ภาวะขาหัก (Broken Leg) เป็น ภาวะของการหักหรือร้าวของกระดูกที่ขา หรืออาจเรียกว่า กระดูกขาแตกหรือหัก ก็ได้
ทั้งนี้ การแตกหักของกระดูกขาอาจเกิดขึ้นกับกระดูกตามอวัยวะต่าง ๆ เช่น:
-
กระดูกโคนขา กระดูกโคนขาเป็นกระดูกที่อยู่เหนือเข่า เรียกอีกอย่างว่ากระดูกต้นขา
-
กระดูกหน้าแข้ง กระดูกหน้าแข้งเป็นกระดูกที่อยู่บริเวณหน้าแข้ง เป็นกระดูกสองชิ้นที่ใหญ่กว่ากระดูกขาใต้เข่าลงไป
-
กระดูกน่อง กระดูกน่องเป็นกระดูกสองชิ้นที่เล็กกว่ากระดูกใต้เข่าลงไป หรือเป็นกระดูกขาชิ้นนอกซึ่งอยู่ระหว่างเข่าและข้อเท้า
กระดูกขา 3 ชิ้นนี้เป็นกระดูกที่ยาวที่สุดในร่างกาย กระดูกโคนขาจะเป็นส่วนที่ยาวและแข็งแรงที่สุด
อาการขาหัก
หากเกิดกระดูกโคนขาแตกหรือหัก จะเห็นหรือรู้สึกได้ชัดเจนมาก เพราะกระดูกส่วนนี้แข็งแรกมาก และหากจะทำให้หัก ก็ต้องใช้แรงมหาศาล แต่หากกระดูกส่วนอื่นแตกหักอาจจะเห็นหรือรู้สึกได้ไม่ชัดเจนแบบกระดูกโคนขา หากกระดูกทั้ง 3 ชิ้นนี้แตกหรือหัก จะมีอาการดังต่อไปนี้:
-
มีอาการปวดรุนแรง
-
มีอาการเจ็บหรือปวดมากเมื่อขยับหรือเคลื่อนไหว
-
มีอาการบวม
-
เกิดรอยฟกช้ำ
-
ขาผิดรูป
-
ขาสั้นลง
-
เดินเหินไม่สะดวกหรือเดินไม่ได้เลย
สาเหตุขาหัก
สาเหตุ 3 ประการที่พบบ่อยที่สุดเมื่อเกิดภาวะขาหัก ได้แก่
-
เกิดการบาดเจ็บ การหกล้มหรือตกจากที่สูง การประสบอุบัติเหตุ หรือการได้รับแรงกระทกจากการเล่นกีฬาอาจทำให้เกิดภาวะขาหักได้
-
การใช้งานขามากเกินไป การออกแรงซ้ำ ๆ หรือการใช้งานขามากเกินไปอาจทำให้กระดูกขาแตกหรือหักได้
-
โรคกระดูกพรุน โรคกระดูกพรุนเป็นภาวะที่ร่างกายสูญเสียมวลกระดูกมากเกินไป หรือทำให้มวลกระดูกเหลือน้อยลง ซึ่งจะทำให้กระดูกอ่อนแอและอาจแตกหรือหักได้
ประเภทของกระดูกหัก
ประเภทของกระดูกหักและความรุนแรงของการแตกหักขึ้นอยู่กับน้ำหนักของแรงที่ทำให้เกิดความเสียหาย
แรงบีบอัดเพียงเล็กน้อยแต่เกิดขึ้นต่อเนื่องอาจแค่ทำให้กระดูกร้าวได้ แต่แรงบีบอัดอย่างหนักอาจทำให้กระดูกแตกและหักได้
ประเภทของกระดูกหักที่พบบ่อย ได้แก่ :
-
การแตกหักตามขวาง กระดูกหักประเภทนี้มีลักษณะกระดูกแตกเป็นเส้นตรงและในแนวนอน
-
กระดูกหักเฉียง กระดูกหักประเภทนี้มีลักษณะกระดูกแตกเป็นเส้นทะแยงมุม
-
กระดูกหักเป็นเกลียว กระดูกหักประเภทนี้มีลักษณะกระดูกแตกเป็นเส้นรอบ ๆ กระดูกเหมือนลายเส้นบนเสาไฟหน้าร้านตัดผม ซึ่งเกิดมักเกิดจากจากแรงบิด
-
กระดูกแตกย่อย กระดูกหักประเภทนี้มีลักษณะกระดูกแตกเป็นชิ้น ๆ หรือ 3 ชิ้นขึ้นไป
-
การแตกหักแบบมั่นคง กระดูกหักประเภทนี้มีลักษณะปลายกระดูกเสียหายเรียงตัวกันใกล้กับตำแหน่งรอยแตก แม้จะขยับเบา ๆ ก็เคลื่อนไหวลำบาก
-
กระดูกหักแบบมีแผลเปิด กระดูกหักประเภทนี้มีชิ้นส่วนของกระดูกแทงทะลุออกมาทางผิวหนังหรือกระดูกโผล่ออกมาทางบาดแผล
การรักษาอาการขาหัก
แพทย์เลือกวิธีรักษาภาวะขาหัก โดยดูจากตำแหน่งและประเภทของกระดูกที่หัก ซึ่งแพทย์จะวินิจฉัยโรคเพื่อดูว่าการแตกหักเป็นประเภทใดด้วย เช่น :
-
กระดูกหักแบบมีแผลเปิด กระดูกหักประเภทนี้จะมีกระดูกแทงหรือโผล่ออกมาจากผิวหนัง
-
กระดูกแตกหักแบบแผลปิด กระดูกหักประเภทนี้ผิวโดยรอบไม่มีแผลเปิด
-
กระดูกแตกหักไม่สมบูรณ์ กระดูกหักประเภทนี้เป็นกระดูกแตก แต่ไม่แยกออกจากกัน
-
กระดูกแตกหักสมบูรณ์.กระดูกหักประเภทนี้ กระดูกจะหักออกเป็นสองส่วนขึ้นไป
-
กระดูกแตกหักแบบแยกจากกันกระดูกหักประเภทนี้ ชิ้นส่วนกระดูกในแต่ละด้านของรอยแตกไม่อยู่ในแนวเดียวกัน
-
กระดูกเดาะ กระดูกหักประเภทนี้เป็นกระดูกแตกเพียงด้านเดียว ส่วนกระดูกอีกด้านโก่งไป ตามแรงกดที่ปะทะเข้ามา กระดูก “งอ” ภาวะนี้มักเกิดขึ้นกับเด็ก
การรักษากระดูกหักเบื้องต้นก็เพื่อให้แน่ใจว่า ส่วนปลายของกระดูกอยู่ในแนวเดียวกันอย่างที่ควรจะเป็น จากนั้น จึงทำการตรึงกระดูกเพื่อให้กระดูกสามารถรักษาตัวเองได้ดี ทั้งนี้ เริ่มด้วยการจัดขาของผู้ที่มีกระดูกแตกหรือหัก
หากเป็นกระดูกแตกหักแบบแยกจากกัน แพทย์อาจต้องเคลื่อนชิ้นส่วนของกระดูกให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง กระบวนการจัดท่าและจัดตำแหน่งกระดูกนี้เรียกว่า การจัดแนวกระดูกให้เข้าที่ เมื่อกระดูกอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องแล้ว ขาจะถูกตรึงด้วยเฝือกกระดานหรือเฝือกที่ทำจากปูนปลาสเตอร์หรือไฟเบอร์กลาส
ศัลยกรรมรักษา
ในบางกรณี แพทย์จำเป็นต้องฝังอุปกรณ์ยึดภายใน เช่น แท่งยึดกระดูก แผ่นเหล็กยึดกระดูกหรือสกรูยึดกระดูก แพทย์จำเป็นต้องใช้วิธีการทำศัลยกรรมรักษาในกรณีดังต่อไปนี้ เช่น:
-
กระดูกหักหลายจุด
-
กระดูกแตกหักแบบแยกจากกัน
-
กระดูกหักหรือแตกแล้วทำให้เอ็นรอบข้างเสียหาย
-
กระดูกแตกหรือหักที่หักยาวไปยังข้อต่อ
-
กระดูกแตกหรือหักที่เกิดแรงกระแทกจากอุบัติเหตุ
-
กระดูกแตกหรือหักในบางบริเวณ เช่น โคนขา
ในบางกรณี แพทย์อาจแนะนำให้ใส่โลหะยึดตรึงกระดูกรยางค์ภายนอก ซึ่งมีลักษณะเป็นโครงครอบอยู่นอกขา และยึดเนื้อเยื่อขาเข้ากับกระดูก
การรักษาด้วยยา
แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ที่มีกระดูกแตกหรือหักใช้ยาแก้ปวดที่สามารถหาซื้อได้ทั่วไป เช่น อะเซตามิโนเฟน หรือ ไอบูโพรเฟน เพื่อช่วยลดอาการปวดและการอักเสบ
ในกรณีที่มีอาการปวดรุนแรง แพทย์อาจสั่งจ่ายยาบรรเทาอาการปวดที่รุนแรงขึ้น
การทำกายภาพบำบัด
เมื่อถอดเฝือกแล้ว แพทย์อาจแนะนำให้ทำกายภาพบำบัดเพื่อลดอาการตึง และช่วยฝึกการเคลื่อนไหวและสร้างความแข็งแกร่งให้กับขาที่รักษาหายแล้ว
ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากภาวะขาหัก
ผู้ป่วยที่มีภาวะขาหักอาจพบภาวะแทรกซ้อนระหว่างและหลังกระบวนการรักษา เช่น :
-
กระดูกอักเสบ (เกิดการติดเชื้อที่กระดูก)
-
เส้นประสาทถูกทำลายจากกระดูกแตกและได้รับบาดเจ็บที่เส้นประสาท
-
ความเสียหายของกล้ามเนื้อจากการที่กระดูกแตกใกล้กับกล้ามเนื้อข้างเคียง
-
อาการปวดข้อ
-
เป็นภาวะแทรกซ้อนจาก โรคข้อเข่าเสื่อม ที่มีต่อเนื่องเป็นเวลานาน จากการเรียงตัวของกระดูกที่ไม่ดีในระหว่างขั้นตอนการรักษา
ต้องเจออะไรบ้างในช่วงฟื้นตัวจากภาวะขาหัก
การรักษาภาวะขาหักอาจใช้เวลาหลายสัปดาห์ถึงหลายเดือน ระยะเวลาในการพักฟื้นจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการบาดเจ็บ และวิธีการดูแลตัวเองของผู้ป่วยภาวะกระดูกหักตามแพทย์สั่ง
หากใส่เฝือกอยู่ แพทย์อาจแนะนำให้ใช้ไม้ค้ำยันหรือไม้เท้า เพื่อรักษาน้ำหนักตัวไม่ให้ทิ้งลงที่ขาข้างที่หักเป็นเวลา 6 ถึง 8 สัปดาห์หรือนานกว่านั้น
หากใส่โลหะยึดตรึงกระดูกรยางค์ภายนอก แพทย์มักถอดออกหลังจากใส่ประมาณ 6 ถึง 8 สัปดาห์
ในช่วงพักฟื้นนี้ อาการปวดอาจมีโอกาสหยุดหรือหายใปก่อนที่กระดูกที่หักจะกลับมาแข็งแรงพอที่จะทำกิจกรรมอื่น ๆ ได้ตามปกติ
หลังจากถอดเฝือกหรืออุปกรณ์ยึดกระดูกต่าง ๆ แล้ว แพทย์อาจแนะนำให้จำกัดการเคลื่อนไหวจนกว่ากระดูกจะแข็งแรงพอที่จะกลับไปทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ตามปกติ
หากแพทย์แนะนำให้ทำกายภาพบำบัดและออกกำลังกาย การรักษาอาจใช้เวลาหลายเดือนหรือนานขึ้น ในกรณีที่มีการแตกหรือหักอย่างรุนแรง
ปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ
ปัจจัยดังต่อไปนี้อาจส่งผลต่อการฟื้นตัวของกระดูก:
-
อายุของผู้ป่วยกระดูกแตกหรือหัก
-
การบาดเจ็บอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นเมื่อเกิดภาวะขาหัก
-
การติดเชื้อ
-
โรคประจำตัวหรือภาวะอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับภาวะขาหัก เช่น โรคอ้วน การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป โรคเบาหวาน การสูบบุหรี่ การขาดสารอาหาร ฯลฯ
หากคิดว่าหรือรู้ว่า ตัวเองมีภาวะกระดูกขาแตกหัก ให้รีบพบแพทย์ทันที
ภาวะขาหักและการใช้เวลาพักฟื้นที่นานจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อความคล่องตัวและการใช้ชีวิตตามปกติของผู้ป่วย อย่างไรก็ตาม เมื่อได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีและเหมาะสม ผู้ป่วยมักจะกลับมาทำงานได้ตามปกติ
อาหารที่ควรรับประทานเมื่อขาหัก
โภชนาการที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการรักษาอาการขาหัก ร่างกายต้องการสารอาหารเฉพาะเพื่อช่วยในการซ่อมแซมกระดูก ลดการอักเสบ และรักษาสุขภาพโดยรวม อย่าลืมปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพหรือนักโภชนาการก่อนทำการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญใดๆ กับการรับประทานอาหารของคุณ โดยเฉพาะในช่วงระยะพักฟื้น คำแนะนำทั่วไปบางประการเกี่ยวกับโภชนาการระหว่างการฟื้นตัวของขาหัก:1. โปรตีน
โปรตีนเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการซ่อมแซมเนื้อเยื่อและการบำรุงรักษากล้ามเนื้อ รวมแหล่งโปรตีนไร้ไขมัน เช่น ไก่ ไก่งวง ปลา เนื้อวัวไร้ไขมัน ไข่ ผลิตภัณฑ์นม พืชตระกูลถั่ว และเต้าหู้ในอาหารของคุณ2. แคลเซียมและวิตามินดี
แคลเซียมมีความสำคัญต่อสุขภาพกระดูกและการซ่อมแซม แหล่งที่มาของแคลเซียม ได้แก่ ผลิตภัณฑ์จากนม (นม โยเกิร์ต ชีส) นมจากพืชเสริม ผักใบเขียว (ผักโขม ผักคะน้า) อัลมอนด์ และปลาซาร์ดีน วิตามินดีช่วยในการดูดซึมแคลเซียม และคุณสามารถได้รับจากแสงแดดเช่นเดียวกับอาหารเสริม เช่น น้ำส้มและซีเรียล3. วิตามินและแร่ธาตุ
วิตามินและแร่ธาตุ เช่น วิตามินซี วิตามินเอ และสังกะสี สนับสนุนกระบวนการบำบัดของร่างกาย รวมผักและผลไม้หลากสีสันไว้ในอาหารของคุณเพื่อให้แน่ใจว่าคุณได้รับสารอาหารที่หลากหลาย4. กรดไขมันโอเมก้า 3
ไขมันที่ดีต่อสุขภาพเหล่านี้มีคุณสมบัติต้านการอักเสบ และสามารถพบได้ในปลาที่มีไขมัน (ปลาแซลมอน ปลาแมคเคอเรล ปลาซาร์ดีน) เมล็ดแฟลกซ์ เมล็ดเจีย และวอลนัท5. ไฟเบอร์
ไฟเบอร์ช่วยในการย่อยอาหารและสุขภาพโดยรวม ธัญพืชไม่ขัดสี (ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีต) ผลไม้ ผัก พืชตระกูลถั่ว และถั่วต่างๆ เป็นแหล่งไฟเบอร์ที่ดี6. ดื่มน้ำอย่างเพียงพอ
ดื่มน้ำปริมาณมากเพื่อให้ร่างกายไม่ขาดน้ำ เนื่องจากช่วยสนับสนุนการทำงานของร่างกายและช่วยรักษาการไหลเวียนของเลือดให้แข็งแรง7. หลีกเลี่ยงแคลอรี่ส่วนเกิน
ในช่วงที่ไม่มีกิจกรรมใดๆ สิ่งสำคัญคือต้องคำนึงถึงปริมาณแคลอรี่เพื่อป้องกันน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นโดยไม่พึงประสงค์ ปรับปริมาณแคลอรี่ตามระดับกิจกรรมของคุณ8. จำกัดน้ำตาลและอาหารแปรรูป
น้ำตาลและอาหารแปรรูปที่มากเกินไปอาจทำให้เกิดอาการอักเสบและขัดขวางกระบวนการบำบัดได้ เลือกใช้อาหารทั้งส่วนที่อุดมด้วยสารอาหารแทน9. อาหารที่อุดมด้วยคอลลาเจน
คอลลาเจนเป็นโปรตีนที่มีบทบาทในการสร้างเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน อาหารเช่นน้ำซุปกระดูก หนังไก่ หนังปลา และอาหารเสริมคอลลาเจนเป็นแหล่งของคอลลาเจน โปรดจำไว้ว่าความต้องการทางโภชนาการเฉพาะของคุณอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น อายุ เพศ ระดับกิจกรรม และความรุนแรงของการบาดเจ็บ การปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพหรือนักโภชนาการสามารถช่วยให้คุณวางแผนโภชนาการส่วนบุคคลที่สนับสนุนการรักษาและความเป็นอยู่โดยรวมของคุณได้นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
-
https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/broken-leg/symptoms-causes/syc-20370412
-
https://www.nhs.uk/conditions/broken-leg/
-
https://www.webmd.com/first-aid/broken-leg
เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team