เหน็บชา (Beriberi) : อาการ สาเหตุ การรักษา

เหน็บชา (Beriberi) คือ โรคที่เกิดจากการขาดวิตามินบี 1 หรือไธอามีน สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ เหน็บชาเปียกและเหน็บชาแห้ง โรคเหน็บชาเปียกจะส่งผลต่อหัวใจและระบบไหลเวียนโลหิต หากรุนแรงอาจทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว โรคเหน็บชาแห้งจะทำลายเส้นประสาท และส่งผลกระทบต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลดลง และอาจเป็นอัมพาตในที่สุด เหน็บชาหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องสามารถส่งผลถึงชีวิต หากคุณบริโภคอาหารที่อุดมไปด้วยไธอามีนจะลดโอกาสการเป็นเหน็บชา ส่วนมากเหน็บชาจะพบในผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ โรคเหน็บชาจากสาเหตุอื่น ๆ พบได้น้อย อย่างไรก็ตามโรคนี้สามารถพบได้ในผู้หญิงระหว่างการตั้งครรภ์ (hyperemesis gravidarum) ผู้ป่วย HIV และผู้ที่ศัลยกรรมลดความอ้วน

อาการของเหน็บชา

อาการของเหน็บชาขึ้นอยู่กับประเภท เหน็บชาเปียกจะแสดงอาการดังต่อไปนี้
  • หายใจถี่ระหว่างการออกกำลังกาย
  • หายใจไม่ออกตอนตื่นนอน
  • หัวใจเต้นเร็ว
  • ขาช่วงล่างบวม
เหน็บชาแห้งจะแสดงอาการดังต่อไปนี้ อาการเหน็บชาจาก Wernicke encephalopathy และ Korsakoff syndrome เป็นอาการที่มาจากความเสียหายของสมองที่เกิดจากการขาดไธอามีน Wernicke encephalopathy ทำลายบริเวณของสมองธาลามัสและไฮโปธาลามัส จะทำให้เกิดอาการต่อไปนี้
  • ความสับสน
  • ความจำเสื่อม
  • กล้ามเนื้อทำงานไม่สัมพันธ์กัน
  • มีปัญหาในการควบคุมการเคลื่อนไหวของดวงตา
Korsakoff syndrome ทำลายในส่วนสมองที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับความทรงจำ ทำให้เกิดอาการดังต่อไปนี้
  • สูญเสียความทรงจำ
  • ไม่สามารถสร้างความทรงจำใหม่ได้
  • เห็นภาพหลอน

สาเหตุของเหน็บชา

สาเหตุหลักของโรคเหน็บชาคือ การได้รับไธอามีนไม่เพียงพอ โรคนี้แทบจะไม่พบเลยในพื้นที่อุดมไปด้วยอาหารที่มีวิตามินแก้เหน็บชา เช่น ซีเรียลอาหารเช้า และขนมปังบางชนิด โรคเหน็บชาพบได้บ่อยในท้องถิ่นที่บริโภคข้าวขาว เนื่องจากข้าวขาวมีปริมาณไธอามีนเพียง 10% เมื่อเทียบกับข้าวกล้อง

ใครบ้างมีความเสี่ยงเป็นเหน็บชา

สาเหตุหลักๆ ของเหน็บชา คือ การขาดไธอามีน แต่ก็ยังมีสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้เป็นเหน็บชาได้เช่นกัน
  • การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป ทำให้ร่างกายดูดซึมและเก็บไธอามีนได้ยาก
  • โรคเหน็บชาที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม
  • ต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป
  • คลื่นไส้ และอาเจียนมากระหว่างการตั้งครรภ์
  • การศัลยกรรมความอ้วน
  • HIV
  • ท้องเสียเป็นเวลานานหรือใช้ยาขับปัสสาวะ
  • เป็นผู้ที่อยู่ระหว่างการฟอกไต
สตรีที่อยู่ระหว่างให้นมบุตร จำเป็นต้องได้รับไธอามีนในปริมาณที่เพียงพอทุกๆวัน

การวินิจฉัยโรคเหน็บชา

การตรวจสอบว่าเป็นโรคเหน็บชาหรือไม่ จำเป็นต้องได้รับการตรวจสอบดังต่อไปนี้ การตรวจเลือด และปัสสาวะ เพื่อวัดระดับไธอามีนในร่างกาย หากร่างกายมีปัญหาในการดูดซึมไธอามีน จะพบไธอามีนในเลือดต่ำ และไธอามีนความเข้มข้นสูงในปัสสาวะ แพทย์จะทำการตรวจระบบประสาท เพื่อตรวจสอบการใช้กล้ามเนื้อในการเดินที่ลำบาก เปลือกตาหย่อนยาน และอ่อนแอ เมื่อเวลาผ่านไปผู้ป่วยเหน็บชา จะมีปัญหาสูญเสียความจำ และเห็นภาพหลอน การเต้นของหัวใจอย่างรวดเร็ว การบวมที่ขาส่วนล่าง และการหายใจลำบาก นั้นเป็นอาการของโรคเหน็บชา

การรักษาเหน็บชา

โรคเหน็บชารักษาได้ง่าย เพียงการบริโภคอาหารเสริมไธอามีนเพิ่มให้เพียงพอ ในกรณีที่รุนแรงแพทย์จะทำการรักษาโดยให้ไธอามีนผ่านหลอดเลือดดำ แพทย์จะติดตามผลการรักษาของผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด เพื่อติดตามว่าร่างกายดูดซึมไธอามีนได้ดีเพียงใด

การป้องกันอาการเหน็บชา

การป้องกันเหน็บชาทำได้โดยรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ให้ครบถ้วน 5 หมู่ และเน้นอาหารที่อุดมไปด้วยไธอามีน ได้แก่อาหารเหล่านี้
  • พืชตระกูลถั่ว
  • ธัญพืช
  • เนื้อ
  • ปลา
  • นม
  • ผักบางชนิดเ ช่น หน่อไม้ฝรั่ง สควอช กะหล่ำปลี ผักโขมและบีทรูท
  • ซีเรียลที่อุดมด้วยวิตามินบี
ควรรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยไธอามีน และกรณีที่ดูแลเด็กเล็กนมที่เด็กดื่มควรมีปริมาณไธอามีนอย่างเพียงพอ อย่าลืม ควรซื้อนมผงสำหรับทารกจากแหล่งที่เชื่อถือได้เสมอ การดื่มแอลกอฮอล์น้อยลงช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคเหน็บชา ใครก็ตามที่ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป ควรได้รับการตรวจหาการขาดวิตามิน B-1 

ใครบ้างที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคเหน็บชา 

หากเรารับประทานอาหารอย่างสมดุลก็ไม่มีอะไรต้องกังวล อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ อาจเข้ามามีส่วนทำให้คนเป็นโรคเหน็บชาได้ มีดังนี้
  • การใช้แอลกอฮอล์ในทางที่ผิดทำให้ร่างกายดูดซึมและเก็บไทอามีนได้ยาก
  • โรคเหน็บชาทางพันธุกรรมเป็นภาวะที่หาได้ยากซึ่งทำให้ร่างกายดูดซึมไทอามีนได้ยาก
  • คลื่นไส้และอาเจียนอย่างรุนแรงในระหว่างตั้งครรภ์
  • การผ่าตัดลดความอ้วน
  • เอดส์
  • ภาวะทุพโภชนาการ
  • การล้างไต
  • ท้องเสียถาวรหรือใช้ยาขับปัสสาวะ
  • ผู้ป่วยเบาหวาน
  • ทารกที่กินนมแม่ซึ่งแม่ขาดวิตามินบี 1 
  • อาหารคาร์โบไฮเดรตสูง
  • ผู้ที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมทางกายอย่างเข้มข้นและในปริมาณมาก
  • ปัญหาการย่อยอาหารและระดับความเครียดสูง

ภาพรวมโรคเหน็บชา

หากมีอาการเหน็บชาและได้รับการรักษาทันเวลา เส้นประสาทและหัวใจที่ถูกทำลายจากโรคเหน็บชาสามารถฟื้นฟูกลับมาได้ เมื่อรักษาในระยะแรกของโรค หากโรคเหน็บชาพัฒนาไปเป็น Wernicke-Korsakoff เป็นสิ่งที่น่ากังวลใจ เพราะความเสียหายของสมองนั้นจะเกิดอย่างถาวรไม่สามารถฟื้นฟูได้ การรับประทานอาหารที่สมดุล และมีประโยชน์เป็นสิ่งสำคัญสำหรับสุขภาพ โปรดเข้าพบแพทย์หามีอากาธขาดไทอามีน หรือต้องการได้รับคำแนะนำด้านโภชนาการ

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

  • https://medlineplus.gov/ency/article/000339.htm
  • https://kidshealth.org/Nemours/en/parents/az-beriberi.html
  • https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK537204/

เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด