โรคกระดูกอักเสบคืออะไร
กระดูกติดเชื้อหรือโรคกระดูกอักเสบ (Bone Infection) เกิดจากเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อราลุกลามเข้ากระดูก
กระดูกติดเชื้อในเด็กส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นกับกระดูกส่วนที่เป็นกระดูกยาวเช่นแขนและขา ส่วนในผู้ใหญ่มักพบเจอในกระดูกส่วนสะโพก กระดูกสันหลังและเท้า
การติดเชื้อในกระดูกสามารถเกิดขึ้นแบบฉับพลันหรือค่อยๆแสดงอาการซึ่งใช้เวลานาน แต่หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม กระดูกที่ติดเชื้อก็อาจเสียหายแบบถาวรได้
อาการของโรคกระดูกอักเสบ
อาการเริ่มแรกตามปกติแล้วมักปรากฏออกมาให้เห็นด้วยอาการเจ็บปวดตรงบริเวณที่มีการติดเชื้อ อาการที่แสดงออกมาทั่วไปมีดังต่อไปนี้:
-
มีไข้สูงและหนาวสั่น
-
มีอาการแดงตรงบริเวณที่ติดเชื้อ
-
มีความรู้สึกไม่สบายตัว
-
พบหนองในบริเวณที่เป็น
-
บริเวณที่ติดเชื้อจะบวมแดง
-
ไม่สามารถเคลื่อนไหวบริเวณข้อต่อแขนขาตรงที่มีอาการได้
สาเหตุของโรคกระดูกอักเสบ
สิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่มักมีเชื้อสตาฟิโลคอคคัส ออเรียส อยู่ในกระแสเลือดอยู่แล้วและเป็นสาเหตุทำให้กระดูกติดเชื้อได้ การติดเชื้ออาจเกิดขึ้นในบริเวณใดบริเวณหนึ่งของร่างกาย และแพร่กระจายไปยังกระดูกโดยผ่านทางกระแสเลือด
ภาวะดังกล่าวอาจลุกลามมาจากอาการบาดเจ็บที่มีความรุนแรง รอยบาดลึกหรือเป็นแผลที่มีการติดเชื้อใกล้ๆกับกระดูก การติดเชื้อแบคทีเรียยังสามารถเกิดขึ้นหลังจากการผ่าตัดในบริเวณที่ผ่าตัดได้ เช่นการผ่าตัดเปลี่ยนกระดูกสะโพก หรือ การหักและซ่อมแซมกระดูก เมื่อกระดูกมีการแตกหัก เชื้อแบคทีเรียจะลุกลามเข้าไปที่กระดูกและส่งผลทำให้เกิดโรคกระดูกอักเสบขึ้น
สาเหตุที่ทำให้เกิดการติดเชื้อที่กระดูกมักมาจากการติดเชื้อแบคทีเรียสตาฟิโลคอคคัส ออเรียสเป็นส่วนใหญ่ อาการของการติดเชื้อจะปรากฏให้เห็นได้บนผิวหนัง แต่ตามปกติแล้วมักไม่ใช่สาเหตุของปัญหาด้านสุขภาพ แต่อย่างไรก็ตาม เชื้อแบคทีเรียดังกล่าวเอาชนะระบบภูมิต้านทานของเรา ทำให้เราอ่อนแอลง ซึ่งนั่นทำให้เราเป็นโรคและเกิดอาการเจ็บป่วย เชื้อแบคทีเรียยังเป็นสาเหตุของการติดเชื้อในบริเวณที่มีการบาดเจ็บได้อีกด้วย
ป้องกันการเกิดโรคกระดูกอักเสบได้อย่างไร
ควรทำความสะอาดบาดแผลด้วยการล้างและเช็ดให้สะอาด หากดูแลรักษาเองที่บ้านแล้วแผลบาดดูไม่ดีขึ้น ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที แผลที่ถูกตัดขาดควรทำความสะอาดและปล่อยให้แห้งดีก่อนจะใส่อวัยวะเทียม รวมไปถึงการสวมใส่รองเท้าที่เหมาะสมและสวมอุปกรณ์ป้องกันเพื่อหลีกเลี่ยงอาการบาดเจ็บจากการวิ่ง กระโดด หรือในการเล่นกีฬาบางชนิด
การวินิจฉัยโรคกระดูกอักเสบ
แพทย์จะมีวิธีหลากหลายวิธีในการวินิจฉัยโรคหากพบว่าผู้ป่วยมีอาการของกระดูกติดเชื้อ แพทย์จะตรวจร่างกายเพื่อดูอาการบวม เจ็บและสีที่เปลี่ยนเป็นสีคล้ำ แพทย์อาจส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติมเพื่อหาตำแหน่งที่แน่ชัดและดูการแพร่กระจายของบริเวณที่ติดเชื้อ
อาจมีการตรวจเลือดเพื่อหาสาเหตุของการติดเชื้อ หรือตรวจด้วยวิธีอื่นๆเพื่อหาเชื้อแบคทีเรียเช่นการใช้ไม้ป้ายของเหลวในลำคอเพื่อนำไปตรวจเพาะเชื้อ ตรวจปัสสาวะและเพาะเชื้ออุจจาระร่วมด้วย
การตรวจที่อาจแนะนำเพิ่มคือการตรวจสแกนกระดูก การตรวจจะแสดงให้เห็นเซลล์และการทำงานของเมตาบอริกในกระดูกได้ โดยใช้กัมมันตภาพรังสีในการฉายแสงลงไปยังเนื้อเยื่อกระดูก หากการสแกนกระดูกยังไม่สามารถบอกรายละเอียดได้มากพอ ผู้ป่วยอาจต้องได้รับการตรวจMRIร่วมด้วย ในผู้ป่วยบางรายอาจมีความจำเป็นต้องมีการตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจ
แต่อย่างไรก็ตามพบว่าการตรวจเอกซเรย์ตามปกติก็สามารถให้ข้อมูลเพียงพอที่แพทย์จะนำมาตัดสินใจด้านการรักษาได้แล้ว
การรักษาโรคกระดูกอักเสบ
ทางเลือกในการรักษากระดูกติดเชื้อมีได้หลายวิธี
การใช้ยาปฏิชีวนะเป็นสิ่งที่จำเป็นในการรักษาโรคกระดูกติดเชื้อ แพทย์จะสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะผ่านทางหลอดเลือดดำ หรืออาจฉีดตรงเข้าสู่เส้นเลือดในรายที่มีการติดเชื้อที่รุนแรง ผู้ป่วยอาจมีความจำเป็นต้องได้รับยาปฏิชีวนะนานมากกว่า 6 สัปดาห์
ในผู้ป่วยบางรายที่กระดูกติดเชื้ออาจจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดในการรักษา การผ่าตัดจะเป็นการเอากระดูกที่ติดเชื้อ เนื้อเยื่อที่ตายออกไป รวมไปถึงการกำจัดฝีต่างๆหรือตุ่มหนองที่เกิดขึ้นออกไปพร้อมกัน
หากผู้ป่วยใส่อวัยวะเทียมที่เป็นต้นเหตุของการติดเชื้อ แพทย์จะต้องเอาอวัยวะนั้นๆออกไป แล้วใส่อันใหม่เข้าไปแทน ในเวลาเดียวกันแพทย์ก็จะเลาะเอาเนื้อเยื่อตายที่อยู่รอบๆที่ติดเชื้อออกไปในคราวเดียวกัน
ใครคือผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกอักเสบ
การมีโรคประจำตัวบางโรคหรือมีสภาพการณ์บางอย่างอาจเป็นการเพิ่มโอกาสให้เกิดโรคกระดูกอักเสบมากขึ้นได้ เช่น:
-
โรคเบาหวานที่มีผลกับเลือดที่ไปเลี้ยงกระดูก
-
มีการใช้ยาทางหลอดเลือดดำ
-
การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ซึ่งมีไว้รักษาโรคไต
-
เนื้อเยื่อรอบๆกระดูกได้รับบาดเจ็บ
-
ข้อเทียมหรือชิ้นส่วนมีการติดเชื้อ
-
โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ
-
สูบบุหรี่
ผู้ป่วยส่วนใหญ่ของโรคกระดูกอักเสบสามารถรักษาได้ การติดเชื้อในกระดูกชนิดเรื้อรัง อจต้องใช้เวลานานกว่าในการรักษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรายที่ต้องได้รับการผ่าตัด การเฝ้าระวังกับโรคนี้เป็นสิ่งที่ดีมาก เพราะโรคดังกล่าวจะรักษาได้ผลดีถ้ารักษาตั้งแต่ช่วงแรกของโรค
ภาวะข้างเคียงของโรคกระดูกอักเสบ
การติดเชื้อของกระดูกหรือที่เรียกว่ากระดูกอักเสบอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้หากไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างทันท่วงที ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากการติดเชื้อที่กระดูก ได้แก่:- โรคกระดูกอักเสบเรื้อรัง : หากการติดเชื้อระยะแรกไม่ได้รับการรักษาอย่างเพียงพอ อาจกลายเป็นโรคเรื้อรังได้ โรคกระดูกอักเสบเรื้อรังอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อกระดูกและเนื้อเยื่อในระยะยาว รวมถึงการติดเชื้อซ้ำอีกด้วย
- การก่อตัวของฝี : ที่เต็มไปด้วยหนองอาจเกิดขึ้นภายในกระดูกที่ติดเชื้อ ทำให้เกิดอาการบวม ปวด และเนื้อเยื่อเสียหาย
- เนื้อร้ายของกระดูก : การติดเชื้อของกระดูกอย่างรุนแรงอาจทำให้เนื้อเยื่อกระดูกตาย ซึ่งอาจส่งผลให้กระดูกที่ได้รับผลกระทบอ่อนแอและยุบได้
- กระดูกหัก : กระดูกที่อ่อนแอเนื่องจากการติดเชื้ออาจเสี่ยงต่อการแตกหักหรือแตกหักได้ง่ายกว่า แม้ว่าจะได้รับบาดเจ็บเล็กน้อยก็ตาม
- การมีส่วนร่วมของข้อต่อ : หากการติดเชื้อแพร่กระจายไปยังข้อต่อใกล้เคียง อาจทำให้เกิดโรคข้ออักเสบติดเชื้อ ทำให้เกิดอาการปวด อักเสบ และอาจเกิดความเสียหายต่อข้อต่อถาวรได้
- การแพร่กระจายของการติดเชื้อ : ในบางกรณี การติดเชื้อสามารถแพร่กระจายผ่านกระแสเลือดไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทางระบบ เช่น ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ซึ่งเป็นภาวะที่เป็นอันตรายถึงชีวิต
- การเคลื่อนไหวที่จำกัด : ความเจ็บปวด ความเสียหายของข้อต่อ และความผิดปกติของกระดูกอาจส่งผลให้เกิดการเคลื่อนไหวที่จำกัดและความบกพร่องในการทำงานของแขนขาหรือข้อต่อที่ได้รับผลกระทบ
- การตัดแขนขา : ในกรณีที่รุนแรงและไม่มีการควบคุม ซึ่งการติดเชื้อไม่สามารถรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือนำไปสู่ความเสียหายของเนื้อเยื่ออย่างกว้างขวาง การตัดแขนขาที่ได้รับผลกระทบอาจจำเป็นเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของการติดเชื้อ
- อาการปวดเรื้อรัง : อาการปวดเรื้อรังสามารถเกิดขึ้นได้แม้หลังจากการรักษาสำเร็จแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีความเสียหายอย่างมากต่อกระดูกและเนื้อเยื่อโดยรอบ
- การกลับเป็นซ้ำ : แม้ว่าการรักษาจะประสบผลสำเร็จ บางครั้งโรคกระดูกอักเสบก็สามารถเกิดขึ้นอีกได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีภาวะพื้นฐานที่จูงใจให้บุคคลเกิดการติดเชื้อ
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
-
https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/osteomyelitis/symptoms-causes/syc-20375913
-
https://www.webmd.com/diabetes/osteomyeltis-treatment-diagnosis-symptoms
-
https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/9495-osteomyelitis
-
https://medlineplus.gov/boneinfections.html
เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team