข่วนไม่ใช่โรคร้ายแรง และไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา กรณีที่ได้รับการรักษา จะทำการรักษาโดยยาปฏิชีวนะสามารถบรรเทาอาการได้ Azithromycin (Zithromax) ใช้เพื่อลดอาการบวมของต่อมน้ำเหลืองอย่างรวดเร็ว และยาอื่นๆ ที่ใช้ในการรักษาได้แก่- Ciprofloxacin (Cipro)
- Rifampin (Rifadin)
- Tetracycline (Sumycin)
- Trimethoprim-sulfamethoxazole (Bactrim, Septra)
การป้องกันไข้แมวข่วน
ไข้แมวข่วนสามารถป้องกันได้โดยหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับแมว ระวังการถูกกัดหรือข่วนจากแมว อาจจะตัดเล็บของแมว เพื่อลดรอยขีดข่วน ควรล้างมือหลังเล่นกับแมวเพื่อป้องกันโรค รวมถึงระวังอย่าให้แมวเลียที่แผลเปิดหรือดวงตา เลี้ยงแมวของภายในบ้าน และป้องกันยุงกัดแมว เพื่อลดความเสี่ยงที่แมวจะติดเชื้อ B. henselae กำจัดหมัดให้แมว และทำความสะอาดบ้านอย่างสม่ำเสมอเมื่อไรที่ควรพบแพทย์
แมวข่วนสามารถดูแลด้วยตนเองได้ แต่หากมีอาการดังต่อไปนี้ร่วมดัวยควรพบแพทย์- ต่อมน้ำเหลืองอักเสบและบวม
- มีบาดแผลที่รักษาไม่หายภายใน 2-3 วัน
- มีแผลที่แดงอักเสบรอบๆ แผล
- มีไข้ต่ำๆ หลังจากถูกแมวกัดหรือข่วน
- อาการเจ็บบริเวณต่อมน้ำเหลือง
- มีไข้สูง
- ไม่สบายตัว
- มีอาการใหม่ๆ เพิ่ม
ภาพรวมของไข้แมวข่วนในระยะยาว
ผู้ป่วยไข้แมวข่วนโดยทั่วไปจะอาการดีขึ้นโดยไม่ต้องรักษา และผู้ที่ต้องการการรักษามักยาปฏิชีวนะจะช่วยบรรเทาอาการ และภาวะแทรกซ้อนจะเกิดในกลุ่มผู้ป่วยที่ภูมิคุ้มกันอ่อนแอเท่านั้นนี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา
- https://www.cdc.gov/healthypets/diseases/cat-scratch.html
- https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/cat-scratch-fever
- https://kidshealth.org/en/parents/cat-scratch.html
- https://www.medicalnewstoday.com/articles/311685
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น