เรอ (Belching) เกิดจากการขับอากาศออกจากกระเพาะอาหารผ่านออกมาทางปาก มักเกิดขึ้นเมื่อกระเพาะอาหารมีการขยายตัวใหญ่ขึ้นจากการกลืนอากาศเข้าไป
เรอ ( Belching ) อาจเรียกอีกอย่างว่า burping หรือ eructation คือการปล่อยอากาศออกเพื่อลดการขยายตัว
สาเหตุที่ทำให้เรอ
การเรอเกิดขึ้นเมื่อกระเพาะอาหารเต็มไปด้วยอากาศที่ถูกกลืนลงไป มีหลายสาเหตุที่อากาศถูกกลืนลงไปได้มากกว่าปกติ สาเหตุที่พบบ่อยได้แก่
-
การกินหรือการดื่มที่เร็วเกินไป
-
การดื่มน้ำอัดลม
-
ภาวะวิตกกังวล
ทารกและเด็กอาจกลืนอากาศลงไปในกระเพาะอาหารโดยไม่รู้ตัว ทารกมักจะเรอหลังจากที่ดื่มนมเสร็จ เพื่อขับอากาศที่กลืนลงไประหว่างดูดนมให้ออกจากกระเพาะ
มีความเป็นไปได้ที่จะเรอโดยที่กระเพาะอาหารไม่ได้มีอากาศอยู่ เพราะว่าการเรอ กลายเป็นนิสัยหรือเครื่องมือที่ช่วยให้รู้สึกสบายท้องมากขึ้น
การเรอไม่เพียงแต่ทำให้รู้สึกดี ด้วยการระบายอากาศออกจากกระเพาะเท่านั้น ยังพบว่าการเรอทำให้รู้สึกสบายท้องมากขึ้นได้ด้วย
การกลืนอากาศ
การกลืนอากาศ (Aerophagia) คือการกลืนอากาศทั้งที่ตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจ การกลืนอากาศเข้าไปเป็นจำนวนมาก สามารถเกิดขึ้นได้จากการกินที่เร็วหรือการดื่มที่เร็ว และยังสามารถพบได้จาก
-
การพูดคุยระหว่างกิน
-
เคี้ยวหมากฝรั่ง
-
ดูดลูกอม
-
ดูดน้ำจากหลอด
-
สูบบุหรี่
-
ใส่ฟันปลอมที่ไม่พอดี
-
ความวิตกกังวล
อาหารทำให้เรอ
การรับประทานอาหารบางชนิดสามารถทำให้เรอบ่อยได้เช่น กรดคาร์บอเนต แอลกอฮอล์ อาหารที่มีแป้งและน้ำตาล หรืออาหารที่มีใยสังเคราะห์
อาหารที่มักทำให้เรอบ่อย ยกตัวอย่างเช่น
-
ถั่วลิสง
-
ถั่วฝักยาว
-
บล็อคโคลี่
-
ถั่ว
-
หัวหอม
-
กระหล่ำปลี กระหล่ำดอก
-
กล้วย
-
ลูกเกด
-
ขนมปังโฮลวีต
ยารักษาโรค
ยาหลายชนิดสามารถทำให้เกิดการเรอบ่อยได้ ยกตัวอย่างเช่น
-
ยารักษาเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีชื่อว่า อคาโบส (Acabose)
-
ยาระบายจำพวกแลคตูโลส (Lactulose) และซอบิทอล (Sorbital)
-
ยาบรรเทาอาการปวดเช่น นาโพเซน (Naproxen) ไอบลูโปรเฟน (Ibruprofen) และแอสไพริน (Aspirin)
การใช้ยาบรรเทาอาการปวด เป็นจำนวนมากทำให้เป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ซึ่งนำไปสู่อาการเรอบ่อยได้
การเจ็บป่วย
การเจ็บป่วยบางอย่างอาจจะมีการเรอบ่อยเป็นหนึ่งในอาการ เนื่องจากการเรอเป็นการตอบสนองตามธรรมชาติต่อความรู้สึกไม่สบายในช่องท้อง จึงต้องมีอาการอื่นๆด้วยเพื่อช่วยในการวินิจฉัย
การเจ็บป่วยที่อาจทำให้เกิดการเรอ ได้แก่ :
- โรคกรดไหลย้อน คือความผิดปกติที่ทำให้กรดจากกระเพาะอาหารไหลขึ้นสู่หลอดอาหารจะทำให้เรอบ่อย
- การทำงานของกระเพราะอาหารลดลง (Gastroparesis) คือความผิดปกติที่กล้ามเนื้อในผนังกระเพาะอาหารที่อ่อนแอลง
- โรคกระเพาะ (Gastritis) คือโรคที่ทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุกระเพาะอาหาร ส่งผลให้ปวดท้อง เรอบ่อย
- แผลในกระเพาะอาหาร (Peptic ulcer) คือแผลที่หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และส่วนบนของลำไส้เล็ก
- การแพ้แลคโตส (Lactose intolerance) คือการที่ลำใส้ไม่สามารถย่อยแลคโตสได้ ซึ่งแลคโตสเป็นส่วนผสมที่พบในผลิตภัณฑ์นม
- การดูดกลับฟรุกโตสหรือซอร์บิทอลผิดปกติ (Fructose or Sorbitol malabsorption) คือการที่ไม่สามารถย่อยและดูดกลับคาร์โบไฮเดรต ฟรุกโตส และซอร์บิทอลได้
- การติดเชื้อแบคทีเรีย (Helicobacter pylori ,H.pylori) คือแบคทีเรียที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในกระเพาะอาหารซึ่งสามารถทำให้เกิดการเรอบ่อยได้
สาเหตุของการเรอที่พบได้น้อย ได้แก่ :
- โรคซิลิแอค (Celiac) คือการแพ้กลูเตน (Gluten intolerance) ซึ่งเป็นส่วนผสมที่พบได้ในอาหารที่อุดมด้วยแป้งเช่นขนมปังและแครกเกอร์
- ดัมปิ่ง ซินโดรม (Dumping syndrome) คือความผิดปกติที่ทำให้ท้องว่าง ก่อนที่อาหารจะถูกย่อยอย่างเหมาะสม
- ภาวะตับอ่อนทำงานไม่เพียงพอ (Pancreatic insufficiency) คือภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อตับอ่อน ไม่สามารถปล่อยเอนไซม์ที่จำเป็นสำหรับการย่อยอาหารออกมาอย่างเพียงพอได้
ภาวะฉุกเฉิน
การเรอเป็นอาการเดี่ยวๆ(ไม่มีอาการอื่นร่วม) มักไม่ก่อให้เกิดความกังวล เว้นแต่จะเกิดขึ้นบ่อยหรือมากเกินไป
หากท้องของคุณมีการขยายตัวเป็นเวลานานและอาการเรอไม่บรรเทาลง หรือหากเกิดอาการปวดท้องรุนแรงให้รีบไปพบแพทย์ทันที
รักษาอาการเรอบ่อยได้อย่างไร
การเรอตามปกติไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาใดๆ อย่างไรก็ตามหากการเรอมากเกินไปควรไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อค้นหาสาเหตุที่เป็นไปได้ที่อาจก่อให้เกิดอาการ
การรักษาจะขึ้นอยู่กับสาเหตุ
การรักษาด้วยตนเอง
หากคุณเรอมากเกินไปหรือท้องขยาย และไม่สามารถขับอากาศออกจากในกระเพาะได้ การนอนตะแคงจะช่วยได้ การใช้ท่านั่งกอดหัวเข่าชิดหน้าอกจะช่วยได้เช่นกัน ทำค้างไว้จนกว่าอากาศจะออกไปหมด
หากคุณมีอาการเรอบ่อยๆ คุณควรหลีกเลี่ยง:
-
กินและดื่มอย่างรวดเร็ว
-
การดื่มน้ำอัดลม
-
การเคี้ยวหมากฝรั่ง
สิ่งเหล่านี้อาจทำให้ปัญหาแย่ลง
การรักษาทางการแพทย์
หากคุณมีอาการเรอมากเกินไปควรปรึกษาแพทย์ แพทย์จะรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับอาการของคุณ โดยถามคำถามเกี่ยวกับช่วงเวลาที่มีการเรอและอาการเรอเคยเกิดขึ้นมาก่อนหรือไม่
นอกจากนี้ยังจะถามเกี่ยวกับลักษณะหรือรูปแบบของการเรอ เช่นการเรอเกิดขึ้นเนื่องจากความกังวลใจ หรือหลังจากบริโภคอาหาร หรือเครื่องดื่มชนิดใดชนิดหนึ่งหรือไม่ แพทย์อาจขอให้คุณเก็บรายการอาหารที่คุณเข้าไปในช่วง 2-3 วัน
ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณได้กล่าวถึงอาการอื่นๆ แม้ว่าคุณจะคิดว่าไม่เกี่ยวข้องก็ตาม วิธีนี้จะช่วยให้แพทย์มองภาพรวมของปัญหาได้ดีขึ้น ซึ่งจะช่วยให้แพทย์รักษาได้ถูกต้องแม่นยำขึ้น
แพทย์อาจตรวจร่างกายและสั่งการทดสอบเพิ่มเติม เช่นการเอกซเรย์ช่องท้อง (Abdominal X-rays) หรือการศึกษาการล้างกระเพาะอาหาร (Gastric emptying studies) การทดสอบอื่นๆ ได้แก่ :
- เอกเรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)
- เอกเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan)
- การสแกนอัลตร้าซาวด์ (Ultrasound scans)
- การทดสอบการย่อยอาหาร (Maldigestion)
- การทดสอบไฮโดรเจนและมีเทน (Hydrogen and methane tests)
จะเกิดอะไรขึ้นหากไม่ได้รับการรักษา
การเรอแบบธรรมดาไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาใดๆและไม่มีภาวะแทรกซ้อน
อย่างไรก็ตามหากมีอาการเรอบ่อยขึ้นเนื่องจากโรคในระบบย่อยอาหาร เป็นไปได้ว่าอาการจะแย่ลงหากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษา คุณอาจเริ่มมีอาการอื่นๆเพิ่มขึ้นมาจนกว่าโรคจะได้รับการวินิจฉัยและรักษา
สามารถป้องกันการเรอได้อย่างไร
การเรอเป็นเรื่องธรรมชาติ คุณสามารถควบคุมได้โดยหลีกเลี่ยงสิ่งที่กระตุ้นให้คุณเรอ สิ่งที่ควรปฏิบัติหากต้องการหลีกเลี่ยงการเรอ
-
นั่งทานอาหารแต่ละมื้อช้าๆ
-
หลีกเลี่ยงการเคี้ยวหมากฝรั่งหรือดูดลูกอมที่แข็ง
-
หลีกเลี่ยงน้ำอัดลมและแอลกอฮอล์
-
หยุดบริโภคอาหารหรือเครื่องดื่มที่ทำให้เรอบ่อยขึ้น
-
ทานอาหารเสริมโปรไบโอติก (Probiotic supplements) เพื่อช่วยในการย่อยอาหาร
-
หลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ที่กระตุ้นให้เกิดความวิตกกังวล ซึ่งอาจทำให้เกิดการหายใจเร็วเกินไป
การเรอแบบไหนที่ควรเป็นกังวล
การเรอหรือที่เรียกว่าการเรอเป็นกระบวนการทางสรีรวิทยาปกติที่ช่วยปล่อยก๊าซส่วนเกินออกจากกระเพาะอาหารผ่านทางปาก ในกรณีส่วนใหญ่ การเรอไม่เป็นอันตรายและไม่ใช่สัญญาณของอันตราย เป็นวิธีธรรมชาติที่ร่างกายจะขับอากาศที่ถูกกลืนเข้าไประหว่างรับประทานอาหาร ดื่ม หรือพูดคุย อย่างไรก็ตาม มีบางสถานการณ์ที่การเรออาจเป็นสัญญาณของปัญหาด้านสุขภาพที่ต้องได้รับการดูแล:- การเรอมากเกินไป:การเรอบ่อยครั้งและมากเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีอาการอื่นๆ เช่น แสบร้อนกลางอก ท้องอืด หรือปวดท้อง อาจบ่งบอกถึงโรคกรดไหลย้อน หรือความผิดปกติของระบบทางเดินอาหารอื่นๆ การเรอเรื้อรังอาจรับประกันการประเมินโดยผู้ให้บริการด้านสุขภาพ
- อาการเจ็บหน้าอก:โดยทั่วไปการเรอเพียงอย่างเดียวไม่ได้เป็นสาเหตุที่น่ากังวล อย่างไรก็ตาม หากการเรอเกี่ยวข้องกับอาการเจ็บหน้าอกอย่างรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากอาการปวดลามไปที่กราม แขน หรือหลัง อาจเป็นสัญญาณของภาวะหัวใจวายหรือปัญหาเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดอื่นๆ ไปพบแพทย์ทันทีหากคุณมีอาการเจ็บหน้าอก
- เรอมีกลิ่นเหม็น:หากเรอมีกลิ่นเหม็นผิดปกติ อาจเกี่ยวข้องกับการเลือกรับประทานอาหารหรือปัญหาทางเดินอาหาร การเรอที่มีกลิ่นเหม็นอย่างต่อเนื่องอาจต้องได้รับการตรวจสอบจากผู้ให้บริการด้านการแพทย์เพื่อแยกแยะปัญหาทางเดินอาหารที่ซ่อนอยู่
- อาการเรื้อรัง:หากการเรอเกิดขึ้นพร้อมกับอาการอื่นๆ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น น้ำหนักลดโดยไม่ได้ตั้งใจ กลืนลำบาก พฤติกรรมการขับถ่ายเปลี่ยนแปลงไป หรือการอาเจียนหรืออุจจาระเป็นเลือด จำเป็นต้องปรึกษาผู้ให้บริการด้านสุขภาพเพื่อรับการประเมินอย่างละเอียด
- เรอในเด็กเล็ก:ในเด็กเล็ก การเรอมากเกินไปหรือออกแรง โดยเฉพาะหลังการให้นมทุกครั้ง อาจเป็นสัญญาณของโรคกรดไหลย้อน ปรึกษากุมารแพทย์หากคุณกังวลเกี่ยวกับพฤติกรรมการเรอของทารก
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
-
https://www.webmd.com/digestive-disorders/burping-reasons
-
https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/gas-and-gas-pains/in-depth/gas-and-gas-pains/art-20044739
-
https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/7314-gas
-
https://www.medicalnewstoday.com/articles/325121
เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team