ภาพรวม
โรคเบอร์เกอร์ (Buerger’s disease) คือการอักเสบของหลอดเลือดขนาดกลางและขนาดเล็ก ซึ่งมักเกิดกับหลอดเลือดแดง โดยจะไปทำให้หลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงมือและเท้าอุดตัน นำไปสู่อาการปวดและเนื้อเยื่อถูกทำลาย โรคดังกล่าวถูกพบไปทั่วโลก และเกิดได้กับทุกเพศทุกวัย แม้ว่าส่วนใหญ่มักจะเกิดในชายชาวเอเชีย และตะวันออกกลาง อายุระหว่าง 40-45 ปี ที่สูบบุหรี่จัดสาเหตุของโรคเบอร์เกอร์
ยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของโรคเบอร์เกอร์ แต่การสูบบุหรี่จัดจะเพิ่มความเสี่ยงในการพัฒนาโรคเบอร์เกอร์ได้ นักวิทยาศาสตร์ยังไม่ทราบว่าทำไมควันบุหรี่ถึงเป็นตัวเพิ่มความเสี่ยง แต่พบความเกี่ยวพันระหว่างข้อมูลที่ได้บันทึกไว้ ในคลินิกเมโย ผู้ป่วยโรคเบอร์เกอร์ทุกรายมีประวัติสูบบุหรี่อาการของโรคเบอร์เกอร์
อาการของโรคเบอร์เกอร์จะเริ่มจากการที่หลอดเลือดแดงบวม และเกิดลิ่มเลือดภายในหลอดเลือด ทำให้กระแสเลือดถูกขัดขวาง และเลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื่อได้น้อยลง ผลที่ตามมาคือ เนื้อเยื่อตาย เนื่องจากขาดสารอาหารและออกซิเจน อาการของโรคเบอร์เกอร์มักเริ่มจากอาการปวดบริเวณที่เกิดโรค ตามด้วยการอ่อนแรง อาการของโรคมีดังนี้:- รู้สึกปวดภายในมือและเท้า หรือบริเวณแขนและขา ซึ่งอาการปวดจะเป็นๆหายๆ
- เกิดบาดแผลภายในนิ้วมือ หรือนิ้วเท้า
- หลอดเลือดดำอักเสบ
- นิ้วมือ หรือนิ้วเท้าซีด เมื่ออยู่ในที่ที่อุณหภูมิเย็น
การตรวจและวินิจฉัย
โรคเบอร์เกอร์จะถูกวินิจฉัยจากอาการทางคลินิก หมายความว่า ไม่มีการตรวจที่จำเพาะสำหรับโรคดังกล่าว แม้ว่าจะมีหลายอาการที่มีลักษณะคล้ายกับอาการของโรคเบอร์เกอร์ ซึ่งแพทย์จะต้องใช้ความสามารถในการส่งตรวจเพื่อการวินิจฉัยแยกโรค เมื่อเริ่มมีอาการเกิดขึ้น แพทย์จะเก็บตัวอย่างเลือดเพื่อส่งตรวจวินิจฉัยแยกจากโรคลูปัส โรคเบาหวาน หรือความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด หากผลเป็นลบ แพทย์จะเพิ่มการสั่งตรวจอัลตราซาวน์หลอดเลือด หรือการฉีดสีเข้าไปดูภายในหลอดเลือด (Angiogram) การวินิจฉัยหลอดเลือดด้วยการฉีดสี (Angiogram) เป็นการ X-ray พิเศษชนิดหนึ่งที่เพิ่มการฉีดสารทึบรังสีเข้าไปในหลอดเลือดแดง ขณะเดียวกันก็ทำการ X-ray การตรวจนี้จำเป็นต้องสอดเข็มเข้าไปในหลอดเลือดแดงใหญ่บริเวณขาหรือแขน และบางครั้งจำเป็นต้องทำการสวนหลอดเลือดในคราวเดียวกัน การตรวจอื่นๆที่แพทย์อาจจะทดสอบ คือการทำ Allen test เป็นการทดสอบการไหลเวียนของเลือดที่มาเลื้ยงที่มือ ถ้าผลทดสอบเป็นบวกจะช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคเบอร์เกอร์ได้ แต่ก็ยังสามารถบ่งบอกถึงสภาวะอื่นๆได้อีกมากมายทางเลือกในการรักษาโรคเบอร์เกอร์
ยังไม่มีทางรักษาโรคเบอร์เกอร์ อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่สำคัญที่สุดเพียงอย่างเดียวที่จะสามารถบรรเทาอาการ และป้องกันไม่ให้โรคดำเนินไปเร็ว คือการเลิกสูบบุหรี่ นอกจากนี้ ในบางรายสามารถควบคุมความปวดได้ด้วยการหลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีอากาศหนาว ในบางกรณี ความปวดที่เกิดขึ้นอาจรุนแรงมากจนต้องพึ่งการผ่าตัดที่เรียกว่า Sympathectomy เพื่อขจัดความเจ็บปวด ในทางกลับกัน มีคนรายงานว่ามีอาการดีขึ้นด้วยการดื่มของเหลวมากๆ และใช้ชีวิตที่กระฉับกระเฉง ซึ่งจะช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือดได้การป้องกันโรคเบอร์เกอร์
โรคดังกล่าวยังไม่มีวัคซีน การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตสามารถป้องกันบุคคลไม่ให้เกิดโรคเบอร์เกอร์ได้ แม้ว่าการเลิกสูบบุหรี่จะสามารถป้องกันการลุกลามของโรคภาวะแทรกซ้อนของโรคเบอร์เกอร์
โรคเบอร์เกอร์ หรือที่รู้จักกันในชื่อ thromboangiitis obliterans เป็นภาวะการอักเสบที่พบไม่บ่อย ซึ่งส่งผลกระทบหลักต่อหลอดเลือดบริเวณแขนขา โดยเฉพาะที่มือและเท้า มีลักษณะเฉพาะคือการก่อตัวของลิ่มเลือด (thrombi) ในหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำขนาดเล็กและขนาดกลาง ซึ่งอาจส่งผลให้การไหลเวียนของเลือดลดลงและความเสียหายของเนื้อเยื่อ ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากโรคโรคเบอร์เกอร์ ได้แก่:- เนื้อตายเน่า:การไหลเวียนของเลือดที่ลดลงที่เกิดจากลิ่มเลือดอาจส่งผลให้เนื้อเยื่อเสียหายและเสียชีวิตได้ นำไปสู่เนื้อเน่า เนื้อตายเน่าสามารถเกิดขึ้นได้เฉพาะที่และส่งผลให้สูญเสียนิ้วหรือนิ้วเท้า หรืออาจขยายวงกว้างมากขึ้นและเกี่ยวข้องกับเนื้อเยื่อบริเวณที่ใหญ่ขึ้น
- แผล: เนื่องจากการไหลเวียนของเลือดลดลงและความเสียหายของเนื้อเยื่อ แผลสามารถเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะที่นิ้วมือและนิ้วเท้า แผลเหล่านี้อาจเจ็บปวดและอาจหายช้า
- การติดเชื้อ:แผลเปิดและแผลเปื่อยมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ซึ่งอาจทำให้อาการซับซ้อนยิ่งขึ้นและต้องได้รับการแทรกแซงทางการแพทย์
- การตัดแขนขา:ในกรณีที่รุนแรง เมื่อเนื้อตายเน่าหรือเนื้อเยื่อเสียหายอย่างรุนแรงและการไหลเวียนของเลือดไม่สามารถฟื้นฟูได้ อาจจำเป็นต้องตัดแขนขาที่ได้รับผลกระทบ
- อาการปวดเรื้อรัง:การไหลเวียนของเลือดที่ลดลงและความเสียหายของเนื้อเยื่ออาจทำให้เกิดอาการปวดเรื้อรังในแขนขาที่ได้รับผลกระทบ
- โรค Raynaud:บุคคลบางคนที่เป็นโรคเบอร์เกอร์ อาจประสบกับปรากฏการณ์ของ Raynaud โดยที่หลอดเลือดของนิ้วมือและนิ้วเท้าหดตัวมากเกินไปเพื่อตอบสนองต่ออุณหภูมิที่เย็นจัดหรือความเครียด ทำให้พวกเขาเปลี่ยนเป็นสีขาวหรือสีน้ำเงินและเจ็บปวด
- ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของโรคหัวใจ:โรคเบอร์เกอร์ มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของการเกิดภาวะหัวใจและหลอดเลือดอื่น ๆ เช่นโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง
- การอักเสบทั่วร่างกาย:เชื่อกันว่าโรคเบอร์เกอร์เกี่ยวข้องกับการตอบสนองต่อภูมิต้านทานตนเองหรือการอักเสบ ในบางกรณี การอักเสบนี้อาจส่งผลต่อส่วนอื่นๆ ของร่างกายนอกเหนือจากแขนขาได้
แนวโน้มในระยะยาว
หากคุณสามารถหยุดสูบบุหรี่ได้ อาการที่เกี่ยวพันกับโรคเบอร์เกอร์ จะไม่เกิดขึ้น และไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษา หากคุณมีอาการรุนแรง ภาวะแทรกซ้อน เช่น การมีเนื้อตาย หรือร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่งมีปัญหาการไหลเวียนของเลือด อาจเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ การเกิดเนื้อตายที่รุนแรงจำเป็นต้องตัดแขนขาส่วนนั้นออก การไปพบแพทย์เมื่อคุณเริ่มรู้สึกไม่สบายขะช่วยให้คุณหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
- https://www.cdc.gov/tobacco/campaign/tips/diseases/buergers-disease.html
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/buergers-disease/symptoms-causes/syc-20350658
- https://www.webmd.com/a-to-z-guides/what-is-buergers-disease
เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น