งาดำ คืออะไร
งามีหลายประเภทงานั้นมีสีที่แตกต่างกัน ซึ่งอาจมีดำ น้ำตาล น้ำตาลเข้ม เทา ทอง หรือ ขาว
งาดำเป็นเมล็ดเล็ก ๆ แบน มัน ที่เติบโตอยู่ในฝัก อยู่ในตระกูล Sesamum indicum ซึ่งถูกปลูกมาหลายพันปีแล้ว
งาดำถูกปลุกในเอเชีย และได้รับความนิยมไปทั่วโลก ความนิยมที่เพิ่มขึ้นมาจากความเชื่อวางาดำมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากกว่า แต่คุณอาจสงสัยว่ามันจริงหรือไม่ บทความนี้จะบอกถึงรายละเอียดสารอาหารของเมล็ดงาดำและพวกมันอาจมีประโยชน์ที่สุดต่อสุขภาพอย่างไรสารอาหารของเมล็ดงาดำ
เมล็ดงาดำเต็มไปด้วยสารอาหาร เพียง 2 ช้อนโต๊ะ (14 กรัม) ของงาดำมี:- แคลลอรี่: 100
- โปรตีน: 3 กรัม
- ไขมัน: 9 กรัม
- คาร์ป: 4 กรัม
- ไฟเบอร์: 2 กรัม
- แคลเซียม: 18% ของปริมาณที่ร่างกายต้องการต่อวัน
- แม็กนีเซียม: 16% ของปริมาณที่ร่างกายต้องการต่อวัน
- ฟอสฟอรัส: 11% ของปริมาณที่ร่างกายต้องการต่อวัน
- คอปเปอร์: 83% ของปริมาณที่ร่างกายต้องการต่อวัน
- แมงกานีส: 22% ของปริมาณที่ร่างกายต้องการต่อวัน
- ไอรอน: 15% ของปริมาณที่ร่างกายต้องการต่อวัน
- ซิงค์: 9% ขงปริมาณที่ร่างกายต้องการต่อวัน
- ไขมันอิ่มตัว: 1 กรัม
- กรดไขมันไม่อิ่มตัว: 3 กรัม
- ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน: 4 กรัม
งาขาวกับงาดำ
มีความเชื่อที่ว่าเมล็ดงาดำหรือเมล็ดงาสีอื่น ๆ ยังมีเปลือกหุ้มอยู่ในขณะที่เมล้ดงาขางถูกเอาเปลือกออกแล้ว มันก็เกือบจะถูกทั้งหมด แต่เมล็ดงาบางชนิดที่ไม่ได้เอาเปลือกออกก็ยังมีสีขาว สีน้ำตาล สีขาวนวล ทำให้มันยากทีจะแยกความแตกต่างจากเมล็ดงาที่ปอกเปลือกออกแล้ว ฉะนั้น จึงเป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่จะดูฉลากว่ามันเป็นแบบปอกเปลือกหรือไม่ปอกเปลือก เมล็ดงาที่ไม่ได้เอาเปลือกออกจะกรอบและมีรสชาติที่เข้มข้นกว่า เมื่อเทียบกับเมล็ดงาแบบเอาเปลือกออกที่นุ่ม และมีรสชาติอ่อนกว่า รสชาติก็ไม่ใช่สิ่งเดียวที่แตกต่างของงาที่เอาเปลือกออกและไม่เอาเปลือกออก แต่สารอาหารก็ยังแตกต่างกันอีกด้วย ตารางด้านล่างบอกถึงความแตกต่างของงาทั้งสองแบบในปริมาณ 1 ช้อนโต๊ะ (9 กรัม)มีเปลือก | ไม่มีเปลือก | |
แคลเซียม | 88 mg | 5 mg |
ไอรอน | 1 mg | 0.5 mg |
โพแทสเซียม | 42 mg | 30 mg |
คอปเปอร์ | 0.37 mg | 0.11 mg |
แมงกานีส | 0.22 mg | 0.12 mg |
ประโยชน์ของงาดำ สรรพคุณ
งาดำมีมีสารอาหารที่ดีต่อสุขภาพมากมาย และการรับประทานพวกมันเป็นประจำอาจมีประโยชน์ เหตุผลหนึ่งที่งาดำมีประโยชน์ต่อสุขภาพเพราะมีผลต่อภาวะเครียดออกซิเดชั่น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง ในการศึกษาในหนูเป็นเวลา 8 สัปดาห์ การรับประทานเมล็ดงาดำ 1–2 mL ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมเป็รปนะจำทุกวันจะช่วยทำให้ภาวะดื้ออินซูลินดีขึ้นช่วยรักษาภาวะเครียดออกซิเดชั่นในตับ และช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคอ้วน นอกเหนือจากนี้ บางการทดลองในมนุษย์ยังแสดงให้เห็นว่างาดำอจช่วยลดภาวะเครียดออกซิเดชั่นได้ด้วย การศึกษาในคน 30 คนพบว่า การรับประทานงาดำ 2.5 กรัมต่อวัน เป็นเวลา 4 สัปดาห์ช่วยลดระดับของมาลอนไดแอลดีไฮด์ (MDA) ตัวชีวัดทางชีวภาพหนึ่งของภาวะเครียดออกซิเดชั่น แต่การวิจัยในคนยังมีจำนวนไม่มาก ซึ่งยังจำเป็นต้องทำการวิจัยให้มากขึ้น นอกจากนี้ การศึกษาบางชิ้นสนใจสารสกัดจากงาน ซึ่งนั่นอาจทำให้ผลลัพท์ที่ได้แตกต่างจากเมล็ดงา ดังนั้น จึงจำเป็นต้องทำการศึกษากลุ่มควบคุมในคนให้มากขึ้นสารสกัดจากงาดำมีสารต้านอนุมูลอิสระมาก
สารต้านอนุมูลอิสระเป็นสารที่มีความสำคัญในการป้องกันหรือทำให้เซลล์ในร่างกายชนิดต่าง ๆ ถูกทำลายได้ช้าลง สารต้านอนุมูลอิสระถูกเชื่อว่าเป็นตัวป้องกันการถูกทำลายของเซลล์จากภาวะเครียดออกซิเดชั่น การมีภาวะเครียดออกซิเดชั่นระยะยาวอาจทำให้เกิดโรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคมะเร็ง อาหารบางอย่างเป็นแหล่งที่ดีของสารต้านอนุมูลอิสระมากว่าชนิดอื่น ๆ ผลไม้ ผัก ถั่ว และธัญพืชเป็นแหล่งอาหารที่ดีที่สุด งาทุกชริดมีสารต้านอนุมูลอิสระและสารเคมีพืชที่มีประโยชน์ แต่งาดำดูเหมือนจะมีมากที่สุด เมล็ดงาดำที่แตกหน่อแล้วมีสารต้านอนุมูลอิสระมากกว่าเมล็ดที่ยังไม่แตกหน่ออาจช่วยให้ความดันโลหิตดีขึ้น
งานวิจัยเล็ก ๆ ในผู้ใหญ 30 คนที่ให้รับประทานแคปซูลที่มีงาดำ 2.5 กรัมเป็นประจำทุกวันเป็นเวลา 4 สัปดาห์พบว่าช่วยลดความดันโลหิตสูง ในขณะที่ผู้ที่ได้รับยาหลอกไม่พบการเปลี่ยนแปลงนี้ นอกจากนั้น การทบทวนงานวิจัยเกี่ยวกับเมล็ดงาที่ส่งผลต่อความดันโลหิตพบว่า 5 จาก 10 การศึกษาทางคลินิคเกี่ยวกับความดันโลหิตสูงนั้นดีขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ แต่นักวิจัยก็ยังต้องค้นคว้าเพิ่มเติมเพื่อจะได้มั่นใจกับสิ่งที่ค้นพบนี้อาจมีคุณสมบัติป้องกันมะเร็ง
ในไม่กี่ปีที่ผ่านมา เมล็ดงาได้รับการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับคุณสมบัติต้านมะเร็ง สารประกอบ 2 ชนิดในงาดำ ซีซามอลและซีซามีน เป็นสารที่ถูกเชื่อว่าเป็นสารต้านมะเร็ง ซีซามอลได้แสดงให้เห็นว่ามีคุณสมบัติต้านมะเร็งในสัตว์หลายชนิดและในหลอดทดลอง การศึกษาเหล่านี้ได้สังเกตความสามารถในการต่อสู้กับภาะวเครียดออกซิเดชั่นและควบคุมสถานะต่าง ๆ ในวัฏจักรเซลล์และการส่งสัญญาณต่าง ๆ ซึ่งทั้งหมดนี้มีบทบาทสำคัญต่อการเกิดมะเร็ง ซีซามินมีบทบาทคล้ายกันในการป้องกันมะเร็ง สารนี้ยังทำให้เกิดการทำลายเซลล์มะเร็งผ่านกระบวณการตายของเซลล์ และการกลืนกินตัวเองของเซลล์ การศึกษาในคน การศึกษาในเมล็ดงาดำธรรมดายังคงมีน้อยเมื่อเทียบกับสารสกัดจากเมล็ดงาดำ ดังนั้น การรับประทานงาดำให้ช่วยในเรื่องความเสี่ยงของโรคมะเร็งยังไม่ชัดเจนน้ำมันงาสกัดเย็นอาจช่วยให้สุขภาพผมและผิวดีขึ้น
น้ำมันงานั้นมักจะถูกนำไปเป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ดูแลผม และผิวหนัง เช่น สบู่ แชมพู และครีมบำรุงผิว เช่นนั้นแล้ว คุณอาจสงสัยว่าการรับประทานงาดำจะดีต่อสุขภาพผมและผิวด้วยหรือไม่ ในขณะที่มีการศึกษาบางชิ้นแสดงให้เห็นว่าการรับประทานงาดำนั้นส่งผลดีต่อผม และผิว เมล้ดงานั้นมีสารอาหารที่รู้กันว่าทำให้สุขภาพผมและผิวดีขึ้น ซึ่งมีดังนี้:- เหล็ก
- สังกะสี
- กรดไขมัน
- สารต้าอนุมูลอิสระ
เราจะใช้งาดำอย่างไรได้บ้าง
งาดำสามารถหาซื้อได้ตามร้านค้าทั่วไป หรือออนไลน์ เมล็ดงาดำมีประโยชน์มากมายหลายอย่างเมื่อเรานำพวกมันมาใช้ประกอบอาหาร เราอาจโรยพวกมันลงบนสลัด ผัก ข้าว หรือก๋วยเตี๋ยว ทั้งยังสามารถนำไปใช้ในอาหารประเภทอบต่าง ๆ หรือนำไปทาบนปลา เมล็ดงาดำสามารถนำไปทำเป็นนมได้หรือนำไปบดเป็นครีมได้ และน้ำมันที่ได้จากงาดำก็ยังสามารถใช้ได้เหมือนน้ำมันปกติทั่วไปด้วย เราสามารถซื้อสารสกัดของงาดำได้ในรูปแบบของน้ำมันหรือในรูปแบบของอาหารเสริม ยังไม่มีปริมาณที่แนะนำสำหรับการรับประทานสารสกัดจากงาดำ เพราะฉะนั้น ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ก่อนที่จะรับประทานอาหารเสริมจากเมล็ดงาดำ ถึงแม้ว่าเมล็ดงาดำจะปลอดภัยสำหรับคนส่วนมาก แต่บางคนอาจจะแพ้ ดังนั้น จึงควรระมัดระวังหากปรุงอาหารโดยใช้งาดำเป็นครั้งแรกนี่คือที่มาในบทความของเรา
- https://food.ndtv.com/food-drinks/5-healthy-benefits-of-sesame-seeds-for-better-digestion-and-healthier-bones-1416030
- https://hlagroproducts.medium.com/6-important-reasons-you-must-eat-black-sesame-seeds-ce6a9e402af3
- https://www.webmd.com/vitamins/ai/ingredientmono-1514/sesame
- https://www.health.harvard.edu/heart-health/seed-of-the-month-sesame-seeds
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น