ผู้เขียน Dr. Wikanda Rattanaphan
0
ยาบิสฟอสโฟเนต  

 Bisphosphonate คืออะไร

กลุ่มยาบิสฟอสโฟเนต และ Bisphosphonate คือ ยารักษาโรคกระดูกพรุน โรคที่เกี่ยวข้องกับกระดูก ใช้ลดระดับแคลเซียมในเลือดสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งบางชนิด  และใช้รักษาภาวะกระดูกบาง ซึ่งยากลุ่มบิสฟอสโฟเนตจะช่วยชะลอ หรือป้องกันการสูญเสียของมวลกระดูก และเสริมสร้างสุขภาพกระดูกให้แข็งแรงมากขึ้น  ยาในกลุ่มบิสฟอสโฟเนตจะยับยั้งภาวะที่เซลล์สลายกระดูก ช่วยย่อยสลายกระดูกเก่า และนำไปสร้างเป็นเซลล์กระดูกใหม่ ช่วยในกระบวนการเพิ่มมวลกระดูกอย่างมีประสิทธิภาพ แต่การใช้ Bisphosphonate นั้นจะอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ ขึ้นกับการตอบสนองต่อยาของผู้ป่วยด้วย

โรคกระดูกพรุน คือ

โรคกระดูกพรุนเป็นโรคที่พบได้บ่อย พบได้ทุกเพศ แต่จะพบได้มากในผู้สูงอายุ สาเหตุของโรคเกิดจากการทำงานของฮอร์โมนที่ลดลง อาหารที่ส่งผลเสียต่อโรคกระดูกพรุนได้แก่กาแฟ อาหารที่มีแคลเซียมต่ำ พฤติกรรมอย่างการสูบบุหรี่ และไม่ออกกกำลังกาย Bisphosphonates คือ ยาใช้รักษาโรคกระดูกพรุน โดยเฉพาะโรคกระดูกพรุนที่เกิดกับหญิงวัยหมดประจําเดือน หรือชายสูงอายุ รวมทั้งโรคกระดูกพรุนที่เกิดจากยาบางชนิดอย่างยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ ผลกระทบจากมะเร็งที่กระจายไปที่กระดูก รวมทั้งภาวะแคลเซียมสูงเนื่องจากโรคมะเร็ง และโรคพาเจท มีทั้งรูปแบบสำหรับรับประทาน และยาสำหรับฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำBisphosphonate

คำเตือนในการใช้ยาBisphosphonate

เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการใช้ยา ผู้ป่วยควรใช้ยาอย่างระมัดระวัง และปฏิบัติตามคำแนะนำ ดังนี้
  • แจ้งให้แพทย์ทราบก่อนใช้ยา Bisphosphonate หากเคยมีประวัติallergy-0094/”>แพ้ยา หรือส่วนประกอบของยาในกลุ่มนี้ เพื่อป้องกันอาการแพ้ยา หรือผลข้างเคียงอื่น ๆ
  • แจ้งให้แพทย์ทราบถึงรายละเอียดของยา อาหารเสริม หรือสมุนไพรที่ผู้ป่วยกำลังใช้อยู่ เพราะยาบางชนิดอาจทำปฏิกิริยากันได้ 
  • หลังรับประทานยาผู้ป่วยควรนั่งนิ่ง ๆ อย่างน้อย 30 นาที และไม่ควรนอนหรือเอนหลังทันที เพราะอาจส่งผลให้กระเพาะอาหาร และหลอดอาหารเกิดการระคายเคือง รู้สึกแสบร้อนกลางอกได้
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัวบางอย่างไม่ควรรับประทานยาในกลุ่มบิสฟอสโฟเนต เช่น โรคไตระดับรุนแรง ภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร หรือผู้ป่วยที่ไม่สามารถนั่งนิ่ง ๆ ได้นานกว่า 30 นาที
  • ยา Bisphosphonate ควรรับประทานพร้อมน้ำเปล่า ไม่ควรรับประทานร่วมกับเครื่องดื่มชนิดอื่น ๆ เช่น กาแฟ น้ำผลไม้ น้ำอัดลม
  • ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ วางแผนจะตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา เพื่อป้องกันผลข่างเคียงของยากับทารก
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยากับผู้ป่วยที่มีอาการของโรคในระบบทางเดินอาหาร หรือ มีโรคหลอดอาหารอยู่เดิม โดยเฉพาะโรคหลอดอาหารอักเสบ หรืออาการทางระบบทางเดินอาหารส่วนต้น เช่น อาการปวดแสบปวดร้อนที่หน้าอก ปวดท้อง คลื่นไส้ เป็นต้น
  • ควรรับประทานยาในตอนเช้า ซึ่งเป็นเวลาที่ท้องว่าง โดยรับประทานพร้อมน้ำสะอาดหลังรับประทานยาให้นั่งเฉย ๆ หรือยืนตัวตรง ห้ามก้มหน้า ห้ามเอนศรีษะ และห้ามนอน และห้ามรับประทานพร้อมยาแคลเซียม เพราะจะลดประสิทธิภาพการดูดซึมยาบิสฟอสโฟเนต
  • หลังรับประทานยาไม่ควรรับประทานอาหารและเครื่องดื่มทันที ต้องพักท้องอย่างน้อย 30  – 60 นาที

ผลข้างเคียงของยา Bisphosphonate

ยา Bisphosphonate มักส่งผลให้เกิดการระคายเคืองที่กระเพาะอาหาร และอาการแสบร้อนที่กลางอก และอาการอื่น ๆ ได้แก่ หากผู้ป่วยมีอาการหายใจไม่ออก หรือมีอาการของโรคที่แย่ลง ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม ผลข้างเคียงที่รุนแรงอาจส่งผลให้กระดูกต้นขาหักแบบผิดปกติ หรือรู้สึกปวดต้นขาหรือขาหนีบ และรุนแรงถึงขั้นกระดูกขากรรไกรตาย เกิดอาการเหงือกร่น ทำให้เกิดภาวะติดเชื้อ ทำให้เกิดบาดแผลที่เหงือ และฟันหลุด แต่ภาวะที่รุนแรงนี้มักพบในผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ต้องรับยาในปริมาณสูง ๆ อย่างไรก็ตาม หากผู้ป่วยพบผลข้างเคียง หรือความผิดปกติของร่างกายใด ๆ ให้รีบแจ้งให้แพทย์ทันที

ใครที่ไม่ควรใช้ยา Bisphosphonates

Bisphosphonates เป็นกลุ่มยาที่ใช้กันทั่วไปในการรักษาโรคกระดูกพรุนและอาการบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับกระดูก แม้ว่าจะใช้ได้ผลกับบุคคลจำนวนมาก แต่ก็มีสถานการณ์และเงื่อนไขทางการแพทย์บางประการที่การใช้บิสฟอสโฟเนตอาจไม่เหมาะสมหรือต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ สิ่งสำคัญที่ควรทราบคือการตัดสินใจใช้บิสฟอสโฟเนตควรปรึกษากับผู้ให้บริการด้านการแพทย์ ต่อไปนี้เป็นปัจจัยและเงื่อนไขบางประการที่อาจรับประกันความระมัดระวังหรือการหลีกเลี่ยงการใช้บิสฟอสโฟเนต:
  • ปัญหาไต:
      • บุคคลที่มีความบกพร่องทางไตอย่างรุนแรงอาจมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นต่อภาวะแทรกซ้อนเมื่อรับประทานบิสฟอสโฟเนต ยาจะถูกขับออกทางไต และการทำงานของไตบกพร่องอาจส่งผลต่อการขับออกจากร่างกาย
  • ปัญหาเกี่ยวกับหลอดอาหาร:
      • บิสฟอสโฟเนตอาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อหลอดอาหาร และอาจนำไปสู่สภาวะต่างๆ เช่น หลอดอาหารอักเสบหรือแผลในหลอดอาหาร บุคคลที่มีปัญหาเกี่ยวกับหลอดอาหารหรือกลืนลำบากอาจจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงยาเหล่านี้หรือใช้ด้วยความระมัดระวัง
  • ภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ (ระดับแคลเซียมต่ำ):
      • บิสฟอสโฟเนตสามารถลดระดับแคลเซียมในบุคคลที่มีภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำอยู่แล้วได้ ก่อนเริ่มการรักษา ผู้ให้บริการด้านการแพทย์อาจตรวจสอบระดับแคลเซียมและแก้ไขข้อบกพร่องใดๆ
  • การตั้งครรภ์และให้นมบุตร:
      • ความปลอดภัยของบิสฟอสโฟเนตในระหว่างตั้งครรภ์และให้นมบุตรยังไม่เป็นที่ยอมรับ บุคคลที่ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรควรหารือเกี่ยวกับความเสี่ยงและผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพของตน
  • ปฏิกิริยาการแพ้:
      • บุคคลที่เคยมีอาการแพ้บิสฟอสโฟเนตหรือส่วนประกอบใด ๆ มาก่อนไม่ควรรับประทานยาเหล่านี้
  • ยาอื่นๆ:
    • ยาบางชนิด เช่น คอร์ติโคสเตียรอยด์และยาต้านอาการชักบางชนิด อาจทำปฏิกิริยากับบิสฟอสโฟเนต ผู้ให้บริการด้านการแพทย์ควรตระหนักถึงยาทั้งหมดที่บุคคลนั้นรับประทาน
เป็นสิ่งสำคัญสำหรับบุคคลในการจัดเตรียมประวัติทางการแพทย์ที่ครอบคลุมแก่ผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพ รวมถึงสภาวะสุขภาพ ยา และข้อกังวลที่มีอยู่ ข้อมูลนี้จะช่วยให้ผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพสามารถกำหนดแผนการรักษาที่เหมาะสมที่สุดซึ่งปรับให้เหมาะกับความต้องการและสถานการณ์เฉพาะของแต่ละบุคคล ปฏิบัติตามแผนการรักษาที่กำหนดเสมอและปรึกษากับผู้ให้บริการด้านการแพทย์หากมีข้อสงสัยหรือข้อกังวลใด ๆ

สรุปภาพรวมของยา Bisphosphonates

ยา Bisphosphonates เป็นยาที่มีประโยชน์ในการรักษาภาวะกระดูกพรุนในผู้สูงอายุ สามารถเพิ่มความหนาแน่นของกระดูก และลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะกระดูกหัก มักเกิดผลข้างเคียงขึ้นเมื่อผู้ป่วยที่ใช้ยาเป็นเวลานาน ๆ  แต่พบได้น้อยมาก จึงยังนับว่าเป็นยาที่รักษาอาการกระดูกพรุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2667901/
  • https://www.rheumatology.org/I-Am-A/Patient-Caregiver/Treatments/Bisphosphonate-Therapy
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด