ยาเบต้าบล็อกเกอร์ (Beta-Blockers) – ประโยชน์, ผลข้างเคียง

ผู้เขียน Dr. Sommai Kanchana
0
ยาเบต้าบล็อกเกอร์

เบต้าบล็อกเกอร์ (Beta-blockers)

เบต้าบล็อกเกอร์ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มยาที่ใช้ในการสกัดกั้นผลของฮอร์โมนความเครียด เช่น อะดรีนาลีน (Adrenaline) ก่อนเข้าสู่หัวใจ โดยคุณหมอมักจะสั่งยานี้ในรายที่หัวใจเต้นผิดจังหวะ ความดันโลหิตสูง และหลังเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว อาการส่วนน้อยที่ยาเบต้าบล็อกเกอร์สามารถรักษาได้ เช่น : แพทย์มักจะเปลี่ยนมาให้ยาเบต้าบล็อกเกอร์เมื่อการรักษาความดันโลหิตสูงด้วยยาอื่นๆไม่ได้ผล หรือมีผลข้างเคียงต่อนข้างมาก เช่น ยาขับปัสสาวะ หรืออาจจะใช้ร่วมกับยาลดความดันโลหิตตัวอื่น เช่น ACE Inhibitors และ Calcium Channel Blockers

ยาเบต้าบล็อกเกอร์ออกฤทธิ์อย่างไร

การออกฤทธิ์ของเบต้าบล็อกเกอร์ต่อร่างกาย เราเรียกกระบวนการเหล่านั้นว่า Beta-Adrenergic Blocking Substances  เบต้าบล็อกเกอร์ต่างชนิดกันก็ออกฤทธิ์ไม่เหมือนกัน โดยทั่วไปตัวยาดังกล่าวจะออกฤทธิ์ทำให้หัวใจคลายตัว อัตราการเต้นของหัวใจจะช้าลง และลดแรงบีบลง ซึ่งมีส่วนช่วยลดความดันโลหิตสูง และบรรเทาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจเพิ่มเติม หัวใจเต้นผิดจังหวะ ตัวยาเบต้าบล็อกเกอร์บางตัวออกฤทธิ์เฉพาะที่หัวใจอย่างเดียว ขณะที่เบต้าบล็อกเกอร์ตัวอื่นๆมีผลต่อทั้งหัวใจ และหลอดเลือด แพทย์จะส่งยาเบต้าบล็อกเกอร์เมื่อคุณมีอาการ 2-3 อาการของโรคหัวใจ หรือหัวใจล้มเหลว ซึ่งตัวยาจะช่วยเพิ่มความสามารถของหัวใจในการบีบตัว ยาเบต้าบล็อกเกอร์ที่แพทย์นิยมใช้ ได้แก่:
  • Acebutolol (Sectral)
  • Atenolol (Tenormin)
  • Bisoprolol (Zebeta)
  • Carteolol (Cartrol)
  • Esmolol (Brevibloc)
  • Metoprolol (Lopressor, Toprol XL)
  • Nadolol (Corgard)
  • Nebivolol (Bystolic)
  • Propranolol (Inderal LA)

ประโยชน์ของยาเบต้าบล็อกเกอร์

เบต้าบล็อกเกอร์นอกจะช่วยเรื่องปัญหาโรคหัวใจแล้ว ยังป้องกันกระดูกให้แข็งแรงจากการลดการขับแคลเซียมทิ้งทางไตผ่านการปัสสาวะ เบต้าบล็อกเกอร์ไม่ใช่ยาทางเลือกแรกในการรักษากระดูกบาง หรือโรคกระดูกพรุน แต่เพื่อกระดูกที่แข็งแรงขึ้นการใช้ยาเบต้าบล็อกเกอร์ก็จะช่วยได้

Beta-Blockers

ผลข้างเคียง และความเสี่ยงของเบต้าบล็อกเกอร์

ผู้ที่เป็นโรคหอบหืด ไม่ควรใช้ยาเบต้าบล็อกเกอร์ เพราะตัวยาจะไปกระตุ้นอาการหอบหืดกำเริบได้ เนื่องจากเบต้าบล็อกเกอร์อาจมีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด จึงไม่แนะนำในผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน อาการของผลข้างเคียงมีหลากหลาย ผู้คนส่วนใหญ่มักพบกับอาการ เช่น : อาการที่พบได้น้อย เช่น:
  • หายใจถี่
  • หายใจลำบาก
  • ความต้องการทางเพศลดลง
  • ซึมเศร้า
อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจเพิ่มเติม การวินิจฉัยโรคซึมเศร้า หากคุณใช้ยาเกินขนาด คุณจะมีอาการดังนี้:
  • หายใจลำบาก
  • การมองเห็นเปลี่ยนไป
  • เวียนศีรษะ
  • หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ
  • สับสน
หากคุณใช้ยาเกินขนาดให้รีบโทรติดต่อแพทย์ หรือศูนย์พิษวิทยาในพื้นที่ ศูนย์พิษวิทยารามาธิบดี โทร 1367 ตลอด 24 ชม.  ยาเบต้าบล็อกเกอร์ยุคเก่าบางตัว เช่น Atenolol และ Metoprolol เคยมีรายงานจากคลินิกเมโยกล่าวว่ายาดังกล่าวเป็นสาเหตุให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น 2.6 ปอนด์(ประมาณ 1 กก.) ด้วยสาเหตุจากน้ำส่วนเกินภายในร่างกาย และการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัว อาจเป็นสัญญาณที่แสดงว่าเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว หรือภาวะหัวใจล้มเหลวที่เป็นอยู่อาการแย่ลง เพื่อให้แน่ใจว่าแพทย์ทราบปัญหานี้ หากคุณมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น 2 – 3 ปอนด์ต่อวัน(1-1.5 กก.ต่อวัน) หรือมากกว่า 5 ปอนด์(2.5 กก.) ต่อสัปดาห์ หรืออาการของคุณแย่ลง คุณอาจสังเกตุเห็นความเปลี่ยนแปลงบางอย่างในแต่ละวัน ตัวอย่าง เช่น เบต้าบล็อกเกอร์ปิดกั้นกระแสไฟฟ้าภายในหัวใจที่ ซึ่งช่วยให้หัวใจเกิดการบีบตัว คุณอาจสังเกตุว่าอัตราการเต้นของหัวใจจะไม่สูงมากเหมือนที่ควรจะเป็นในเวลาออกกำลังกาย ปรึกษาแพทย์หากคุณกังวลเกี่ยวกับการออกกำลังกายขณะที่ยังใช้ยาดังกล่าว แพทย์อาจแนะนำให้เข้ารับการตรวจที่เรียกว่า Stress Test ซึ่งเป็นการประเมินเป้าหมายของอัตราการเต้นของหัวใจขณะออกกำลังกาย โดยการตรวจจะช่วยให้แพทย์สามารถประเมินหาว่าความหนักเท่าไหร่ที่คุณสามารถทนได้ขณะออกกำลังกาย ถ้าหากคุณทราบเป้าหมายของอัตราการเต้นของหัวใจขณะออกกำลังกายของคุณแล้ว แพทย์ก็จะได้แนะนำกิจกรรมการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับคุณ และโรคของคุณได้

การใช้ยา

เบต้าบล็อกเกอร์มักรับประทานร่วมกับอาหาร เนื่องด้วยตัวยามาพร้อมกับคำแนะนำพิเศษ คุณควรรับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง หรือปรึกษาแพทย์หากเกิดผลข้างเคียงจากการทานยา และอย่าหยุดยาเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์

ใครที่ควรหลีกเลี่ยง

Beta-blockers เป็นกลุ่มยาที่ส่งผลต่อหัวใจและการไหลเวียนโลหิตเป็นหลัก แม้ว่ายา beta-blockers โดยทั่วไปจะถูกนำมาใช้เพื่อจัดการกับสภาวะต่างๆ เช่น ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และความผิดปกติของจังหวะการเต้นของหัวใจ แต่ก็มีบางสถานการณ์และสภาวะสุขภาพที่การใช้ยาดังกล่าวอาจมีข้อห้ามหรือต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ บุคคลที่มีเงื่อนไขหรือสถานการณ์ดังต่อไปนี้อาจจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงหรือใช้ beta-blockers ด้วยความระมัดระวัง:

1. หัวใจเต้นช้าอย่างรุนแรง (อัตราการเต้นของหัวใจช้า):

  • เหตุผล: Beta-blockers อาจทำให้อัตราการเต้นของหัวใจช้าลงอีก ในบุคคลที่มีภาวะหัวใจเต้นช้าอยู่แล้ว beta-blockers อาจทำให้อาการนี้รุนแรงขึ้น

2. Heart Block (ความผิดปกติของการนำไฟฟ้า):

  • เหตุผล:สารเบต้าบล็อคเกอร์อาจส่งผลต่อการนำไฟฟ้าของหัวใจ ในกรณีที่มีภาวะบล็อคหัวใจบางประการ การใช้งานอาจมีข้อห้าม

3. หัวใจล้มเหลวอย่างรุนแรง:

  • เหตุผล:ในกรณีของภาวะหัวใจล้มเหลวขั้นรุนแรง ยาเบต้าบล็อคเกอร์อาจไม่เหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากการทำงานของหัวใจบกพร่องอย่างมาก

4. หัวใจล้มเหลวที่ไม่สามารถควบคุมได้:

  • เหตุผล:โดยทั่วไปไม่ใช้ Beta-blockers ในภาวะเฉียบพลันของภาวะหัวใจล้มเหลวที่ไม่สามารถควบคุมได้หรือไม่สามารถควบคุมได้

5. โรคหอบหืดหรือโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD):

  • เหตุผล:สารปิดกั้นเบต้าอาจทำให้หลอดลมตีบตันและทำให้อาการทางเดินหายใจแย่ลงในผู้ที่เป็นโรคหอบหืดหรือปอดอุดกั้นเรื้อรัง ในบางกรณีอาจพิจารณาใช้ cardioselective beta-blockers แต่ต้องใช้ความระมัดระวัง

6. โรคหลอดเลือดส่วนปลาย:

  • เหตุผล:สารปิดกั้นเบต้าอาจทำให้อาการของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดส่วนปลายแย่ลงได้ โดยลดการไหลเวียนของเลือดไปยังแขนขา

7. โรค Raynaud:

  • เหตุผล:สารปิดกั้นเบต้าอาจทำให้อาการของผู้ป่วยโรค Raynaud รุนแรงขึ้น โดยลดการไหลเวียนของเลือดไปยังแขนขา

8. ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะบางประเภท:

  • เหตุผล: Beta-blockers อาจไม่เหมาะกับภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะทุกประเภท ในบางกรณีอาจทำให้ความผิดปกติของการนำกระแสหรือจังหวะบางอย่างแย่ลงได้

9. ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำโดยไม่รู้ตัวในผู้ป่วยโรคเบาหวาน:

  • เหตุผล:สารเบต้าบล็อคเกอร์สามารถปกปิดอาการของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในผู้ป่วยเบาหวาน ทำให้ยากสำหรับพวกเขาที่จะรับรู้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ
สิ่งสำคัญคือต้องทราบว่าสภาวะสุขภาพของแต่ละบุคคลและการตอบสนองต่อยาอาจแตกต่างกันไป การตัดสินใจใช้หรือหลีกเลี่ยงสารปิดกั้นเบต้าควรปรึกษากับผู้ให้บริการด้านการแพทย์ที่สามารถประเมินสถานการณ์เฉพาะและพิจารณาสุขภาพโดยรวมของแต่ละบุคคลได้ อย่าหยุดหรือปรับยาโดยไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.webmd.com/heart-disease/guide/beta-blocker-therapy
  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/high-blood-pressure/in-depth/beta-blockers/art-20044522
  • https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1865458/
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด