ลิ่มเลือดคืออะไร
ลิ่มเลือดเกิดจากเลือดเปลี่ยนจากของเหลวเป็นเป็นลิ่มที่จับตัวเป็นก้อน ปกติการแข็งตัวของเลือดช่วยให้ร่างกายไม่เสียเลือดมากเกินไป เมื่อมีแผลหรือบาดเจ็บ แต่ลิ่มเลือดที่เกิดผิดที่ผิดเวลา ก่อให้เกิดปัญหาใหญ่ เมื่อเกิดลิ่มเลือดในเส้นเลือดดำ ลิ่มเลือดจะไม่สลายไปตามเวลา เป็นอันตรายและถึงแก่ชีวิตได้ ลิ่มเลือดที่ไม่เคลื่อนไปไหน ไม่ทำให้เกิดอันตราย แต่มันมีโอกาสที่จะเคลื่อนที่ไป และทำให้เกิดอันตรายได้ ถ้าลิ่มเลือดเคลื่อนที่ผ่านเส้นเลือดไปที่หัวใจหรือปอด มันจะอุดเส้นเลือดทำให้เลือดไม่ไหลเวียน ซึ่งเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ เมื่อเกิดลิ่มเลือดผู้ป่วยควรเข้าพบแพทย์โดยด่วน ถ้าสงสัยว่าจะมีลิ่มเลือดแพทย์จะตรวจดูอาการชนิดของลิ่มเลือด
ระบบไหลเวียนเลือดของคนประกอบด้วยหลอดเลือด เรียกว่าหลอดเลือดแดง และหลอดเลือดดำ ซึ่งนำเลือดไปทั่วร่างกาย ลิ่มเลือดเกิดได้ทั้งในหลอดเลือดแดงและดำ เมื่อเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดแดง จะทำให้เกิดอาการอย่างฉับพลัน และต้องการการรักษาฉุกเฉิน อาการของลิ่มเลือดในหลอดเลือดแดงคือ ปวดมาก บางส่วนของร่างกายเป็นอัมพาต และอาจทำให้เกิดหัวใจวายหรือโรคของเส้นเลือดสมองได้ ลิ่มเลือดในเส้นหลอดเลือดดำ อาจเกิดอย่างช้าๆใช้เวลา แต่ก็ยังส่งผลให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ การอุดตันที่รุนแรงที่สุดของเส้นหลอดเลือดดำคือ ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำส่วนลึก (Deep Vein Thrombosis)ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำส่วนลึก (Deep vein thrombosis)
เมื่อลิ่มเลือดก่อตัวในหลอดเลือดดำใหญ่ที่อยู่ลึกในร่างกาย ที่พบบ่อยคือที่ขาข้างใดข้างหนึ่ง แต่อาจเกิดที่แขน อุ้งเชิงกราน ปอด และแม้แต่ในสมอง ลิ่มเลือดเกิดได้โดยไม่มีอาการให้เห็นชัด บางครั้งมีอาการเหมือนโรคอื่น นี่คืออาการเบื้องต้นของลิ่มเลือดอุดตันในสมอง แขน ขา หัวใจ ท้องและปอดลิ่มเลือดอุดตันที่แขน ขา
ที่พบบ่อยคือลิ่มเลือดอุดตันที่ขา อาการของลิ่มเลือดอุดตันที่ขา และแขน คือ ปวด บวมแดง รู้สึกร้อนบริเวณนั้น อาการจะขึ้นอยู่กับขนาดของลิ่มเลือด จึงอาจมีอาการบวมที่น่องโดยไม่ปวด หรือถ้าลิ่มเลือดก้อนใหญ่ ขาอาจบวมทั้งขาและปวดมาก ส่วนใหญ่แล้ว ลิ่มเลือดจะเกิดที่แขน หรือขาข้างใดข้างหนึ่ง หากมีอาการที่แขน ขาข้างเดียวจึงมีโอกาสมากที่จะเกิดจากลิ่มเลือดลิ่มเลือดหัวใจ หรือหัวใจวาย
ลิ่มเลือดในหัวใจทำให้เกิดหัวใจวาย แม้หัวใจมักไม่ค่อยเกิดลิ่มเลือด แต่ก็ยังมีโอกาสเกิดได้ ลิ่มเลือดในหัวใจจะทำให้คุณเจ็บหน้าอก หรือรู้สึกหนักๆที่หน้าอก และมักเวียนหัว และหายใจถี่ลิ่มเลือดในท้อง
มีอาการท้องเสีย ปวดท้องรุนแรง และอาเจียน แต่ถ้าติดเชื้อไวรัส หรืออาหารเป็นพิษ ก็จะมีอาการคล้ายกันลิ่มเลือดอุดตันในสมอง
ทำให้มีอาการปวดหัวรุนแรง และกะทันหัน และการมองเห็น และการพูดผิดปกติในทันทีทันใดลิ่มเลือดในปอดหรือ Pulmonary Embolism
ลิ่มเลือดที่ไปถึงปอด ทำให้เกิดอาการดังนี้- เจ็บหน้าอก
- หายใจลำบากกะทันหัน ซึ่งไม่เกี่ยวกับการออกกำลังกาย
- ใจเต้นเร็ว
- หายใจถี่ หายใจไม่อิ่ม
- ไอเป็นเลือด
ปัจจัยทางร่างกายที่ทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตัน
- ตะกรันไขมันที่ผนังหลอดเลือดแตก หรือฉีกขาด และคอเลสเตอรอลในเลือดที่สูงเกินไปเป็นเวลานาน ทำให้เกิดคราบตะกรันจับอยู่ในผนังหลอดเลือด เมื่อฉีกขาดหรือแตกหลุดออกมา จะกระตุ้นให้เกล็ดเลือดจับตัวเป็นลิ่ม และอุดผนังหลอดเลือด หากจับตัวมาก เกิดการอุดตัน หรือลิ่มเลือดถูกพัดพาไปด้วยแรงบีบตัวของหัวใจ หากไปอุดตันที่ปอด สมองและหัวใจ ถึงตายได้
- เลือดไหลเวียนผิดปกติ เลือดที่ไหลช้าอาจทำให้เกิดลิ่มเลือดได้ เช่นในผู้ป่วยที่นอนติดเตียงนานๆ หลังผ่าตัดใหญ่ และการเดินทางที่ใช้เวลานาน
ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ
ปัจจัยเสี่ยงบางอย่างเพิ่มโอกาสเกิดลิ่มเลือด การที่เพิ่งออกจากโรงพยาบาลหลังนอนรักษายาวนาน หรือหลังจากการผ่าตัดใหญ่ เป็นปัจจัยที่เพิ่มโอกาสเกิดลิ่มเลือด และ- อายุ โดยเฉพาะเมื่อคุณอายุเกิน 65 ปี
- การเดินทางไกลๆ เช่น การเดินทางที่นั่งนานเกินกว่าหกชั่วโมง
- การพักอยู่ในเตียง หรือการนั่งๆนอนๆ เป็นเวลานาน
- อ้วน
- ตั้งครรภ์
- มีประวัติคนในครอบครัวเคยเกิดลิ่มเลือด
- สูบบุหรี่
- มะเร็ง
- ยาคุมกำเนิดบางชนิด
เมื่อไหร่ที่ควรไปพบแพทย์
การวินิจฉัยจากอาการเพียงอย่างเดียว ค่อนข้างยาก เพราะบางครั้งผู้ป่วยไม่มีอาการ แต่ให้สังเกตอาการที่เกิดขึ้นโดยไม่มีที่มา หากคุณมีอาการดังนี้ ควรไปพบแพทย์ทันที- หายใจลำบากกะทันหัน
- แน่นหน้าอกมาก
- หายใจลำบาก มองไม่เห็นหรือพูดลำบากอย่างกะทันหัน
การดูแลตนเองเพิ่มเติม
ลิ่มเลือดที่อุดตันในเส้นเลือดดำส่วนลึก มักเกิดกับผู้ที่ไม่เคลื่อนไหว หรือเคลื่อนไหวร่างกายน้อยเป็นเวลานาน โดยเฉพาะในการเดินทางที่ยาวนาน การป้องกันที่ทำได้คือ- ลุกเดินทุก 1-2 ชั่วโมง ไม่นั่งไขว้ขา เหยียดขาเพื่อช่วยให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น
- ดื่มน้ำมากๆ หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์
- งดสูบบุหรี่ก่อนเดินทาง
- หลีกเลี่ยงการกิยาที่ทำให้ง่วง เพื่อไม่ให้อยู่ในท่าเดิมนานเกินไป
- แอสไพรินช่วยลดความเสี่ยงได้ แต่ควรปรึกษาแพทย์ก่อน
อาหารที่ดีต่อผู้ที่มีลิ่มเลือด
เป็นที่รู้กันว่าอาหารบางชนิดมีประโยชน์ในการส่งเสริมสุขภาพหัวใจและหลอดเลือดและลดความเสี่ยงของลิ่มเลือด แม้ว่าไม่มีอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งที่สามารถรับประกันการป้องกันลิ่มเลือดได้ แต่การผสมผสานอาหารที่อุดมด้วยสารอาหารหลากหลายชนิดเข้ากับอาหารของคุณสามารถช่วยให้สุขภาพหัวใจและหลอดเลือดโดยรวมดีขึ้นได้ ต่อไปนี้เป็นอาหารบางอย่างที่อาจมีบทบาทในการป้องกันลิ่มเลือด:1. ปลาที่มีไขมัน:
- แหล่งที่มา:ปลาแซลมอน ปลาแมคเคอเรล ปลาเทราท์ ปลาซาร์ดีน
- ประโยชน์:อุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งมีคุณสมบัติต้านการอักเสบและอาจช่วยลดการสร้างลิ่มเลือด
2. เบอร์รี่:
- แหล่งที่มา:บลูเบอร์รี่ สตรอเบอร์รี่ ราสเบอร์รี่
- ประโยชน์:มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง โดยเฉพาะแอนโทไซยานิน ซึ่งอาจมีผลต้านเกล็ดเลือดและต้านลิ่มเลือด
3. ผักใบเขียว:
- แหล่งที่มา:ผักโขม ผักคะน้า
- ประโยชน์:มีวิตามินเคสูง ซึ่งมีความสำคัญต่อการแข็งตัวของเลือดอย่างเหมาะสม การรักษาปริมาณวิตามินเคอย่างสม่ำเสมอเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ใช้ยาลดความอ้วนในเลือด
4. กระเทียม:
- แหล่งที่มา:กระเทียมดิบหรือปรุงสุก
- ประโยชน์:ประกอบด้วยอัลลิซิน ซึ่งเป็นทินเนอร์เลือดตามธรรมชาติที่มีคุณสมบัติป้องกันการแข็งตัวของเลือด
5. ขมิ้น:
- ที่มา:เครื่องเทศขมิ้น
- ประโยชน์:มีเคอร์คูมินซึ่งมีฤทธิ์ต้านการอักเสบและต้านเกล็ดเลือด
6. ขิง:
- แหล่งที่มา:ขิงสดหรือผง
- ประโยชน์:ขิงมีคุณสมบัติต้านการอักเสบและอาจช่วยป้องกันการเกิดลิ่มเลือด
7. ถั่ว:
- แหล่งที่มา:อัลมอนด์, วอลนัท
- ประโยชน์:ถั่วมีกรดไขมันโอเมก้า 3 และไฟเบอร์ ซึ่งมีส่วนดีต่อสุขภาพของหัวใจ
8. น้ำมันมะกอก:
- ที่มา:น้ำมันมะกอกเอ็กซ์ตร้าเวอร์จิ้น
- ประโยชน์:อุดมไปด้วยไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวซึ่งอาจช่วยลดความเสี่ยงของการแข็งตัวของเลือด
9. ธัญพืช:
- ที่มา:ควินัว ข้าวกล้อง โฮลวีต
- ประโยชน์:ให้ไฟเบอร์ซึ่งสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่ลดลงของโรคหัวใจและหลอดเลือด
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
- https://www.nhs.uk/conditions/blood-clots/
- https://www.webmd.com/dvt/blood-clot-symptoms
- https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/deep-vein-thrombosis/symptoms-causes/syc-20352557
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น