การออกกำลังกาย คืออะไร
การออกกำลังกาย เป็นการทำกิจกรรมที่ได้ออกแรง หรือเคลื่อนไหวร่างกายซึ่งมีหลากหลายรูปแบบเพื่อเสริมหรือคงสภาพสมรรถภาพทางกาย ความแข็งแรง และสุขภาพทั่วไปของร่างกาย รวมทั้งเพื่อเสริมการเติบโต และพัฒนาการของร่างกาย ป้องกันไม่ให้แก่เร็ว เสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และระบบไหลเวียนโลหิต ปรับปรุงทักษะทางกีฬา ลด หรือรักษาน้ำหนัก และเพื่อความสนุก การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอก่อให้เกิดผลดีต่อสุขภาพ โดยช่วยจัดระเบียบร่างกาย และควบคุมอารมณ์ได้เป็นอย่างดี รวมทั้งเสริมสร้างสมรรถภาพร่างกายด้านต่าง ๆ ได้แก่ ความทนทาน ความแข็งแรง การทรงตัว และความยืดหยุ่น ช่วยสร้างเสริมระบบภูมิคุ้มกัน และช่วยป้องกันโรคต่าง ๆ และการออกกำลังกายสามารถช่วยสร้างเสริมสุขภาพจิต และลดความเครียดได้อีกด้วยรูปแบบของการออกกำลังกาย
การออกกำลังกายสามารถทำได้หลายรูปแบบ ซึ่งการออกกำลังกายปกติจะจัดเป็น 3 แบบ ขึ้นอยู่กับผลที่เกิดในร่างกายมนุษย์1.การออกกำลังกายใช้ออกซิเจน
การออกกำลังกายใช้ออกซิเจน หรือการออกกำลังกายแบบแอโรบิก เป็นกิจกรรมที่ได้ใช้กล้ามเนื้อใหญ่ และทำให้ร่างกายใช้ออกซิเจนมากกว่าเป้าหมายเพื่อเพิ่มความแข็งแรง ความทนทานของระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่น การเดินเร็ว การวิ่ง ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ กระโดดเชือก เดินป่า เป็นต้น2.การออกกำลังกายไม่ใช้ออกซิเจน
การออกกำลังกายไม่ใช้ออกซิเจน หรือการออกกำลังกายแบบอะแนโรบิก เป็นการฝึกเพื่อสร้างความแข็งแกร่ง ความแน่นความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และกระดูก ช่วยให้ร่างกายทรงตัวได้ดีขึ้น และเสริมสร้างการทำงานร่วมกันของกล้ามเนื้อ เช่น การวิดพื้น การดึงข้อ เป็นต้น3.การยืดหยุ่นตัวช่วยยืดกล้ามเนื้อ
การยืดหยุ่นตัวช่วยยืดกล้ามเนื้อ จะช่วยทำให้ข้อต่อ และกล้ามเนื้อแข็งแรงสามารถยืดหยุ่นได้ เพื่อปรับพิสัยการเคลื่อนไหว ซึ่งช่วยลดโอกาสการได้รับบาดเจ็บจากการออกกำลังกาย หรือการทำกิจกรรมประจำวัน และเป็นการฝึกความแม่นยำ ความคล่องตัวว่องไว กำลัง และความเร็วอีกด้วยการออกกำลังกายที่แนะนำ
- ตีแบต
- โยคะร้อน
- ต่อยมวย รำตะบอง รำมวยจีน
- การออกกำลังกายแบบ HIIT
- วิ่ง วิ่งเหยาะๆ
- เดินธรรมดา หรือเดินเร็ว
- เต้น Cover
- เต้นซุมบ้า เต้นรำ
- เต้นแอโรบิค
- ว่ายน้ำ
- ปั่นจักรยาน
- กระโดดเชือก
ประโยชน์ของการออกกำลังกาย
- การออกกำลังกายทำให้สมรรถภาพทางกายดี กล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น
- การออกกำลังกายทำให้จิตใจเบิกบานแจ่มใส
- การออกกำลังกายทำให้มีสมรรถภาพทางหัวใจร่วมหลอดเลือดที่ดี
- การออกกำลังกายช่วยป้องกันมะเร็งได้
- การออกกำลังกายช่วยปรับปรุงการทำงานของสมอง
- การออกกำลังกายมีผลแก้ความซึมเศร้าอย่างชัดเจน
- ร่างกายแข็งแรง เพิ่มภูมิต้านทาน ระบบภูมิคุ้มกันดีขึ้น
- การออกกำลังกายช่วยทำให้นอนหลับได้ดีขึ้น
- การออกกำลังกายยังช่วยป้องกันโรคหัวใจ
- ป้องกันโรคกระดูกพรุน
- ลดอุบัติการของกระดูกหักที่กระดูกสันหลัง หรือกระดูกสะโพก
- ช่วยลดไขมัน และโคเลสเตอรอลในเลือด ลดไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง อัมพาต อัมพฤกษ์
- โอกาสเกิดติดเชื้อน้อยลง
- การออกกำลังกายทำให้มีสมาธิในการทำงานดีขึ้น
- การออกกำลังกายสามารถช่วยลดความเครียด ทำให้ผ่อนคลาย
- ชะลอความแก่ ความเสื่อมของสมรรถภาพทางร่างกาย
- ช่วยเสริมความคล่องแคล่ว การทรงตัวที่ดี ลดการลื่นล้มบาดเจ็บ
- ป้องกัน และรักษาโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคภูมิแพ้
- ช่วยในการย่อย และดูดซึมอาหาร ลดท้องอืดท้องเฟ้อ ระบบขับถ่ายดีขึ้น ลดความอ้วน
ควรหยุดออกกำลังกายเมื่อใด
- เมื่อมีอาการเจ็บแน่นหน้าอก หัวใจเต้นผิดปกติ
- เมื่อรู้สึกเวียนศีรษะ มึนงง ใจสั่น เหนื่อยหอบ หายใจไม่ได้เต็มที่
- อ่อนเพลียมากผิดปกติ
เริ่มต้นออกกำลังกายอย่างถูกต้อง
- ระบุกิจวัตรประจำวันเพื่อวางแผนเกี่ยวกับระยะเวลา สถานที่ อุปกรณ์ และวิธีในการออกกำลังกาย
- ตั้งเป้าหมายในการออกกำลังกายระยะสั้น หรือระยะยาว ช่วยให้ผู้ฝึกสามารถออกกำลังได้ตรงตามความต้องการมากขึ้น สามารถทำได้เต็มที่ และเห็นผล
- เขียนแผนการออกกำลังกาย ซึ่งควรมีพื้นฐานมาจากเป้าหมายที่ชัดเจน โดยเลือกประเภทกิจกรรม และระบุเหตุผล ช่วงเวลา และสถานที่ที่ต้องทำกิจกรรม
- ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการออกกำลังกายที่เหมาะสม โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ
- เลือกรองเท้าสำหรับออกกำลังกายที่เหมาะสมจะทำให้การเคลื่อนไหวร่างกายดีขึ้น และมั่นคง ไม่ส่งผลเสียระยะยาว
ออกกำลังกายอย่างไรให้เหมาะสม
- ทารก ควรเคลื่อนไหวร่างกายส่วนต่าง ๆ ทุกวันเพื่อกระตุ้นพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวของเด็ก โดยมีพ่อแม่ควรดูแลอย่างใกล้ชิด
- เด็กหัดคลาน ควรให้เด็กเคลื่อนไหวร่างกายแต่ละส่วน 30 นาที และทำกิจกรรมเล่นทั่วไป 1 ชั่วโมง
- เด็กก่อนวัยเรียน ควรออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 2 ชั่วโมง โดยแบ่งเป็นออกกำลังกาย 1 ชั่วโมง และทำกิจกรรมผ่อนคลายอื่นๆ ที่เคลื่อนไหวร่างกาย 1 ชั่วโมง
- เด็กอายุ 5-18 ปี ควรออกกำลังกาย หรือทำกิจกรรมที่ต้องเคลื่อนไหวร่างกายอย่างน้อยวันละ 1 ชั่วโมง
- ผู้ใหญ่อายุ 19-64 ปี ควรออกกำลังกายแบบแอโรบิก และฝึกกล้ามเนื้อที่มีความหนักปานกลางอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ชั่วโมงครึ่ง หรือแบบระดับเข้มข้นสัปดาห์ละ 75 นาที
- ผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป ควรออกกำลังกายแบบแอโรบิก และฝึกกล้ามเนื้อที่มีความหนักระดับปานกลางอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ชั่วโมงครึ่ง หรือระดับเข้มข้นสัปดาห์ละ 75 นาที
วิธีป้องกันอาการบาดเจ็บจากการออกกำลังกาย
- ผู้ที่เพิ่งเริ่มออกกำลังกาย ควรฝึกจากความหนักระดับต่ำไปสู่ระดับสูง
- ควรออกกำลังกายหลังรับประทานอย่างน้อย 2 ชั่วโมง
- ควรสวมรองเท้าที่พอดี และเหมาะสมกับกิจกรรมที่ทำ
- ควรใส่เสื้อผ้าที่สบายไม่รัดแน่น
- ควรอบอุ่นร่างกายด้วยการเคลื่อนไหวร่างกายเบา ๆ ก่อนออกกำลังกายทุกครั้ง
- ดื่มน้ำก่อน ระหว่าง และหลังออกกำลังกายอยู่เสมอ เพื่อป้องกันการขาดน้ำ
- สังเกตสภาพแวดล้อมรอบตัวในกรณีที่ออกกำลังกลางแจ้งเสมอ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ และสัตว์อันตราย
- ควรหยุดออกกำลังกายในกรณีที่รู้สึกแน่น หรือเจ็บหน้าอก คอ ไหล่ หรือแขน
- ควรหยุดออกกำลังทันทีการหากมีอาการหน้ามืด เวียนศีรษะ มวนท้อง เหงื่อออกขณะที่ตัวเย็น เป็นตะคริว หรือเจ็บข้อต่อ เท้า ข้อเท้า และขา
เมื่อไหร่ที่ควรหยุดออกกำลังกาย
การรู้ว่าเมื่อใดควรหยุดออกกำลังกายเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันการบาดเจ็บและดูแลร่างกายของคุณ สัญญาณและสถานการณ์หลายประการบ่งชี้ว่าอาจถึงเวลาที่ต้องหยุดการออกกำลังกายของคุณ:- ความเจ็บปวด :
-
-
- หากคุณมีอาการปวดเฉียบพลันหรือรุนแรงระหว่างออกกำลังกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในข้อต่อหรือกล้ามเนื้อ นั่นเป็นสัญญาณให้หยุด การออกกำลังกายควรเป็นสิ่งที่ท้าทาย แต่ไม่ควรทำให้เกิดอาการปวดอย่างรุนแรง
-
- อาการวิงเวียนศีรษะ :
-
-
- การรู้สึกวิงเวียนหรือมึนศีรษะระหว่างออกกำลังกายอาจบ่งบอกถึงภาวะขาดน้ำ น้ำตาลในเลือดต่ำ หรือออกแรงมากเกินไป หยุดออกกำลังกาย ให้น้ำ และพักผ่อนหากคุณพบอาการเหล่านี้
-
- หายใจถี่:
-
-
- แม้ว่าจะเป็นเรื่องปกติที่จะหายใจไม่ออกระหว่างออกกำลังกายหนักๆ แต่การหายใจลำบากอย่างต่อเนื่องอาจเป็นสัญญาณของการออกแรงมากเกินไปหรือปัญหาสุขภาพที่ซ่อนอยู่ หากคุณหายใจไม่ออกก็ถึงเวลาพัก
-
- ความเหนื่อยล้าอย่างมาก:
-
-
- การรู้สึกเหนื่อยล้าจนเกินไป หรือคุณไม่สามารถใช้เทคนิคที่เหมาะสมต่อไปได้ ถือเป็นสัญญาณให้หยุด การฝึกมากเกินไปอาจทำให้เกิดความเหนื่อยล้าและเพิ่มความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บ
-
- คลื่นไส้หรืออาเจียน:
-
-
- หากคุณรู้สึกคลื่นไส้หรืออาเจียนจริงๆ ระหว่างออกกำลังกาย เป็นข้อบ่งชี้ที่ชัดเจนให้หยุดทันที นี่อาจเป็นสัญญาณของการออกแรงมากเกินไป ภาวะขาดน้ำ หรือปัญหาสุขภาพอื่นๆ
-
- อาการปวดข้อ:
-
-
- อาการปวดข้อ แทนที่จะเป็นอาการปวดกล้ามเนื้อทั่วไป สามารถบ่งบอกถึงปัญหาได้ การออกกำลังกายโดยมีอาการปวดข้ออย่างต่อเนื่องอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บสาหัสได้ ดังนั้นจึงควรหยุดและประเมินสถานการณ์
-
- อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น:
-
-
- แม้ว่าอัตราการเต้นของหัวใจจะสูงขึ้นในระหว่างออกกำลังกาย แต่อัตราการเต้นของหัวใจที่สูงเกินไปหรือผิดปกติอาจบ่งบอกถึงปัญหา หากอัตราการเต้นของหัวใจไม่กลับสู่ภาวะปกติระหว่างช่วงพัก ให้หยุดและไปพบแพทย์หากจำเป็น
-
- การเจ็บป่วยหรือการบาดเจ็บ:
-
-
- หากคุณรู้สึกไม่สบายหรือมีอาการบาดเจ็บที่กำเริบระหว่างออกกำลังกาย ทางที่ดีควรหยุดและให้ร่างกายได้ฟื้นตัว การเจ็บป่วยหรือการบาดเจ็บอาจทำให้อาการของคุณแย่ลงได้
-
- อาการ Overtraining:
-
- สัญญาณของการฝึกมากเกินไป ได้แก่ ความเหนื่อยล้าอย่างต่อเนื่อง ประสิทธิภาพลดลง อารมณ์เปลี่ยนแปลง และความไวต่อการเจ็บป่วยเพิ่มขึ้น หากคุณสงสัยว่าคุณกำลังออกกำลังกายมากเกินไป การหยุดพักเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการฟื้นตัว
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น