โรคกินไม่หยุด (Binge Eating Disorder) : อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคกินไม่หยุด Binge eating disorder (BED) คือ การผิดปกติของการรับประทานอาหารที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรค ๆ หนึ่ง ประมาณ 2 เปอร์เซนต์ของประชากรโลกป่วยเป็นโรคนี้ ซึ่งเป็นสาเหตุของปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาหาร เช่น คอเรสเตอรอลสูง และ เบาหวาน 

ความผิดปกติในการรับประทานอาหารนั้น ไม่ได้มีสาเหตุมาจากอาหารเพียงอย่างเดียว มันถือเป็นความผิดปกติทางจิตเวช ผู้คนมักจะเป็นโรคนี้เมื่อต้องเผชิญกับปัญหาสุขภาพจิต เช่น โรควิตกกังวล หรือ โรคซึมเศร้า

Binge Eating Disorder

อาการโรคกินไม่หยุด

ผู้ที่เป็นโรคกินไม่หยุดอาจรับประทานอาหารในปริมาณที่เยอะมาก ในช่วงเวลาสั้น ๆ ถึงแม้ว่าพวกเขาจะไม่หิวก็ตาม บ่อยครั้ง ความเครียดและภาวะซึมเศร้านั้นเป็นสาเหตุและอาจกระตุ้นการเกิดโรคนี้

ผู้ป่วยมักอาจรู้สึกปลดปล่อยและผ่อนคลายระหว่างการกินแต่หลังจากนั้นมักจะรู้สึกผิดและสูญเสียการควบคุมได้

ในการวินิจฉัยโรคนี้ อาจพบอาการเหล่านี้:

  • รับประทานเร็วกว่าปกติ

  • กินอิ่มจนรู้สึกอึดอัด

  • รับประทานอาหารเยอะทั้ง ๆ ที่ไม่หิว

  • ระบประทานอาหารคนเดียว เพราะเกิดความรู้สึกอึดอัดใจ และอาย

  • รู้สึกผิด หรือรู้สึกรังเกียจตัวเอง

ผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้ มักประสบความรู้สึกไม่มีความสุขและกังวลใจเป็นอย่างมากเกี่ยวกับการกินที่มากเกินไป รูปร่าง และน้ำหนักของพวกเขา

อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคกินไม่หยุด

สาเหตุของการเกิดโรคนี้ยังไม่เป็นที่เข้าใจมากนัก แต่เป็นไปได้ว่าจะเกิดจากปัจจัยเสี่ยงหลายอย่าง ดังนี้:

  • สาเหตุทางพันธุกรรม: ผู้ป่วยโรคนี้อาจมีการตอบสนองต่อโดพามีนที่ไว โดพามีนคือสารเคมีในสมองที่หลั่งเมื่อรู้สึกได้รับรางวัลหรือมีความสุข มีหลักฐานชี้ชัดว่าความผิดปกตินี้สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้

  • เพศ: โรคกินไม่หยุดพบได้บ่อยในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย

  • ความเปลี่ยนแปลงในสมอง: มีสัญญานต่าง ๆ ที่บ่งบอกว่า ผู้ที่เป็นโรคนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงในสมองที่ส่งผลให้เกิดการตอบสนองต่ออาหารสูงขึ้นและการควบคุมตัวเองต่ำลง

  • ขนาดของร่างกาย: เกือบ 50 เปอร์เซ็นต์ของผู้ที่เป็นโรคนี้มีน้ำหนักตัวมาก และผู้ป่วย 25-50 เปอร์เซนต์ที่เป็นโรคนี้ ทำศัลยกรรมลดน้ำหนักเพื่อให้ถึงเกณฑ์ที่ปกติ

  • รูปลักษณ์: ผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้มีมุมมองที่ลบ ๆ ต่อรูปร่างของตัวเอง ไม่พอใจในร่างกาย ควบคุมอาหาร และความวิตกกังวลที่มากไปต่อรูปร่างส่งผลให้เกิดความผิดปกตินี้

  • กินมากเกินไป: การกินที่มากเกินไปทั้งในวัยเด็กและวัยรุ่นเป็นอาการแรกของความผิดปกตินี้

  • ความบอบช้ำทางจิตใจ: เครียดต่าง ๆ ในชีวิต เช่น การเหยียดหยาม ความตาย การที่ต้องอยู่ไกลจากครอบครัว อุบัติเหตุทางรถยนต์ การถูกล้อเลียนกลั่นแกล้งในวัยเด็ก ล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคนี้ทั้งสิ้น

  • ปัญหาทางจิตเวชอื่น ๆ: เกือบ 80 เปอร์เซนต์ของผู้ที่เป็นโรคนี้มีความผิดปกติทางจิตเวช อย่างเช่น โรคกลัวสิ่งต่าง ๆ  โรคซึมเศร้า ภาวะป่วยทางจิตจากเหตุการณ์รุนแรง หรือ ปัญหาจากการใช้สารเสพติด

ความต่อเนื่องของโรคกินไม่หยุดอาจถูกกระตุ้นได้จาก ความเครียด การควบคุมอาหาร ความคิดลบ ๆ เกี่ยวกับน้ำหนักและรูปร่างของตัวเอง การเข้าถึงอาหารได้ง่าย  ความเบื่อหน่าย

โรคกินไม่หยุดสามารถรักษาได้อย่างไรบ้าง

แผนการรักษาโรคนี้ขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของโรค และเป้าหมายของผู้ป่วยแต่ละคน

เป้าหมายของการรักษาอาจโฟกัสที่พฤติกรรมการกิน น้ำหนักที่เกิน รูปร่าง ปัญหาสุขภาพจิต หรือ ทั้งหมดนี้รวมกัน

ทางเลือกของการรักษาต่าง ๆ มีดังนี้ การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม จิตบำบัดสัมพันธภาพระหว่างบุคคล พฤติกรรมบำบัดวิภาษวิธี การบำบัดด้วยการลดน้ำหนัก และการใช้ยา  โดยอาจทำได้โดยการรักษาแบบตัวต่อตัว กลุ่ม หรือ การรักษาด้วยตัวเอง

บางคนอาจใช้การรักษาเพียงวิธีเดียว ในขณะที่บางคนอาจต้องใช้หลาย ๆ วิธีรวมกัน

การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม

Cognitive behavioral therapy (CBT) การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม มุ่งเน้นไปที่ความสัมพันธ์ระหว่าง ความคิดในแง่ลบ ความรู้สึก และพฤติกรรมที่เชื่อมโยงกับการกิน รูปร่าง และน้ำหนัก

เมื่อสาเหตุของความรู้สึกลบ ๆ ได้ถูกจำแนกออกมาแล้ว วิธีการต่าง ๆ ก็จะถูกนำมาใช้เพื่อช่วยเปลี่ยนแปลงความรู้สึกหรือความคิดเหล่านั้น

การช่วยเหลือต่าง ๆ อย่างเช่น การตั้งเป้าหมาย การรับประมทานอาหารตามรูปแบบเดิมเสมอ เปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับน้ำหนักและรูปร่างของตัวเอง สร้างแรงบันดาลใจในการควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์สุขภาพดี

การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมนั้นเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการใช้รักษาโรคกินไม่หยุด งานวิจัยหนึ่งพบว่า หลังจากเข้าร่วมการบำบัด 20 ครั้ง 79 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยไม่กินมากอีกต่อไป 59 เปอร์เซ็นต์ประสบความสำเร็จภายหลังการบำบัด 1 ปี

ทางเลือกอีกอย่างนึงก็คือ ผู้ป่วยสามารถรักษาด้วยเองได้เองโดยการปฏิบัติตามวิธีที่ได้รับคำแนะนำ อาจจะเข้าพบนักบำบัดบ้างเพื่อได้รับความช่วยเหลือในการตั้งเป้าหมายต่าง ๆ

การรักษาด้วยตัวเองนั้นมีราคาถูกกว่าและเข้าถึงได้ง่ายกว่า ด้วยเว็บไซต์และแอปพลิเคชั่นต่าง ๆ ที่ช่วยให้ง่ายขึ้น

จิตบำบัดสัมพันธภาพระหว่างบุคคล

Interpersonal psychotherapy (IPT) จิตบำบัดสัมพันธภาพระหว่างบุคคล นั้นมาจากความคิดที่ว่าการกินไม่หยุดคือวิธีการแก้ปัญหาสำหรับปัญหาส่วนตัวต่าง ๆ ที่ไม่สามารถแก้ไขได้ เช่น ความเศร้าโศก ปัญหาความสัมพันธ์ ความเปลี่ยนแปลงสำคัญในชีวิต หรือปัญหาทางสังคมที่ซ่อนอยู่

เป้าหมายของการบำบัดตชคือการจำแนกปัญหาต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงกับพฤติกรรมการกินที่ไม่ดี รับรู้ และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเหล่านั้นภายใน 12-16 สัปดาห์

การบำบัดวิธีนี้สามารถทำได้ทั้งแบบเป็นกลุ่มและแบบตัวต่อตัวกับนักบำบัด หรือบางครั้งต้องทำควบคู่กับการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม (CBT)

มีหลักฐานพิสูจน์ว่าการบำบัดชนิดนี้ให้ผลลัพท์ที่ดีทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งเทียบได้กับการบำบัดแบบ CBT

การบำบัดวิธีนี้มีประสิทธิภาพมากกับผู้ที่มีอาการรุนแรงและมีการรับรู้คุณค่าในตัวเองต่ำ

พฤติกรรมบำบัดวิภาษวิธี

Dialectical behavior therapy (DBT)  พฤติกรรมบำบัดแบบวิภาษวิธี ให้มุมมองของการกินไม่หยุดว่าเป็นการตอบสนองต่อประสบการณ์ไม่ดีต่าง ๆ ที่คน ๆ นึงไม่สามารถที่จะจัดการกับมันได้

การบำบัดนี้จะสอนให้ผู้ป่วยควบคุมการตอบสนองทางอารมณ์ต่าง ๆ ของตัวเองกับเรื่องแย่ ๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละวันโดยไม่ใช้การกินเป็นวิธีแก้ปัญหา

สิ่งที่เป็นหัวใจสำคัญของวิธีนี้คือ การมีสติ อดทนต่อความกังวลใจ การควบคุมอารมณ์ และ การมีปฏิสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพ

จากการศึกษาผู้หญิง 44 คนที่เข้ารับการบำบัดวิธีนี้ พบว่า 89 เปอร์เซ็นต์ หยุดพฤติกรรมการกินไม่หยุดเมื่อจบการบำบัด แต่เมื่อผ่านไป 6 เดือนพบว่าตัวเลขนี้ลดไปอยู่ที่ 56 เปอร์เซนต์

อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีข้อมูลมากนักเกี่ยวกับผลในรยะยางของการรักษาด้วยวิธีนี้เมื่อเทียบกับ CBT และ IPT

การบำบัดด้วยการลดน้ำหนัก

การบำบัดด้วยการลดน้ำหนักมีเป้าหมายที่จะช่วยให้ผู้ป่วยลดน้ำหนักลง ซึ่งอาจทำให้กินน้อยลง และช่วยให้มีความมั่นใจเกี่ยวกับรูปร่างมากขึ้น

ซึ่งเป็นความตั้งใจที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิธีการใช้ชีวิตแบบช้า ๆ โดยการควบคุมอาหารและออกกำลังกาย ในขณะที่คอยสังเกตอาหารที่กินเข้าไปและความคิดเกี่ยวกับอาหารในแต่ละวัน ควรจะลดน้ำหนักให้ได้ประมาณ 0.5 กิโลกรัมต่อสัปดาห์

ในขณะที่การลดน้ำหนักอาจช่วยให้รูปร่างดีขึ้นได้ และยังช่วยลดความเสี่ยงทางสุขภาพต่าง ๆ ที่มากับนำหนักตัวที่มากเกินไป แต่ก็ยังไม่มีประสิทธิภาพในการหยุดภาวะกินไม่หยุดได้เท่า CBT หรือ IPT

เช่นเดียวกับการลดน้ำหนักอันเนื่องมาจากน้ำหนักมากเกินไป การรักษาด้วยวิธีนี้ยังเห็นผลแค่ในระยะสั้น และน้ำหนักลดลงได้เพียงปานกลางเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม วิธีนี้ถือเป็นทางเลือกที่ดีของผู้ที่ไม่ประสบความสำเร็จในการรักษาด้วยวิธีอื่น

การรักษาด้วยยา

มียาหลายชนิดที่สามารถรักษาโรคกินไม่หยุดได้ ซึ่งมีราคาถูกและรวดเร็วกว่าการรักษาแบบดั้งเดิม

อย่างไรก็ตาม ยังไม่มียาใดที่มีประสิทธิภาพเท่าการรักษาด้วยพฤติกรรมบำบัดแบบต่าง ๆ

ยาที่สามารถรักษาได้ เช่น ยาต้านซึมเศร้า กลุ่มยากันชัก เช่น โทพิราเมท และยาที่ใช้รักษาโรคสมาธิสั้น เช่น lisdexamfetamine

นักวิจัยพบว่ายาจริง ๆ นั้นใช้รักษาโรคกินไม่หยุดได้ผลมากกว่ายาหลอกในระยะสั้น ๆ ยาต่าง ๆ นั้นมีประสิทธิภาพ 48.7 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ยาหลอกนั้นมีผลเพียง 28.5 เปอร์เซนต์เท่านั้น

ยาต่างๆ นั้นอาจช่วยลด ความอยากอาหาร ความครอบงำ และอาการของโรคซึมเศร้าได้

ถึงแม้ว่าการรักษานี้ดูเหมือนจะได้ผล แต่การศึกษาส่วนใหญ่ยังเป็นแค่ผลในระยะสั้น ๆ ยังคงต้องมีข้อมูลที่มากขึ้นอีกเกี่ยวกับผลในระยะยาว

นอกจากนี้ อาจมีผลข้างเคียงจากการใช้ยาเหล่านี้ เช่น ปวดหัว มีปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะอาหาร รบกวนการนอน ความดันเลือดสูงขึ้น และความวิตกกังวล

เนื่องจากผู้ที่เป็นโรคกินไม่หยุดส่วนมากมีปัญหาสุขภาพจิต เช่น โรควิตกกังวล หรือ โรคซึมเศร้า ดังนั้นอาจต้องรักษาด้วยยาอื่นร่วมด้วย

ภาวะแทรกซ้อนของโรคกินไม่หยุด

โรคกินไม่หยุด เป็นภาวะสุขภาพจิตที่ร้ายแรง โดยมีลักษณะเป็นอาการของการรับประทานอาหารปริมาณมากซ้ำๆ ในขณะที่รู้สึกสูญเสียการควบคุม ความผิดปกตินี้อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนทางร่างกายและอารมณ์ได้หลายอย่างหากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษา นี่คือภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากโรคกินไม่หยุด:
  • โรคอ้วน: การกินมากเกินไปมักทำให้ได้รับแคลอรี่มากเกินไป ซึ่งอาจส่งผลให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นและเป็นโรคอ้วนได้ ในทางกลับกัน โรคอ้วนมีความเกี่ยวข้องกับปัญหาสุขภาพหลายประการ เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และปัญหาข้อต่อ
  • โรคเบาหวาน:โรคกินไม่หยุดสามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานประเภท 2 ได้ เนื่องจากการบริโภคอาหารที่มีแคลอรี่สูงและหวานมากเกินไปในช่วงที่ดื่มสุรา
  • ความดันโลหิตสูง: โรคอ้วนและนิสัยการกินที่ไม่ดีสามารถส่งผลต่อความดันโลหิตสูง  ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง
  • โรคหัวใจ: ผู้ที่นอนอยู่บนเตียงอาจมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นต่อโรคหัวใจเนื่องมาจากปัจจัยต่างๆ เช่น โรคอ้วน ความดันโลหิตสูง และรูปแบบการรับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ
  • คอเลสเตอรอลสูง: การรับประทานอาหารมากเกินไปมักเกี่ยวข้องกับการบริโภคอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูง ซึ่งอาจส่งผลให้ระดับคอเลสเตอรอลสูงขึ้น และเพิ่มความเสี่ยงต่อปัญหาหัวใจและหลอดเลือด
  • ปัญหาระบบทางเดินอาหาร: การรับประทานอาหารมากเกินไปอาจทำให้ระบบย่อยอาหารตึงเครียด นำไปสู่ปัญหาต่างๆ เช่น กรดไหลย้อน ปวดท้อง และอาการลำไส้แปรปรวน
  • ความทุกข์ทางอารมณ์: โรคกินไม่หยุดอาจส่งผลให้เกิดความรู้สึกผิด ความอับอาย และความภาคภูมิใจในตนเองต่ำ การต่อสู้ทางอารมณ์เหล่านี้อาจทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล และปัญหาสุขภาพจิตอื่นๆ
  • การแยกตัวทางสังคม: บุคคลจำนวนมากที่มีโรคกินไม่หยุดถอนตัวจากกิจกรรมทางสังคมและความสัมพันธ์เนื่องจากความลำบากใจหรือความละอายใจเกี่ยวกับพฤติกรรมการกินของพวกเขา
  • คุณภาพชีวิตที่ลดลง: ภาวะแทรกซ้อนทางร่างกายและอารมณ์ของโรคกินไม่หยุดสามารถลดคุณภาพชีวิตโดยรวมของบุคคลได้อย่างมาก
  • ความผิดปกติด้านสุขภาพจิตอื่นๆ: โรคกินไม่หยุดมักเกิดขึ้นร่วมกับสภาวะสุขภาพจิตอื่นๆ เช่น ภาวะซึมเศร้า โรควิตกกังวล และความผิดปกติของสารเสพติด
  • ค่ารักษาพยาบาลที่เพิ่มขึ้น: ภาวะแทรกซ้อนทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับโรคกินไม่หยุดอาจทำให้ค่ารักษาพยาบาลเพิ่มขึ้นสำหรับผู้ป่วย
สิ่งสำคัญที่ควรทราบคือโรคกินไม่หยุดเป็นโรคที่สามารถรักษาได้ และการขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ เช่น นักบำบัด จิตแพทย์ และนักโภชนาการที่ลงทะเบียน สามารถสร้างความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในการจัดการความผิดปกติและป้องกันภาวะแทรกซ้อน การบำบัดทางปัญญาและพฤติกรรม  การใช้ยา และการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตเป็นหนึ่งในตัวเลือกการรักษาสำหรับบุคคลที่มีเตียงเสริม การแทรกแซงตั้งแต่เนิ่นๆเป็นกุญแจสำคัญในการป้องกันหรือลดภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกตินี้

นี่คือที่มาในบทความของเรา 

  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/binge-eating-disorder/symptoms-causes/syc-20353627

  • https://www.nhs.uk/conditions/binge-eating/

  • https://www.webmd.com/mental-health/eating-disorders/binge-eating-disorder/default.htm


เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด