1. เกี่ยวกับยา Betahistine
ยาเบตาฮีสทีน Betahistine คือยาที่ใช้เพื่อรักษาอาการโรคน้ำในหูชั้นในไม่เท่ากัน อาการรวมไปถึง:- วิงเวียนศีรษะ (อาการบ้านหมุน)
- หูอื้อ (มีเสียงในหู)
- สูญเสียการได้ยิน
- รู้สึกพะอืดพะอม (คลื่นไส้)
2. ข้อเท็จจริง
- ยาเบตาฮีสทีนคือยาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใหญ่เท่านั้น
- รับประทานชนิดเม็ดวันละ 3 ครั้ง ทิ้งช่วงห่างระหว่างแต่ละครั้ง 6 ถึง 8 ชั่วโมง
- ผลข้างเคียงทั่วไปรวมไปถึงอาการปวดศีรษะ รู้สึกคลื่นไส้หรืออาหารไม่ย่อย
- การรับประทานยาที่ดีที่สุดคือทานพร้อมหรือหลังอาหาร เพื่อช่วยทำให้อาการปวดท้องเกิดขึ้นน้อยลง
- ยาเบตาฮีสทีนรู้จักกันในชื่อยี่ห้อ Serc
3. คนที่สามารถรับประทานยา Betahistineได้และไม่ได้คือใครบ้าง
ยาเบตาฮีสทีนเป็นยาที่ผู้ใหญ่สามารถรับประทานได้ (อายุ 18 ปีขึ้นไป) ห้ามสั่งจ่ายยาให้เด็ก ยาเบต้าฮีสทีนไม่เหมาะสำหรับคนบางคน จึงควรแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบหากมีสิ่งดีงต่อไปนี้:
- มีปฏิกิริยาแพ้ต่อยาเบตาฮีสทีนหรือยาอื่นๆมาก่อน
- ความดันโลหิตสูงเนื่องจากเนื้องอกต่อมหมวกไต
- เคยเป็นโรคแผลในกระเพาะอาหาร (บางครั้งเรียกว่าโรคแผลในทางเดินอาหาร)
- โรคหอบหืด
4. วิธีและเมื่อไรที่ควรรับประทาน
ยาเบตาฮีสทีนชนิดเม็ดมีแบบ 8 มก. หรือ 16 มก. ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ทุกครั้งถึงวิธีรับประทานและช่วงเวลาที่ควรรับประทานยา ควรรับประทานยาเบตาฮีสทีนชนิดเม็ดหลังมื้ออาหารเพื่อลดอาการปวดท้องปริมาณที่ควรรับประทาน
ปริมาณขนาดยาทั่วไปเริ้มต้นที่ 16 มก. วันละ 3 ครั้ง ทิ้งช่วงห่างระหว่างมื้อ 6 ถึง 8 ชั่วโมง เมื่ออาการสามารถควบคุมได้แล้ว แพทย์อาจลดปริมาณขนาดยาเป็น 8 มก. วันละ 3 ครั้งจะเกิดอะไรขึ้นหากรับประทานมากเกินไป?
การรับประทานยาเบตาฮีสทีนสามารถทำให้เกิดอาการคลื่นไส้หรือง่วงนอน หรือทำให้มวนท้องได้จะเกิดอะไรขึ้นหากลืมกินยา
หากคุณลืมกินยาเบตาฮีสทีน ให้กินยาทันทีที่จำได้ เว้นแต่ว่าใกล้มือยาในมื้อถัดไปน้อยกว่า 2 ชั่วโมง ในกรณีนี้ให้งดมื้อยาที่ลืมและไปกินยาในมื้อตามปกติ ไม่ควรกินยาเพิ่มเป็นสองเท่าในครั้งเดียว ห้ามกินยาเพิ่มเพื่อทดแทนมื้อที่ลืมกินยาเด็ดขาด หากลืมกินยาบ่อยๆ คุณอาจใช้วิธีตั้งเวลาเตือนในการกินยา ควรปรึกษาเภสัชกรเพื่อขอคำแนะนำวิธีช่วยจำในการรับประทานยา5. ผลข้างเคียง
เหมือนกับยาอื่นๆทุกชนิด ยาเบตาฮีสทีนสามารถเกิดผลข้างเคียงได้ถึงแม้จะไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคนก็ตามผลข้างเคียงทั่วไป
ผลข้างเคียงทั่วไปเกิดขึ้นมากกว่า 1 ใน 100 ราย มักมีอาการเพียงเล็กน้อยและหายได้เอง ปรึกษาเภสัชกรหรือแพทย์หากผลข้างเคียงรบกวนหรือไม่ยอมหายไปเช่น:- รู้สึกคลื่นไส้
- อาหารไม่ย่อย (กรดไหลย้อน)
- ท้องอืดหรือปวดท้องเล็กน้อย
- ปวดศีรษะ
การเกิดปฏิกิริยาแพ้ที่รุนแรง
พบได้น้อยมากแต่ก็อาจเกิดปฏิกิริยาแพ้ที่รุนแรงเกิดขึ้นได้(ภูมิแพ้รุนแรงเฉียบพลัน)เมื่อมีการใช้ยาเบตาฮีสทีนรีบพบแพทย์ฉุกเฉินทันทีหากมีอาการดังต่อไปนี้:
- มีผื่นผิวหนังที่อาจรวมไปถึงอาการคัน แดง บวม มีตุ่มพองหรือผิวหนังลอกขุย
- หายใจมีเสียงวี๊ด
- แน่นหน้าอกหรือในลำคอ
- หายใจลำบากหรือพูดลำบาก
- ปาก ใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้นหรือคอเริ่มมีอาการบวม
6. วิธีรับมือกับผลข้างเคียง
สิ่งที่ควรปฏิบัติ:- รู้สึกคลื่นไส้ – รับประทานยาเบตาฮีสทีนพร้อมหรือหลังมื้ออาหารหรือมื้ออาหารว่าง ซึ่งอาจช่วยได้หากรับปนะทานไม่เยอะหรือไม่รับประทานอาหารเผ็ด
- อาหารไม่ย่อย – รับประทานยาพร้อมหรือหลังอาหาร หากมีอาการอาหารไม่ย่อยเกิดขึ้นซ้ำ ให้ปรึกษาแพทย์ทันทีเร็วเท่าที่สามารถทำได้ หากจำเป็นต้องการบางสิ่งบางอย่างเพื่อบรรเทาอาการไม่สบายตัว ให้ลองทานยาลดกรด
- ท้องอืดหรือปวดท้องเล็กน้อย – ลองรับประทานยาเบตาฮีสทีนพร้อมหรือหลังอาหาร หากอาการยังคงเกิดขึ้นให้ปรึกษาแพทย์
- ปวดศีรษะ – ต้องแน่ใจว่าได้รับการพักผ่อนและดื่มน้ำเพียงพอ ห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สามารถทานยาแก้ปวดเช่นพาราเซตตามอลได้ทุกวัน ปรึกษาแพทย์หากอาการปวดศีรษะมีอาการนานเกินกว่าสัปดาห์หรือมีอาการรุนแรง
7. การตั้งครรภ์และให้นมบุตร
ยาเบตาฮีสทีนไม่แนะนำให้ใช้ในระหว่างตั้งครรภ์หรือในขณะให้นมบุตร แต่อย่างไรก็ตาม แพทย์อาจมีการสั่งจ่ายยาเบตาฮีสทีนหากคิดว่าได้ประโยชน์จากการทานยานี้มากกว่าความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเวลาช่วงสัปดาห์ในการตั้งครรภ์และสาเหตุที่ต้องรับประทานยาดังกล่าว ปรึกษาแพทย์หากกำลังตั้งครรภ์หรือกำลังพยายามจะตั้งครรภ์ ยังมีวิธีการรักษาอื่นๆที่มีความปลอดภัยสำหรับคุณยาเบต้าฮีสทีนและการให้นมบุตร
ยังคงไม่มีการศึกษามากพอที่จะรู้ถึงผลกระทบของยาเบต้าฮีสทีนที่มีในน้ำนมมารดา คำแนะนำทั่วๆไปคือไม่ควรใช้ยานี้ในขณะให้นมบุตรคำแนะนำ
แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบหาก:
- ตั้งครรภ์
- กำลังพยายามที่จะตั้งครรภ์
- กำลังให้นมบุตร
8. ข้อควรระวังเมื่อใช้ร่วมกับยาอื่นๆ
ยาบางชนิดและยาเบจาฮีสทีนอาจเกิดผลกระทบต่อกันและมีโอกาสให้เกิดผลข้างเคียงเพิ่มขึ้นได้ แจ้งให้เภสัชกรหรือแพทย์ทราบหากคุณกำลังรับประทานยาดังนี้:- ยาที่เรียกว่า ยาต้านเศร้ากลุ่มเอ็มเอโอ ที่ใช้ในการรักษาภาวะซึมเศร้าหรือโรคพาร์กินสัน
- ยาเบต่สฮ๊สทีนสำหรับภูมิแพ้ เช่น โรคไข้ละอองฟาง
การผสมยาเบตาฮีสทีนร่วมกับการรักษาด้วยสมุนไพรและอาหารเสริม
ยังคงมีข้อมูลเพียงเล็กน้อยเกี่ยวกับการรักษาด้วยสมุนไพรและอาหารเสริมในขณะรับประทานยาเบต้าฮีสทีนใครที่ควรหลีกเลี่ยงยา Betahistine
บุคคลที่มีภาวะดังต่อไปนี้ควรระมัดระวังหรือหลีกเลี่ยงการใช้ยานี้:- โรคภูมิแพ้:
-
-
- บุคคลที่แพ้เบตาฮิสทีนหรือส่วนประกอบใดๆ ไม่ควรใช้
-
- ฟีโอโครโมไซโตมา:
-
-
- ควรใช้ Betahistine ด้วยความระมัดระวังในผู้ที่มี pheochromocytoma ซึ่งเป็นเนื้องอกที่หายากของต่อมหมวกไต เนื่องจากอาจปล่อย catecholamines ส่วนเกินและอาจนำไปสู่วิกฤตความดันโลหิตสูง
-
- แผลในกระเพาะอาหาร:
-
-
- เบทาฮิสทีนอาจเพิ่มการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร บุคคลที่มีแผลในกระเพาะอาหารหรือมีประวัติเป็นแผลในกระเพาะอาหารควรใช้เบทาฮิสทีนด้วยความระมัดระวัง
-
- โรคหอบหืด:
-
-
- ควรใช้ Betahistine ด้วยความระมัดระวังในผู้ที่เป็นโรคหอบหืดเนื่องจากอาจทำให้หลอดลมตีบได้ในบางกรณี
-
- ประวัติโรคหัวใจและหลอดเลือด:
-
-
- บุคคลที่มีประวัติโรคหลอดเลือดหัวใจ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจหรือหัวใจล้มเหลว ควรใช้เบทาฮิสทีนด้วยความระมัดระวัง อาจส่งผลต่ออัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิต
-
- การตั้งครรภ์และให้นมบุตร:
-
-
- ความปลอดภัยของเบทาฮิสทีนในระหว่างตั้งครรภ์และให้นมบุตรยังไม่เป็นที่แน่ชัด บุคคลที่ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรควรปรึกษากับผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพเพื่อประเมินความเสี่ยงและผลประโยชน์
-
- เด็ก:
-
-
- ยังไม่มีการสร้างความปลอดภัยและประสิทธิผลของเบทาฮิสทีนในเด็ก โดยทั่วไปไม่แนะนำให้ใช้ในประชากรเด็กหากไม่มีการประเมินที่เหมาะสมโดยผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ
-
- การด้อยค่าของตับอย่างรุนแรง:
-
-
- เบตาฮิสทีนถูกเผาผลาญในตับ และบุคคลที่มีความบกพร่องทางตับอย่างรุนแรงอาจจำเป็นต้องปรับขนาดยาหรืออาจจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงเบตาฮิสทีน
-
- การด้อยค่าของไตอย่างรุนแรง:
-
-
- แม้ว่าเบตาฮิสทีนจะไม่ได้ถูกขับออกทางไตเป็นหลัก แต่บุคคลที่มีความบกพร่องทางไตอย่างรุนแรงอาจจำเป็นต้องปรับขนาดยาหรืออาจจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงเบตาฮิสทีน
-
- ผู้สูงอายุ:
-
- ผู้สูงอายุอาจไวต่อผลข้างเคียงบางอย่างของเบทาฮิสทีน เช่น ความดันเลือดต่ำ อาจจำเป็นต้องมีขนาดยาเริ่มต้นที่ต่ำกว่าและการติดตามอย่างระมัดระวังในประชากรกลุ่มนี้
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น