อาการทั่วไปของโรคตาบอด
โรคตาบอด หรือ (Blindness) คือ ภาวะความผิดปกติของดวงตาที่ไม่สามารถมองไม่เห็นภาพทุกอย่างได้เป็นปกติ รวมถึงแสงสว่างด้วย ซึ่งถือว่าเป็นความพิการทางสายตาที่ทำให้ไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้เหมือนกับคนปกติทั่วไปได้ หากคุณมีอาการตาบอดในบางส่วน คุณสามารถมองเห็นได้อย่างจำกัด เช่น คุณอาจมองเห็นวัตถุไม่ชัดหรือคุณมองเห็นวัตถุแล้วแต่ไม่สามารถแยกแยะรูปทรงของวัตถุได้ สำหรับอาการตาบอดสนิทนั้นหมายถึงคุณจะไม่สามารถมองเห็นได้อีกเลย ถือว่าเป็นผู้พิการทางสายตาได้ทันที อาการตาบอดตามกฏหมายหมายถึงการมองไม่เห็นที่รุนแรงมาก ซึ่งโดยปกติแล้วบุคคลทั่วไปสามารถมองเห็นตามปกติได้ที่ 200 ฟุต แต่คนตาบอดตามกฏหมายนั้นสามารถมองเห็นได้แค่เพียง 20 ฟุตเท่านั้นเอง หากคุณสูญเสียการมองเห็นอย่างกะทันหัน ควรรีบปรึกษาแพทย์โดยทันที ซึ่งจะมีคนพาคุณไปที่แผนกฉุกเฉินเพื่อทำการรักษา อย่ารอให้การมองเห็นกลับมาเป็นปกติ เพราะถ้ารอนานเกินไป คุณอาจจะตาบอดไปเลยก็ได้ การรักษาอาการตาบอดขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำใหคุณเกิดอาการตาบอด ซึ่งอาจเป็นโอกาสที่ทำให้มีโอกาสการกลับมามองเห็นได้เหมือนเดิมมีมากขึ้น การรักษาอาการตาบอดสามารถทำได้โดยการผ่าตัดหรือรักษาด้วยการใช้ยาอาการตาบอด
หากคุณมีอาการตาบอดสนิทแล้ว คุณจะไม่เห็นอะไรเลย ซึ่งเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของคุณได้ แต่หากคุณตาบอดแค่บางส่วน คุณอาจมีอาการเหล่านี้ ได้แก่- การมองเห็นที่พล่ามัว
- ไม่สามารถแยกแยะรูปทรงของวัตถุได้
- มองเห็นแค่เงาเท่านั้น
- มองเห็นในเวลากลางคืนไม่ดี
- มองเห็นแค่ด้านข้าง
สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคตาบอด
ปัญหาของโรคที่เกิดขึ้นกับดวงตาเหล่านี้อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคตาบอดได้ เช่น- โรคต้อหิน หมายถึงอาการความดันสูงภายในตา ที่สูงเกินไปจนเกิดการกดทับเส้นประสาทตาของคุณ ซึ่งขัดขวางการทำหน้าที่ส่งข้อมูลจากตาไปยังสมองจึงทำให้มองไม่ชัด
- โรคจอประสาทตาเสื่อม เป็นโรคที่สามารถทำลายดวงตาส่วนหนึ่งได้ ซึ่งทำให้ตาของคุณนั้นเกิดการมองไม่เห็นส่วนมากอาการนี้มักเกิดกับผู้สูงอายุ
- โรคต้อกระจก เกิดจากการมองเห็นที่พล่ามัวสามารถพบได้ในผู้สูงอายุเช่นเดียวกัน
- อาการสายตาขี้เกียจ สามารถทำให้เกิดการมองเห็นได้ยากมากขึ้นซึ่งนำมาสู่การสูญเสียการมองเห็น
- โรคเส้นประสาทตาอักเสบเป็นอาการอักเสบที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดการสูญเสียการมองเห็นชั่วคราวหรือถาวรได้
- โรคประสาทตาเสื่อม คือการที่จอประสาทตาถูกทำลาย ซึ่งอาจทำให้ตาบอดได้ในบางกรณีเท่านั้น
- เนื้องอกในตาทำให้จอประสาทตาและเส้นประสาทตานั้นเกิดความเสียหาย อาจนำไปสู่โรคตาบอดได้
- ความพิการมาแต่กำเนิด
- อาการบาดเจ็บที่ตา
- ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดที่ตา
ประเภทของตาบอด
- ตาบอดบางส่วน : คุณยังมีการมองเห็นอยู่บ้าง ผู้คนมักเรียกสิ่งนี้ว่า ” สายตาเลือนราง “
- ตาบอดสนิท : คุณไม่สามารถมองเห็นหรือตรวจจับแสงได้ สภาพนี้หายากมาก
- ตาบอดแต่กำเนิด : นี่หมายถึงการมองเห็นที่ไม่ดีที่คุณมีมาแต่กำเนิด สาเหตุรวมถึงสภาพตาและจอประสาทตาที่สืบทอดมาและความพิการแต่กำเนิดที่ไม่ได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรม
- การตาบอดตามกฎหมาย : นี่คือเมื่อการมองเห็นส่วนกลางอยู่ที่ 20/200 ในดวงตาที่มองเห็นได้ดีที่สุดของคุณ แม้ว่าจะแก้ไขด้วยแก้วหรือคอนแทคเลนส์ก็ตาม การมีวิสัยทัศน์ 20/200 หมายความว่าคุณต้องเข้าใกล้ 10 เท่า หรือวัตถุต้องใหญ่ขึ้น 10 เท่าจึงจะมองเห็นได้เมื่อเทียบกับคนที่มีการมองเห็น 20/20 นอกจากนี้ คุณอาจตาบอดได้หากขอบเขตการมองเห็นหรือการมองเห็นรอบข้างลดลงอย่างมาก (น้อยกว่า 20 องศา)
- โรคตาบอดทางโภชนาการ : คำนี้อธิบายถึงการสูญเสียการมองเห็นจากการขาดวิตามินเอ หากการขาดวิตามินเอยังคงดำเนินต่อไป จะสร้างความเสียหายให้กับผิวด้านหน้าของดวงตา ( xerophthalmia ) อาการตาบอดประเภทนี้ยังทำให้มองเห็นได้ยากขึ้นในเวลากลางคืนหรือในที่มีแสงสลัว เนื่องจากเซลล์เรตินาไม่ทำงานเช่นกัน
ใครบ้างที่มีความเสี่ยงจะตาบอด
บุคคลดังต่อไปนี้มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคตาบอดได้- คนที่เป็นโรคตา เช่น โรคจอประสาทตาเสื่อม และ โรคต้อหิน
- คนที่เป็นโรคเบาหวาน
- คนที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ
- คนที่เข้ารับการผ่าตัดตา
- คนที่ทำงานที่ต้องดูงานหรือวัตถุใกล้สายตาหรืองานที่เกี่ยวกับสารเคมีที่เป็นพิษ
- ทารกที่คลอดก่อนกำหนด
การรักษาอาการตาบอด
สำหรับผู้ที่มีอาการตาบอดสามารถใช้วิธีเหล่านี้ในการรักษาอาการตาบอดเพื่อทำให้คุณสามารถกลับมามองเห็นได้เป็นปกติอีกครั้ง- การสวมใส่แว่นตา
- การใส่คอนแทคเลนส์
- การผ่าตัดตา
- การใช้ยา
- การอ่านตัวอักษรเบรลล์
- การใช้สุนัขนำทาง
- การจัดระเบียบภายในบ้านที่ทำให้คุณสามารถใช้ชีวิตหรือหยิบจับหรือค้นหาสิ่งของได้ง่ายขึ้นและปลอดภัยยิ่งขึ้น
- การพับเงินด้วยรูปแบบที่แตกต่างกัน โดยทำให้สามารถแยกแยะจำนวนเงินที่เก็บได้
ระยะเวลาของการรักษาอาการตาบอด
การรักษาอาการตาบอดในระยะยาวเพื่อทำให้อาการตาบอดนั้นหายไปอย่างถาวรเป็นการรักษาที่ดีกว่าการรักษาโดยการป้องกันและทำให้สามารถหาสาเหตุที่ทำให้เกิดตาบอดได้ทันที การผ่าตัดโรคต้อกระจกที่ตาสามารถรักษาโรคต้อกระจกได้อย่างมีประสิทธภาพที่สุด ซึ่งไม่ส่งผลทำให้เกิดการตาบอด การวินิจฉัยและรักษาอาการตั้งแต่เนิ่นนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญมากสำหรับคนตาบอดที่มาจากโรคจอประสาทตาเสื่อมและโรคต้อหิน ซึ่งช่วยให้ชะลออาการหรือทำให้การมองเห็นนั้นดีขึ้นการป้องกันการตาบอด
การตรวจโรคตานั้นเพื่อหาโรคตาและช่วยป้องกันการสูญเสียการมองเห็น ควรได้รับการตรวจวัดสายตาเป็นประจำ และหากว่าคุณได้รับการวินิจฉัยโรคตาบางอย่าง เช่น โรคต้อหิน การรักษาด้วยการใช้ยา ก็สามารถป้องกันการสูญเสียการมองเห็นได้ การป้องกันการสูญเสียการมองเห็นจากสมาคมนักทัศนมาตรศาสตร์อเมริกา แนะนำให้ลูกของคุณนั้นได้รับการตรวจวัดสายตาตั้งแต่อายุ- อายุ 6 เดือน
- อายุ 3 ปี
- ทุกปีจนถึงอายุ 6 ปี และ อายุ 17 ปี
สถิติคนตาบอดในประเทศไทย
สถิตินี้มาจากหัวข้อเรื่อง สถานการณ์ของคนตาบอดในประเทศไทยในปี 2558 ซึ่งมีการวิจัยดังนี้ จากสถิติข้อมูลคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการทั่วประเทศ ทั้งหมด 1,918,867 ราย ซึ่งมีจำนวนคนพิการทางการเห็น 181,821 ราย แบ่งเป็น ชายจำนวน 87,081 ราย และหญิงจำนวน 94,740 ราย โดยยังไม่รวมถึงจำนวนที่ยังไม่ได้ลงทะเบียนไว้ (ข้อมูลวันที่ 2 พ.ย. 2558)นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา
- https://medlineplus.gov/ency/article/003040.htm
- https://www.medicinenet.com/blindness/index.htm
- https://kidshealth.org/en/kids/visual-impaired.html
เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น