วัคซีนจากเชื้อแบคทีเรีย BCG (BCG Vaccine)

ผู้เขียน Dr. Wikanda Rattanaphan
0
วัคซีนจากเชื้อแบคทีเรีย BCG

BCG คืออะไร

Bacillus Calmette–Guérin หรือ BCG คือวัคซีนวัณโรคที่เตรียมจากเชื้อ Mycobacterium Bovis ซึ่งเป็นแบคทีเรียทรงแท่งทำให้เกิดวัณโรควัว ซึ่งถูกทำให้อ่อนฤทธิ์ลง เชื้อแบคทีเรียจะเสียศักยภาพก่อโรคในมนุษย์ แต่เชื้อดังกล่าวยังคงลักษณะตามธรรมชาติมากพอที่จะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันต่อวัณโรคของมนุษย์ทำงาน ประสิทธิภาพของวัคซีนนี้จะสามารถป้องกันวัณโรคได้นาน ประมาณ 15 ปี ได้ผลตั้งแต่ 0 ถึง 80% อย่างไรก็ตามผลการป้องกันของวัคซีนอาจแปรผันตามภูมิศาสตร์ และประสิทธิภาพของห้องปฏิบัติการที่ผลิตวัคซีน BCG Vaccine คือวัคซีนป้องกันวัณโรค โดยแนะนำให้ฉีดให้แก่ทารกแรกเกิดที่มีสุขภาพดีให้เร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ แต่ไม่ควรให้วัคซีนกับทารกที่ติดเชื้อเอดส์ หรือสุขภาพร่างกายไม่แข็งแรง หรือให้กับผู้ใหญ่ที่ไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อนด้วยเช่นกัน นอกจากป้องกันโรคแล้ว ยังสามารถใช้วัตซีนป้องกันการกำเริบของโรคในกลุ่มผู้ที่ติดเชื้อบางส่วน ด้วยการให้วัคซีนด้วยการฉีดทางผิวหนัง และยังสามารถใช้รักษามะเร็งกระเพาะปัสสาวะบางประเภทได้อีกด้วย

ผู้ที่ควรเข้ารับวัคซีน BCG

วัคซีน BCG จัดเป็นวัคซีนพื้นฐานที่ต้องฉีดให้เด็กแรกเกิดทุกคน ภูมิคุ้มกันจะเกิดหลังจากฉีดวัคซีนไปประมาณ 2 ซึ่งในระหว่างนี้อาจเกิดตุ่มนูนขึ้นมา และแตกออกเป็นรอยแผลเล็ก ๆ นานประมาณ 6 สัปดาห์จึงจะหายไปเอง แต่บางคนอาจเหลือเป็นรองแผลขนาดเล็ก วัคซีนชนิดนี้สามารถป้องกันการเกิดวัณโรคได้ประมาณ 80% และการ ฉีดวัคซีน BCG ในทารกแรกเกิดยังลดความเสี่ยงของโรควัณโรคที่เยื่อหุ้มสมองในเด็กเล็กอีกด้วย กรณีผู้ใหญ่ไม่เคยรับวัคซีนมาก่อน ให้รับวัคซีนทางผิวหนัง หลังฉีดยาก็อาจเกิดตุ่มนูนขนาดประมาณ 6 – 8 มิลลิเมตร และจะหายไปได้เองในเวลาไม่นาน แต่ตุ่มนูนอาจแตกออกเป็นแผลเล็ก ๆ และมีหนอง ภายหลังฉีดประมาณ 2 สัปดาห์ และอาจเป็น ๆ หาย ๆ นานประมาณ 6 สัปดาห์ ก่อนจะค่อย ๆ ดีขึ้น

วัคซีน BCG ผลข้างเคียงเป็นอย่างไร

การฉีดวัคซีน BCG อาจมีผลข้างเคียงกับผิวหนังบริเวณที่ฉีด อาจเกิดแผลเปื่อย ตุ่มนูน รู้สึกปวด คัน เกิดผด หรือต่อมน้ำเหลืองโต และยังอาจทำให้รู้สึกไม่อยากอาหาร ท้องไส้ปั่นป่วน และระคายเคืองกระเพาะปัสสาวะ มักเกิดขึ้นภายใน 2 – 3 ชั่วโมงเมื่อได้รับวัคซีน และอาจรู้สึกต่อไปอีก 1 – 3 วัน อาจขับปัสสาวะออกมามาก หรือรู้สึกปวดเวลาปัสสาวะ หรืออาการเจ็บแสบในขณะปัสสาวะ รู้สึกหนาวสั่น เกิดอาการของไข้หวัด มีไข้ปานกลาง และอ่อนเพลีย ควรรีบไปพบแพทย์ หากอาการดังกล่าวไม่หายไป หรือรุนแรงจนรบกวนการใช้ชีวิตBCG Vaccine ผลข้างเคียงที่รุนแรง และควรไปพบแพทย์ทันทีได้แก่
  • เกิดอาการallergy-0094/”>แพ้ยา เช่น ผื่นคัน ลมพิษ คัน บวมแดง มี ตุ่มพุพอง ผิวหนังลอก อาจมีไข้ หรือไม่ก็ได้ หายใจดัง แน่นหน้าอกหรือคอ เกิดปัญหาในการหายใจพูดเสียงแหบ และใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้น หรือคอบวม
  • สัญญาณบ่งบอกว่าตับทำงานผิดปกติ เช่น ปัสสาวะมีสีเข้ม รู้สึกไม่อยากอาหาร อ่อนเพลีย ตัวเหลืองตาเหลือง ท้องไส้ปั่นป่วน ปวดท้อง อุจจาระซีด อาเจียน เป็นต้น
  • สัญญาณบ่งชี้ว่าปอด หรือระบบการหายใจผิดปกติ เช่น หายใจได้ไม่ลึก ไอ หรือมีไข้
  • มีไข้ขึ้นสูง 39.5 องศาเซลเซียส ติดต่อกันนานกว่า 12 ชั่วโมง
  • มีไข้ขึ้นปานกลาง 38.5 องศาเซลเซียส ติดต่อกันนานกว่า 48 ชั่วโมง
  • ปวดตามข้อ เจ็บหน้าอก
  • เจ็บตา ระคายเคืองดวงตา ตาแดง
  • วิงเวียนศีรษะอย่างรุนแรง หรือหมดสติ
  • ไอ และอาเจียน

ข้อแนะนําการดูแลตัวหลังวัคซีน BCG

  • รักษาความสะอาดบริเวณที่ฉีดวัคซีนให้แห้ง และสะอาด
  • ทำความสะอาดด้วยนํ้าอุ่นสะอาด ๆ ก็เพียงพอแล้ว
  • ไม่ควรใช้ยาฆ่าเชื้อ ครีม หรือนํ้ามันทาบริเวณแผลทันที
  • ไม่ควรปิดพลาสเตอร์ยาที่เหนียวเกินไป บริเวณที่ฉีดวัคซีน เพราะเวลาดึงออกอาจกระทบกระเทือนแผลได้ และควรเลือกใช้พลาสเตอร์ยาที่สามารถให้อากาศถ่ายเทได้
  • กรณีการฉีด BCG ในทารกแรกเกิด เด็กบางคนอาจมีผดสีแดงเล็ก ๆ หรือเกิดลาดแผลบริเวณที่ฉีดวัคซีน หลังจากได้รับวัคซีนไป 2 – 4 สัปดาห์  อาการนี้จะค่อย ๆ บรรเทาลง และหายได้เองภายในไม่กี่สัปดาห์ แต่อาจทำให้เกิดรอยแผลเป็นขนาดเล็ก หรือไม่ก็ได้ เด็กบางคนอาจเกิดก้อนบวม ๆ ที่ใต้รักแร้ เนื่องจากต่อมทำการขยายตัว แต่มักไม่พบผลข้างเคียงอื่น ๆ
  • เด็กบางคนอาจมีหนอง หรือแผลเกิดขึ้น ซึ่งเป็นผลข้างเคียงที่ปกติ เด็ก ๆ ยังสามารถอาบน้ำได้ตามปกติ เพียงดูแลรักษาความสะอาดบาดแผล และทำให้แห้งอยู่เสมอก็เพียงพอแล้ว
  • ในระหว่างที่แผลยังไม่หายไม่ควรทายา หรือครีมใด ๆ หลีกเลี่ยงการออกแรงกด หรือใช้ผ้าพันแผลที่แน่นเกินไป และความสวมใส่เสื้อผ้าที่หลวมสบาย
  • อาการแทรกซ้อนของวัคซีน BCG ส่วนมากจะหายไปได้เอง จึงไม่จำเป็นต้องกังวลจนเกินไป

คำถามที่พบบ่อยของวัคซีน bcg

ต่อไปนี้เป็นคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับวัคซีน Bacillus Calmette-Guérin (BCG):

1. วัคซีนบีซีจีคืออะไร 

คำตอบ:วัคซีนบีซีจีเป็นวัคซีนที่ใช้ป้องกันวัณโรค (TB) เป็นหลัก ตั้งชื่อตามนักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส Albert Calmette และ Camille Guérin ผู้พัฒนาวัคซีนเมื่อต้นศตวรรษที่ 20

2. BCG ย่อมาจากอะไร 

คำตอบ: BCG ย่อมาจาก Bacillus Calmette-Guérin ซึ่งหมายถึงแบคทีเรียที่ใช้สร้างวัคซีน

3. เพราะเหตุใดจึงได้รับวัคซีนบีซีจี 

คำตอบ :วัคซีนบีซีจีเป็นวัคซีนป้องกันวัณโรค โดยเฉพาะโรคร้ายแรงที่ส่งผลต่อปอดและอวัยวะอื่นๆ โดยทั่วไปจะมีการจัดการในประเทศที่มีความชุกของวัณโรคสูง

4. ปกติให้วัคซีน BCG เมื่อใด 

คำตอบ:โดยทั่วไปวัคซีนบีซีจีจะฉีดให้กับทารกแรกเกิดหรือทารก แต่ระยะเวลาอาจแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ ในบางสถานที่อาจให้ตั้งแต่แรกเกิด ในขณะที่บางแห่งอาจให้ภายในสองสามเดือนแรก

5. วัคซีน BCG มีประสิทธิภาพเพียงใด 

คำตอบ:เป็นที่ทราบกันว่าวัคซีนบีซีจีมีประสิทธิภาพในการป้องกันวัณโรคในรูปแบบที่รุนแรงในเด็ก โดยเฉพาะวัณโรคในหลอดเลือดและเยื่อหุ้มสมอง ประสิทธิภาพในการต่อต้านวัณโรคปอดในผู้ใหญ่จะแตกต่างกันไปและโดยทั่วไปจะต่ำกว่า

6. วัคซีน BCG ให้ภูมิคุ้มกันตลอดชีวิตหรือไม่ 

คำตอบ:ระยะเวลาของการป้องกันด้วยวัคซีนบีซีจีไม่ใช่ตลอดชีวิต ภูมิคุ้มกันมีแนวโน้มที่จะลดลงเมื่อเวลาผ่านไป และไม่มีการแนะนำขนาดยาเสริมเป็นประจำในหลายประเทศ

7. วัคซีน BCG มีผลข้างเคียงหรือไม่ 

คำตอบ:ผลข้างเคียงที่พบบ่อยของวัคซีนบีซีจี ได้แก่ อาการแดงและบวมบริเวณที่ฉีด ในบางกรณีซึ่งพบไม่บ่อยนัก อาจเกิดต่อมน้ำเหลืองอักเสบ (อาการบวมของต่อมน้ำเหลืองในบริเวณใกล้เคียง) ได้ อาการไม่พึงประสงค์ร้ายแรงเกิดขึ้นได้น้อยมาก

8. ผู้ใหญ่สามารถรับวัคซีน BCG ได้หรือไม่ 

คำตอบ:ในบางกรณี ผู้ใหญ่อาจได้รับวัคซีนบีซีจี โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อวัณโรค หรือกำลังเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีความชุกของวัณโรคสูง อย่างไรก็ตาม การฉีดวัคซีนบีซีจีเป็นประจำสำหรับผู้ใหญ่นั้นไม่ได้พบเห็นได้ทั่วไปในหลายประเทศ

9. จำเป็นต้องฉีดวัคซีน BCG หรือไม่ 

คำตอบ:วัคซีนบีซีจีไม่ได้บังคับในระดับสากล การรวมไว้ในตารางการฉีดวัคซีนระดับชาติจะแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ ขึ้นอยู่กับความชุกของวัณโรคและปัจจัยอื่นๆ  เป็นที่แน่ชัด การวิจัยกำลังดำเนินการเพื่อสำรวจผลกระทบที่ไม่เฉพาะเจาะจงที่อาจเกิดขึ้นของวัคซีนบีซีจีต่อระบบภูมิคุ้มกัน

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.cdc.gov/tb/topic/basics/vaccines.htm
  • https://www.nhs.uk/conditions/vaccinations/bcg-tuberculosis-tb-vaccine/
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด